11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
Decision Support Systems 13 July 2002 บทที่ 10 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร (Enterprise Decision Support Systems: EDSS) Decision Support Systems Email:wichai@buu.ac.th
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร ระบบงานอัตโนมัติที่จัดการงานด้านต่างๆ ในองค์กร ยังคงมีการทำงานแยกจากกันบางส่วน ทำให้เกิดความยุ่งยากในการเชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาของผู้บริหารระดับสูง จึงมีการพัฒนาระบบที่สามารถเชื่อมโยงระบบงานอัตโนมัติต่าง ๆ ที่ทำงานแยกจากกัน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ จึงเรียกระบบดังกล่าวว่า “Enterprise Decision Support Systems” หรือ EDSS นั่นเอง 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
เนื้อหา ความหมายของ EIS, ESS และ EDSS ประโยชน์ของ EIS ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EIS กับ DSS ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, Data Access, Data Warehouse และ OLAP Soft Information ภายใน Enterprise Systems ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบธุรกิจขององค์กร MRP, ERP และ SCM แนวโน้มของระบบ EIS และ ESS ในอนาคต 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ความหมายของ EIS ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผล สารสนเทศ ทั้งภายในและนอกองค์กรตามต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ได้แก่ การกำหนดนโยบาย การวางแผน การจัดตั้งงบประมาณ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ความหมายของ ESS ระบบสนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System: ESS) หมายถึง ระบบ EIS ที่มีการเพิ่มเติมความสามารถ เช่น ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาสารสนเทศได้ สามารถประชุมทางไกล หรือการมีระบบสำนักงานอัตโนมัติรวมอยู่ด้วย ระบบสารสนเทศระดับองค์กร (Enterprise Information System) หมายถึง ระบบที่สนับสนุนการใช้สารสนเทศร่วมกันทั้งองค์กรตามความต้องการในแต่ละส่วนงาน สำหรับผู้ใช้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับสูง และสามารถทำงานร่วมกับองค์กรอื่นได้ ซึ่งจัดว่าเป็นส่วนสำคัญของระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ความหมายของ EDSS ระบบสนับสนุนการทำงานขององค์กร (Enterprise Support Systems: ESS) หมายถึงระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในระดับบุคคล กลุ่ม และ องค์กร โดยมีระบบ Enterprise Information Systems เป็นส่วนประกอบ และมีระบบ Decision Support Systems เพื่อช่วยในการวางแผนงานต่าง ๆ ในบางครั้งระบบ ESS จะใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลขององค์กร (Data Warehouse) อันจะทำให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ในที่สุดจึงเรียกระบบดังกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร (Enterprise Decision Support Systems: EDSS)” 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ประโยชน์ของ EIS หากผู้บริหารมีระบบ EIS เพื่อรองรับกับความต้องการสารสนเทศที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะสามารถยกระดับประสิทธิภาพของการสืบค้นและตรวจสอบสารสนเทศก่อนเข้าสู่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการแก้ปัญหาต่อไป 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
โอกาสในการแก้ปัญหาหรือไม่? ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ประโยชน์ของ EIS สารสนเทศภายนอก สารสนเทศภายใน ประเมินและจำแนก สารสนเทศ ตรวจสอบสารสนเทศ ตรวจสอบสารสนเทศ วิเคราะห์เชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงปริมาณ สารสนเทศเหล่านั้นมี โอกาสในการแก้ปัญหาหรือไม่? ไม่ใช่ EIS ใช่ DSS 11 May 2014 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ E-mail:wichai@buu.ac.th
