วิชาเขียนแผนที่(Cartography) บทนำ วิชาเขียนแผนที่(Cartography) หัวข้อ ๑. ความหมายและความสำคัญ ๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ ๓. การจำแนกชนิดของแผนที่ ๔. การใช้ประโยชน์แผนที่
๑. ความหมายและความสำคัญ “ท่านอาจจะถือแผนที่อยู่แผ่นหนึ่ง แผนที่แผ่นหนึ่งของท่านนี้ค่อนข้างกว้างกว่าใคร ๆ ท่านเอาแผนที่มาปะเข้าด้วยกันอย่างพิถีพิถันถือเป็นงานที่ใครจะมาแตะต้องช่วยเหลือไม่ได้เลยทีเดียว... เวลาที่ท่านจะเสด็จฯ ไหนท่านต้องเตรียมแผนที่ละเอียด เริ่มตั้งแต่ตัดหัวแผนที่ออก และเศษที่ตัดออกนั้นจะทิ้งไม่ได้เลย ท่านจะต้องจัดแล้วเอากาวมาแปะติดกัน สำนักงานของท่านคือห้องกว้าง ๆ ไม่มีเก้าอี้เพราะจะต้องก้มอยู่กับพื้นเอากาวติด แผนที่เข้าด้วยกันแล้วเอาหัวกระดาษต่าง ๆ ค่อยตัดแล้วแปะเรียงกันเป็นหัวกระดาษและหัวแผนที่ใหม่ เพื่อจะได้ทราบว่า
๑. ความหมายและความสำคัญ แผนที่นั้นเป็นแผนที่ใหม่แผ่นใหญ่ของท่าน ทำจากแผนที่จากไหนบ้าง เพราะเวลาเสด็จฯ ไปก็ต้องไปถามชาวบ้านว่าสถานที่นั้นอยู่ที่ไหน แล้วทางทิศเหนือมีอะไร ทางใต้มีอะไร ท่านถามหลาย ๆ คนเช็คกันไปมา ระหว่างที่ถามนั้นก็จะดูจากแผนที่ว่าแผนที่อันนั้นถูกต้องดีหรือไม่ น้ำไหลจากไหนไปที่ไหน... บางครั้งแผนที่ไม่ถูกต้องท่านก็จะตรวจสอบได้เพราะมีเจ้าหน้าที่จากกรมแผนที่ ที่ตามเสด็จด้วยก็เรียกมาชี้ดูว่าตรงนี้จะต้องแก้ไข
๑. ความหมายและความสำคัญ ในการเสด็จพระราชดำเนินนั้นถ้าไปในทางรถธรรมดาท่านก็จะมีแผนที่ที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำเป็นแผนที่ ๑ ต่อ ๕๐,๐๐๐ แต่ในบางท้องที่ท่านก็โปรดเกล้าฯ ให้ทำแผนที่ ๑ ต่อ ๒๕,๐๐๐ ซึ่งบางครั้งปรากฏว่าแผนที่ ๕๐,๐๐๐ ถูกต้องกว่า... เวลาเดินทางไปท่านก็ดูแผนที่และเช็คจากการที่ไปดูหมู่บ้านซึ่งติดไว้ข้างถนนบ้าง หลัก กม.บ้าง ท่านก็เอาชื่อหมู่บ้านเหล่านั้น หลัก กม. เหล่านั้นใส่ลงในแผนที่ด้วย...”
๑. ความหมายและความสำคัญ “เวลาเดินทางต้องมีเข็มทิศ เครื่องวัดระดับความสูงอยู่ในรถนั้นด้วยก็พอเช็คแผนที่ได้พอคร่าว ๆ พอไปถึงที่ก็ถามได้ แต่เรื่องของระดับนั้นพิถีพิถันเป็นพิเศษ เนื่องจากหลักของท่าน ท่านจะต้องทำงานด้านน้ำหรือชลประทาน ก็ต้องทราบว่าน้ำเริ่มต้นจากที่ไหนจะไหลไปจากที่ไหนสู่ไหน..”
