การออกแบบ องค์ประกอบพื้นฐานของภาพและทฤษฎีสี
ศิลปะ Arts ศิลปะ คือ ศาสตร์แห่งการแสดงออกจากจินตนาการและอารมณ์ เพื่อความสุขทางใจ การสื่อความหมาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในงานศิลปะ คุณค่าของศิลปะ ขึ้นอยู่กับความหมายที่สื่อมาจากตัวศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน สาขาของศิลปะ แบ่งเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ คือ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
สาขาของศิลปะ วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) เป็นศิลปะสาขาที่ตอบสนองต่อความต้องการทางจิตใจเป็นหลัก แบ่งได้เป็น ทัศนศิลป์ (Visual Arts) เป็นงานศิลปะที่สื่อให้รับรู้ได้จากการมองเห็น เช่นจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ โสตศิลป์ (Audio Arts) เป็นงานศิลปะที่สื่อให้รับรู้ได้จากการได้ยิน หรือการอ่าน เช่นดนตรี วรรณคดี โสตทัศนศิลป์ (Audio Visual Arts) เป็นงานศิลปะที่สื่อให้รับรู้ได้จากการแสดง เช่นภาพยนตร์ ละครเวที
สาขาของศิลปะ ประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts) เป็นศิลปะสาขาที่ตอบสนองความต้องการของคนเราเป็นหลัก เช่น สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นศิลปะเกี่ยวกับการออกแบบพื้นที่ว่าง เพื่อตอบสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัย ศิลปะอุตสาหกรรม (Industrial Design) เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่นการออกแบบกราฟิก
การออกแบบ (Design) การออกแบบ คือศาสตร์แห่งความคิด การแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อตอบสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างพึงพอใจ (Aesthetic) (Function) (Concept)
โปรแกรมกราฟิกในการทำงานออกแบบ โปรแกรมสร้างภาพ Adobe Illustrator Macromedia Freehand Corel Draw โปรแกรมตกแต่งภาพ Adobe Photoshop
ขบวนการทำงานออกแบบกราฟิก วิเคราะห์โจทย์ สร้างแนวคิดหลักในการออกแบบ ศึกษางาน หรือกรณีตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว ออกแบบร่าง ออกแบบจริง
องค์ประกอบพื้นฐานของภาพ ภาพใด ๆ ล้วนมีองค์ประกอบอยู่ภายในทั้งสิ้น องค์ประกอบพื้นฐานของภาพได้แก่ จุด เส้น ระนาบ
จุด : Dot จุดมีองค์ประกอบที่มีขนาดเล็ก ที่มีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกัน จุดมีจุดเด่นในการจัดวางให้เกิดการเรียกร้องความสนใจได้ดี คุณสมบัติของจุด เรียกร้องความสนใจของสายตาได้ดี บอกและกำหนดตำแหน่งในภาพ การวางจุด 2 จุด จะได้พื้นที่ระหว่างจุดที่ให้ความรู้สึกดึงดูดระหว่างกัน
เส้น : Line เส้นเป็นองค์ประกอบที่มีความยาว เกิดจากการนำจุดมาเคลื่อนที่ หรือวางเรียงต่อ ๆ กัน เส้นมีคุณสมบัติเด่นในการนำสายตา หรือเป็นแนวแบ่งภาพ คุณสมบัติของเส้น เส้นมีความยาวมากกว่าความกว้างและความหนาอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้เกิดความรู้สึกไปทางด้านยาวด้านเดียว นำสายตา กำหนดทิศทาง และความต่อเนื่อง แบ่งซอยภาพ