คุณลักษณะและความสามารถของ EIS โดยทั่วไป ด้านคุณภาพของสารสนเทศ มีความยืดหยุ่นสูง เป็นสารสนเทศที่มีความสมบูรณ เป็นสารสนเทศที่มีความทันสมัย เชื่อมโยงข้อมูลส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้ เป็นสารสนเทศที่เชื่อถือได้ เป็นสารสนเทศที่สามารถตรวจสอบได้ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
คุณลักษณะและความสามารถของ EIS โดยทั่วไป ด้านความสะดวกของผู้ใช้ - ใช้งานง่ายเนื่องจากแสดงผลในรูปแบบเว็บเพจ - ใช้งานร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้หลายรูปแบบ - มีระบบรักษาความปลอดภัย และควบคุมการเข้าใช้ - แสดงผลในรูปแบบ GUI ได้ดี - เชื่อมโยงกับระบบ Internet ได้ - มีระบบแนะนำการใช้งาน 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
คุณลักษณะและความสามารถของ EIS โดยทั่วไป ความสามารถทางเทคนิค - เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ทั่วโลก - สืบค้นข้อมูลเก่าและปัจจุบันได้พร้อมกัน - เข้าถึงข้อมูลภายใน E-mail ได้ - ใช้พยากรณ์ข้อมูลได้ - เรียกใช้งานข้อมูลจากภายนอกได้ - บ่งชี้ปัญหา และสาเหตุของปัญหาได้ - เขียนคำอธิบายข้อมูลได้ - มีระบบวิเคราะห์แบบ Ad hoc 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
คุณลักษณะและความสามารถของ EIS โดยทั่วไป ประโยชน์ที่ได้รับ - เพิ่มประสิทธิภาพของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ - เข้าถึงข้อมูลได้สะดวก - ประหยัดเวลา - เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูล - ช่วยค้นหาปัญหาและทางแก้ไข - ทำให้การวางแผนงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
คุณลักษณะและความสามารถของ EIS 1. ความสามารถในการขุดเจาะสารสนเทศ (Drill Down) การบ่งบอกรายละเอียดของรายงานหรือสารสนเทศแบบสรุปได้ 2. ความสามารถในการสร้างความสำเร็จ (Critical Success Factor) Critical Success Factor (CSF’s) เป็นคุณลักษณะของ EIS ที่ช่วยกำหนดเป้าหมายขององค์กร เพื่อนำไปสู่การกำหนดแผนกลยุทธ์ การบริหาร หรือการวางแผนควบคุมการทำงานภายในองค์กร 3. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศที่สำคัญได้ทุกสถานะ (Status Access) หากระบบ EIS มีความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศที่สำคัญผ่านระบบเครือข่ายได้ตลอดเวลา จะช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
คุณลักษณะและความสามารถของ EIS 4. ความสามารถในการวิเคราะห์ (Analysis) มีลักษณะการทำงานดังนี้ เป็นฟังก์ชัน Built-In ของ EIS ระบบ EIS จะต้องประกอบด้วย ฟังก์ชัน Analysis ที่เป็น Built-In รวมอยู่ในระบบเรียบร้อยแล้ว เช่น OLAP เป็นส่วนที่สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์ DSS ได้ เช่น สามารถใช้ภาษา Script ชนิดเดียวกันเพื่อเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์แม่ข่าย – ลูกข่าย หรือใช้งานเครื่องมือของ DSS ได้ รวมทั้งมี OLAP เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
คุณลักษณะและความสามารถของ EIS 4. ความสามารถในการวิเคราะห์ (Analysis) (ต่อ) วิเคราะห์โดยตัวแทนความฉลาด (Intelligent Agent) หรือตัวแทนปัญญา สามารถเตือนผู้บริหารในกรณีที่ข้อมูลหรือสารสนเทศที่กำลังวิเคราะห์มีความเบี่ยงเบนจากค่ามาตรฐาน เช่น การนำ Intelligent Agent มาใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษของประเทศฟินแลนด์ ตัวแทนปัญญา จะทำการตรวจสอบสภาพแวดล้อมต่างๆจาก Web site เช่น ข่าว ราคาสินค้าในช่วงเดือนต่างๆ หรือความต้องการกระดาษ เมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง ระบบจะส่งข้อความเตือนไปยังผู้บริหาร จากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมขององค์กรที่เก็บไว้ในแหล่งจัดเก็บข้อมูล 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
คุณลักษณะและความสามารถของ EIS 5. ความสามารถในการสร้างรายงานกรณีพิเศษ (Exception Reporting) เช่นข้อมูลที่มีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน หรือดีกว่ามาตรฐาน เมื่อระบบ EIS พบค่าความแปรปรวนที่ผิดปกติ จะทำการสร้างแถบสีให้กับข้อมูลดังกล่าวได้ 6. ความสามารถในการใช้สีและแสง (Color and Audio) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแสดงส่วนที่เด่น และค้นหาข้อผิดพลาดเร็วขึ้นในรายงาน เช่น สีเขียวแสดงสถานการณ์ทำงาน, สีเหลืองแสดงสถานะเตือน 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
