Project based Learning Educational Innovation and Information Technology Sumai Binbai
โครงงาน คือ งานที่มอบหมายให้ผู้เรียน/กลุ่มผู้เรียนทำในรายวิชา โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของอาจารย์ตั้งแต่ การคิดสร้างโครงงาน การวางแผนการดำเนินการ การออกแบบลงมือปฏิบัติ รวมถึงการร่วมกันกำหนดแนวทางการวัดและประเมินผล
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นจัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงอย่างมีระบบ แก้ปัญหา หลักการวิทยาศาสตร์ ทดลองและพิสูจน์ วางแผนทำงานมีระบบ ฝึกเป็นผู้นำ/ผู้ตาม คิดวิเคราะห์ขั้นสูง ประเมินตนเอง
Type of projects 1. Survey Research Project: ประเภทสำรวจ เน้นสำรวจและรวบรวมข้อมูล แยกหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ 2. Experimental Research Project: ประเภททดลอง เน้นการทดลองโดยการกำหนดตัวแปร ตัวทดลอง ตัวควบคุม เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์
Type of projects 3. Development Research Project: ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เน้นประยุกต์ทฤษฎีมาประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ 4. Theoretical Research Project: ประเภททฤษฎี เน้นนำเสนอทฤษฎี หลักการแนวคิดใหม่ ๆ โดยนำเสนอผลการอธิบายเป็นทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ที่ไม่มีใครคิดมาก่อน
How to create the project? ขั้นตอนการทำโครงงาน คิดและเลือกหัวเรื่อง 1.1 ตั้งคำถาม 1.2 กำหนดปัญหา 1.3 อยากรู้อยากเห็น ต้องคำนึงถึง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ งบประมาณ ระยะเวลา ความปลอดภัย แหล่งความรู้
How to create the project? ขั้นตอนการทำโครงงาน 2. การวางแผน = การเขียนเค้าโครงของโครงงาน เพื่อแสดงแนวคิด แผนงานและขั้นตอนการทำโครงงาน ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำ ชื่อที่ปรึกษา หลักการและเหตุผลในการทำโครงงาน ปัญหาอะไร สำคัญอย่างไร จุดมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ที่สามารถวัดได้ วิธีดำเนินงาน/ขั้นตอน แผนปฏิบัติงาน (เวลาเริ่มต้น – สิ้นสุดโครงการ) ผลที่คาดว่าจะได้รับ เอกสารอ้างอิง
How to create the project? ขั้นตอนการทำโครงงาน 3. การดำเนินงาน ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้ บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ว่าทำอะไรบ้าง ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน
How to create the project? ขั้นตอนการทำโครงงาน 4. เขียนรายงาน ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก (ตามเอกสารใน blog unit 6) - ส่วนนำ - ส่วนเนื้อเรื่อง มี 5 บท -> บทที่ 1 บทนำ -> บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง -> บทที่ 3 วิธีดำเนินการ -> บทที่ 4 ผลการดำเนินการ -> บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ - ส่วนอ้างอิง
How to create the project? ขั้นตอนการทำโครงงาน 5. การนำเสนอผลงาน นำเสนอตามส่วนเนื้อเรื่อง มี 5 บท -> บทที่ 1 บทนำ -> บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง -> บทที่ 3 วิธีดำเนินการ -> บทที่ 4 ผลการดำเนินการ -> บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ โดยใช้ PowerPoint ประกอบการนำเสนอ
Start Your Own Project 1. คิดและเลือกหัวข้อเรื่อง 2. การวางแผน - เขียนเค้าโครงของโครงงาน
เค้าโครงของโครงงานประกอบด้วย ชื่อโครงงาน คณะผู้จัดทำโครงงาน ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน ขอบเขตของการทำโครงงาน วิธีการดำเนินการ ผลที่คาดว่าจะได้รับ แผนการกำหนดเวลาปฏิบัติงาน เอกสารอ้างอิง
การตั้งชื่อโครงงาน “ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวันตัวน้อย” ควรตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัด และดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่ที่สำคัญคือ ผู้จัดทำโครงงานต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริงอันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริง (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุขและราเชน มีศรี, 2556) ตัวอย่างชื่อโครงงาน “ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวันตัวน้อย” ตัวอย่างชื่อโครงงาน “ผลการใช้ถุงน้ำพลาสติกต่อการไล่แมลงวัน” “โปรแกรมดนตรีไทยแสนสนุก” “โปรแกรมความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต” ที่มา: http://www.slideshare.net/royphimnamsongwong/ss-37975075
ตัวอย่างชื่อคณะผู้จัดทำโครงงาน เขียนชื่อผู้รับผิดชอบในการจัดทำโครงงานให้ชัดเจน เพื่อให้รู้ว่าโครงงานนั้นใครเป็นผู้รับผิดชอบและสามารถติดต่อได้ที่ใด ตัวอย่างชื่อคณะผู้จัดทำโครงงาน คณะผู้จัดทำโครงงาน 1. นางสาวสุไม บิลไบ สาขาวิชา......เบอร์โทร...... 2. นางสาวสุกัญญา มิ่งมงคล สาขาวิชา....เบอร์โทร... 3. นางสาววริสา เอี่ยมน้อย สาขาวิชา.......เบอร์โทร.......