๑. ความหมายและความสำคัญ “บางครั้งชาวบ้านก็กราบบังคมทูล แกคงคุยไม่ถูกต้องก็มี ถูกต้องก็มี ก็ต้องใช้ความรู้หลาย ๆ ด้านเพื่อที่จะพิจารณาดูว่าคนไหนให้ข้อมูลถูก คนไหนให้ข้อมูลผิด แล้วก็สถานที่นั้นเป็นที่ไหน มีคนไหนกราบทูลว่าอย่างไร ก็จะทรงเก็บอยู่ในแผนที่นั้น เวลาเสด็จฯ ไปที่เดิมอีก ส่วนมากจะเป็นปีต่อไป ท่านก็ใช้ แผนที่อันเดิมนั้นในการที่จะตรวจสอบทำให้ท่านหวงแผนที่ท่านมาก แผนที่อันเดิมนั้นก็ต้องเก็บไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนที่ทางภาคใต้นั้นโดนฝนมากและภาคใต้นั้นเวลาเสด็จฯ ออกไปนั้นฝนตกทำให้แผนที่ค่อนข้างจะเปื่อยยุ่ยและต้องถือด้วยความระมัดระวัง...”
๑. ความหมายและความสำคัญ “เวลาท่านสอน ท่านสอนแม้กระทั่งการพับแผนที่ว่าในเวลาเรานั่งในรถนี้ที่มันก็แคบ กางแขนกางขาออกไปมากไม่ได้ ก็เวลาเตรียมตัวเดินทางนี่ต้องพับแผนที่ให้ถูกทางว่าไปตอนแรกไปถึงไหน พอไปถึงอีกที่หนึ่งจะต้องคลี่ได้ทันท่วงที และคลี่ด้านไหนและก็ต่อไปถึงด้านไหน ถ้าแผนที่นั่นเน่าเต็มทนคือว่าโดนฝนโดนอะไรหลายปีหลายฤดูกาล เราจะต้องย้ายข้อมูลจากแผ่นหนึ่ง ไปเป็นแผ่นใหม่ ซึ่งท่านก็ต้องทำเองเหมือนกัน แผนที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้ แล้วก็เวลาตอนหลังของพวกเรา ที่ตามเสด็จก็ได้รับพระราชทานแจกแผนที่ซึ่งท่านทำขึ้น
๑. ความหมายและความสำคัญ ท่านใช้เองด้วยหรือว่าการที่ท่านเอามาแจกนี้หลายครั้งท่านก็ไม่เอาแผนที่ตัวจริง ท่านจะถ่ายสำเนาแผนที่นั้นแจกแล้วก็ที่ท่านใช้ท่านก็ยังระบายสีเอง...”
๑. ความหมายและความสำคัญ “ท่านจะขีดเส้นส่วนที่คิดว่าเป็นที่สมควรที่จะทำเขื่อน หรือทำฝายในตรงไหนในแปลงตรงนั้นแล้วจะระบายสีฟ้าเป็นน้ำ เป็นเขื่อน หรือถนน อะไรก็เอาสีแดงระบายวาดเป็นเส้นไป ท่านก็ดูอย่างใกล้ชิดเพราะว่าการทำเขื่อนแต่ละแห่งหมายถึงว่าต้องจ่ายงบประมาณลงไปเป็นจำนวนมาก การจะเลือกทำที่ไหนนั้นก็จะเลือกไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ราษฎรเป็นจำนวนมาก จะต้องหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นที่ตั้งบ้านเรือนและยังต้องคำนึงถึงงบประมาณความประหยัดด้วย เพราะฉะนั้นอย่างใครเสนอโครงการมาท่านก็จะต้องทอดพระเนตรก่อนว่ากั้นน้ำตรงนี้
๑. ความหมายและความสำคัญ น้ำจะเลี้ยงไร่นาถึงแค่ไหน และจะได้ผลผลิตคุ้มและเหมาะสมเพียงพอหรือว่าเป็นเหตุผลพอไหมที่จะจ่ายเงินของราษฎรเป็นจำนวนสูงเท่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงต้องดูแผนที่ และถ้าใครมากราบบังคมทูลว่าขอพระราชทานเขื่อน ฝาย ในที่ไหนจะต้องทรงถามคนที่กราบบังคมทูล ว่าอยู่ที่ไหน การเดินทางเป็นอย่างไร ทิศเหนือจรดอะไร ทิศใต้จรดอะไร บริเวณหรือลักษณะเป็นอย่างไร แล้วก็ทรง กำหนดเองในแผนที่...”
