โครงการอบรมผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร รุ่นที่ 4 วันจันทร์ที่ 12 - 24 พฤษภาคม 2547
ผู้เข้าอบรมโครงการอบรมผู้บริหารรุ่นที่ 4 จำนวน 29 คน จำแนกเป็น ผู้เข้าอบรมโครงการอบรมผู้บริหารรุ่นที่ 4 จำนวน 29 คน จำแนกเป็น คณะ จำนวน (คน) ศึกษาศาสตร์ 3 มนุษยศาสตร์ 5 วิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ 1 สังคมศาสตร์ 1 นิติศาสตร์ 3 วิทยาศาสตร์ 4 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 1 วิศวกรรมศาสตร์ 3 วิทยาศาสตร์การแพทย์ 1 สาธารณสุขศาสตร์ 1 พยาบาลศาสตร์ 2 เภสัชศาสตร์ 2 สหเวชศาสตร์ 2
ตำแหน่งทางการบริหาร จำแนกเป็น ตำแหน่งทางการบริหาร จำแนกเป็น รองคณบดี 13 คน หัวหน้าภาควิชา 9 คน หัวหน้าสาขาวิชา 4 คน ผู้ช่วยคณบดี 2 คน รองหัวหน้าภาควิชา 1 คน
มหาวิทยาลัยนเรศวร ก้าวต่อไปของการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดย รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐดีอย่างไร การพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวรให้ไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเพื่อต้องการพัฒนาระบบการบริหารงานให้มีความเป็นอิสระ คล่องตัว สามารถตรวจสอบได้ จะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการได้ตามเป้าหมาย
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐต่างจากมหาวิทยาลัยในระบบราชการอย่างไร ต่างจากมหาวิทยาลัยในระบบราชการที่ไม่ต้องใช้กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศต่าง ๆ ของทางราชการมาใช้ในการบริหารงาน มหาวิทยาลัยสามารถสร้างกฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศต่าง ๆ ได้เอง โดยผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัวแต่ต้องตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะการบริหารงานต่าง ๆ ดังนี้
มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการองค์กรการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัย มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล มีความเป็นอิสระทางด้านการเงิน มีความเป็นอิสระทางด้านวิชาการ
ท่านเปลี่ยนสถานภาพเป็นข้าราชการของมหาวิทยาลัยแล้วได้อะไร มีสถานภาพเป็นข้าราชการมหาวิทยาลัย ได้เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหมือนเดิม ได้เป็นสมาชิก กบข. เหมือนเดิม ปรับอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนสูงขึ้น สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลไม่ต่ำกว่าที่อยู่ในระบบราชการ ค้ำประกันได้เหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยนเรศวรจะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเมื่อไหร่ คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. แล้ว เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกพิจารณาส่งร่าง พ.ร.บ.บรรจุในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ทันในสมัยประชุมนี้ เมื่อร่าง พ.ร.บ. ผ่านความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภาแล้วนายกรัฐมนตรีนำร่าง พ.ร.บ. ขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน
มหาวิทยาลัยเตรียมความพร้อมรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐไปถึงไหนแล้ว 1. ร่างระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับต่าง ๆ ประกอบด้วย ข้อกำหนดมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง การจัดตั้งส่วนงาน พ.ศ.... ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง การบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. .... ระเบียบมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. ... ระเบียบมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและเงินช่วยเหลือ พ.ศ. ... ระเบียบมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย สวัสดิการการศึกษาบุตรของพนักงาน พ.ศ. ...
2. เตรียมจัดทำแบบฟอร์มรับสมัครเปลี่ยนสถานภาพ เป็นข้าราชการมหาวิทยาลัย 3. เตรียมของบประมาณเพิ่มเติมเป็นค่าเงินเดือนและ ค่าตอบแทน 4. เตรียมการปรับโครงสร้างองค์กรภายในให้สอดคล้อง กับ พ.ร.บ.
บทบาทของผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษา โดย :. ศาสตราจารย์ ดร บทบาทของผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษา โดย : ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ปฏิรูปการศึกษา: ทำไมต้องปฏิรูป ในสังคมไทย มีการปฏิรูปการศึกษามาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งแรกเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 5 ครั้งที่ 2 เมื่อมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 และครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ .2542 ทั้งนี้ เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม และการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกได้แก่ กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งมีความมุ่งหมายให้เกิดอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั่วโลก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง 4 ด้านซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ ระบบสารสนเทศ ( Information technology system) ระบบเศรษบกิจ (Economic system) วัฒนธรรม (Culture) ระบบความรู้ (Knowledge system)
ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ทำให้ต้องมองย้อนกลับมาที่ สังคมไทย และเป็น จุดเริ่มต้นให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 9 ได้ตั้งยุทธศาสตร์ไว้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง: สังคมคุณภาพ คือสร้างสังคมที่คิดเป็น (Knowledge-based society) สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning society) สังคมแห่งสมานฉันท์
การศึกษา มีบทบาทอย่างมากต่อยุทธศาสตร์ที่ตั้งขึ้น จึงได้มีการ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อ: สร้างมนุษย์ที่ดี สร้างพลเมืองที่ดี สร้างผู้ที่มีความสามารถในการประกอบอาชีพ สร้างผู้สามารถสร้างงานได้
ปฏิรูปการศึกษา: ปฏิรูปอะไร สิ่งที่ต้องปฏิรูปมี 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ Input Process Output
Input ได้แก่ คน หรือทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งได้แก่ เยาวชนและครู การที่จะพัฒนาครูนั้นควรเริ่มที่ การปรับเปลี่ยนทัศนคติของครู และสถาบันที่มีหน้าที่ในการผลิตครูอาจต้องปรับเปลี่ยนยุทธวิธี เช่น อาจต้องเน้น knowledge skill และ teaching skill ไปพร้อมๆกัน ส่วนการพัฒนาเยาวชนนั้นต้องสร้างความรู้แก่เยาวชนทั้งในเชิงประจักษ์ (explicit knowledge) และความรู้แบบซึมลึก (tacit knowledge) อาศัยการปรับเปลี่ยน process คือ การจัดการเรียนการสอน เช่น การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับวัยต่างๆ
ในวัยเด็ก (2-10 ขวบ) ควรให้รู้เกี่ยวกับธรรมชาติและโลก อันจะก่อให้เกิดความใฝ่รู้ และเกิดคุณธรรมได้เนื่องจากเด็กจะเรียนรู้ถึง ความหลากหลาย การพึ่งพาอาศัยกันและกัน และความสมดุลย์ของธรรมชาติ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ควรให้รู้จักตนเอง และสิ่งแวดล้อม ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรจัดให้มีการเรียนการสอนแบบ รู้ทำ คือให้มีการปฏิบัติก่อนแล้วจึงโยงเข้าทฤษฏี ไม่ควรสอนให้ท่องจำ และควรให้โอกาสเยาวชนในการสำรวจความถนัดว่าตนเองถนัดทางด้านสายอาชีพหรือสายวิชาการในช่วงมัธยมปลายนี้ หลังจากนั้นจึงเลือกเรียนต่อตามความสนใจ ในระดับอุดมศึกษา ควรเน้นให้เกิดความรู้มากกว่าระดับของความรู้ เข้าใจว่าสิ่งที่ศึกษาไป สามารถนำไปใช้อะไรได้ในอนาคต อาจเน้นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (learning by doing)
ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้กล่าวถึงวิกฤติอุดมศึกษาว่ามีอยู่ 2 ด้าน คือ: อุดมศึกษาเป็นธุรกิจที่เสื่อมถอย ไม่มีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่ทันต่อสังคม ดังจะเห็นได้จากการที่ภาคเอกชนยังมีบทบาทในการนำภาครัฐบาล 2. เป็นองค์กรทางสังคมที่ล้มเหลว ไม่สามารถเชื่อมโยงสังคมและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาได้
ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาควรเป็นดังนี้ คือ ให้การบริการการศึกษาแก่สังคม 3 ฐาน ได้แก่ สังคมแห่งความด้อยโอกาส สังคมแห่งความพอเพียง และสังคมแห่งการแข่งขันเพื่อค้ากำไร สามารถรับมือกับกระแสหรือพลังของโลกปัจจุบันและโลกอนาคตได้ สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงใน 3 ลักษณะคือ ป้องกันภัย ตอบโต้ทางรุก และ พลิกสถานการณ์
