ลำดับชั้นหิน.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ENGINEERING USE OF SOILS
Advertisements

พฤติกรรมเชิงกลและกลไกการเสียรูปของหิน
แนวปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลภาพหลายช่วงคลื่น
หินแปร (Metamorphic rocks)
(Structure of the Earth)
and Sea floor spreading
ดิน (Soils).
บทที่ 3 การเกิดและแหล่งกำเนิดของอัญมณี
Geol Coal Geology การใช้ประโยชน์จากถ่านหิน โดยการเผาให้ได้ความร้อน
ปฏิบัติการที่ 5 หินตะกอน.
เปลือกโลก(crust) ประกอบด้วย Oxygen 45.2 ซิลิกอน 27.2 อลูมิเนียม 8.2
Energy Flow and Mineral Cycling
ส่วนวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ
CCS 200 FLOOR CLEANER Floor and surface Cleaner Technical Bulletin
โลกของเรา (โครงสร้างและส่วนประกอบ)
ปูนซีเมนต์.
ประวัติผู้บรรยาย นายสมหวัง วิทยาปัญญานนท์
หินอัคนี (Igneous rocks)
ธรณีวิทยาเบื้องต้น INTRODUCTION TO GEOLOGY (GEO3102)
5. Geologic Time F.S.Singharajwarapan.
การแปรสัณฐานของแผ่นธรณีภาค
Geol Coal Geology รองศาสตราจารย์ ดร. เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร
โครงสร้างภายในของโลก แบ่งตามคุณสมบัติทางกายภาพ
หินแกรนิต หินแปรเนื้อหยาบ มีริ้วขนาน หยักคดโค้งไม่สม่ำเสมอ สีเข้มและจางสลับกัน แปรสภาพมาจากหินแกรนิต โดยการแปรสภาพบริเวณไพศาล ที่มีอุณหภูมิสูงจนแร่หลอมละลาย.
4.5 Gamma ray log gamma ray log เป็นการวัดค่ากัมมันตภาพรังสีที่เกิดขึ้นในธรรมชาติในชั้นหิน ในหินตะกอน ค่าที่อ่านได้จะสะท้อนถึงปริมาณของหินดินดานในชั้นหิน.
ปฏิบัติการที่ 2 แร่ประกอบหินอัคนี.
Applied Geochemistry Geol รองศาสตราจารย์ ดร. เบ็ญจว รรณ รัตนเสถียร ภาควิชาธรณีวิทยา คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประเภทบุคลากร นักวิชาการสาธารณสุข, นักทรัพยากรบุคคล, จพ.ธุรการ Production Line 1.จัดทำแผนบุคลากร 2.จัดประชุม/สัมมนา 3.ประเมินผลและจัดการความรู้ 4.ร่วมผลิตบุคลากรทางการแพทย์
ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับโลก
แหล่งน้ำธรรมชาติของโลก แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่
ปฐพีศาสตร์ทั่วไป (General soil)
ปฐพีศาสตร์ทั่วไป (General soil)
บริษัท คิวมิกซ์ซัพพลาย จำกัด
บท 6.
คาดการณ์สภาพอากาศประเทศไทย ปีพุทธศักราช 2558
Geochemical Exploration
การจัดการดินและปุ๋ยสำหรับผักสวนครัว
หิน (ROCK).
ภูเขาไฟ (Volcano).
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกในอดีต
Food Contact Surface Packaging Sniff Test
Power Point ประกอบการจัดการเรียนรู้
หน่วยที่ 6 ดนตรีกับชีวิตประจำวัน.
งานปูน Cement work.
แบบจำลองแหล่งแร่( Mineral Deposit Model )
ปฐพีศาสตร์ทั่วไป (General soil)
โครงสร้างโลก.
งานปูน Cement work.
คาดการณ์สภาพอากาศประเทศไทย ปีพุทธศักราช 2558
Soil Fertility and Plant Nutrition
/ Soil Fertility and Plant Nutrition
ประชุมการจัดสอบ O-NET2560
การบริหารจัดการทางการศึกษา (106402)
ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ครูอัญชลี เรืองไพศาล
การประชุมชี้แจงศูนย์สอบ O-NET ชั้น ป.6 และ ชั้น ม.3 ปีการศึกษา 2560
Lec Soil Fertility and Plant Nutrition
Lec Soil Fertility and Plant Nutrition
Boundary AJ.2 : Satit UP.
บทที่ 3 ธรณีประวัติ.
122351/ Soil Fertility and Plant Nutrition
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 28 ธันวาคม 2560
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรมรชาติ
ทรัพยากรธรณี เรื่อง ดิน
ลักษณะเนื้อหินของหินแปร (Texture of Metamorphic Rocks)
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับความหมายของ Meetings
คาดการณ์สภาพอากาศประเทศไทย ปีพุทธศักราช 2558
การกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ
การเปลี่ยนแปลงธรณีภาค
ตัวอย่างหินอัคนี - หินแกรนิต (Granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอนที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อหยาบซึ่งประกอบด้วยผลึกขนาดใหญ่ของแร่ควอรตซ์สีเทาใส.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ลำดับชั้นหิน