๑. ความหมายและความสำคัญ จากกระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับการใช้แผนที่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรายการวิทยุของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เผยแพร่ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๗ นำมาจาก ->>
๑. ความหมายและความสำคัญ วิชาเขียนแผนที่ Cartography มาจากภาษากรีก เป็นการศึกษาและการปฏิบัติการทำแผนที่ โดยศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสาตร์ และเทคนิค มาสร้างเป็นแผนที่ การทำแผนที่สร้างอยู่บนหลักฐานความเป็นจริง ซึ่งสามารถที่จะสร้างแบบจำลองในลักษณะที่เป็นการสื่อสารข้อมูลเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Cartography (from Greek chartis = map and graphein = write) is the study and practice of making maps. Combining science, aesthetics, and technique, cartography builds on the premise that reality can be modeled in ways that communicate spatial information effectively. (http://en.wikipedia.org/wiki/Cartography)
๑. ความหมายและความสำคัญ คาร์โตกราฟี(Cartography) จึงเป็นแบบจำลองสิ่งแวดล้อมหรือปรากฎการณ์ ของสิ่งต่างๆ ที่มองเห็น หรือจับต้องได้ อาจจะประกอบด้วย 1. ความจำ , การพูด ที่บ่งบอกถึงสัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ 2. หุ่นจำลอง(Physical Model) เช่น ลูกโลกจำลอง 3. การเขียนอธิบายสถานที่ , ภาพถ่าย(Photo) 4. การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ เช่น สูตร ตาราง 5. แผนที่ เป็นสื่อกลางชนิดหนึ่งของ คาร์โตกราฟี
๑. ความหมายและความสำคัญ แผนที่ Map มาจากภาษาละติน MAPPA แปลว่า ผ้าคลุม A map is a visual representation of an area—a symbolic depiction highlighting relationships between elements of that space such as objects, regions, and themes. Many maps are static two-dimensional, geometrically accurate (or approximately accurate) representations of three-dimensional space, while others are dynamic or interactive, even three-dimensional. Although most commonly used to depict geography, maps may represent any space, real or imagined, without regard to context or scale; e.g. Brain mapping, DNA mapping, and extraterrestrial mapping. (http://en.wikipedia.org/wiki/Map)
๑. ความหมายและความสำคัญ แผนที่ Map มาจากภาษาละติน MAPPA แปลว่า ผ้าคลุม แผนที่คือเสมือนการแทนของพื้นที่ โดยใช้สัญลักษณ์แทนความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของพื้นที่ที่ เช่น วัตถุ บริเวณพื้นที่ หรือรูปแบบ แผนที่ส่วนใหญ่ เป็นแบบคงที่สองมิติ ซึ่งใช้เรขาคณิตมาแทนความถูกต้องของแผนที่ (หรือที่ถูกต้องโดยประมาณ) หรืออาจเป็นแผนที่สามมิติ หรือแผนที่แบบเคลื่อนไวของพื้นที่ได้ ส่วนใหญ่แผนที่ที่ใช้กันทั่วไปแสดงถึงภูมิศาสตร์พื้นที่ใดที่มีมาตราส่วน หรือแสดงโดยไม่คำนึงถึงมาตราส่วน เช่น การทำแผนที่สมอง, การทำแผนที่ดีเอ็นเอและการทำแผนที่ดาราศาสตร์ (http://en.wikipedia.org/wiki/Map)
๑. ความหมายและความสำคัญ แผนที่ Map 1. หน่วยงานด้านสนามของกองทัพสหรัฐอเมริกา (Department of Army field Manual, USA) ได้นิยามไว้ว่า “แผนที่ คือ การนำเอารูปภาพของสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวของโลก (Earth’s Surface) มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเขียนบนกระดาษหรือวัตถุที่แบนราบ สิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลกประกอบด้วยสิ่งที่เกิดเองตามธรรมชาติ (Natural) และสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น (Manmade) สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สี เส้น หรือรูปต่างๆ เป็นสัญลักษณ์แทน”