สำหรับ output นั้นได้มีการกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตไทย ที่พึงประสงค์ ได้แก่ ตรงต่อเวลา แก้ปัญหาเป็น มีระเบียบวินัย ซื่อสัตย์ อ่อนน้อมถ่อมตน ละเอียดถี่ถ้วน มีความสามารถในการ ปรับตัว และความสามารถในการทำงานเป็นทีม
บทบาทผู้บริหารในการปฏิรูปการศึกษา ผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษาควรมีลักษณะดังนี้ 1. ความสามารถในเชิงวิชาการ ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาการด้านสาขาวิชา และควรกำหนดเป้าหมายใน การพัฒนาตนเองในด้านวิชาการไว้สูงสุด เช่น การขึ้นสู่ตำแหน่งทางวิชาการในระดับศาสตราจารย์ 11 เป็นต้น ซึ่งความสามารถในเชิงวิชาการนี้เองที่จะก่อให้เกิดการยอมรับในวงกว้างต่อไป 2. เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั้งภายในและภายนอก เพื่อการประสานประโยชน์ให้กับหน่วยงาน ของตน รวมทั้งการมอบหมายงานแก่บุคลากรให้เหมาะสมกับความสามารถ 3. มีความสามารถในการปรับตัว เนื่องจากสังคมมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับการ เปลี่ยนแปลง และยอมรับเทคโนโลยี พร้อมที่จะปรับตัวในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเสมอ 4. เป็นผู้มีคุณธรรม ผู้บริหารที่ดีต้องมีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการเป้นผู้ให้ มีความเป็นกลาง ใช้เหตุและผล และ จำเป็นต้องพิจารณาความก้าวหน้าและความเข้มแข็งขององค์กรไปพร้อมๆกัน
สรุป ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องมี....... วิสัยทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่หนีปัญหา เป็นผู้ฝึกสอนและแนะแนวทางที่ดี มีแผนดำเนินการที่ชัดเจนรวมทั้งกระคุ้นและปฏิบัติด้วย มีความโปร่งใสในการทำงาน ตรวจสอบได้ มีการกำกับ ควบคุม และประเมินผลการทำงานอยู่เสมอ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปกครอง
กฎหมายที่ควรรู้สำหรับผู้บริหาร โดย : นายสู่บุญ วุฒิวงศ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5
ตัวอย่างคดี นพ.วิสุทธิ์ และพญ.ผัสพร ตัวอย่างคดี นพ.วิสุทธิ์ และพญ.ผัสพร ผู้เสียหาย : พญ.ผัสพร (ภรรยา) จำเลย : นพ.วิสุทธิ์ (สามี) คดี : เริ่มแรกอัยการส่งไม่ฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่ชัดเจน แต่กฎหมายคดีอาญาของไทยมีทางออกให้โดย พ่อ แม่ ญาติของผู้เสียหายสามารถ ยื่นฟ้องแทนอัยการได้ ดังนั้นกรณีนี้พ่อผู้เสียหายจึงยื่นฟ้องเอง ศาลชั้นต้น : พิพากษาให้ประหารชีวิต
คำถาม : คดีที่เกี่ยวข้องกับสามี – ภรรยา ผลการพิพากษาของผู้พิพากษาหญิงกับผู้พิพากษาชายต่างกันหรือไม่ คำตอบ : มีตัวอย่างภารโรงชาย ลวนลามผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้หญิง ในศาลชั้นต้นผู้พิพากษาหญิง พิพากษาให้จำคุก 4 ปี เมื่อยื่นอุทธรณ์ผู้พิพากษาชายในศาลอุทธรณ์พิพากษาตัดสินให้เสียค่าปรับ 400 บาท แต่เมื่อยอมรับสารภาพ เลยลดค่าปรับเหลือครึ่งหนึ่ง ดังนั้น ความผิดที่เกี่ยวกับเพศ แนวความคิดของผู้พิพากษาที่ต่างเพศกัน ย่อมมีผลต่อการพิจารณคดี และการพิพากษา
คำถาม : กรณีผู้บริหารลวนลาม / ละเมิดทางเพศผู้ใต้บังคับบัญชา คำตอบ : ผลทางคดีขึ้นอยู่กับความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย และถ้าอายุเกิน 20 ปี ถือว่าไม่มีความผิด ยกเว้นว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีครอบครัวแล้ว จะมีความผิดทางแพ่ง และความผิดทางวินัย หากเป็นการล่วงละเมิด / ข่มขืน ถือว่ามีความผิดทางอาญา หากเป็นกรณีอาจารย์ กับศิษย์ ถ้าศิษย์มีอายุเกิน 18 ปี ถือว่าไม่มีความผิดทางอาญา แต่อาจมีความผิดทางวินัย หากศิษย์มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ถือว่ามีความผิดฐานพรากผู้เยาว์
คำถาม : อาจารย์เฆี่ยนลูกศิษย์ด้วยไม้เรียวผิดหรือไม่ คำตอบ : ถือว่าไม่ผิดหากไม่รุนแรงจนเกินไป เพราะการตีเพื่อการอบรมบ่มนิสัยไม่มีเจตนาทำ ร้าย คำถาม : นิสิตทำปฏิบัติการแล้วได้รับอันตราย / ติดเชื้อ / พิการ อาจารย์ผู้ดูแลจะมีความผิด หรือไม่ คำตอบ : ถ้าเหตุเกิดโดยนิสิตเอง ถือว่าไม่มีความผิดทางอาญา แต่มีความผิดทางแพ่ง ถ้าเกิดอุบัติเหตุโดยอาจารย์เป็นผู้กระทำ ถือว่าเป็นความผิดทางอาญา คำถาม : เด็กออกไปฝึกงานในโรงพยาบาลแล้วเกิดติดเชื้อจนเสียชีวิต ใครต้องเป็นผู้รับผิด คำตอบ : กรณีนี้ขึ้นอยู่กับคำฟ้องของผู้เสียหาย อาจารย์ผู้ดูแล อาจมีความผิดเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ และการขาดการดูแลอย่างใกล้ชิด ถือว่าเป็นความผิดทางแพ่ง