หิน คือมวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติเนื่องจากองค์ประกอบ ของเปลือกโลกส่วนใหญ่ เป็นสารประกอบ ซิลิกอนไดออกไซต์(Sio2)ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลเกต

นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่มักเป็นคาร์บอนไดออกไซต์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซต์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัย ซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่างๆ

ลำดับชั้นหิน คือ การเรียงตัวทับถมกันของตะกอนที่ตกทับถม ณ ที่แห่งหนึ่งในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งมักพบว่าชนิดของตะกอนจะแตกต่างกันไปตามกาลเวลา ขึ้นกับสภาพแวดล้อมในอดีตช่วงนั้น เช่น ยุคแคมเบรียนจะสะสมตัวหินทราย หินทรายแป้งและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหินดินดาน หินปูนในยุค ออร์โดวิเชียน เป็นต้น

         อายุของหินคือช่วงเวลาที่ตะกอนหรือลาวาตกสะสมตัวหรือกำลังแข็งตัวหรือจับตัวเช่น ดินสะสมตัวในทะเลสาบเมื่อประมาณ 260 ล้านปี เมื่อจับตัวเป็นหินและคงอยู่ถึงปัจจุบัน เราก็บอกว่าหินนี้มีอายุ 260 ล้านปีที่ผ่านมาสำหรับวิธีศึกษาหาอายุก็ใช้ทั้งค่าอัตราส่วนการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีหรือซากดึกดำบรรพ์ในช่วงนั้นที่เผอิญตายพร้อมๆ กับการตกของตะกอน

         อายุของหินบนเทือกเขากลางมหาสมุทร เนื่องจากหินตรงนี้เป็นหินอัคนีประเภทบะซอลต์เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นต้องหาอายุโดยใช้การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีเท่านั้น อายุได้ตั้งแต่ 160 ล้านปีถึงปัจจุบัน

ขนาดของอนุภาคตะกอน ขนาดอนุภาค(มิลลิเมตร) ชื่อเรียก ประเภทของตะกอน ชนิดของหินตะกอน >256 ก้อนหินใหญ่ กรวด หินกรวดมน หินกรวดเหลี่ยม <256 ก้อนหินเล็ก <64 กรวดมน <2 อนุภาคทราย ทราย หินทราย <0.02 อนุภาคทรายแป้ง โคลน หินดินดาน หินโคลน <0.002 อนุภาคดินเหนียว

  1.หินอัคนี (Igneous Rock) หินหนืดที่แข็งตัวในเปลือกโลกเรียกว่า หินอัคนีแทรกซอนเช่นหินแกรนิต และจากลาวาที่ปะทุออกมาภายนอกผิวโลกเช่นภูเขาไฟ เรียกว่า หินอัคนีพุ เช่น หินพัมมิช หินสคอเรีย

กระบวนการเกิด : (Igneous) -      หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดหรือลาวา ซึ่งจะเย็นตัวลงแล้วตกผลึกหินหนืดที่แข็งตัวให้เปลือกโลกในระดับที่สึกจะเป็นหินพลูโทนิค (Plutonic Rock) หรือเรียกว่าหินอัคนีระดับลึกจะมีเม็ดแร่ขนาดใหญ่ -  ลาวาหรือหินหนืดบางส่วนที่เกิดจากการประทุของภูเขาไฟ เมื่อเย็นตัวลงบนพื้นโลกก็จะเกิด  

- เป็นหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock) จะมีเม็ดแร่ขนาดเล็กละเอียดในกรณีที่หินหนืดมีการแทรกซอนเข้าใกล้ผิวโลกแล้วเย็นตัวลงจะทำให้เกิดหินอัคนีที่มีเม็ดแร่ขนาดใหญ่ปะปนกับเม็ดแร่ขนาดเล็ก  