๑. ความหมายและความสำคัญ แผนที่ Map 2. พจนานุกรมภูมิศาสตร์ของโลธา (R.M. Lodha) ได้นิยามไว้ว่า “แผนที่หมายถึง การแสดงสัญลักษณ์หรือภาพลงบนพื้นผิวที่แสดงเป็นพื้นผิวโลก โดยมีการย่อส่วน ซึ่งทำให้เห็นการกระจายทางพื้นที่ (Spatial Distribution)”
๑. ความหมายและความสำคัญ แผนที่ Map 3. พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2523 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “แผนที่ คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ และที่ปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพื้นแบนราบด้วยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น”
๑. ความหมายและความสำคัญ เพราะฉะนั้นคาร์โตกราฟฟี(Cartography) จึงต้องใช้ศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ศาสตร์ทางด้านศิลปะ และเทคนิคมาผสมผสานกันให้ออกมาเป็นแบบจำลองบนวัสดุที่ต้องการ เพื่อสื่อความหมายของสิ่งเหล่านั้นให้ตรงกัน ศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ และสาขาวิศวกรรม ศาสตร์ทางด้านศิลปะ เป็นการออกแบบ การเขียน การประดิษฐ์ตกแต่ง การผลิต เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ข้อมูล
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ 1. 6200 ปีก่อนคริสต์ศักราช
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ 2. แผนภูมินี้ทำด้วยเปลือกหอย ซึ่งผูกติดกับโครงที่ทำด้วย ก้านมะพร้าว แผนภูมินี้ชาวเกาะ ใช้สำหรับเดินเรือระหว่างเกาะ ก้านมะพร้าวซึ่งผูกเป็นเส้นตรง ใช้แทนบริเวณพื้นทะเลส่วน ที่ทำลักษณะโค้งใช้แทนคลื่น ส่วนตัวเกาะใช้เปลือกหอยแทน
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ 3. แผนที่ของชาวเอสกิโม ทำด้วยไม้สลักติดบนหนังแมวน้ำและแผนภาพเศษไม้แสดงเกาะต่างๆ
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ 4. ก่อน ค.ศ. 2500 ปี โดยประมาณ แผนที่ของชาวบาบิโลนBabylonian Maps
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ 5. ประมาณ ค.ศ. 801 ชาวจีนโบราณได้คิดแผนที่ขึ้นใช้ แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเป็นแผนที่ซึ่งแกะสลักด้วยหิน แสดงให้เห็นกำแพงเมืองจีนตัดข้ามแม่น้ำเหลือง
ดูแผนที่ใน Web : http://www.history-map.com ๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ 6. ประมาณ ค.ศ. 1300 ถึง ปัจจุบัน แผนที่ได้ถูกบันทึก ในแผ่นกระดาษ ดูแผนที่ใน Web : http://www.history-map.com
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ แผนที่ในประเทศไทย แผนที่ปโตเลมีฉบับที่เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.693 เรียกบริเวณที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบันว่า Aurea Khersonesus ซึ่งแปลว่า แหลมทอง (Gloden Peninsular) แผนที่ภายในประเทศที่เก่าแก่ที่สุดคือ แผนที่ยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พ.ศ.1893-1912 (พระเจ้าอู่ทอง) การทำแผนที่ภายในเริ่มเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ แผนที่ในประเทศไทย พ.ศ. 2411 ได้มีการทำแผนที่บริเวณชายพระราชาอาณาเขตด้านตะวันตกของไทย เพื่อใช้กำหนดแนวเขตพรมแดนไทยกับพม่า พ.ศ. 2413 ได้ทำแผนที่กรุงเทพฯ และกรุงธนบุรี โดยชาวต่างประเทศเป็นผู้ทำความเจริญในการทำแผนที่ของประเทศไทย เริ่มจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของนายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยมุ่ง
