การเก็บสิ่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โทร. ๐-๔๕๗๙-๕๐๖๑ “ สุขภาพดีวิถีไทย สมุนไพร ได้มาตรฐาน บริการประทับใจ”
Advertisements

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
การผลิตบ่อพัก ทำเอง ใช้เอง หจก. มภัสกาญ คอนสตรัคชั่น
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่
เป็นอาหารที่มีคุณค่า
ของเทศบาลตำบลหนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี
องุ่น สตอ เบอร์รี่ เชอร์รี่ แอปเปิ้ล แดง แอปเปิ้ล ชมพู แอปเปิ้ล เขียว แอปเปิ้ล เหลือง โกโก้ บลูเบอร์รี่ ส้มเขียวหวาน ส้มมะปิด ( ส้มจิ๊ด ) สับปะรด แตงโม.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
หลักเกณฑ์วิธีที่ดีในการผลิตอาหาร
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
กระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
“วิธีการใช้งาน PG Program New Version สำหรับ PGD”
การบริหารโครงการ Project Management
ระดับความเสี่ยง (QQR)
BLSC, Department of Livestock Development
แนวทางการออกแบบโปสเตอร์
เพลี้ยไฟมะม่วง ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช Plant Protection Sakaeo
มาทำความรู้จักกับ เห็ดปลวกฟาน.
โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ
เภสัชวิทยา (Pharmacology)
ตำรับยาเหลืองปิดสมุทร
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 28 สิงหาคม 2561
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
โดย ทภ.อำไพ เณรบำรุง. โดย ทภ.อำไพ เณรบำรุง บทคัดย่อ เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในทางทันตกรรมบางชนิดมีความแหลมคม เช่น เครื่องขูดหินปูน เครื่องมือตกแต่งวัสดุอุดฟัน.
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
การคาดประมาณปริมาณการใช้วัคซีน เด็กอายุ 1 ปี (เกิดตั้งแต่ 1 ม.ค. 57)
ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไข ของกองวิจัยและพัฒนาข้าว
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการน้ำดื่ม คณะแพทยศาสตร์
การพัฒนาระบบการดูแลผู้รับบริการเพื่อตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
ความรู้เบื้องต้นระบบระบายอากาศ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 4 มกราคม 2562
Facilitator: Pawin Puapornpong
Delirium พญ. พอใจ มหาเทพ 22 มีนาคม 2561.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ
โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า
การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชไร่ตระกูลถั่ว
มาทำความรู้จักกับ เห็ดหนังช้าง.
การทดลองหาค่าความแน่นของดินที่มีเม็ดผ่านตะแกรงขนาด 19.0 มม. 1 เติมทรายลงในขวดซึ่งประกอบเข้ากับกรวยเรียบร้อย แล้วให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้งาน.
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี 26 มิถุนายน 2560
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
วิชากฎหมายอาญาภาคทั่วไป (177181)
ความดัน (Pressure).
บทที่ 3 โรงเรือนและอุปกรณ์โคเนื้อ
มะเร็งปากมดลูก โดย นางจุฑารัตน์ กองธรรม พยาบาลวิชาชีพ รพ.สต.บ้านโนนแต้
ขดลวดพยุงสายยาง.
ผู้รับผิดชอบโครงการ ICWN MICU3
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นวัตกรรม ขวดเก็บ Sputum culture
Lean Management การลดขั้นตอนการนัดตรวจสุขภาพจิตของ นร.กพ
มั่นใจเชื่อถือได้ เหรียญ+ป้าย ลูกของแม่
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
การพัฒนาการทำแผล หอผู้ป่วยพิเศษร่มเย็น 4
คุณต้องรู้ว่าคุณกำลังมีปัญหาอะไร?
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
บทที่ 8 การจดบันทึกและทำบัญชี
นวัตกรรม หน่วยไตเทียม.
เครื่องขุดหลุมปลูกยาสูบ
การจำแนกชนิดเชื้อแบคทีเรียด้วยเทคนิค MALDI-TOF Mass Spectrometry ร่วมกับฐานข้อมูล SARAMIS May 22, 2019.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การเก็บสิ่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดย อาจารย์ กิรณา เค้าฉลองเคียง

