วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงิน 1. ฝ่ายบริหาร 2. ผู้ลงทุน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 2 การลงทุนในหุ้นสามัญ
Advertisements

“กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ”
บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 101 หนี้สงสัยจะสูญ และหนี้สูญ
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
บทที่ 6 งบประมาณ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Chapter I พฤติกรรมผู้บริโภค.
LOGO การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของปีงบประมาณ 2553 โดย นายธีรชาติ พันธุ์หอม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและ งบประมาณด้านก่อสร้าง คณะทำงานต้นทุนผลผลิตสำนัก ชลประทานที่ 11.
BUNCHEE TIPS BY AOODY FOR MM MEETING ON FEBUARY 17, 2014.
บทที่2 การวางแผนการผลิตและกำลังการผลิต
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
1.
โปรแกรมสต๊อกสินค้า และ โปรแกรมขายหน้าร้าน Nanosoft Smart INV.NET วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปและการ ประยุกต์ใช้งาน อ. วิสุตร์ เพชรรัตน์
ความเป็นมาของการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ ความหมายของการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ ขอบข่ายการศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการ การประเมินโครงการและการจัดลำดับ.
บัญชี อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต นายยงยุทธ พันตารักษ์ พัฒนาการอำเภอเมือง พิจิตร จังหวัดพิจิตร.
ประเภทของ CRM. OPERATIONAL CRM เป็น CRM ที่ให้การสนับสนุนแก่กระบวนการธุรกิจ ที่เป็น “FRONT OFFICE” ต่างๆ อาทิ การขาย การตลาด และการ ให้บริการ SALES FORCE.
ระบบการควบคุมภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
บทที่ 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
การวิเคราะห์งบการเงิน
งานวิจัยเพื่อจบหลักสูตร บัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ACCOUNTING FOR INVENTORY
วิชาการเงินทางธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN 1103
การเงินธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1104
A.Petcharee Sirikijjakajorn
การบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี
บทที่ 13 นโยบายเงินปันผล (DIVIDENE POLICY)
บทที่ 4 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี
วัสดุคงเหลือ.
บทที่ 10 การวิเคราะห์งบการเงิน
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
บทที่ 5 การวางแผนทางการเงิน ผศ. อรทัย รัตนานนท์ รศ.อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน.
บทที่ 4 ต้นทุนของเงินทุน ผศ. อรทัย รัตนานนท์ รศ.อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
กลุ่มที่ 4 ต้นแบบระบบสารสนเทศ ด้านการคลังเพื่อการบริหารจัดการ.
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
บทที่ 7 การจัดการทางบัญชี
รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 25..
Financial Reporting AND Analysis Accounting Information
“Thailand’s Sustainable Business” ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท
บทที่ 3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ต้นทุน-ปริมาณ-กำไร
สรุปมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
ตัวอย่างการจัดทำรายงานการผลิต และงบการเงิน
บทที่ 9 งบประมาณการลงทุน
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
BASIC STATISTICS MEAN / MODE / MEDIAN / SD / CV.
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด – ณ สิ้นเดือนกันยายน 2554
การเงินทางธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1103
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การวางแผนกำลังการผลิต
Business Finance FI 212 Lectured By ญาลดา พรประเสริฐ.
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
การวิเคราะห์งบการเงิน
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategy)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Supply Chain Logistics
บทที่ 9 สมุดรายวันเฉพาะและสมุดบัญชีแยกประเภทย่อย
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงิน 1. ฝ่ายบริหาร 2. ผู้ลงทุน บทที่ 3 การวิเคราะห์งบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน หมายถึง การวิเคราะห์เพื่อค้นหา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงาน ของธุรกิจ เพื่อนำข้อเท็จจริงที่ได้มาประกอบการตัดสินใจ วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงิน 1. ฝ่ายบริหาร 2. ผู้ลงทุน 3. เจ้าหนี้ 4. หน่วยงานรัฐบาล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน 1. การวิเคราะห์ตามแนวนอน 2. การวิเคราะห์ตามแนวตั้ง และการย่อส่วนของงบการเงิน * 3. การวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วน ( หน้า 40 ) 4. การวิเคราะห์โดยใช้ดูปอง

การวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วน (Ratio Analysis) เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรายการต่างๆ ในงบการเงิน อาจเป็นรายการในงบการเงินประเภท เดียวกัน หรือต่างชนิดกันก็ได้ นำมาเปรียบเทียบใน รูปของอัตราส่วน อัตราส่วนทางการเงิน สามารถแบ่งออกได้ หลายประเภท แต่ละประเภทจะช่วยสะท้อนให้เห็นถึง ฐานะ หรือประสิทธิภาพในการจัดการด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ ในที่นี้ขอแบ่งอัตราส่วนทางการเงินออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratios) 2. อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Ratios) 3. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratios) 4. อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios) 5. อัตราส่วนแสดงมูลค่าทางการตลาดของหุ้น (Market Value Ratios)