คำถาม : กรณีรุ่นพี่ปีที่ 2 ทำโครงการรับน้องนอกสถานที่ แล้วเกิดเหตุจนนิสิตเสียชีวิต อาจารย์ผู้รับผิดชอบมีความผิดหรือไม่ คำตอบ : มีความผิดโดย จำเลยที่ 1 คือ รุ่นพี่ปีที่ 2 จำเลยที่ 2 คือ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ จำเลยที่ 3 คือ คณบดีของคณะที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 4 คือ อธิการบดี
กรณีตัวอย่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ผู้หญิงวุฒิปริญญาเอกขอร้องทุกข์ กรณีประเมินผลการปฏิบัติงานไม่มีความยุติธรรม โดย หัวหน้าภาควิชากล่าวหาว่า ขาดการประชุมภาควิชาบ่อยครั้ง โดยไม่มีเหตุผลโดยสิ้นเชิง กระทำการต่างๆ โดยไม่ผ่านการเห็นชอบของภาควิชา ไม่ให้ความร่วมมือกับภาควิชา ไปราชการต่างประเทศ โดยไม่ก่อประโยชน์ต่อภาควิชา คำร้อง ขอให้ อกม. สอบสวนข้อเท็จจริงและชี้แจงเพื่อความเป็นธรรม ผลของการพิจารณาของ อกม. จากการสอบสวนของ อกม. พบว่าผู้ร้องไม่มีผลกระทบใดๆ เลย เนื่องจากผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ “ดีเด่น” และได้รับการปรับเงินเดือนตามปกติ ดังนั้น ผลการ พิจารณา คือ “ยกคำร้อง”
กรณีตัวอย่าง นักเรียนทุนรัฐบาลไม่ยอมกลับมาใช้ทุนภายหลังสำเร็จการศึกษามีความผิดอย่างไร เหตุเกิดที่ม.สงขลานครินทร์ โดย นักเรียนทุนคนนี้คืนเงินเดือนทั้งหมดแก่ต้นสังกัด ยกเว้น ค่าเดินทาง เงินทุนของ Fulbright ก็มีการต่อสู้คดีกันในชั้นศาล โดยฝ่ายจำเลยอ้างว่าเงินจาก Fulbright เป็นเงินบริจาค ไม่ใช่เงินของรัฐบาล ไม่สามารถเรียกคืนได้ ศาลชั้นต้น : ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ : ยืนยันตามศาลชั้นต้น ศาลฎีกา : ยืนยันตามศาลชั้นต้น
มหาวิทยาลัยกับชุมชน : องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดย : นายโสภณ สุภาพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการชี้นำนโยบาย ไม่ใช่มีหน้าที่ทำตามนโยบาย เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งข้อมูล การวิเคราะห์วิจัย การเรียนรู้ควรนำเข้าไปสู่จิตวิญญาณ เพื่อการประยุกต์ใช้ ไม่ใช่การท่องจำ แล้วไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น “มหาวิทยาลัย” และสถาบันการศึกษา เป็นแหล่งกำเนิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญของชุมชน ซึ่งควรจะใช้คำว่า “มหาวิชชาลัย” ซึ่งหมายถึง สถาบันการศึกษาที่ขัดเกลาจิตที่สะอาดแล้ว
ผู้นำ คือ ผู้บริหารที่มีการศึกษา ผู้นำนั้นเกี่ยวข้องกับองค์กร พบว่าผู้นำที่ดูแลสังคมและองค์กรได้ดี ก็จะทำให้สังคมดีได้ ซึ่งต่างกับผู้นำที่เป็นโจร ก็จะทำให้สังคมกลายเป็นโจรทั้งสิ้น แต่บางครั้งผู้นำเป็นโจรสามารถทำให้สังคมดีได้ ภาวะของผู้นำ ผู้นำ โจร หัวหน้าโจร ดี โจร
”ผู้ที่ได้รับการยกย่องควรจะมีจริยธรรมสูง ตั้งอยู่บนความถูกต้องทางศีลธรรม จริยธรรม ไม่ใช่ด้วยอำนาจ” ตัวอย่างผู้นำที่ดี 1. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ : ผู้นำที่ไม่เคยบันดาลโทสะ : มีความจริงใจในการทำงานและช่วยแก้ปัญหาให้ประเทศชาติ : พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กล่าวไว้ว่า “เราต้องเอาชนะความยากจน แล้วเราก็จะชนะทุกอย่างได้” เหตุการณ์ปฏิวัติสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ท่านไม่เคยตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ และไม่แก้สถานการณ์ด้วยความรุนแรงแต่อย่างใด
2. เติ้ง เสี่ยว ผิง การเรียนรู้ข้อผิดพลาดนั้น ดูตัวอย่างที่ประเทศจีน เนื่องจากประเทศจีนมีการพัฒนาและได้เรียนรู้มาจากความผิดพลาด เติ้ง เสี่ยว ผิง อดีตผู้นำประเทศจีน ที่มีรูปแบบการทำงานและมีหลักการบริหาร โดยการสร้างความอบอุ่นกับเพื่อนร่วมงาน โดยไม่ยกตนข่มท่าน
รูปแบบหนึ่งที่เป็นหลักยึดการทำงานที่ดีได้ นั่นคือ 1M 6S ซึ่งประกอบด้วย M = Mission : พันธกิจ เป็นความฝันหรือเป้าหมาย พันธะ จุดประสงค์ ว่าเหมือนกันหรือไม่ S = Style : วัฒนธรรม เป็นวิถีขององค์กร S = Strategies : ยุทธศาสตร์ จะเห็นว่านักยุทธศาสตร์คนแรกของโลก (ฮานีบาน) ที่สามารถทำยุทธศาสตร์จนกระทั่งยึดกรุงโรมได้ S = Structure :โครงสร้าง S = System : ระบบ S = Staff : ทีมงาน S = Skill : ทักษะ
ใน Mission และ Style เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และเมื่อเทียบกับวงจรการทำงานงานที่มีแบบแผน เช่น วงจรเดมมิ่ง หรือ PDCA นั่นคือ Plan Do Action Check