คุณลักษณะและความสามารถของ EIS 7. ความสามารถในการนำร่องสารสนเทศ (Navigation of Information) หากระบบ EIS มีระบบนำร่องข้อมูลที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เสียเวลาในการสืบค้น และเสียเวลาในการตัดสินใจ 8. ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร (Communication) ระบบสนับสนุนการต่อสื่อสารของ EIS เช่น E-mail, EDI หรือ Internet ซึงติดต่อได้รวดเร็ว และสามารถติดต่อสื่อสารได้ทั่วโลก 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EIS กับ DSS แต่ DSS จะใช้ในการวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่พบจากการวิเคราะห์ด้วย EIS 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EIS กับ DSS ตารางเปรียบเทียบคุณลักษณะระหว่างระบบ DSS และ EIS DSS EIS ส่วนประกอบของ DSS ช่วยให้สามารถแก้ไขและค้นหาปัญหาที่เกิดกับระบบย่อยได้ ไม่สามารถแก้ไข หรือ คาดการณ์ปัญหาที่เกิดในระบบย่อยได้ การพัฒนาระบบ DSS จำเป็นต้องผ่านกระบวนการ Adaptive ไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการ Adaptive ในการพัฒนา มีแบบจำลองเป็นส่วนประกอบของระบบ ไม่มีแบบจำลองเป็นส่วนประกอบ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและแบบจำลอง ไม่ใช้ประโยชน์จากแบบจำลอง 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EIS กับ DSS ตารางเปรียบเทียบระบบ DSS และ EIS มุมมอง DSS EIS ประโยชน์ที่มุ่งเน้น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การขุดเจาะข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มผู้ใช้ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบผู้จัดการ ผู้บริหารระดับสูง การสนับสนุนการตัดสินใจ สนับสนุนการตัดสินใจทุกรูปแบบโดยตรง สนับสนุนการตัดสินใจทางอ้อมในระดับสูงและการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง ชนิดของสารสนเทศที่ใช้ สารสนเทศเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น สารสนเทศทั่วไป เช่น ข่าวสาร ข้อมูลภายในภายนอกองค์กร ข้อมูลลูกค้า ตารางเวลา เป็นต้น การทำงานเบื้องต้น วางแผน จัดการองค์กร บุคลากร และควบคุม ติดตาม ควบคุมการทำงาน วางแผนและกำหนดทิศทางและโอกาสในการเกิดปัญหา 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EIS กับ DSS ตารางเปรียบเทียบระบบ DSS และ EIS มุมมอง DSS EIS Graphics มีรูปแบบของ Graphic ในบางส่วน มีรูปแบบเป็น Graphic ในทุกส่วน การใช้งาน ใช้งานง่ายเมื่อไม่มีการทำงานร่วมกับระบบอื่น ใช้งานง่าย ระบบจัดการสารสนเทศ จากปัญหาที่ค้นพบด้วย EIS นำมาค้นหาแนวทางแก้ไข ด้วย DSS มีระบบกรอง ตรวจสอบ ติดตาม และเปรียบเทียบข้อมูล แบบจำลอง เป็นส่วนประกอบหลักของ DSS ที่จะต้องมี จัดเป็นเพียงส่วนประกอบที่จะมีการติดตั้งเมื่อผู้ใช้ต้องการ การพัฒนาระบบ บุคคลทั่วไป หรือ ส่วนงาน IT บริษัทผู้ผลิต Information System อุปกรณ์ประกอบ Mainframe, Workstation, PC, LAN Mainframe, Workstation, LAN ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ สามารถจำลองแบบสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ได้ และสร้างแบบจำลองเองได้ ต้องเข้าถึงฐานข้อมูลต่างชนิดได้ง่าย มีการเข้าถึงแบบ Online 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
การทำงานร่วมกันระหว่าง EIS และ DSS ตัวอย่าง ในการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดซึ่งเป็นปัญหาในส่วนการตลาด องค์กรจะใช้ EIS ในการสืบค้น ตรวจสอบ และกรองสารสนเทศเพื่อกำหนดปัญหา จากนั้นนำปัญหาที่เป็นไปได้ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้แบบจำลองของ DSS หลังจากได้คำตอบจากการใช้ระบบ DSS ในการตัดสินใจแก้ปัญหาแล้ว ข้อมูลดังกล่าวสามารถส่งกลับเข้าสู่ระบบ EIS ได้อีกครั้งเพื่อวางแผนจัดการในอนาคต 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
