RIHES-DDD TB Infection control Version1.0, 3 October 2014 Daralak T. 04/12/2015
จุดประสงค์ (Purpose) : เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของโครงการวิจัยในสถาบันฯ ที่ต้องสัมผัสผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันว่าเป็นวัณโรค ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเพื่อป้องกันการเป็นวัณโรคและป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคของอส.ที่ป่วยหรือมีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ขอบเขตการใช้งาน (Applies to): เจ้าหน้าที่ (HCW)ที่ต้องสัมผัสอาสาสมัครที่ป่วยหรือมีความเสี่ยงต่อวัณโรคและโรคติดเชื้อในระบบหายใจ
วิธีการดำเนินการ (Procedures) Facility level Measures Administrative controls Environmental controls Personal protective equipment (PPE)
วิธีการดำเนินการ (Procedures) Facility level Measures Administrative controls Environmental controls Personal protective equipment (PPE)
เครื่องกรองอากาศ ห้องตรวจ 4 คลินิกรักษ์สุขภาพ ตู้เก็บเสมหะ
วิธีการดำเนินการ (Procedures) Facility level Measures Administrative controls Environmental controls Personal protective equipment (PPE)
หากบุคคลใดทั้งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร มีอาการไอ จาม ให้ใช้หน้ากากอนามัย ซึ่งมีจัดเตรียมไว้ในคลินิกวิจัยทุก คลินิก ให้เจ้าหน้าที่ประจำจุดแรกที่พบอาสาสมัครของแต่ละคลินิกวิจัย ดำเนินการซักประวัติเบื้องต้นเพื่อคัดกรอง อาสาสมัครหรือผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่าเป็นวัณโรค ประกอบด้วยอาการ ไอเรื้อรัง 2 สัปดาห์ขึ้นไป ไอเป็น เลือด อาการไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หากพบว่า อาสาสมัครมีอาการดังกล่าว 2 อย่างขึ้นไป แนะนำให้อาสาสมัครใส่หน้ากากอนามัยชนิด surgical mask และให้แยกอาสาสมัครส่ง เข้าห้องตรวจ 4 คลินิกรักษ์สุขภาพ (โทร 6058) ในการตรวจผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่าเป็นวัณโรคหรือวัณโรคดื้อยา ให้เจ้าหน้าที่ใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 การดูแลอาสาสมัครหรือผู้ป่วยที่สงสัย/ยืนยันว่าเป็นวัณโรคหรือโรคติดเชื้อในระบบหายใจ ให้ดำเนินการดูแล อาสาสมัครแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop service) ณ. ห้องตรวจ 4 คลินิกรักษ์สุขภาพ หากต้องมีการเก็บเสมหะที่คลินิก ให้เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำวิธีการเก็บเสมหะอย่างถูกวิธี และเก็บเสมหะในตู้ เก็บ เสมหะที่จัดเตรียมไว้ จัดอบรมและ/หรือส่งเสริมให้ความรู้กับบุคลากรเกี่ยวกับวัณโรค รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อ และแพร่กระจายเชื้อ
วิธีการดำเนินการ (Procedures) Facility level Measures Administrative controls Environmental controls Personal protective equipment (PPE)
ทุกคลินิกวิจัยมีการจัดเตรียมแอลกอฮอล์สำหรับอาสาสมัครทำความสะอาดมือ ทุกคลินิกวิจัยมีการจัดเตรียมหน้ากากอนามัยสำหรับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ทุกคลินิกวิจัยจะมีเครื่องกรองอากาศ (Portable Air Cleaners) เจ้าหน้าที่ต้องล้างมือด้วยน้ำยาล้างมือหรือแอลกอฮอล์ทุกครั้งภายหลังเสร็จสิ้นหัตถการ สำหรับห้องตรวจเฉพาะ TB/Respiratory Infection Exam room. (ห้องตรวจ 4 คลินิกรักษ์สุขภาพ) มีการเปิดระบบทำลายเชื้อโรคด้วยรังสี Ultraviolet โดยเจ้าหน้าที่เปิด UV lamp ทุกวันหยุดราชการ วันละ 2 ชั่วโมง เวลา20-22 น. เมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการแล้วบันทึกในแฟ้มบันทึกการตรวจสอบเครื่องมือ ที่คลินิกรักษ์สุขภาพ มีการตรวจสอบความพร้อมของตู้เก็บเสมหะ โดยเจ้าหน้าที่เปิดสวิทช์ทดสอบการทำงานของตู้ เดือนละ 1 ครั้ง และทุกครั้งก่อนมีการ ใช้งาน เมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการแล้วบันทึกลงในแฟ้มบันทึกการตรวจสอบเครื่องมือ ที่คลินิกรักษ์สุขภาพ นอกจากนี้ให้ผู้ ประสานงานติดต่อบริษัทผู้รับผิดชอบเพื่อตรวจและบำรุงรักษาปีละ 1 ครั้ง ก่อนรับอาสาสมัคร/ผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่าเป็นวัณโรคหรือโรคติดเชื้อในระบบหายใจ เข้าห้องตรวจ 4 ให้เจ้าหน้าที่เปิดระบบการ ระบายอากาศและกรองเชื้อโรคเตรียมไว้ และภายหลังการใช้ห้องตรวจ 4 สำหรับผู้ป่วยที่สงสัย/ยืนยันว่าเป็นวัณโรคหรือโรคติดเชื้อ ในระบบหายใจ ให้ใช้สเปรย์ฆ่าเชื้อที่เตรียมไว้ในห้องตรวจ 4 ฉีดฆ่าเชื้อ รอนาน 1 ชัวโมงก่อนเปิดใช้ในครั้งต่อไป
วิธีการดำเนินการ (Procedures) Facility level Measures Administrative controls Environmental controls Personal protective equipment (PPE)
มีการจัดเตรียมและตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่ หน้ากากอนามัยชนิด surgical mask หน้ากาก N95 ถุงมือใช้แล้วทิ้ง ตลอดจน น้ำยาล้างมือและหรือแอลกอฮอล์ทำความสะอาด ให้พร้อมใช้อยู่เสมอ ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของทุกคลินิกวิจัย และ ตู้เก็บเสมหะให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา จัดให้มีการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่สถาบันฯ ทุก 2 ปี ซึ่งมีการตรวจและซักประวัติเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการติด เชื้อวัณโรค ตลอดจนมีการส่งตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (CXR) ตามความเหมาะสม สำหรับเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงที่ ต้องดูแลหรือสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสิ่งส่งตรวจของอาสาสมัครหรือผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันว่าเป็นวัณโรค แพทย์ให้ มีการชักประวัติคัดกรองปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์ แพทย์พิจารณาให้การตรวจเพิ่มเติมในกรณีเจ้าหน้าที่มีอาการน่าสงสัยเป็นวัณโรคหรือโรคติดเชื้อในระบบหายใจ และหาก ตรวจพบเจ้าหน้าที่ป่วยเป็นวัณโรค ต้องดำเนินการประสานงานและส่งต่อตามระบบการรักษาพื่อให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รับ การรักษาตามความเหมาะสม ร่วมกับทำการตรวจสอบและคัดกรองเจ้าหน้าที่อื่นซึ่งทำงานใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่คนดังกล่าว และส่งต่อเพื่อรับยาป้องกันวัณโรคหากจำเป็น สำหรับเจ้าหน้าที่โครงการวิจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค จัดให้มีการตรวจ PPD test ก่อนเริ่มทำงาน และ ตรวจซ้ำทุก2ปี ในกรณีผลเป็น negative หากเป็น positive แพทย์จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาตามความ เหมาะสมต่อไป
PPD test (Year 2015 : 37 ราย วันที่ 14, 15 และ 18 Dec 2015) No Unit PPD test Obtain date Read date Result (pos./Neg) อุปกรณ์ : Syringe insulin, ปากกาแบบ permanent, ไม้บรรทัด , สำลีแอล์กอฮอล์, น้ำยา PPD (แช่เย็น, มีอายุการใช้งาน 24 ชม.หลังจากเปิด ) Reference:RIHES ACTG-G : The handling For Tuberculin testing (version 1.0 , 23 May 2012)
ขั้นตอน วิธีการทดสอบ ฉีด 0.1 ml ของ 10 IU เข้าชั้นของผิวหนัง ตรงบริเวณด้านในของปลายแขนตามแนวทาง Procedure for Administration of the PPD and Anergy Skin Tests Via the Mantoux Method การอ่านผล อ่านผลหลังฉีด 48-72 ชั่วโมง โดยวัดขนาดเส้นผ่าศก. เฉลี่ยของตุ่มนูนแข็ง ถ้าเกิน 10 มิลลิเมตรขึ้นไป ถือว่าได้ผลบวก สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ การวัดขนาดเส้นผ่าศก >5 มม.ขึ้นไป ถือว่าได้ผลบวก
-Manse (ไชโย)- มันจบแล้ว