การเก็บสิ่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ หมายถึง การตรวจสิ่งตรวจ (specimens)ของผู้ป่วยซึ่งประกอบด้วยเลือด ปัสสาวะ อุจาระ เสมหะ น้ำจากช่องว่างของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งชิ้นเนื้อในอวัยวะนั้นๆ ซึ่งจะวิเคราะห์ทั้งคุณภาพ (quality)และปริมาณ (quantity)

ข้อคำนึงของพยาบาลในการเก็บสิ่งตรวจ

ตำแหน่งที่เก็บ ควรเลือกเก็บจากตำแหน่งที่สัมพันธ์กับโรคนั้นๆมากที่สุดเช่น การตรวจหาเชื้อโรคปอดบวม ต้องเก็บเสมหะที่ขับออกมาจากหลอดลม ไม่ใช่เก็บจากน้ำลายที่บ้วนออกมา ช่วงเวลาที่เก็บ ควรเก็บก่อนให้ยาต้านจุลชีพ แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับยาไปแล้วควรแจ้งให้ห้องปฏิบัติการทราบก่อนเสมอ ควรเก็บในขณะที่มีเชื้ออยู่ปริมาณมาก เช่น เก็บอุจาระในผู้ป่วยท้องร่วงอย่างเฉียบพลัน ขณะที่เริ่มมีอาการ ปริมาณ ปกติไม่สามารถบอกปริมาณที่ใช้ตรวจจริงๆขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการนั้นๆ

จำนวนครั้งที่ส่ง มีสิ่งตรวจบางอย่างที่ต้องเก็บติดต่อกันหลายครั้ง จึงควรปฏิบัติให้ได้ครบถ้วน ภาชนะและเครื่องมือ ต้องสะอาดปราศจากสิ่งมีชีวิตและสารเคมีต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการเจริญของเชื้อ ควรมีฝาปิดมิดชิด วิธีที่ใช้เก็บ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการนั้นๆ การติดป้ายชื่อและใบส่งตรวจ ก่อนส่งควรติดป้ายชื่อให้เรียบร้อย โดยระบุ ชื่อ นามสกุล ชนิดของสิ่งส่งตรวจ หอผู้ป่วย วันที่ เดือน เวลา นอกจากนั้นต้องมีใบส่งตรวจ (requisition) ซึ่งมีข้อความสอดคล้องกับป้ายชื่อและข้อความอื่นๆ เช่น การวินิจฉัยโรค อายุ เพศ หมายเลขโรงพยาบาล ความต้องการว่าจะตรวจหาเชื้ออะไร โดยวิธีใดบ้าง และชื่อแพทย์ผู้ส่งตรวจ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่จะติดต่อได้เป็นต้น

ชนิดและวัตถุประสงค์ของการเก็บสิ่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่นิยมตรวจ

การเก็บสิ่งส่งตรวจที่เป็นเลือด (Blood studies) Complete blood count and differential count (CBC and diff) Reticulocyte count Platelet Count Prothrombin time test (PT test, Pro-time) Partial thromboplastin time (PTT) การเจาะเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อ (Hemoculture) การเจาะ Grouping Matching(G/M)

การตรวจเสมหะ (sputum studies) การเพาะเชื้อและการทดสอบความไวของเชื้อต่อยา (culture and sensitivity) การทดสอบหาเชื้อวัณโรค (acid fast bacilli : AFB) ไซโตโลยี่ (cytology)

การตรวจปัสสาวะ (urine studies) Urine exam หรือ urinalysis (U/A) Urine chemistry Urine culture และ sensitivity test Urine 24 ชั่วโมง Osmolarity

การตรวจอุจจาระ (Stool studies) การตรวจขั้นพื้นฐาน (stool exam) การตรวจอุจจาระเพื่อเพาะเชื้อ (stool culture) การตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิ และพยาธิ (stool concentrate)