การทำงานร่วมกันระหว่าง EIS และ GDSS ในการตัดสินใจแบบกลุ่ม ระบบ EIS จะต้องสามารถทำงานร่วมกับ GDSS ได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีผู้พัฒนา EIS ให้สามารถ Integrate เข้ากับ GDSS ได้เช่น IMRS และ Domino เป็นต้น 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, Data Access, Data Warehouse และ OLAP การพัฒนาระบบ EIS สำหรับจัดการฐานข้อมูลหลายรูปแบบ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลจากระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) และระบบการจัดการฐานข้อมูลต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศ ปัจจุบัน EIS สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายผ่าน Web Browser ทำให้มีผู้ผลิตชุดซอฟต์แวร์ EIS ได้รวมหน้าที่การติดต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ เรียกว่า “Web Ready” ไว้ในชุด Software EIS สำหรับผู้บริหาร เช่น Lotus Note เป็นต้น 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, Data Access, Data Warehouse และ OLAP การสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลหลายมิติ (Multidimensional Analysis) รวมกับเครื่องมือการประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (Online Analytical Processing: OLAP) ช่วยให้ผู้บริหารสามารถแสดงผลข้อมูลได้ทั้งในรูปกราฟิก และตารางคำนวณได้ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
Soft Information ภายใน Enterprise Systems Soft Information หมายถึง ข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง ประเมินค่า หรือ ประมวลผล แต่มีประโยชน์ต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหาร ในระบบธุรกิจขององค์กร (Enterprise Systems) หลายด้าน ตัวอย่าง Soft Information ได้แก่ ข้อมูลการคาดการณ์แนวโน้มของตลาด ข้อมูลการวางแผน การตัดสินใจ และการประเมินผล ข้อมูลรายงานข่าว แนวโน้มอุตสาหกรรม ข้อมูลตารางการทำงานและการวางแผน ข้อมูลการแสดงความคิดเห็น หรือแสดงความรู้สึกของบุคลากร ข้อมูลข่าวลือ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบธุรกิจขององค์กร Value Chain และ Supply Chain ที่มีความสัมพันธ์กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) Supply Chain ประกอบขึ้นมาจากแนวคิด 2 ด้าน ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบจากแหล่งผลิตเข้าสู่ระบบการผลิต ผ่านกระบวนการผลิตจนเป็นผลิตภัณฑ์ และสิ้นสุดที่ผู้บริโภคคนสุดท้าย รวมเข้ากับแนวคิดเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปสงค์ ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าจนกระทั่งการสั่งซื้อนั้นได้รับการตอบสนอง 2 แนวคิดดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบธุรกิจขององค์กร ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) หมายถึง การศึกษาถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบ สารสนเทศ และบริการจากผู้จัดจำหน่าย ผ่านโรงงานจนไปถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย วัตถุประสงค์ของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน คือ การลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงในการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดของห่วงโซ่อุปทาน ด้วยการควบคุมระดับสินค้าคงคลัง ระยะเวลาในการผลิต กระบวนการผลิต และการบริการลูกค้า 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบธุรกิจขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จึงได้นำห่วงโซ่อุปทาน เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจของตน เนื่องจากต้องการเพิ่มผลกำไรและความได้เปรียบคู่แข่งขัน อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ด้วยการทำงานบนพื้นฐานของ “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ” 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