หินอัคนี (Igneous Rock)         แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1.1 หินอัคนีแทรกซ้อน (Intrusive Igneous Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ของหินหนืดใต้เปลือกโลก มีผลึกแร่ขนาดใหญ่ (>1 มิลลิเมตร) เช่นหินแกรนิต (Granite) หินไดออไรต์ (Diorite) หินแกบโบร (Gabbro)

1.2 หินอัคนีพุ (Extruisive Igneous Rock) หรือหินภูเขาไฟ (Volcanic Rock) เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของหินหนืดที่ดันตัวพุออกมานอกผิวโลกเป็นลาวา (Lava) ผลึกแร่มีขนาดเล็กหรือไม่เกิดผลึกเลยเช่น หินบะซอลต์ (Basalt) หินแอนดีไซต์ (Andesite) หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

1.หินอัคนีบาดาล(Plutonic rock)

- หินแกรนิต(Granite) เป็นหินอัคนีบาดาลสีขาวเทาอาจมีจุดประสีดำๆ ประกอบด้วย แร่เขี้ยวหนุมาน (Quartz; สีขาวใส) แร่ฟันม้า (feldspar; สีขาวขุ่น) และแร่ดำๆ เช่น แร่ไบโอไทท์ (biotite) เป็นส่วนใหญ่ หินแกรนิตเป็นหินสำคัญบนเปลือกโลกส่วนทวีป (Continental crust) ในเมืองไทยมักเกิดตามแนวเทือกเขาใหญ่ของประเทศ อาทิเช่น เทือกเขาตะนาวศรีทางตะวันตก-ใต้ (จังหวัดภูเก็ต พังงา ระนอง) และเทือกเขาผีปันน้ำทางภาคเหนือ (จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่)

- หินไดโอไรท์(Diorite) เป็นหินอัคนีบาดาลสีคล้ำเข้มกว่าหินแกรนิตออกไปทางสีเทา,เขียว เนื่องจากมีปริมาณแร่เขี้ยวหนุมานลดลงมากปริมาณแร่ฟันม้าและแร่ดำๆ เช่น ไบโอไต์และฮอน เบลนด์ (hornblende;สีดำเสี้ยนยาว) เพิ่มมากขึ้นจึงเห็นเป็นสีขาวประดำเป็นส่วนใหญ่ ในเมืองไทยพบไม่มากนัก และโดยมากพบในบริเวณเดียวกับที่ที่พบหินแกรนิต เช่น ที่จังหวัดเลย แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และเชียงราย

- หินแกบโบร(Gabbro) เป็นหินอัคนีบาดาลสีเข้มถึงดำ และประกอบด้วยแร่ไพรอกซีน (Pyroxene;สีดำเสี้ยนสั้น) แร่ฟันม้าชนิดแพลจิโอเคลส(Plagioclase) เป็นส่วนใหญ่และอาจมีแร่โอลิ-วีน(Olivine;สีเขียวใส) อยู่บ้าง พบไม่มากนักบนเปลือกโลกส่วนทวีป แต่จะพบอยู่มากในส่วนล่างของเปลือกสมุทร(Oceanic crust) เมืองไทยพบอยู่น้อยมากเป็นแนวเทือกเขาเตี้ย ๆ แถบจังหวัดเลย แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ปราจีนบุรี และศรีสะเกษ

2.หินภูเขาไฟ(Voleanic rock) หินภูเขาไฟ(Volcanic rock) หมายถึงหินอัคนีเนื้อละเอียดหรือละเอียดมาก(คล้ายแก้ว) จนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นซึ่งเกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วจากหินละลาย(Lava) ที่ไหลขึ้นมาสู่ผิวโลก เช่น หินไรโอโลท์(Rhyolite) เป็นหินภูขาไฟที่มีสีขาวเทาเนื้อละเอียดและมีส่วนประกอบทางแร่คล้ายกับหินแกรนิต

มักประกอบด้วยผลึกดอก(Phenocryst) ซึ่งมองด้วยตาเปล่าได้ชัดเจนกระจัดกระจายอยู่ในเนื้อหินผลึกดอกส่วนใหญ่ได้แก่ แร่เขี้ยวหนุมาน และแร่ไบโอไทท์ (biotite;แร่ดำเป็นแผ่นๆ) หินไรโอไลท์มักเกิดเป็นภูเขาหรือเนินกลม ๆ บางที่ก็เรียงรายเป็นเทือกเขา เมืองไทยพบอยู่ไม่มากนัก เช่น จังหวัดสระบุรี ลพบุรี และแพร่