1) อัตราส่วนแสดงสภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการ ชำระหนี้ระยะสั้นของธุรกิจ โดยทำการเปรียบเทียบ ระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งผู้บริหารและผู้ให้กู้จะใช้อัตราส่วนแสดงสภาพคล่อง ทางการเงิน ประเมินความสามารถว่า ธุรกิจมีความ สามารถในการชำระคืนหนี้สินหมุนเวียนเมื่อหนี้นั้น ครบกำหนดหรือไม่

อัตราส่วนแสดงสภาพคล่องทางการเงิน ที่นิยมใช้ ในการวิเคราะห์ มีดังนี้ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) 2. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน เป็นอัตราส่วนที่นิยม ใช้ในการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจ โดยนำสินทรัพย์หมุนเวียน หารด้วยหนี้สินหมุนเวียน ดังนี้ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว เป็นอัตราส่วนที่แสดง ให้ทราบว่า ธุรกิจมีสินทรัพย์หมุนเวียนเร็วชำระคืน หนี้สินหมุนเวียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งอัตราส่วนนี้ จะคล้ายกับอัตราส่วนทุนหมุนเวียน จะต่างกันที่ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วใช้เฉพาะสินทรัพย์หมุนเวียน ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วเท่านั้น โดยตัด สินทรัพย์หมุนเวียนบางรายการที่ไม่สามารถเปลี่ยน เป็นเงินสดได้ เช่น ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า และสินทรัพย์ หมุนเวียนที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ช้า เช่น สินค้าคงเหลือ ซึ่งอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วคำนวณได้ดังนี้

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว = สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ – ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า หนี้สินหมุนเวียน

2) อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Ratios) เป็น อัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหาร สินทรัพย์ของธุรกิจ ประกอบด้วยอัตราส่วนต่อไปนี้

อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) 2. อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) 3. อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Turnover) 4. อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Asset Turnover)

อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึง จำนวนครั้งที่ธุรกิจสามารถจัดเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้ใน 1 ปี จากการขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ ซึ่ง อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ คำนวณได้ดังนี้ อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ = ยอดขายเชื่อ ...... ครั้ง ลูกหนี้การค้าสุทธิถัวเฉลี่ย

ระยะเวลาในการเก็บหนี้ เป็นอัตราส่วนแสดงถึง ประสิทธิภาพในการจัดเก็บหนี้ของธุรกิจ เนื่องจาก อัตราส่วนนี้แสดงให้ทราบว่า จำนวนวันที่ธุรกิจต้อง รอคอยในการเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้หลังจากที่ขายสินค้า ไปแล้ว ซึ่งระยะเวลาในการเก็บหนี้คำนวณได้ดังนี้ ระยะเวลาในการเก็บหนี้ = 365 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ วัน

อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ เป็นอัตราส่วน ที่แสดงถึงจำนวนครั้ง หรือจำนวนรอบที่สินค้าถูกขายไป ในรอบระยะเวลา 1 ปี หรือแสดงถึงจำนวนครั้งที่ธุรกิจ จะต้องซื้อสินค้ามาทดแทนในระหว่างปี อัตราส่วนนี้ ยิ่งสูงยิ่งดีเพราะแสดงว่าสินค้าขายได้เร็ว หรือสินค้ามี สภาพคล่องสูง ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำแสดงว่าสินค้ามี สภาพคล่องต่ำ เงินทุนจมในสินค้าเป็นเวลานาน ซึ่งอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ คำนวณได้ดังนี้

ระยะเวลาในการขายสินค้าคงเหลือ เป็นอัตราส่วน แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าคงเหลือ เนื่องจากอัตราส่วนนี้แสดงให้ทราบว่าระยะเวลาบริษัท มีสินค้าพร้อมขายอยู่ในมือจนถึงวันที่ขายสินค้านั้นไป ซึ่งระยะเวลาในการขายสินค้าคงเหลือ คำนวณได้ดังนี้ ระยะเวลาในการขายสินค้าคงเหลือ = 365 …. วัน อัตราการหมุนเวียนสินค้าเหลือ

อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร เป็นอัตราส่วน ที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ถาวรของ ธุรกิจ อัตราส่วนนี้ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะแสดงว่าธุรกิจใช้ สินทรัพย์ถาวรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และ ในทางตรงกันข้าม ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่าธุรกิจ ใช้สินทรัพย์ถาวรเพื่อก่อให้เกิดรายได้ไม่เต็มกำลัง การผลิต หรือใช้สินทรัพย์ถาวรไม่มีประสิทธิภาพ เท่าที่ควร อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร สามารถคำนวณได้ดังนี้

อัตราการหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร = ยอดขายสุทธิ สินทรัพย์ถาวรเฉลี่ย

อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม เป็น อัตราส่วนที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ ทั้งสิ้นที่ธุรกิจมีอยู่ อัตราส่วนนี้ยิ่งสูงยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจใช้สินทรัพย์รวมที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่าธุรกิจใช้สินทรัพย์รวม ก่อให้เกิดรายได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควร อัตราการหมุนเวียน ของสินทรัพย์รวม สามารถคำนวณได้ดังนี้

อัตราการหมุนเวียนสินทรัพย์รวม = ยอดขายสุทธิ สินทรัพย์รวมเฉลี่ย

3 ) อัตราส่วนแสดงความสามารถในการชำระหนี้ เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถในการก่อหนี้ ระยะยาวของธุรกิจ โดยผู้ให้กู้จะพิจารณาผลการ ดำเนินงานของธุรกิจด้านการเงิน และพิจารณาจาก สัดส่วนหนี้ต่อโครงสร้างเงินทุนว่าธุรกิจมีความ สามารถในการจ่ายดอกเบี้ย และเงินกู้ยืมระยะยาว หรือไม่ อัตราส่วนแสดงความสามารถในการ ชำระหนี้ แบ่งได้ดังนี้

อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt – to – Asset Ratio) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt – to Equity Ratio) 3. ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Times Interest Earned)

อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ เป็นอัตราส่วนที่แสดง ให้เห็นว่าสัดส่วนของเงินทุนในสินทรัพย์รวมที่ธุรกิจ ได้จากการก่อหนี้เหมาะสมหรือไม่ ถ้าอัตราส่วนนี้ สูงแสดงว่าเงินทุนที่ธุรกิจใช้ไปเพื่อการลงทุนใน สินทรัพย์ทั้งหมดนั้นได้มาจากการก่อหนี้เป็น จำนวนมาก จึงเกิดความเสี่ยงทางการเงินสูง โอกาสที่ จะก่อหนี้เพิ่มมีน้อยลง ซึ่งอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ คำนวณได้ดังนี้

อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ = หนี้สินรวม สินทรัพย์รวม

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นอัตราส่วน ที่แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เหมาะสมหรือไม่ ถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าเงินทุน ได้จากการก่อหนี้เป็นจำนวนมาก จึงเกิดความเสี่ยง ทางการเงิน ควรเพิ่มทุนจากส่วนของเจ้าของ ให้มากขึ้น ซึ่งอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น คำนวณได้ดังนี้

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินรวม

ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย เป็นอัตราส่วน ที่แสดงว่าธุรกิจมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี หรือกำไรจากการดำเนินงาน เป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย อัตราส่วนนี้ยิ่งสูงแสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการ จ่ายดอกเบี้ยได้สูง ซึ่งอัตราส่วนความสามารถในการ จ่ายดอกเบี้ยคำนวณได้ดังนี้

ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี ดอกเบี้ยจ่าย

4 ) อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร เป็น อัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการหารายได้ จากการดำเนินงาน และจากการลงทุนในสินทรัพย์ เป็นตัวแสดงความสามารถในการทำกำไร ซึ่งมีความ สัมพันธ์กับยอดขายและความสัมพันธ์กับการลงทุน อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรมี 5 ประเภท ดังนี้

1. อัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin) 2. อัตราผลตอบแทนจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์ (Basic Earning Power Raio หรือ BEP) 3. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Total Asset หรือ ROA) 4. อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Common Equity หรือ ROE) 5. กำไรต่อหุ้น (Earning Per Share หรือ EPS)

อัตรากำไรสุทธิ เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน ของธุรกิจว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบ กับยอดขาย อัตราส่วนนี้ยิ่งสูงยิ่งดีเพราะแสดงว่าธุรกิจ มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านนโยบาย ราคาและนโยบายการควบคุมค่าใช้จ่ายทุกประเภท ของธุรกิจ ซึ่งอัตรากำไรสุทธิสามารถคำนวณได้ดังนี้

อัตรากำไรสุทธิ = กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ * ยอดขายสุทธิ (* กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้น = กำไรสุทธิหลังภาษี – เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ์ (ถ้ามี)

อัตราผลตอบแทนจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์ เป็นอัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่าง กำไรจากการ ดำเนินงาน หรือกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) เปรียบเทียบกับสินทรัพย์รวมของธุรกิจ ซึ่งอัตราส่วนนี้คำนวณได้ดังนี้ อัตราผลตอบแทนจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์ = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี สินทรัพย์รวมเฉลี่ย

อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ( ROA )หรือ อัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน ( ROI ) เป็นอัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่างกำไรสุทธิส่วนของ ผู้ถือหุ้นสามัญ เปรียบเทียบกับ สินทรัพย์รวมเฉลี่ย ได้ดังนี้ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ = กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ สินทรัพย์รวมเฉลี่ย

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ( ROE ) เป็นอัตราส่วนที่แสดงผลตอบแทนจากเงินลงทุนเฉพาะ ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ ว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด โดยแสดงให้ทราบว่าธุรกิจมีกำไรสุทธิเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ของส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ เพื่อชี้ให้เห็นว่าธุรกิจ ใช้เงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นมากน้อยเพียงใด อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นคำนวณ ได้ดังนี้

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) = กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญเฉลี่ย

5 ) อัตราส่วนมูลค่าทางการตลาดของหุ้น เป็นการ วิเคราะห์เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างราคาตลาด ต่อหุ้นกับกำไรต่อหุ้น และราคาตลาดต่อหุ้นกับราคา ตามบัญชีของหุ้น ซึ่งอัตราส่วนนี้จะแสดงให้ฝ่ายบริหาร ทราบว่า นักลงทุนพอใจหรือไม่พอใจกับผลการดำเนินงาน ที่ผ่านมา และทราบแนวโน้มการดำเนินงานของธุรกิจ ในอนาคต ถ้านักลงทุนมองว่าธุรกิจมีสภาพคล่องดี มีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ และมีความสามารถ

ในการทำกำไรสูง นักลงทุนจะพอใจ และจะเข้ามา ในการทำกำไรสูง นักลงทุนจะพอใจ และจะเข้ามา ลงทุนซื้อหุ้นของธุรกิจ ราคาตลาดของหุ้นก็จะสูงขึ้น ซึ่งอัตราส่วนที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์มูลค่าทาง การตลาดของหุ้นมี 2 ประเภท ดังนี้ อัตราส่วนราคาต่อกำไร (Price/Earning Ratio หรือ P/E Ratio) 2. อัตราส่วนราคาต่อราคาตามบัญชี (Market/Book Value)

อัตราส่วนราคาต่อกำไร เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่า ราคาตลาดของหุ้นมีราคาเป็นกี่เท่าของกำไรต่อหุ้น ตามปกติธุรกิจที่นักลงทุนคาดคะเนว่าจะมีอัตราการ เจริญเติบโตสูง หรือผลการดำเนินงานดีจะมีอัตราส่วน ราคาต่อกำไร (P/E Ratio) สูงกว่าธุรกิจที่มีผล การดำเนินงานไม่ดี หรืออัตราการเจริญเติบโตต่ำ

อัตราส่วนนี้เป็นอัตราส่วนที่นักลงทุนนิยมใช้กันมาก ในการวิเคราะห์หุ้นของบริษัทเพื่อการซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์อย่างคร่าว ๆ ว่า ราคาที่ทำการซื้อขาย เหมาะสมที่จะทำการซื้อหรือไม่ อัตราส่วนราคาต่อ กำไรคำนวณได้ดังนี้ อัตราส่วนราคาต่อกำไร = ราคาตลาดต่อหุ้น กำไรต่อหุ้น

อัตราส่วนราคาตลาดต่อราคาตามบัญชี เป็นอัตราส่วน ที่เปรียบเทียบระหว่างราคาตลาดต่อหุ้นกับราคาตาม บัญชีของหุ้น ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน อัตราส่วนนี้แสดงให้ทราบว่าราคาตลาดต่อหุ้นเป็น กี่เท่าของราคาตามบัญชีของหุ้นนั้น ซึ่งจะทำให้ เห็นถึงการบริหารงานของธุรกิจในความเห็นของ นักลงทุน ตามปกติ ธุรกิจที่มีอัตราผลตอบแทนต่อ สินทรัพย์สูง และมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของ

ผู้ถือหุ้นสูง จะทำให้อัตราส่วนราคาตลาดต่อราคา ตามบัญชีสูงตามไปด้วย ซึ่งอัตราส่วนราคาตลาดต่อ ราคาตามบัญชี คำนวณได้ดังนี้ อัตราส่วนราคาตลาดต่อราคาตามบัญชี = ราคาตลาดต่อหุ้น ราคาตามบัญชีต่อหุ้น * * ราคาตามบัญชีต่อหุ้น = ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ จำนวนหุ้นสามัญ