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ แผนที่ในประเทศไทย ประโยชน์ในการตัดถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ การวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ไปพระตะบอง และทำแผนที่ปากอ่าวเพื่อการเดินเรือ พ.ศ. 2424 ได้จ้างชาวอังกฤษ คือ เจมส์ แมคคาร์ธี (พระวิภาคภูวดล เจ้ากรมแผนที่คนแรก)มีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมจากประเทศไทยไปลาว-เขมร ต่อมาได้ทำแผนที่มาตราส่วน 1 : 2,000,000 แสดงดินแดนประเทศไทย รวมทั้งลาว-เขมร และทำแผนที่บริเวณที่ราบภาคกลาง มาตราส่วน 1 : 100,000
นายเจมส์ เอฟ แมคคาร์ที ๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ แผนที่ในประเทศไทย แผนที่ประเทศไทย ผลงานของ นายเจมส์ เอฟ แมคคาร์ที เจ้ากรมแผนที่ทหารคนที่ ๑
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ แผนที่ในประเทศไทย 1. พ.ศ. 2444 เริ่มสำรวจและทำแผนที่โฉนดขึ้นเป็นครั้งแรก 2. พ.ศ. 2447 มีการทำแผนที่ตามแนวพรมแดนด้านลาวและเขมร โดยชาวฝรั่งเศส 3. พ.ศ. 2453-2493 ทำแผนที่ทั่วไปภายในประเทศ เป็นแผนที่ มาตราส่วน 1 : 50,000 ระยะเวลา 40 ปีนี้ทำแผนที่เสร็จ ประมาณ 50 % 4. พ.ศ. 2455 เริ่มสำรวจทำแผนที่ทางทะเล 5. พ.ศ. 2466 เริ่มงานสมุทรศาสตร์
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ แผนที่ในประเทศไทย 6. พ.ศ. 2468 นายชัตตัน(N.Sutton) อาจารย์วิชาภูมิศาสตร์ โรงเรียนสวนกุหลาบ ร่วมมือกับกรมแผนที่ทหาร ทำแผนที่ เย็บเล่มขึ้นเป็นครั้งแรก 7. พ.ศ. 2495 เริ่มโครงการทำแผนที่ประเทศไทย ตามข้อตกลง ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเป็นการทำแผนที่ มาตราส่วน 1: 50,000 ขึ้นใหม่ทั่วประเทศ 8. พ.ศ. 2504 กรมแผนที่ทหารได้ทำแผนที่เฉพาะวิชา มาตราส่วน 1 : 1,000,000 ขึ้น 10 ชนิด
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ แผนที่ในประเทศไทย 9. พ.ศ. 2507 ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะให้ทันสมัยขึ้น และ ย่อส่วนเป็นมาตราส่วน 1 : 2,500,000 10. พ.ศ. 2510-2512 เป็นต้นมา ก็ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะวิชาชุดเดิม แล้วรวบรวมเป็นแผนที่เล่มมีคำอธิบายประกอบแผนที่เฉพาะแต่ละชนิด ทำให้สะดวกในการศึกษาและใช้เป็นอย่างมา
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ ยุคแรก : เป็นยุคในการรังวัดทางภาคพื้นดิน เช่น การสามเหลี่ยม การวัดมุม การรังวัดด้วยวิธีทางตรีโกณ โต๊ะแผนที่ และการสร้างจุดควบคุมโดยการรังวัดดาว ยุคสอง : เป็นยุคในการรังวัดด้วยภาพถ่ายทางอากาศ จุดควบคุมใช้การสามเหลี่ยมและการเดินระดับ พระยาศัลวิธานนิเทศ ท่านเป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มการทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศขึ้นในประเทศไทย เช่น L7017
๒. ประวัติและวิวัฒนาการแผนที่ ยุคสาม : เป็นยุคในการรังวัดด้วยภาพถ่ายดาวเทียม และการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ จุดควบคุมใช้เทคโนโลยีดาวเทียมในการรังวัด(GPS) ยุคสี่ : เป็นยุคของการใช้ข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ เป็นการเพิ่มเติม แก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งในแบบ offline และ online
๓. แผนที่ชุดต่างๆ ที่ผลิตขึ้นใช้ 1. การจำแนกแผนที่อาจจำแนกด้วย 1.1. การสำรวจ บนพื้นดิน บนอากาศ บนอวกาศ บนพื้นราบ บนส่วนโค้ง 1.2. เครื่องมือหลัก เทป กล้อง gps เครื่องบิน ดาวเทียม ซาวเรกคอร์ด 1.3. มาตราส่วน เล็ก กลาง ใหญ่ 1.4. มิติ แผนที่ เป็น 2 มิติ แผนที่ 3 มิติ แผนที่ 4 มิติเคลื่อนไหว แผนที่ 5 มิติ เสียง แผนที่ 6 มิติ บังคับ