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้แนะนำการทำโครงงานจนบรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์.....................................................
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ผู้ทำโครงงานต้องศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษา ซึ่งการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไมต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร มีหลักการเขียนคล้ายเรียงความทั่ว ๆ ไป โดยมี 3 ส่วนดังนี้ เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนในการริเริ่มโครงการ ส่วนที่ 1 คำนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงาน โดยมีหลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำโครงงานเรื่องนี้ ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นความรู้ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และค้นวิธีการใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลของส่วนที่ 1 ส่วนที่ 3 สรุป
วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผลิตขึ้นสามารถส่งเสริมความตระหนักในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ในระดับดีขึ้นไป ตัวอย่าง 2. นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าใจและมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
ขอบเขตของการทำโครงงาน ผู้ทำโครงงานต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดขอบเขตของการทำโครงงานเพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ได้แก่ การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง และ ตัวแปรที่ศึกษา ความสำคัญ
ขอบเขตของการทำโครงงาน การกำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือ การกำหนดประชากรที่ต้องการศึกษาว่าเป็นใคร เช่น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการฝึกหัดครู การกำหนดประชากร การกำหนด กลุ่มตัวอย่าง คือ การกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการทดลองให้ทดลองใช้สิ่งประดิษฐ์หรือบทเรียนที่ผู้จัดทำผลิตขึ้น เช่น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน 30 คน
ขอบเขตของการทำโครงงาน คือ การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ต้องการศึกษากับผลของการศึกษาว่า มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันหรือไม่ การกำหนด ตัวแปร ตัวแปร มี 2 ตัวขึ้นไป ได้แก่ ตัวแปรต้น คือ ตัวแปรเหตุ เช่น สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตัวแปรตาม คือ ตัวแปรผลที่เกิดจากตัวแปรเหตุ เช่น ความตระหนักในการแต่งกายที่ถูกต้องของนักศึกษาอันเกิดจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
วิธีการดำเนินการ วิธีการที่จะช่วยให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นเสนอโครงงาน จนกระทั่งสิ้นสุดโครงงาน ประกอบด้วย ความหมาย การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล แต่ละข้อต้องระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง เรียงลำดับให้ชัดเจนอะไรมาก่อนมาหลัง องค์ประกอบ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การคาดหวังผลการดำเนินการตามโครงงาน ในการเขียนต้องคาดคะเนเหตุการณ์ว่าใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างไร มากน้อยเพียงใด สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ศึกษา ความหมาย
แผนการกำหนดเวลาปฏิบัติงาน การทำโครงงานต้องกำหนดเวลาดำเนินการทุกขั้นตอน เพราะการทำตารางเวลาจะเป็นประโยชน์ให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ต่อการติดตามประเมินผลการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน จนสิ้นสุดการทำโครงงานนั้น ความสำคัญ
เอกสารอ้างอิง คือ รายการเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงาน ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานและควรเขียนตามหลักการที่นิยมกัน ความหมาย
“เรียนรู้หนึ่งหลักสูตร ต้องได้ความรู้มากกว่าที่อาจารย์สอนในหลักสูตร จึงจะนับว่าประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ที่สำคัญต้องสามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนางาน พัฒนาตนและพัฒนาสังคมได้” #Sumai Binbai#