อารมณ์ และความรู้สึกจากเส้นแบบต่าง ๆ เส้นตรง ให้ความรู้สึกมั่นคง เป็นระเบียบ เส้นนอน ให้ความสงบ นิ่ง เรียบร้อย เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง พลังขับเคลื่อน เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกที่นิ่มนวล พลิ้วไหว เส้นหยึกหยัก ให้ความรู้สึกถึงความไม่เป็นระเบียบ การไม่อยู่ในกรอบ ความอิสระ หรือความสับสนวุ่นวาย เส้นเล็กและบาง ให้ความรู้สึกเบาและเฉียบคม เส้นหนา ให้ความหนักแน่นในการนำสายตา
ระนาบ : Plane ระนาบ เป็นองค์ประกอบที่เกิดจากเส้นที่ขยายตัว หรือกลุ่มของจุด เกิดเป็นความกว้าง ความยาว เป็นองค์ประกอบ 2 มิติ ระนาบจะมีอิทธิพลในภาพมาก เพราะมักจะครองพื้นที่โดยรวมของภาพไว้ เมื่ออยู่ในภาพ ระนาบ มักจะมีรูปร่างต่างกันออกไป โดยรูปร่างแต่ละชนิด จะให้ความรู้สึกต่าง ๆ กันไป
วงกลม เมื่อมีการวางรูปร่างวงกลมในภาพ จะให้ความรู้สึกเป็นศูนย์กลาง เป็นที่รวมความสนใจ หรือการปกป้องคุ้มครอง
สี่เหลี่ยม เมื่อวางรูปสี่เหลี่ยมในภาพ จะให้ความรู้สึกสงบ มั่นคง เป็นระเบียบ เมื่อวางสี่เหลี่ยมในแนวตั้งฉาก ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว และสร้างจุดสนใจได้ดี เมื่อวางในรูปแทยง สามารถจัดเป็นกลุ่มก้อนให้ลงตัวได้ง่าย
สามเหลี่ยม และหกเหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม ให้ความรู้สึกหยุดนิ่ง มั่นคง แต่ที่ส่วนปลายมุมทั้ง 3 ด้าน ให้ความรู้สึกถึงทิศทาง ความเฉียบคม และแรงผลักดัน รูปหกเหลี่ยม ให้ความรู้สึกถึงการเชื่อมโยง ที่สามารถต่อไปได้อย่างไม่มีขอบเขต
ตัวอย่างภาพ ที่มีการใช้จุด เส้น และระนาบเพื่อดึงดูดความสนใจ
สี และองค์ประกอบแห่งอารมณ์
องค์ประกอบของสี สีเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการออกแบบ สีมีอิทธิพลในเรื่องของอารมณ์และการสื่อความหมาย และกระตุ้นต่อการรับรู้ได้เป็นอย่างดี องค์ประกอบของสีได้แก่ เนื้อสี (Hue) น้ำหนักของสี (Value / Brightness) ความสดของสี (Intensity / Saturation)
วงจรของสี (Color Wheel) สีที่เป็นต้นกำเนิดของสีอื่น ๆ เป็นสีที่ไม่สามารถสร้างหรือผสมให้เกิดจากสีอื่นได้ เราเรียกว่า แม่สี (Primary color)ได้แก่ สีเหลือง แดง น้ำเงิน สีที่ได้จาการผสม แม่สีเข้าด้วยกัน เรียกว่าสีขั้นที่ 2 หรือ Secondary color ได้แก่ ส้ม เขียว ม่วง
วงจรของสี (Color Wheel) สีที่ได้จากการผสมแม่สี และสีขั้นที่ 2 ออกมาเป็นสีขั้นที่ 3 (Tertiary color)
น้ำหนักของสี (Value) น้ำหนักของสี คือความสว่างของสี หรือการเพิ่มขาว เติมดำลงไปในเนื้อสี การปรับเปลี่ยนน้ำหนักของสีจะทำให้ภาพดูมีมิติ มีความลึก ค่าสีน้ำหนักสูง ความสว่างต่ำ ค่าสีน้ำหนักปานกลาง ความสว่างปานกลาง ค่าสีน้ำหนักต่ำ ความสว่างสูง
การวางโครงสี (Color Schematic) การวางโครงสี คือการจับคู่สี หรือเลือกสี เพื่อใช้ร่วมกันในภาพ เพื่อให้ภาพออกมาดูดี ดูน่าพอใจ Monochrome คือการมีเนื้อสีเดียว แต่ให้ความแตกต่างด้วยน้ำหนักสี การใช้สีแบบนี้ให้อารมณ์ความรู้สึกสุขุม เรียบร้อย เป็นสากล ไม่ฉูดฉาดสะดุดตา