- หินแอนดีไซท์(Andesite) เป็นหินภูเขาไฟที่มีสีเขียวหรือเขียวเทาเนื้อละเอียด มีส่วนประกอบทางแร่คล้ายหินไดโอไรท์ ผลึกดอกมักเป็นแร่ฟันม้า แร่ไพรอกซีนและแร่แอมฟิโบล มักเกิดเป็นแนวเทือกเขาเป็นแนวยาวเช่นที่แถบจังหวัดสระบุรี ลพบุรี และแพร่

- หินบะซอลต์(Basalt) เป็นหินภูเขาไฟสีเข้มถึงดำ เนื้อละเอียดมีส่วนประกอบทางแร่คล้ายหินแกบโบร ผลึกดอกมักเป็นแร่โอลิวีน หรือไพรอกซีน หินมักพบแร่กระจายเป็นบริเวณกว้าง เมืองไทยพบมากแถบจังหวัด ศรีสะเกษ กาญจนบุรี และจันทบุรี ซึ่งบางแห่งก็เป็นต้นกำเนิดของพลอย

2. หินตะกอน (Sedimentary Rock) หินตะกอน คือหินที่เกิดจากการแข็งตัวและอัดตัวของตะกอนเศษหินหรือสารละลายที่ถูกตัวกลางเช่นลมและน้ำพัดพามาและสะสมตัวบนที่ต่ำ ๆ ของผิวโลกหินตะกอนแบ่งเป็น 3 ชนิดตามลักษณะของเนื้อหิน คือ 2.1 หินตะกอนเนื้อประสม หินตะกอนแตกหลุด หรือตะกอนเม็ด(Clastic sedimentary rock) หมายถึงหินตะกอนที่ประกอบ ด้วยอนุภาคที่แตกหลุดและพัดพามาจากที่อื่น ๆ เช่น

2.2 หินดินดาน(Shale) เป็นหินตะกอนแตกหลุดเนื้อละเอียด ประกอบด้วยอนุภาคตะกอนขนาดเล็กกว่า 1/256 mm. มักแสดงลักษณะเป็นชั้นๆ ขนานกัน(bed) ประกอบด้วย แร่เขี้ยวหนุมาน แร่ไมก้า(mica) และแร่ดิน(clay mineral) เป็นส่วนใหญ่ขนาดของตะกอนเล็กเกินกว่าที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ในเมืองไทยพบอยู่ทั่วไปเช่นแถบจังหวัดชลบุรี นครศรีธรรมราช ยะลา และกาญจนบุรี และส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2.3 หินทราย(Sandstone) เป็นหินตะกอนแตกหลุดที่ประกอบด้วยอนุภาคตะกอนขนาดตั้งแต่ 1/16 - 2 มม (คือเท่าเม็ดทราย) เม็ดทรายมักมีลักษณะกลมแสดงถึงการกัดกร่อนและการพัดพา แร่เขี้ยวหนุ-มานเป็นแร่ที่พบบ่อยในหินแต่อาจมีแร่ฟันม้า แร่โกเมน (garnet) และแร่ไมก้าปะปนอยู่ด้วย บางครั้งแสดงลักษณะเป็นชั้น ๆ ชัดเจน สีแดง ๆของหินแสดงว่าหินมีตัวเชื่อมประสาน(Cement) เป็นพวกเหล็ก ในเมืองไทยพบแทบทุกจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ นครพนม และสกลนคร

2.3 หินกรวด (Conglomerate) เป็นหินตะกอนแตกหลุดที่ประกอบด้วยอนุภาคตะกอนขนาดใหญ่กว่า 2 มม (คือใหญ่เท่าเม็ดทราย)ที่ยึดเกาะกันแน่นอยู่ภายใน เนื้อหินที่ประกอบด้วยตะกอนทรายและทรายแป้ง (silt) เม็ดตะกอนมักมีลักษณะกลมมนและมีความคงทนสูง เช่นแร่เขี้ยวหนุมาน และหินควอทไซท์ แต่อาจจะประกอบด้วยหินปูนและหินแกรนิตได้ เมืองไทยพบไม่มากนักอาจมีบ้างเช่นที่จังหวัดกาญจนบุรี ระยอง และลพบุรี