เมื่อนำเอาหลัก 1M 6S ผสมผสานกับกระบวนการ PDCA ดังนี้ Mission Style ผู้นำ Strategies Plan Do Structure ผู้บริหาร System Action Check Staff Skill
ผู้นำ จะเป็นผู้ชี้วิถีหรือชี้นำชีวิต โดยใช้แรงบันดาลใจทำแต่เรื่องจริงแท้หรือเรื่องที่มีสาระ ผู้บริหาร / ผู้จัดการ ทำหน้าที่วางแผน จัดองค์กร และตรวจประเมิน หัวหน้า จัดการทุกสิ่งโดยพิธีการ ยึดระเบียบ ทำงานโดยระบบสั่งและเน้นความชำนาญการ หัวโจก / โจร จะคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตน ใช้กิเลสนำ ทำในลักษณะฉวยโอกาสเพื่อให้ได้ผลประโยชน์
“การเป็นผู้นำต้องผ่านกระบวนการศึกษา แต่การเป็นหัวโจกไม่ต้องผ่านกระบวนการศึกษา” การศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้ และการขัดเกลาจิตใจ ความเป็นคนของเราต่างกับสัตว์ เพราะคนมีจิตใจสูง คำว่า “คน” ตามพจนานุกรม คือ สัตว์ที่มีจิตใจสูง คนเมื่อได้ผ่านกระบวนการศึกษาและมีการศึกษา ได้ขื่อว่าเป็นมนุษย์ ดังพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “มนุษย์สูงกว่าเทวดา และสัตว์ทั้งปวง เพราะมนุษย์ สามารถศึกษาเพื่อพัฒนาตนจนมีจิตใจที่บริสุทธิ์ได้”
การศึกษาที่ดี ควรทำให้ได้ในสิ่งต่อไปนี้ 1. เรียนรู้ที่จะรักพ่อแม่ 2. เรียนรู้ที่จะรักเพื่อนฝูง 3. เรียนรู้ที่จะรักสังคม 4. เตรียมตัวที่จะรับใช้สังคม
ผู้บริหาร เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษามามากกว่า ควรกระทำตนให้ เสมือนแม่ที่ให้การดูแลลูก ทำความรู้สึกให้เหมือนแม่ที่คอยเอาใจ ใส่ลูกอยู่เสมอ ทำหน้าที่บริหารจัดการให้ลูก ถือการเป็นผู้ให้ที่ บริสุทธิ์และเป็นธรรม ดังนั้นผู้บริหารควรยึดถือความรู้สึกเสมือน ตัวแทนของแม่ ซึ่ง “แม่ ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างของนักบริหารที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์... ”
การจัดการเชิงกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ในการวางแผน โดย : ดร.สุชาติ เมืองแก้ว รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
การจัดการเชิงกลยุทธ์ มีจุดมุ่งหมายดังนี้ เพื่อสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเอาชนะคู่แข่งขันและจุดอ่อน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาของผู้รับบริการ เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นโยบายรัฐบาลด้านอุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมยานยนต์ : Detroit of Asia อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ : อุตสาหกรรมแฟชั่น - ออกแบบ : Bangkok fashion city อุตสาหกรรมอาหาร : World kitchen อุตสาหกรรมท่องเที่ยว – บริการ : Unseen Thailand
การคิดขั้นต้นเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ 1. Inputs : นักศึกษา แหล่งที่มา วิธีการจัดการศึกษา งบประมาณ บุคลากร และcash flow ของการเปิดหลักสูตร 2. Steps : ขั้นตอนการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อเอาชนะผู้แข่งขัน 3. Time Bound : จังหวะ ช่วงเวลาที่เหมาะสม ทันเวลาและทันต่อสถานการณ์ 4. Involvement : การสร้างการมีส่วนรวมของ Stekeholders
เทคนิคการสร้างวิสัยทัศน์สำหรับผู้บริหาร Data Collection Data Selection Data Conversion Share Vision
UNIVERSITY AND EXCELLENCE INNOVATION EXCELLENCE EFFICIENCY MANAGEMENT
CONCEPT การจัดทำแผนกลยุทธ์ ISSUE / POLICY (นโยบายภาครัฐ กระแสสังคม ภาวะการณ์) Leadership Analysis EFFORT IMPACT (กำลังทุน /กำลังคน /ทรัพยากรอื่น ๆ) (คุณค่าที่เกิดขึ้นต่อภาครัฐและภาคเอกชน) Implementation Change INTEREST (ผลประโยชน์ที่หน่วยงานได้รับ)
การพัฒนากระบวนการในการบริหารมหาวิทยาลัยยุคใหม่ Product&Service Process : กระบวนการผลิตเพื่อให้บริการ Business Process : กระบวนการบริหารเชิงธุรกิจ Supporting Process : กระบวนการสนับสนุน
แนวทางปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศในมหาวิทยาลัย มี Visibility ของระบบงาน มีภาวะ Leadership สูง มี Participative Management สูง มี Cross Function Team ดี มี Common Understanding สูง – ดี - Share Vision - Values work shop
แนวทางปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศในมหาวิทยาลัย 1. Team work 2. Culture of Organization 3. Turn over rate of Staff
ตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ไปสู่ความเป็นเลิศ Quality : คุณภาพบัณฑิต บุคลากร Cost : กองทุน สวัสดิการ Delivery : ขบวนการผลิตที่ทันเวลา Innovation : การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ Productivity : การเพิ่มผลผลิต Safety : ความปลอดภัย และความมั่นคงในการทำงาน Morale : ขวัญและกำลังใจ
คุณธรรมจริยธรรมและภาวะผู้นำในการบริหาร โดย : หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ)
วุฒิภาวะของการเป็นผู้นำที่สำคัญที่สุด คือ การบริหารและจัดการอารมณ์ เพราะผู้นำส่วนใหญ่มีความรู้ ความสามารถคู่ตัวอยู่แล้ว แต่ที่มักเป็นปัญหา นั่นคือ การบริหารจัดการอารมณ์ การขาดการบริหารจัดการอารมณ์ที่ดี ย่อมเป็นผู้นำที่ดีไม่ได้ อคติทั้ง 4 คือ กลัว รัก ชอบ ไม่ชอบ เป็นตัวการสำคัญที่เป็นปัญหาต่อการจัดการอารมณ์ หลักเศรษฐศาสตร์ทางเชิงพุทธ : การสร้างกำไรทางอารมณ์ คือ การเกิดความโปร่งเบา สบายอารมณ์ นั่นคือ กำไรที่แท้จริง แม้ว่ากำไรในเชิงเงินทองจะน้อยนิดก็ตาม
คุณธรรมของผู้บริหาร มีน้ำใจ ให้อภัย ไม่เห็นแก่ตัว ทำหน้าที่ด้วยการใช้ปัญญา ผู้นำที่ดีไม่ควรคิดแต่จะนำผู้อื่น แต่จะต้องนำตัวเองให้ได้เสียก่อน โดยการทำอย่างไรก็ได้ที่ไม่ให้เราอยู่ใต้อารมณ์และอยู่เหนือเหตุผล ดังนั้นคุณธรรมทั้ง 4 ประการนี้ เสมือนเกราะกำบังในการดำรงตนให้อยู่ของการเป็นผู้นำที่ดี
ช่วงปุจฉา – วิสัชนา ปุจฉา : การบริหารจัดการอารมณ์ด้านความลำเอียง ควรทำอย่างไร วิสัชนา : เราต้องเข้าใจหน้าที่ และบทบาทของตนเอง จากนั้นต้องเข้าใจหน้าที่ และบทบาทในการนำเสนอ เพื่อตอบคำถามของตนเองว่าเป้าประสงค์ของการแสดงออกของเราเพื่ออะไร ต้องขจัดซึ่งอคติทั้งหมดด้วยปัญญา ปุจฉา : การทำงานร่วมกัน ผู้นำที่ขาดการควบคุมทางอารมณ์ที่ดี ควรทำอย่างไร วิสัชนา : พยายามบริหารจัดการอารมณ์ของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานให้มีความสุข และใช้เป็นบทเรียนของการทำงานโดยการขาดการจัดการทางอารมณ์
ปุจฉา : ทำอย่างไรจะรักษาสติให้อยู่กับตัวเองได้ตลอดเวลา วิสัชนา : จัดระเบียบของกาย เพื่อความคิดจะเป็นระบบ ยกตัวอย่าง การตื่นนอนตอนเช้า ครั้งแรก... ลืมตา ครั้งที่สอง... ดื่มน้ำ ครั้งที่สาม... เก็บที่นอน ครั้งที่สี่... เข้าห้องน้ำ เป็นการจัดระเบียบกาย โดยจัดการตนเองให้เป็นระบบ ไม่ทิ้งงานให้คั่งค้างไว้เป็นปัญหา หรือภาระ
ปุจฉา : เมื่อเห็นคนทำผิด แต่คนนั้นมีอำนาจหน้าที่เหนือเรา เราควรจะบอกเค้าหรือปล่อยให้สังคมลงโทษเอง วิสัชนา : ควรให้คำเตือน คำแนะนำแก่เขาด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยปราศจากความรังเกียจ หรือติเตียน ปุจฉา : การเป็นผู้บริหารระดับสูง ย่อมมีผู้ที่มองเราด้วยความอิจฉาริษยา และต่อต้าน ควรปฏิบัติตนกับคนเหล่านั้นอย่างไร วิสัชนา : ใช้หลักพรหมวิหาร 4 มาเป็นตัวควบคุมอารมณ์ และการแสดงออก อาจต้องใช้อุเบกขาในกรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของคนเหล่านั้นได้
หลักคำสอนในการดำรงชีวิต “ชีวิต คือ การต่อสู้ ปัญหา คือ การเรียนรู้ “ชีวิต คือ การต่อสู้ ปัญหา คือ การเรียนรู้ ศัตรู คือ ครูของเรา”
การศึกษาดูงานที่ บริษัท ทรู คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด
การดูงานที่บริษัท ทรู คอเปอเรชั่น บริษัท ทรู คอเปอเรชั่น เปลี่ยนชื่อมาจาก บริษัทเทเลคอมเอเชีย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เหตุผลของการเปลี่ยนชื่อมาเป็น True เนื่องจากคำว่า “เทเลคอมเอเชีย” มีมุมมองที่แคบจากผู้บริโภค ซึ่งมองว่าบริษัทให้บริการเฉพาะโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโทรศัพท์บ้านเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริง เทเลคอมเอเชีย มีบริการที่มากกว่านั้น เช่น Wireless LAN เช่นระบบ Wi Fi ที่ศูนย์ประชุม สิริกิติ์ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อระบบ internet ได้ทุกที่แบบไร้สาย “คุณค่าชีวิตที่แท้ คือ มีกันและกัน”
โครงสร้างด้านทรัพยากรบุคคลและบริหารทั่วไป บริษัท ทรู ประกอบด้วยส่วนของ Telecom Asia, UBC และ Orange โครงสร้างด้านทรัพยากรบุคคลและบริหารทั่วไป แบ่งเป็นหลายๆ ฝ่ายได้แก่ สายงานบริหารทรัพยากรบุคคล ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนา ฝ่ายจรรยาบรรณในการทำงานและอื่นๆ สำหรับโครงสร้างในส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล ได้แก่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์ และ HR (human resource) Project