อุปกรณ์และวิธีการเก็บสิ่งตรวจ

การเก็บสิ่งส่งตรวจที่เป็นเลือด (Blood studies) 1. การเก็บ EDTA BLOOD (หลอดจุกสีม่วงสั้น) EDTA : เป็นสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด ซึ่งเหมาะสมสำหรับการตรวจวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยา เช่น CBC, ESR, Hb typing, OF test, DCIP, CD4, CD8, Viral Load, Drug resistantเป็นต้น วิธีการเจาะเลือด : เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำข้างที่ไม่ได้แทงสายให้สารละลายต่างๆ เช่น น้ำเกลือ หรือกลูโคส ปริมาณที่ใช้ : 2 ml (ตามขีดหรือเครื่องหมายระบุไว้) การเก็บสิ่งส่งตรวจ : ปิดฝาให้สนิท และผสมให้เข้ากัน โดยการพลิกคว่ำหลอด กลับไป-มา 8-10ครั้ง และนำส่งภายใน 1 ชม. (หากรอส่งควรเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา แต่ไม่ควรเกิน 2 ชม.)

2. การเก็บ Sodium fluoride (NaF) (หลอดจุกสีเทา) NaF : เป็นสารเพื่อป้องกันการใช้น้ำตาล (Anti glycolysis) ของเม็ดเลือดเหมาะสำหรับการตรวจวิเคราะห์ เช่น FBS, Blood alcohol เป็นต้น วิธีการเจาะเลือด : เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำข้างที่ไม่ได้แทงสายให้สารละลายต่างๆ เช่น น้ำเกลือ หรือกลูโคส ปริมาณที่ใช้ : 2 ml (ตามขีดหรือเครื่องหมายระบุไว้) การเก็บสิ่งส่งตรวจ : ปิดฝาให้สนิท และผสมให้เข้ากัน โดยการพลิกคว่ำหลอด กลับไป-มา 8-10ครั้ง และนำส่งห้องปฏิบัติการทันที

3. การเก็บ Sodium Citrate (หลอดจุกสีฟ้า) มีสารกันเลือดแข็งชนิด 3.2% Sodium Citrateเหมาะสำหรับการตรวจระบบการแข็งตัวของเลือด เช่น PT, PTT, TT, INR วิธีการเจาะเลือด : เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำข้างที่ไม่ได้แทงสายให้สารละลายต่างๆ เช่น น้ำเกลือ หรือกลูโคส ปริมาณที่ใช้ : 2 ml (ตามขีดหรือเครื่องหมายระบุไว้) การเก็บสิ่งส่งตรวจ : ปิดฝาให้สนิท และผสมให้เข้ากัน โดยการพลิกคว่ำหลอด กลับไป-มา 8-10ครั้ง และนำส่งห้องปฏิบัติการทันที

4. การเก็บ Clot blood (หลอดจุกสีแดง) ไม่ใส่สารใดๆ เหมาะสำหรับการส่งตรวจทาง ภูมิคุ้มกันวิทยา, เคมีคลินิก ปริมาณที่ใช้ : เจาะให้เพียงพอสำหรับการทดสอบแต่ละชนิด (ตามตารางข้างต้น) การเก็บสิ่งส่งตรวจ : ปิดฝาให้สนิท (ห้ามเขย่า) เพราะอาจทำให้เซลล์แตกและมีค่าโปรแทสเซียมสูงได้ จากนั้นนำส่งห้องปฏิบัติการทันที สามารถใส่ ซีรั่ม : เลือด ปริมาณ 3-5 มิลลิลิตร ใส่หลอดเก็บเลือดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็ง ปัสสาวะ : ปัสสาวะ 3-5 มิลลิลิตร ใส่ภาชนะสำหรับเก็บปัสสาวะทั่วไป

5. การเจาะเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อ ( ขวด Hemoculture) สำหรับเก็บเลือดผู้ใหญ่ (ปริมาณอาหารเลี้ยงเชื้อ 30 ml./ Bact/FAN) การส่งสิ่งส่งตรวจ : รีบนำส่งทันที หรือเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง(ห้ามนำไปเก็บในตู้เย็น) จนครบตัวอย่างเลือด(กรณีที่เจาะเลือด 2-3 ครั้ง) แล้วนำส่ง การเก็บ : เจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ ประมาณ 5 ml. ใช้ Sterile technique เพื่อป้องกันการปนเปื้อนโดยมีขั้นตอนดังนี้

ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะเจาะ โดยใช้สำลีพันก้านชุบ 2%chlorhexidineเช็ดวนจากภายในออกมาภายนอก ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาทีหรือให้น้ำยาแห้ง เพื่อให้มีเวลาฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง แล้วใช้swabชุป 2%chlorhexidine อีกก้านเตรียมทำความสะอาดขวดเพาะเชื้อ ดูดเลือดจากผู้ป่วยประมาณ 5 ml เปลี่ยนเข็มใหม่ แล้วแทงเข็มเข้าจุกยางใส่เลือดที่เจาะลงในขวดอาหารเพาะเชื้อ พร้อมทั้งเขย่าขวดเบาๆ เพื่อป้องกันเลือดแข็งตัว จะทำให้แบคทีเรียถูกกักอยู่ในก้อนเลือดการเพาะเชื้อไม่เจริญเพิ่มขึ้น เขียนหมายเลขที่ขวดว่าขวดใดเป็นขวดที่ 1-2 และเวลาในใบส่งตรวจเพาะเชื้อให้ตรงกันทั้ง 2 ขวดและควรเจาะห่างกันอย่างน้อย 30 นาที ในแต่ละขวด

การเจาะเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อ (Hemoculture)

8. การเจาะ Grouping Matching (หลอดสีม่วงยาว) - ใช้ tube ที่มีสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดชนิด EDTA เช่นกันกับ CBC แต่จะมีขนาดที่ยาวกว่า ปริมาณที่ใช้ : 6 ml (ตามขีดหรือเครื่องหมายระบุไว้) การเก็บสิ่งส่งตรวจ : ปิดฝาให้สนิท และผสมให้เข้ากัน โดยการพลิกคว่ำหลอด กลับไป-มา 8-10ครั้ง และนำส่งภายใน 1 ชม.

วิธีการเก็บ เขียนชื่อ-สกุล ผู้ที่เจาะ G/M ลงในสติกเกอร์ Bar code ให้อ่านออกอย่างชัดเจน ด้านบนต่อจากชื่อผู้ป่วย และมีการตรวจสอบกับ order โดยพยาบาล 2 คน ระบุตัวผู้ป่วยที่จะเจาะเลือดให้ตรงกันอย่างน้อย 2 ตัวบ่งชี้ คือ สอบถามชื่อ – สกุลผู้ป่วย และดูป้ายข้อมือผู้ป่วย กรณณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวให้ตรวจสอบป้ายข้อมือกับลักษณะของผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ลักษณะขึ้นไป เช่น เพศ อายุ ลักษณะการเจ็บป่วย การวินิจฉัยโรค เป็นต้น ตรวจสอบชื่อ – สกุล ผู้ป่วยให้ตรงกันกับ tube ก่อนและหลังนำเลือดใส่ tube ลงบันทึกในสมุดบันทึกการขอเลือด/ส่วนประกอบของเลือด ส่งเลือดให้ธนาคารเลือดพร้อมสมุดบันทึกการขอเลือด/ส่วนประกอบของเลือด

การเก็บเสมหะ (Sputum) ในกรณีผู้ป่วยรู้สึกตัว ผู้ป่วยเก็บตอนเช้าหลังตื่นนอน โดยการทำความสะอาดในช่องปากด้วยการบ้วนปากแล้วไอลึกๆ เอาเนื้อเสมหะ ออกมาใส่ลงในภาชนะฝาสีแดงที่เตรียมไว้ (ระวังอย่าให้มีน้ำลายปน)  

ในกรณีผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ช่วยห่ายใจ ต่ออุปกรณ์สำหรับการเก็บสิ่งตรวจกับเครื่องดูดเสมหะแล้วทำการดูดเสมหะด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ ในกรณีที่มีเสมหะเหนียวหรือปริมาณน้อย ให้ใช้อุปกรณ์ที่เป็น swab ในหลอดเพาะเชื้อแทน การส่งสิ่งส่งตรวจ : ปิดฝาภาชนะบรรจุให้สนิท รีบนำส่งห้องปฏิบัติการทันที หรือ เก็บไว้ในตู้เย็น 4 องศาเซลเซียส (หากไม่สามารถนำส่งทันที)