2. หินตะกอนเคมี หินตะกอนเคมี(Chemical หรือ Nonclastic sedimentary rock) หมายถึง หินตะกอนที่เกิดจากการตกผลึกจากสารละลายที่พัดพามาโดยน้ำ ณ อุณหภูมิต่ำเช่น - หินปูน (Limestone) เป็นหินตะกอนเคมีที่ประกอบด้วยผลึกแร่คัลไซท์(calcite) เป็นส่วนใหญ่ บางครั้งอาจมีซากบรรพชีวิน (fossils) อยู่ด้วย โดยมากแสดงลักษณะภูมิประเทศเป็นยอดเขาสูงผนังชั้นหลาย ๆ ยอดซ้อนกัน เนื่องจากได้รับอิทธิพลของการกัดเซาะและการละลายโดยน้ำ เมืองไทยพบมากแถบจังหวัดสระบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พังงา และชุมพร

- หินเกลือ(Rock Salt) เป็นหินตะกอนเคมีที่ประกอบด้วยผลึกแร่เกลือหิน(halite) โดยปกติมักมีเนื้อเนียน มีสีขาวใส หรือไม่มีสี แต่อาจมีสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีส้ม เหลือง แดง เนื่องจากมีมลทินของสารจำพวกเหล็กปนอยู่เมืองไทยพบมากในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และขอนแก่น

- ถ่านหิน(Coal) เป็นหินตะกอนอินทรีย์ สีดำ มันวาว ทึบแสงและไม่เป็นผลึก ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ที่อัดกันแน่นจนกลายเป็นสภาพหิน เมืองไทยที่พบมากเป็นถ่านหินขั้นต่ำ เช่น บริเวณแถบจังหวัดลำปาง กระบี่ แพร่ สงขลา และเลย

3)หินแปร (Metamorphic Rock) การแปรสภาพสัมผัส

เป็นการแปรสภาพของหินซึ่งเกิดเป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลเนื่องจากอุณหภูมิและความกดดัน โดยปกติการเเปรสภาพแบบนี้จะไม่มีความเกี่ยวพันกับมวลหินอัคนี และมักจะมี “ริ้วขนาน” (Foliation) จนแลดูเป็นแถบลายสลับสี บิดย้วยแบบลูกคลื่น ซึ่งพบในหินชีสต์ หินไนส์ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการการตกผลึกใหม่ของแร่ในหิน ทั้งนี้ริ้วขนานอาจจะแยกออกได้เป็นแผ่นๆ และมีผิวหน้าเรียบเนียน เช่น หินชนวน

การแปรสภาพบริเวณไพศาล

3)หินแปร (Metamorphic Rock) หินแปร คือหินที่เปลี่ยนแปลงมาจากหินอัคนีหรือหินตะกอนโดยขบวนการทางกายภาพและทางเคมี ในสภาพของแข็ง ณ ที่อุณหภูมิและความดันสูง ในระดับที่ลึกและไม่ผ่านการหลอมละลายโดยทั่วไปหินแปรจัดแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด ตามลักษณะเนื้อหินคือ

1. หินแปรริ้วลาย หินแปรริ้วลาย(Foliated metamorphic rock) หมายถึงหินแปรที่แสดงลักษณะการเรียงตัวของแร่ไปในแนวหนึ่งแนวใดโดยเฉพาะ มองเห็นได้ชัดเจน เช่น - หินไนส์(Gneiss) เป็นหินแปรริ้วขนานผลึกใหญ่ที่เนื้อหินมีการแทรกสลับกันระหว่างแถบสีขาวและดำ แถบสีขาวประกอบด้วยแร่เขี้ยวหนุมานและแร่ฟันม้าเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแถบสีดำประกอบด้วยแร่ไบโอไทท์หรือฮอนเบลน เมืองไทยพบมากแถบบริเวณจังหวัดตาก เชียงใหม่ อุทัยธานีกาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ หินแกรนิต

- หินชีส(Schist) เป็นหินแปรริ้วขนานเนื้อค่อนข้างหยาบที่แสดงลักษณะการเรียงตัวของแร่อย่างชัดเจน โดยเฉพาะแร่แผ่น(mica) เช่น แร่ไปโอไทท์(ดำ) มัสโคไวท์(ขาว) และ คลอไรท์(เขียว) เมืองไทยพบบริเวณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี อุทัยธานี เชียงใหม่ และตาก ถ้าหินมันวาวอย่างเดียวแต่ไม่เห็นแร่ชัดเจนเรียกหินฟิลไลต์(Phyllite)