นโยบายด้านการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วยส่วนของ กฎข้อบังคับในการทำงาน นอกจากมีกฎระเบียบเหมือนทั่วไป บริษัทก็มีวัฒนธรรมองค์กรที่นำมาใช้ด้วย การจัดโครงสร้างองค์กร บริษัทจะพยายามลดชั้นงานให้แบนลงไม่ให้มากเกิน 5 ชั้น ชื่อตำแหน่ง บริษัทจะมีการจัดชื่อให้กับพวกที่ไม่ใช้ผู้บริหารซึ่งจำเป็นต้องติดต่อภายนอกและแบ่งบอกระดับชั้น อำนาจการอนุมัติบริษัทเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับล่างๆ มีโอกาสในการตัดสินใจมากขึ้น นโยบายการวางแผนการสรรหา บริษัทมีการดำเนินการในส่วน แผนอัตรากำลัง การสรรหาภายในองค์กร จะพิจารณาสรรหาจากบุคลากรภายในก่อน ทันทีที่มีตำแหน่งว่าง การสรรหาจากภายนอก มีแนวทางการประกาศหลายแนวทางในการสรรหาให้เหมาะสมกับตำแหน่ง การทดลองงาน บริษัทจะให้พนักงานได้มีการทดลองงานในระยะเวลาหนึ่งและจะมีการประเมินในกลุ่มที่เห็นว่าจะพัฒนาได้ก็จะให้โอกาสในการทำงาน
การวางแผนพัฒนาและการให้คำแนะนำ บริษัทจะมีการกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานไว้ มีการใช้ Balanced scorecard มีการจัดกรอบความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีการแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ Core competencies เป็นระดับที่ทุกคนต้องมี Role – specific competencies เป็นระดับที่ขึ้นกับตำแหน่งที่สำคัญๆ เช่น ผู้จัดการ Functional competencies ขึ้นอยู่กับสายงานเฉพาะ นอกจากนี้บริษัทก็มีการทำแผนพัฒนาพนักงาน รวมทั้งแผนปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เหมาะสมตลอด
การให้รางวัลและการรักษาพนักงาน นอกจากจะมีเงินเดือนที่แตกต่างกันเป็นกลุ่มของงาน ยังมีสวัสดิการเพิ่มให้ มีผลประโยชน์ ตอบแทนอื่นๆ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะงาน และยังมีการสำรวจความเห็นของพนักงานซึ่งจะทำประมาณ 2 ปีครั้ง การจัดสรรตำแหน่งและการเกษียณอายุ บริษัทได้มีระบบการโอนย้ายมีการหมุนเปลี่ยนคนในบางตำแหน่ง มีการเลื่อนตำแหน่งเพื่อให้เหมาะสมได้ตลอด และการพ้นสภาพการเป็นพนักงานก็มีทั้งพ้นสภาพแบบตามธรรมชาติ เช่น การลา หรือเกษียณ หรือไม่เป็นไปตามธรรมชาติในบางครั้ง การจัดการข้อมูล บริษัทจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลบุคคลซึ่งมีในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่การสมัครงาน การลา การฝึกอบรมต่างๆ นอกจากนี้ข้อมูลก็จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารจะดูได้ และบางข้อมูลก็จะสามารถนำมาใช้ร่วมกันและระหว่างบริษัทในกลุ่ม ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ดี
Learning and development บริษัทมีนโยบายในเรื่อง Training & Development policy Learning center mission & strategy Competencies Learning center organization and service
Leaning center organization and services แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ Telecommunication training Managerial, Generic & Support training Information Technology training & Knowledge management Commercial & Customer service training
การกำหนดเป้าหมายในการทำงาน ผู้บริหาร : Balanced Scorecard พนักงาน : Target setting แผนการพัฒนาพนักงาน จะดูจาก Curve of Percentile เพื่อ พัฒนาและปรับปรุงพนักงานแต่ละกลุ่ม การจัดการระบบข้อมูล ข้อมูลบุคคล : Employee self service program ข้อมูลสำหรับผู้บริหาร : Manager self service program ข้อมูลที่ใช้ร่วมกันสำหรับบริษัทในเครือ
การศึกษาดูงานที่ Hanoi University of Technology
การดูงาน ณ Hanoi University of Technology Hanoi University of Technology (HUT) ก่อตั้งในปี คศ. 1956 ซึ่งถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านเทคโนโลยีแห่งแรกของเวียดนาม และถือได้ว่าเป็นสถาบันที่ผลิตวิศวกรและบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ HUT มีบุคลากรทั้งหมด 1,800 คน ซึ่งมี teaching staff จำนวน 1,200 คน ในจำนวนนี้มี 240 คน เป็น Professor และ Assoc. Professor และอีก 600 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้ว HUT มีนักศึกษาประมาณ 30,000 คน ในระดับปริญญาตรี และ 2,000 คน ในระดับบัณฑิตศึกษา และมีหลักสูตรทั้งหมด 89 หลักสูตร
Faculties Faculty of Applied Mathematics Faculty of Chemical Engineering Faculty of Economics and Management Faculty of Economics and Telecommunications Faculty of Electricity Faculty of Engineering Education Faculty of Information Technology Faculty of Mechanical Engineering Faculty of Metallurgy and Materials Technology Faculty of Textile Engineering Faculty of In – service Training Faculty of Foreign Languages Faculty of Social Sciences Department of Physical Education