การวางโครงสี (Color Schematic) Analogous หรือโครงสีข้างเคียง คือสีที่อยู่ติดกันในวงจรสี จะเป็นทีละ 2 หรือ 3 สี หรืออาจจะถึง 4 สี จะทำให้ภาพโดยรวม ได้อารมณ์ไปในกลุ่มโทนสีนั้น และไม่ดูฉูดฉาดเกินไป
ตัวอย่างภาพแบบ Analogous
การวางโครงสี (Color Schematic) Dyads หรือ Complementary Color คือการใช้คู่สีตรงข้าม คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี การเลือกใช้สีคู่ตรงข้ามจะทำให้งานที่ได้มีความสะดุดตาในการมอง แต่ควรระวัง ถ้าใช้สีคู่ตรงข้ามในพื้นที่ใกล้เคียงกัน งานนั้นจะดูไม่มีเอกภาพ โดยทั่วไปควรจะใช้สีหนึ่งประมาณ 70% อีกสี 30%
ตัวอย่างภาพแบบ Complementary
ความหมายของสี สีแดง อ้างอิงมาจากไฟ จึงให้อารมณ์ของความร้อน พลัง พลังงาน ความแรง และความเป็นมงคลตามความเชื่อของชาวจีน สีเหลือง ให้ความสดใส ปลอดโปร่ง ดึงดูดสายตา สีน้ำเงิน ให้ความสงบเรียบ สุขุม มีราคา หรูหรามีระดับ บางครั้งสื่อถึงความสุภาพ หนักแน่น ผู้ชาย สีส้ม ให้ความรู้สึกดึงดูด ทันสมัย สดใส กระฉับกระเฉง มีพลัง สีม่วง ให้อารมณ์หนักแน่น มีเสน่ห์ ความลับ สิ่งที่ปกปิด
ความหมายของสี สีเขียว ให้ความรู้สึกสดชื่น ธรรมชาติ เย็นสบาย สีชมพู ให้ความอ่อนหวาน นุ่มนวล ความรัก วัยรุ่น ผู้หญิง สีน้ำตาล ให้ความสงบ ความเรียบ ความเป็นผู้ใหญ่ ความเก่าแก่โบราณ บางครั้งสื่อถึงไม้ แมกไม้ สีฟ้า ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งสบายตา นุ่มนวล สุขสบาย สีเงิน ให้ความรู้สึกถึงสิ่งใหม่ ๆ ทันสมัย มีคุณค่า มีราคา
ความหมายของสี สีทอง เป็นตัวแทนของความมีคุณค่า ความหรูหรา ราคาแพง สีขาว สื่อถึงความบริสุทธิ์ สะอาด เรียบง่าย ความโล่ง ความว่างเปล่า สีเทา ให้อารมณ์เศร้า หม่นหมอง ไร้ชีวิตชีวา บางครั้งสื่อถึงความเป็นกลาง สีดำ ซ่อนความไม่รู้ ความน่ากลัว บางครั้ง จะใช้สีดำหรือสีเข้ม เพื่อเน้นขับสิ่งที่อยู่ภายในให้เด่นชัด จึงมักนิยมใช้เป็นสีพื้น
การเลือกใช้โทนสีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น Artist: Jan Vermee Title: Girl Asleep at a Table Year: 1657 Form of Art: realistic Color Scheme: warm (red, red-orange, orange, yellow-orange, yellow and values)
การเลือกใช้โทนสีที่ให้ความรู้สึกเย็น Artist: Pablo Picasso Title: Femme Allonge Lisant (Marie-Thrse) Year: 1939 Form of Art: abstract Color Scheme: cool (yellow-green, green, blue-green, blue-purple and values)
เปรียบเทียบการใช้ลักษณะสีแบบต่าง ๆ monochromatic complementary analogous cool colors warm colors
Reference สู่เส้นทางกราฟิกดีไซเนอร์ โดยโสรชัย นันทวัชรวิบูลย์ สำนักพิมพ์ ARiP http://www.colormatters.com/colortheory.html http://www.worqx.com/color/color_basics.htm Color for E-Commerce http://www.colormatters.com/des_ecom.html http://members.cox.net/mrsparker2/teacher.htm