Meta data
Meta data คืออะไร Metadata คือ คำอธิบายข้อมูล หรือหมายถึงข้อมูล ที่บอกรายละเอียดของข้อมูล เช่น การค้นหาเบอร์โทรศัพท์จากสมุดโทรศัพท์ ซึ่งภายในเล่มจะเป็นแหล่งรวบรวม เมตะดาต้า ของแต่ละบุคคลเพื่อบอกรายละเอียดของบุคคลที่ต้องการค้นหา ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
ลักษณะหรืองค์ประกอบของ Meta data 1. Descriptive Metadata 2. Structural Metadata 3. Administrative Metadata 4. Technical Metadata 5. Preservation Metadata 6. Use Metadata
ประเภทของ Meta data 1. Descriptive Metadata ใช้เพื่อการค้นหาและการระบุวัตถุสารสนเทศ เป็นกลุ่มที่บรรณารักษ์คุ้นเคยที่สุด ตัวอย่าง คือ MARC, Dublin Core records. 2. Structural Metadata ใช้เพื่อแสดงแก่ผู้ใช้ และนำทางให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงวัตถุสารสนเทศนั้นได้ ดังนั้นจึงประกอบด้วยข้อมูลการจัดหมวดหมู่ของวัตถุนั้น (ไม่ใช่จัดหมวดหมู่ด้านเนื้อหา) เช่น ตู้ >> ลิ้นชัก >> โฟลเดอร์ >> แฟ้มแต่ละแฟ้ม >> เอกสารแต่ละชิ้น
ประเภทของ Meta data 3. Administrative Metadata ใช้เพื่อแสดงข้อมูลการจัดการวัตถุนั้น ๆ เช่น วันที่ที่ผลิต, format ของไฟล์ (JPEG, etc.), ผู้ผลิตหรือหน่วยงานเจ้าของวัตถุนั้น 4. Technical Metadata ใช้เพื่อแสดงข้อมูลเชิงเทคนิค เช่น ฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลงข้อมูล, format ของไฟล์ (JPEG, etc.), อัตราส่วนของการบีบอัดข้อมูล (compression ration) ฯลฯ
ประเภทของ Meta data 5. Preservation Metadata ใช้แสดงข้อมูลด้านการสงวนรักษา เช่น สภาพทางกายภาพของต้นฉบับ, การสงวนรักษาไฟล์ เป็นต้น 6. Use Metadata ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของผู้ใช้และลักษณะของการใช้ เช่น version ของวัตถุกับประเภทของผู้ใช้ เป็นต้น
ตัวอย่างของ Meta data ตัวอย่างของ metadata ที่เราเห็นในชีวิตประจำวันก็คือ ป้ายหรือฉลากที่ติดอยู่บนภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องดื่ม หรือสิ่งของต่างๆ เพื่อที่จะอธิบายข้อมูลว่าแต่ละรายการคืออะไร เพียงแค่เราอ่านฉลากก็ทำให้เราทราบถึงคุณลักษณะของสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของ Meta data นำ Meta data มาประยุกต์ใช้กับกลุ่มผู้ผลิตข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ องค์กรระหว่างประเทศ เช่น International Monetary Fund (IMF) , United Nation(UN), Organization for Economic Cooperation and Development(OECD) เป็นต้น หรือ หน่วยงานภายในประเทศที่รวบรวบข้อมูลปฐมภูมิจากเจ้าของข้อมูลหรือ ต้นกำเนิดของข้อมูลแล้วนำมาเรียบเรียงและจัดระเบียบในการนำเสนอในรูปแบบต่างๆเพื่อความสะดวกในการพิจารณา
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของ Meta data กลุ่มผู้ผลิตข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นองค์กรระหว่างประเทศต้องการเมตะดาต้าที่เป็นมาตรฐาน(Standard metadata)สามารถเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนกันได้ จึงได้สร้างมาตรฐานของเมตะดาต้าเพื่อเป็นต้นแบบให้กับหน่วยสถิต ิในแต่ละประเทศใช้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น สร้างมาตรฐานเมตะดาต้าเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลสถิติทางอินเตอร์เน็ต กำหนดให้ใช้มาตรฐาน XML (Extensible Markup Language), Dublin Coreในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
ที่มา http://www.odi.stou.ac.th/ODI/20aniversary/Metadata.files/frame.htm#slide0003.htm http://dublin.tiac.or.th/metadata.htm www.tkc.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=156&directory=2951&contents
นางสาวปทุมนภา ไชยสิงห์ รหัส 493050199-6 จัดทำโดย นางสาวปทุมนภา ไชยสิงห์ รหัส 493050199-6 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา ชั้นปีที่ 3