Priority Research Areas at HUT Information Technology Biotechnology Materials Science and Technology Computer Science and informatics New materials
International Relationships HUT เป็นสมาชิกของ AUF, ESA – UNET, AUAP, ASEA – UNINET, GMSARN, AUN/ SEED – Net, FAU เป็นต้น นอกจากนี้ HUT ยังมีความ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในรัสเซียและประเทศใน ยุโรปและเอเชีย
การศึกษาดูงานที่ Hanoi University of Education
การดูงาน ณ Hanoi University of Education Hanoi University of Education ก่อตั้งในปี คศ. 1951 โดยเดิมใช้ชื่อว่า Hanoi National Pedagogic University โดยเป็นสถาบันหลักในการผลิตครูในประเทศเวียดนาม โดยมีการจัดการเรียนการสอนทั้งระดับ undergraduate และ postgraduate program โดยปัจจุบันมีนิสิตทั้งหมดประมาณ 15,000 คน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีผู้นิยมเข้ามาศึกษามากที่สุดแห่งหนึ่งในเวียดนาม Hanoi University of Education ยังได้รับการพิจารณาให้เป็น National Key Center for Secondary education system reforms ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับ Curriculum development, Textbook design และ Innovative teaching methodologies.
การจัดการเรียนการสอนของ Hanoi University of Education Undergraduate courses (Bachelor’s degree : 4 ปี) Postgraduate courses (Master’s degree : 2 ปี) Doctoral degree courses (3 ปี สำหรับผู้ที่จบปริญญาโทแล้ว 4 ปี สำหรับผู้ที่จบ ปริญญาตรี) Specialised Secondary School courses : สำหรับเด็กที่มีพรสวรรค์ (gifted) ทางด้านคณิตศาสตร์และ Information technology : 3 ปี Refresher courses สำหรับ Teachers and administrators Training courses ทางด้าน basic sciences Flexible courses of Vietnamese studies สำหรับ Foreigners เช่น Language, Culture และ History Distance Learning Courses สำหรับผู้ด้อยโอกาสที่อยู่ห่างไกลออกไป โดยจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น CD – rom ผ่านสื่อโทรทัศน์ VDO โดยนักศึกษากลุ่มนี้จะใช้เวลาในการเรียนประมาณ 5 – 6 ปี
Academic Year การจัดเรียนการสอนจะมี 2 ภาคการศึกษา โดยภาคการศึกษาที่ 1 เริ่มต้นในเดือนกันยายน – มกราคม และภาคการศึกษาที่ 2 จะเริ่มประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ และไปสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน บุคลากร Hanoi University of Education มีบุคลากรทั้งสิ้นประมาณ 1,000 คน แยกเป็น Teaching staff 793 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีตำแหน่งทางวิชาการระดับ Professor 33 คน Assoc.Prof. 98 คน สำเร็จปริญญาเอก 275 คน ที่เหลือสำเร็จระดับปริญญาโททั้งหมด
ตัวอย่างของความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศของ HUE ได้แก่ International Cooperation Hanoi University of Education (HUE) มีความร่วมมือกับต่างประเทศใน 3 รูปแบบด้วยกันคือ Exchange between faculties and Students for research, study and teaching Exchange of Information, teaching material and research publication Joint organization of seminars, workshops and Conferences ตัวอย่างของความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศของ HUE ได้แก่ Teachers training in special education programs supported by the committee II of the Netherlands Training of Scholarship students from Laos and Cambodia in its undergraduate and postgraduate programs Training of Teachers of the Hearing Impaired in Vietnam funded by the Netherlands Government Joint Masters degree with Foreign Universities under the ADB teacher training project
ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการทำ Survey project ในหัวข้อ Human capacity building – sponsored by Swiss government ความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัด conference หรือ Seminar ซึ่ง sponsor โดย ADB และ world bank
Thank you “NU” for giving us this opportunity