๓. แผนที่ชุดต่างๆ ที่ผลิตขึ้นใช้ 2. ประเภทแผนที่ 2.1 แผนที่ทั่วไป (General Map) หรือ แผนที่อ้างอิง(Reference Map) คือ แผนที่ ที่ใช้งานทั่วไปที่ทำหน้าที่เป็นฐานแผนที่ มีวัตถุประสงค์หลักเป็นการแสดงสถานที่ตั้งของความหลากหลายคุณสมบัติ ของปรากฏการณ์ โดยเน้นรูปทรงทางเรขาคณิต เช่น ระยะทาง, ทิศทางของพื้นที่ หรือความสูง ซึ่งมีมาตราส่วนใหญ่ และความถูกต้องสูงของแผนที่ เช่น แผนที่ภูมิประเทศ ถ้าเป็นมาตาส่วนเล็ก เช่น แผนที่ประเทศรัฐทวีป
๓. แผนที่ชุดต่างๆ ที่ผลิตขึ้นใช้ 2. ประเภทแผนที่ 2.2 แผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic Map) คือ แผนที่ ที่ใช้งานเฉพาะเรื่อง ของการออกแบบไว้ โดยการเจาะจงรายละเอียดลึกลงไปอีก เช่น แผนที่เส้นทาง เป็นแผนที่ทั่วไป แต่ถ้ามีการเจาะจงรายละเอียดแผนที่ลงไปเช่น ชนิดถนน ความกว้าง ความยาว เป็นต้น แผนที่ที่สร้างขึ้นเราเรียกว่า แผนที่เฉพาะเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตราส่วนเล็ก หรือไม่สนใจในเรื่องมาตราส่วน เนื่องจากผู้ใช้สนใจในรายละเอียดข้อมูลมากกว่า
๓. แผนที่ชุดต่างๆ ที่ผลิตขึ้นใช้ 3. แผนที่การใช้งาน 3.1. แผนที่ทั่วไป (General Map) เป็นรากฐานในการทำ แผนที่อื่นๆ 3.2. แผนที่โฉนดที่ดิน (Cadastral Map) แสดงระยะ ขอบเขตที่ดิน 3.3. แผนที่ผังเมือง (City Map , Ciyt Plan) แสดงอาคาร บ้านพัก และตัวเมือง 3.4. แผนที่ทางหลวง (Highway Map) แสดงถนนสาย สำคัญ
๓. แผนที่ชุดต่างๆ ที่ผลิตขึ้นใช้ 3. แผนที่การใช้งาน 3.5. แผนที่เศรษฐกิจ (Economic Map) แสดงเขต อุตสาหกรรม เกษตรกรรม อื่นๆ 3.6. แผนที่สถิติ (Statistical Map) แสดงราการทางสถิติ ต่างๆ 3.7. แผนที่การใช้ที่ดิน (Land-use Map) นิยมใช้สีแสดง ความแตกต่าง 3.8. แผนที่รัฐกิจ (Political Map) แสดงเขตปกครองและ พรมแดน
๓. แผนที่ชุดต่างๆ ที่ผลิตขึ้นใช้ 3. แผนที่การใช้งาน 3.9. แผนที่ประวัติศาสตร์ (Historical Map) แสดงอาณา เขตสมัยต่างๆ ชาติพันธุ์ 3.10. แผนที่เพื่อนิเทศ (illustortion Map) เพื่อโฆษณา และ นิทรรศการต่างๆ 3.11. แผนที่เฉพาะที่ (Topical Map) แสดงเรื่องต่างๆ 3.12. แผนที่ทรวดทรง (Relief Map) แสดงรูปร่างผิวพื้น พิภพ สูงต่ำอย่างไร
๓. แผนที่ชุดต่างๆ ที่ผลิตขึ้นใช้ 4. แผนที่ทางทหาร 4.1. แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strstegic Map) 4.2. แผนที่ยุทธวิธี (Tactical Map) 4.3. แผนที่ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี (Strstegic Tactical Map) 4.4. แผนที่ทหารปืนใหญ่ (Artillery Map) 4.5. แผนที่การบิน (Aeronautical Map) 4.6. แผนที่ทะเล (Navigation or nautical charts)
๔. ประโยชน์แผนที่ 1. ข้อดี 1.1. สรุปได้อย่างรวดเร็วและอธิบายความสัมพันธ์เชิง พื้นที่ได้อย่างถูกต้อง 1.2. ง่ายที่จะเห็นภาพและเข้าใจรูปแบบของพื้นที่ 1.3. แก้ปัญหาที่ซับซ้อน เนื่องจากแผนที่สามารถรวบรวม ข้อมูลได้จำนวนมากด้วยการใช้สัญลักษณ์ จึง มองเห็นทั้งภาพและข้อมูลในบริเวณเดียวกันทั้ง แผ่น
๔. ประโยชน์แผนที่ 1. ข้อเสีย 1.1. ไม่สามารถจำแนกรายละเอียดได้ทั้งหมดในแผ่นเดียว 1.2. ข้อจำกัดในเรื่องมาตราส่วนแผนที่ 1.3. ข้อมูลจำนวนมาก ในแผนที่อาจทำให้เข้าใจในแผนที่ ผิดได้
คำถามท้ายบท อธิบายความหมาย Cartography และ Map วิวัฒนาการแผนที่ในยุคต่างๆ การจำแนกแผนที่ ประเภทของแผนที่ ข้อดีและข้อเสียของแผนที่
ปฏิบัติ การติดตั้งโปรแกรม ทดสอบการเขียนแผนที่ด้วยโปรแกรม AutoCAD Civil 3D ด้วยคำสั่ง AutoCAD ตรวจสอบ ผลการเขียนของนักศึกษา ประเมินผลการเขียน ผลการเขียนของนักศึกษา