องค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) Upstream เป็นองค์ประกอบแรกสุดของห่วงโซ่อุปทาน เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบ การเคลื่อนที่ของวัตถุดิบจากมายังโรงงานผู้ผลิต และเข้าสู่กระบวนการผลิตขององค์กร Internal Supply Chain เป็นองค์ประกอบส่วนกลางของห่วงโซ่ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต หลังจากรับวัตถุดิบจากผู้ค้า ไปจนถึงการบรรจุหีบห่อ และจัดเก็บในคลังสินค้า Downstream เป็นองค์ประกอบส่วนท้ายของห่วงโซ่ จะเริ่มต้นที่ผู้ผลิตกระจายสินค้า ไปยังผู้ค้าปลีก ผู้ขายตรง จนถึงผู้บริโภค 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
องค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ผู้ผลิตวัตถุดิบ ลำดับที่ 2 ผู้ผลิตวัตถุดิบ ลำดับที่ 1 ผู้ผลิตวัตถุดิบ ลำดับที่ 2 กระบวนการผลิต และ บรรจุหีบห่อ สายส่ง และตัวแทน จำหน่าย ผู้ผลิตวัตถุดิบ ลำดับที่ 2 ผู้ผลิตวัตถุดิบ ลำดับที่ 1 ผู้ค้าปลีก ผู้บริโภค Upstream Internal Downstream 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
องค์ประกอบของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โรงงานผลิตถังไม้ ไร่องุ่น โรงเลื่อย สายส่ง และตัวแทน จำหน่าย โรงงานกระดาษ ผู้ผลิตฉลาก การบรรจุขวด ผู้ค้าปลีก โรงเป่าแก้ว โรงงานผลิตขวด ผู้บริโภค อื่น ๆ โรงงานผลิตไวน์ Upstream Internal Downstream 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ห่วงโซ่แห่งคุณค่า คิดค้นโดย Michael E. Porter เป็นตัวแบบที่มองว่า ธุรกิจเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าอย่างต่อเนื่อง และสัมพันธ์กันเหมือนกับลูกโซ่ ซึ่งแต่ละกิจกรรมในกระบวนธุรกิจ ตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ จนกระทั่งผลิตสำเร็จกลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ก่อนจะส่งมอบไปยังลูกค้า กิจกรรมในตัวแบบห่วงโซ่แห่งคุณค่าแบ่งเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนสามารถนำระบบสารสนเทศไปใช้สนับสนุนการทำงาน 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ห่วงโซ่แห่งคุณค่า กิจกรรมหลัก (Primary Activities) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการโดยตรง ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 5 กิจกรรม ได้แก่ การนำเข้าวัตถุดิบในการผลิต (Inbound Logistics) การดำเนินการผลิตสินค้า (Operations) การนำสินค้าออกจำหน่าย (Outbound Logistics) การตลาดและการขาย (Sales and Marketing) และการบริการ (Services) ผลลัพธ์ (Output) จากงานในขั้นตอนแรกจะกลายข้อมูลนำเข้า (Input) ของขั้นตอนถัดไป 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ห่วงโซ่แห่งคุณค่า กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) เป็นกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกิจกรรมหลักให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 4 กิจกรรม ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจ (การบริหารและการจัดการ) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (การคัดสรร การว่าจ้าง การฝึกอบรม) เทคโนโลยี (การปรับปรุงสินค้า และขั้นตอนการผลิต) การจัดซื้อจัดจ้าง (การระบุรายการที่ซื้อ) 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
Value Chain Model 20 October 2010 wichai@buu.ac.th
ห่วงโซ่แห่งคุณค่า เมื่อเริ่มต้นวิเคราะห์แบบห่วงโซ่แห่งคุณค่า ธุรกิจจะค้นหาจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรในแต่ละกิจกรรม จากนั้นจึงวางแผนว่าจะนำระบบสารสนเทศใดบ้าง มาใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงานในกิจกรรมนั้น เช่น หากองค์กรต้องการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า อาจเลือกใช้ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management: CRM) เป็นต้น 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบธุรกิจขององค์กร ห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่แห่งคุณค่า ทั้ง 2 มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือส่วนปฏิบัติงานของห่วงโซ่แห่งคุณค่านั้นตอบสนองส่วน Upstream ของห่วงโซ่อุปทาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ห่วงโซ่แห่งคุณค่าเป็นส่วนขยายของห่วงโซ่อุปทานในการจัดการระบบการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้ประกอบการและองค์กรทางธุรกิจโดยส่วนใหญ่ จึงหันมาให้ความสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัฑณ์ของตน ซึ่งมีหลายวิธีที่สามารถทำได้หนึ่งในวิธีการเหล่านั้นคือ การใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่แห่งคุณค่าควบคู่กันไป 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบธุรกิจขององค์กร โครงสร้าง ของ Value Chain 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
MRP, ERP และ SCM ระบบการวางแผนควบคุมความต้องการวัตถุดิบ (Material Requirements Planning: MRP) เป็นระบบที่ใช้ควบคุมการใช้วัตถุดิบ โดยจะใช้งาน MRP ควบคู่กับ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management: SCM) ในยุคแรก MRP มีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากการวางแผนการผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง และการจัดซื้อนั้น ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับ การจัดการทางการเงิน และทรัพยากรบุคคล จึงมีการพัฒนา MRP II ขึ้น 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
MRP, ERP และ SCM ต่อมา ได้พัฒนาระบบวางแผนการจัดการทรัพยากรในระดับองค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) มีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการธุรกิจภายในองค์กร และได้พัฒนาเป็นการจัดการทรัพยากรภายนอกองค์กร อันเนื่องมาจาก Supply Chain และเรียก Software ดังกล่าวว่า “ERP/SCM Software” 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
MRP, ERP และ SCM การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning, MRP) คือการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการควบคุม วัสดุและการวางแผนการผลิต ระบบวางแผนความต้องการวัสดุจะพิจารณาความต้องการวัสดุ จนถึงระดับผลิตภัณฑ์ โดยคำนวณความต้องการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อจัดการสั่งผลิตหรือสั่งซื้อส่วนประกอบนั้นๆ นอกจากนี้ระบบ วางแผนความต้องการวัสดุ ยังทำหน้าที่เป็นกลไกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตารางการผลิต เมื่อมีการทบทวนแผนงาน 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
MRP, ERP และ SCM ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร หรือ ERP (Enterprise resource planning) เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผน และบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานได้อีกด้วย 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
MRP, ERP และ SCM Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การรวมระบบสารสนเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบวางแผนการจัดการทรัพยากรในระดับองค์กร (ERP) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการธุรกิจกายในองค์กร และได้พัฒนาเป็นการจัดการทรัพยากรภายนอกองค์กรอันเนื่องมาจากห่วงโซ่อุปทาน 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
MRP, ERP และ SCM ผลตอบแทนที่ได้รับจากการเชื่อมโยงระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบสารสนเทศ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ ผลตอบแทนที่จับต้องได้ ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ลดอัตราการจ้างงาน มีการปรับปรุงคุณภาพการจัดการใบสั่งซื้อ ผลตอบแทนที่ไม่สามารถจับต้องได้ ผู้บริหาร มีวิสัยทัศน์มากขึ้น องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น ชื่อเสียงขององค์กรมีมากขึ้น มีความเป็น มาตรฐาน มีความยืดหยุ่น และมีความสามารถ ในการแข่งขันทางธุรกิจ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