การเก็บเสมหะ (Sputum)

การเก็บปัสสาวะ (Urine) การเก็บปัสสาวะ เพื่อการส่งตรวจทั่วไป (Urinalysis, UA) ชนิดสุ่มเก็บ (Random Urine) : (เป็นการเก็บปัสสาวะ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บปัสสาวะช่วงกลางของการขับถ่าย) ปริมาณที่ใช้ : 20-30 ml. (Mid Stream Urine) การส่งสิ่งส่งตรวจ : ใส่ในภาชนะฝาสีเหลือง หรือภาชนะที่สะอาด แล้วปิดฝาให้สนิทและรีบนำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 1 ชั่วโมง

การเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ปริมาณที่ใช้ : เป็นการเก็บปัสสาวะตลอดเวลา 24 ชั่วโมง (การเก็บเริ่มต้นโดยการให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งไปและเริ่มจับ เวลา หลังจากนั้นให้เริ่มเก็บ ปัสสาวะและเก็บไว้ในตู้เย็นจนครบเวลา 24 ชั่วโมง การส่งสิ่งส่งตรวจ : หลังจากเก็บปัสสาวะครบ 24 ชั่วโมง (เก็บในภาชนะที่จัดเตรียมให้)

การเก็บ Urine culture Clean-voided mid stream technique ทำโดยการใช้น้ำยา antiseptic เช่น zephrran 1:2000 หรือ savlon 1:200 ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ โดยเฉพาะ orifice ถ้าสกปรกควรล้างด้วยน้ำสบู่ก่อน หลังจากนั้นปัสสาวะทิ้งไปก่อนเล็กน้อย (ประมาณ 20 – 25 ml) แล้วใช้ภาชนะปราศจากเชื้อฝาสีแดงเก็บประมาณ 5 – 10 ml แล้วปิดฝาให้สนิท Single catheterization เก็บโดยตรวจโดยการใส่สายสวนในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเก็บปัสสาวะเองได้ Indwelling catheter เก็บโดยตรงจากสายสวนซึ่งคาไว้ โดยใช้เข็มฉีดยาเบอร์ 23 ต่อกับ syringe ขนาด 5 ml แล้วใช้ providone inodine ในการทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะเข็ม

ปริมาณที่ใช้ : เมื่อได้ปัสสาวะตั้งแต่ 5 ml ขึ้นไป การเก็บสิ่งส่งตรวจ : ใส่ในภาชนะฝาสีแดง ปิดฝาให้สนิท และนำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 30 นาที แต่ถ้ายังส่งไม่ได้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็น และไม่ควรทิ้งไว้ในอุณภูมิห้องเกิน 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้เชื้อเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น

การเก็บปัสสาวะ (Urine)

การเก็บอุจจาระ (Stool) การเก็บอุจจาระ : เพื่อส่งตรวจดูความผิดปกติและหนอนพยาธิต่างๆ (ต้องไม่ปนเปื้อนปัสสาวะ หรือน้ำ) ปริมาณที่ใช้ : ใช้ไม้swabหรือช้อนตัก ประมาณ 5 กรัม หรือขนาดเท่าหัวแม่มือใส่ลงในตลับหรือกระป๋องที่จัดเตรียมให้ พร้อมปิดฝาภาชนะบรรจุให้สนิท (เลือกเก็บตรงบริเวณที่คาดว่า อาจผิดปกติ เช่น มีมูกหรือเลือดปนอยู่) การส่งสิ่งส่งตรวจ : นำส่งห้องปฏิบัติการทันที

ขวด sterile ขนาดเล็ก ชนิดของสิ่งส่งตรวจ เช่น CSF (น้ำไขสันหลัง), Body fluid(น้ำจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย) แพทย์เป็นผู้เจาะเท่านั้น ปริมาณที่ใช้ : - CSF : 1 – 2 ml - Pleural fluid, Peritoneal fluid, Synovial fluid และ Ascitic fluid : 3 – 5 ml การส่งสิ่งส่งตรวจ : ควรรีบนำส่งห้อง ปฏิบัติการทันที หากไม่สามารถนำส่งได้ทันทีควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง แต่ไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง