งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชาทฤษฎีสี รหัสวิชา FAD1104

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชาทฤษฎีสี รหัสวิชา FAD1104"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชาทฤษฎีสี รหัสวิชา FAD1104

2 ความจัดของสี (Intensity)
ความจัดของสีหรือความเข้มของสี หมายถึง ความสดหรือความบริสุทธิ์ของสีๆหนึ่งที่ไม่ได้ถูกผสมให้สีหม่นหรืออ่อนลง หากสีนั้นอยู่กลางสีที่มีน้ำหนักค่าต่างกันจะเห็นภาพสีแท้มากขึ้น เช่น แสงอาทิตย์ในตอนเย็นท้องฟ้าจะมืดสลัว สีส่วนใหญ่ในตอนนั้นเป็นสีเทาแต่แสงอาทิตเป็นสีสดจึงดูโดดเด่นสวยงามมากยิ่งขึ้นดังนั้นเมื่อเขียนภาพด้วยสีหม่นจึงจำเป็นต้องอาศัยสีสดเข้าไปแทรก เช่น ภาพทิวทัศน์ในตอนกลางคืน ที่มีสีแสงไฟหรือป้ายไฟจะทำให้ภาพนั้นมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

3 แสงอาทิตย์ในตอนเย็นท้องฟ้าจะมืดสลัว
ที่มา board.trekkingthai.com

4 ภาพทิวทัศน์ในตอนกลางคืน ที่มีสีแสงไฟ
ที่มา

5 อารี สุทธิพันธ์ ได้กล่าวถึงความหมายของ intensity หรือกำลังส่องสว่างไว้ว่า หมายถึง สีแท้บริสุทธิ์นั้นๆ ได้รับการผสมเพื่อให้เกิดการเพิ่มกำลังส่องสว่าง หรือลดกำลังส่องสว่าง คำว่า intensity มีความหมายคล้ายกับคำว่า saturation หรือโครมา (chroma) คำว่า โครมา หมายถึง ความสามารถที่จะผสมหรือจะละลายกับสีอื่น สีที่ดีมักจะมีความสามารถละลายมากกว่าสีที่ไม่ดีหรือสีที่มีคุณภาพด้อย และทั้งยังมีสีเข้มกว่าด้วย ตัวอย่างเช่น สีส้มเมื่อบีบออกจากหลอดจะมีสีสว่างมาก เป็นสีที่เข้มข้น มองเห็นได้ในระยะไกล แต่เมื่อผสมสีขาวทำให้สีส้มนั้นลดกำลังส่องสว่างลง แสดงว่ามี intersity น้อยกว่า เมื่อยังไม่ได้ผสม แสดงว่าสีทุกสีมีจุดของกำลังส่องสว่างเฉพาะสีสำหรับสีขาวไม่สามารถจะเป็นสีอื่นได้ นอกจากสีขาว หรือสีดำก็ต้องเป็นสีดำ ไม่มีคำว่าดำอ่อน ดำแก่ ดังนั้นสีดำและสีขาวจึงถือว่าไม่มีกำลังส่องสว่างหรือไม่มี intensity นั่นเอง

6 3. ความเข้มของสี (Intensity) หมายถึง สีทุกสีจะมีความเข้มสูงสุดเมื่อเป็นสีแท้และเมื่อสีแท้ถูกเปลี่ยนน้ำหนัก ความเข้มก็เปลี่ยนไปด้วย สีที่มีความเข้มสูงสุดคือ สีแดง ต่ำสุดคือสีม่วง ความเข้มของสีมีความหมายคล้ายกับค่าสี (Chroma) หรือสภาพอิ่มตัวของสี (Saturation) เป็นสีบริสุทธิ์ไม่มีค่าสีเทาเจือปน ถ้ามีสีเทาเจือปนถือว่าเป็นสีที่มีความเข้มต่ำ (Low intensity) สามารถลดความเข้มได้ 3 วิธี -ผสมขาว เพื่อลดความเข้มให้มีน้ำหนักไปทางสีขาว เรียกว่า สีอ่อน (Tint) -ผสมเทา เพื่อลดความเข้มให้มีน้ำหนักกลาง เรียกว่า สีจางหรือสีโทน (Tone) -ผสมดำ เพื่อลดความเข้มให้มีน้ำหนักไปทางสีดำ เรียกว่า สีคล้ำ (Shade)

7 ภาพกำลังส่องสว่างของสีแดง
ที่มา zylostudio.exteen.com

8 ความสุกสว่าง (Brilliance) สีแท้แต่ละสีจะมีความสุกสว่างไม่เท่ากัน สีทุกสีจะมีกำลังส่องสว่างสูงสุดจุดหนึ่งเสมอ (Fullintensity)กอทท์ (Goeth) ชาวเยอรมันได้กำหนดความสุกสว่างของสีไว้เป็นตัวเลข ตัวเลขมากหมายถึงความสุกสว่างมาก ตัวเลขน้อยหมายถึงความสุกสว่างน้อย ดังนี้ สีเหลือง (Yellow) = 9 สีส้ม (Orange) = 8 สีแดง (Red) = 6 สีเขียว (Green) = 6 สีน้ำเงิน (Blue) = 4 สีม่วง (Violet) = 3 กำลังสุกสว่างของสีเราสามารถรู้ได้โดยใช้เครื่องถ่ายเอกสารขาว-ดำ หากถ่ายเอกสารออกมาเป็นสีขาวมาก แสดงว่าสีนั้นมีความสุกสว่างมากหากออกมาดำแสงว่าสีนั้นสุกสว่างน้อย มีบางสีที่มีความสุกสว่างเท่ากัน เช่น สีเขียวกับสีแดง จากการถ่ายเอกสารสีทั้งสองสีให้ความสุกสว่างใกล้เคียงกันอย่างแยกไม่ออก

9 ความสุกสกว่างของสีของพลุ
ที่มา topicstock.pantip.com

10 สเกลสีเทาเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้สีเพราะช่วยกำหนดเนื้อสีผสมกันได้ตามปริมาณที่กำหนดไว้ ในการใช้สีของศิลปินน้ำหนักสีมีความจำเป็นมาก เพราะหากต้องการให้ได้สีส่วนรวมมีกำลังส่องสว่างปานกลาง ศิลปินก็ใช้สีแท้บีบออกมาจากหลอด แล้วผสมกับสีเทาระดับต่างๆ ก็ได้แล้วนำมาระบายโดยใช้สีเทาระดับนั้นผสมกับสีแท้ทุกสี ก็จะมีสภาพสีส่วนรวมของภาพนั้นตามน้ำหนักสีเทาที่ผสม

11 การลดกำลังส่องสว่างด้วยการผสมสีเทา
ที่มา hernandez2014tx.tumblr.com

12 สภาพสีส่วนรวม (Tonality) การสร้างสภาพสีส่วนรวมหรือสีคลอบงำ หมายถึง การทำให้เป็นสีโดยภาพรวมหรือเป็นโครงสีส่วนใหญ่ที่ปกคลุมหรือคลอบงำสีอื่นอยู่ ถึงแม้ในรายละเอียดส่วนอื่นอาจมีสีอื่นปะปนอยู่ก็ตาม แต่ไม่ทำให้สภาพสีขัดแย้งกันเกินไป การใช้สีโดยรวมช่วยให้ภาพมีความกลมกลืนและมีเอกภาพ ภาพแต่ละภาพล้วนมีอิทธิพลของสีใดสีหนึ่งครอบงำทั่วภาพ แม้จะมีสีอื่นเด่นชัดในบางส่วน สีที่ครอบงำจะช่วยให้ภาพมีเอกภาพและมีจุดที่สมบูรณ์เกิดขึ้น

13 สภาพสีส่วนรวมสีแดง สภาพสีส่วนรวมสีม่วง ที่มาwww.eoshd.com
ที่มา

14 สภาพสีส่วนรวมสีเหลือง
สภาพสีส่วนรวมสีส้ม ที่มา สภาพสีส่วนรวมสีเหลือง ที่มา stockfresh.com

15 กลวิธีการใช้สีส่วนรวมหรือสีครอบงำ 1 การครอบงำโดยใช้สีใดสีหนึ่ง จัดวางให้กระจายจนเต็มภาพ เช่น ทุ่งหญ้า แต่สีส่วนใหญ่ในภาพเป็นสีเขียว แม้จะมีสีอื่น เช่น สีของดอกไม้ สีของลำต้น ก็ไม่มีอิทธิพลพอที่จะข่มสีเขียวลงได้ การครอบงำโดยใช้สีใดสีหนึ่ง ที่มา powerlifegold.blog.com

16 2 การครอบโดยการประสานกันระหว่างสี เช่น นำเอาสีเหลืองกับสีแดงมาระบายเป็นจุดๆ สลับกันจนเต็ม เมื่อดูในระยะห่างเราจะเห็นสี 2 สีประสานกันเป็นสีส้ม หรือ สีแสด เช่นเดียวกับภาพเขียนที่ประกอบไปด้วยสีสันต่างๆ แต่เมื่อรวมกันและจะปรากฏสีเกิดจากการประสานกันเองเด่นชัดออกมา การครอบโดยการประสานกันระหว่างสี ดอกไม้สีเหลืองและสีแดงรวมกันอยู่ ดูห่างๆ กลายเป็นสีส้ม เรียกว่า สีส่วนรวมของสีส้ม ที่มา th.gofreedownload.net

17 สรุป ความจัดของสีหรือความเข้มของสี หมายถึง ความสดหรือความบริสุทธิ์ของสีๆหนึ่งที่ไม่ได้ถูกผสมให้สีหม่นหรืออ่อนลง หากสีนั้นอยู่กลางสีที่มีน้ำหนักค่าต่างกันจะเห็นภาพสีแท้มากขึ้น และความสุกสว่างของสีแท้แต่ละสีจะมีความสุกสว่างไม่เท่ากัน สีทุกสีจะมีกำลังส่องสว่างสูงสุดจุดหนึ่งเสมอ สภาพสีส่วนรวม การสร้างสภาพสีส่วนรวมหรือสีคลอบงำ หมายถึง การทำให้เป็นสีโดยภาพรวมหรือเป็นโครงสีส่วนใหญ่ที่ปกคลุมหรือคลอบงำสีอื่นอยู่ ซึ่งกลวิธีการใช้สีส่วนรวมหรือสีครอบงำ ได้แก่ การครอบงำโดยใช้สีใดสีหนึ่ง และการครอบโดยการประสานกันระหว่างสี

18 เอกสารอ้างอิง เสน่ห์ ธนารัตนสฤษดิ์. ทฤษฎีสีภาคปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2547. สมภพ จงจิตต์โพธา. ทฤษฎีสี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วาดศิลป์, 2556. Archive, 2557, New York, (ออนไลน์). แหล่งที่มา : hernandez2014tx.tumblr.com. 16 มีนาคม 2558 Zylostudio, 2557, จังหวัดกรุงเทพมหานคร, (ออนไลน์). แหล่งที่มา : zylostudio.exteen.com. 16 มีนาคม 2558


ดาวน์โหลด ppt วิชาทฤษฎีสี รหัสวิชา FAD1104

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google