แนวโน้มของระบบ EIS และ ESS ในอนาคต ในปัจจุบัน ผู้บริหารระดับต่าง ๆ ขององค์กร มีความต้องการระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สนับสนุนการทำงานของตน โดยมีวัตถุประสงค์ต่อระบบเหล่านี้ 4 ประการ ประการที่ 1 ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อหาคำตอบต่อคำถาม ที่มีความเกี่ยวข้องกับสาเหตุหลายประการ ระบบคอมพิวเตอร์จะช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์และสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ประการที่ 2 ในอนาคตระบบที่พัฒนาขึ้นจะต้องใช้งานง่าย และสามารถเรียนรู้วิธีการใช้ได้ง่าย รวมทั้งสามารถทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้โดยอัตโนมัติ หรือมีระบบตัวแทนปัญญา ที่สามารถแนะนำผู้ใช้ในขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนได้ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
แนวโน้มของระบบ EIS และ ESS ในอนาคต ประการที่ 4 ลักษณะของข้อมูลที่มีความแตกต่างกัน ทำให้การจัดเก็บและใช้งานมีความแตกต่างกันไปด้วย เครื่องมือสำคัญชนิดหนึ่งของระบบ EIS หรือ ESS คือ ความสามารถในการสื่อสารข้อมูลสู่กลุ่มผู้บริหารในเวลาเดียวกัน ภายใต้รูปแบบเดียวกัน จึงต้องการระบบ EIS และ ES ยุคใหม่เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลในรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
แนวโน้มของระบบ EIS และ ESS ในอนาคต แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบสนับสนุนการทำงานในระดับองค์กร และระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารมีลักษณะดังนี้ - เครื่องมือสำหรับพัฒนาระบบ จะสามารถดัดแปลงระบบตามความต้องการของผู้บริหารได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถสร้างภาพกราฟิกเพื่อนำเสนอสารสนเทศได้ - ความสามารถในการสนับสนุนมัลติมีเดีย การนำเข้าข้อมูลด้วยเสียง ด้วยระบบสัมผัส หรือการแสดงผลได้ทั้งข้อความ ภาพกราฟิก สามมิติ หรือภาพเคลื่อนไหว จนถึงความสามารถในการนำเข้าสารสนเทศในรูปแบบของไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียงเพื่อนำไปประมวลผล และยิ่งไปกว่านั้นแนวโน้มของระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร อาจจะมีความสามารถแสดงยอดขายตามภูมิภาคด้วยแผนที่ ที่สามารถใช้ระบบสัมผัสได้ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
แนวโน้มของระบบ EIS และ ESS ในอนาคต รูปแบบสามมิติ ซึ่งทำให้สามารถแสดงสารสนเทศได้หลายมุมมอง ซอฟต์แวร์ระบบ EIS จะมีลักษณะการทำงานในรูปแบบของ Web มากขึ้น จะมีการรวมระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ากับระบบวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ภายในระบบ EIS ซึ่งทำให้ผู้บริหารสามารถใช้งานได้สะดวกขึ้นภายในระบบเดียวกัน วิวัฒนาการของเทคโนโลยีจะมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่มมากขึ้น 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
สรุป - ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูง จัดเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร (EDSS) - ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร (ESS) จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวม ค้นหาข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ - ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เป็นระบบที่เน้นการผลิตและส่งมอบสินค้าไปยังผู้บริโภค ข่าวสารทุกอย่างที่ใช้ใน Supply Chain ล้วนแล้วแต่เป็นข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งสิ้น - การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management :SCM) ที่ประสิทธิภาพจะทำให้ลดปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ได้ 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
คำถามท้ายบทที่ 10 1. อธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร และบอกชื่อระบบที่เป็น EDSS มา 2 ระบบ 2. EDSS จำเป็นและสำคัญอย่างไรต่อผู้บริหาร 4. จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างมาอย่างละ 3 ตัวอย่าง 3. บอกบทบาทของผู้บริหารและข่าวสารที่ผู้บริหารมีความจำเป็นต้องใช้ 4. DSS เกี่ยวกับอย่างไรกับ Supply chain 5. ค้นหาข้อมูลจาก Web site ว่ามีองค์กรใดที่ใช้ระบบ Supply chain บอกชื่อมา 5 องค์กร 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th
ส วั ส ดี 11 May 2014 E-mail:wichai@buu.ac.th 27 March 2001 E-mail: wichai@bucc4.buu.ac.th