2.หินแปรไร้ริ้วลาย(Nonfoliated metamorphic rock)

- หินอ่อน(Marble) เป็นหินแปรไร้ริ้วขนานที่ประกอบด้วยผลึกแร่คัลไซท์เป็นส่วนใหญ่ มีสีขาวหรือสีขาวเทา แปรสภาพมาจากหินปูน เมืองไทยพบมาแถบจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี และยะลา หินไนส์

- หินชนวนหรือหินกาบ(Slate) เป็นหินแปรริ้วขนานเนื้อละเอียดที่แตกเป็นแผ่น ๆ หน้าเรียบ (คล้ายกระดาษ ดังนั้นเมื่อก่อนจึงนำมาทำกระดานชนวน) ตามระนาบการเรียงตัวของแร่แผ่น เมืองไทยพบมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ชลบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส หินชีส

- หินควอทไซท์(Quartzite) เป็นหินแปรไร้ริ้วขนานที่ประกอบด้วยผลึกแร่เขี้ยวหนุมานเป็นส่วนใหญ่ มีหลายสีตั้งแต่สีเหลือง ส้ม เทา เขียวเทา จนถึงขาว แปรสภาพมาจากหินทราย เมืองไทยพบมากแถบภาคตะวันตกของประเทศ เช่นจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี ราชบุรี และตาก หินทราย ควอร์ตไซต์ (Quartzite)

- หินฮอนเฟลส์(Hornfels) เป็นหินแปรไร้ริ้วขนาน เนื้อละเอียดสีดำหรือเข้ม มีความแข็งและมีขอบคม แปรสภาพมาจากหินอะไรก็ได้ที่มีเนื้อละเอียด (เช่นหินดินดานหรือหินโคลน) ที่สัมผัสอยู่กับหินอัคนีบาดาล เมืองไทยพบอยู่ตามเทือกเขาใหญ่ที่มีหินแกรนิตอยู่ เช่นจังหวัดภูเก็ต พังงา ตาก ลพบุรี เลย และประจวบคีรีขันธ์

การกลับคืนเป็นหิน (Lithification) เมื่อเศษตะกอนทับถมกันจะเกิดโพรงขึ้นประมาณ 20 – 40% ของเนื้อตะกอน น้ำพาสารละลายเข้ามาแทนที่อากาศในโพรง เมื่อเกิดการทับถมกันจนมีน้ำหนักมากขึ้น เนื้อตะกอนจะถูกทำให้เรียงชิดติดกันทำให้โพรงจะมีขนาดเล็กลง จนน้ำที่เคยมีอยู่ถูกขับไล่ออกไป สารที่ตกค้างอยู่ทำหน้าที่เป็นซีเมนต์เชื่อมตะกอนเข้าด้วยกันกลับเป็นหินอีกครั้ง

2.หินชั้นหรือหินตะกอน เกิดจากการสะสมหรือทับทมของเศษหิน ดิน ทราย นานเข้าถูกกดทับอัดมีตัวเชี่อมประสานปฏิกิริยาเคมีจนกลายเป็นหินในที่สุดเช่นหินกรวดมน หินทราย หินดินดาน หินปูน หินดินดาน

หินชั้นหรือหินตะกอน (Sedimentary Rock)         เกิดจากการทับถม และสะสมตัวของตะกอนต่างๆ ได้แก่ เศษหิน แร่ กรวด ทราย ดินที่ผุพังหรือสึกกร่อนถูกชะละลายมาจากหินเดิม โดยตัวการธรรมชาติ คือ ธารน้ำ ลม ธารน้ำแข็งหรือคลื่นในทะเล พัดพาไปทับถมและแข็งตัวเป็นหินในแอ่งสะสมตัวหินชนิดนี้แบ่งตามลักษณะเนื้อหินได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ หินทรายแสดงชั้นเฉียงระดับ

หินกรวดมน ชั้นหินทรายสลับชั้นหินดินดาน

1.หินชั้นเนื้อประสม (Clastic Sedimentary Rock) เป็นหินชั้นที่เนื้อเดิมของตะกอน พวกกรวด ทราย เศษหินและดิน ยังคงสภาพอยู่ให้พิสูจน์ได้ เช่น หินทราย (Sandstone) หินดินดาน (Shale) หินกรวดมน (Conglomerate) เป็นต้น หินกรวดมน

2. หินเนื้อประสาน (Nonclastic Sedimentary Rock) เป็นหินที่เกิดจากการตกผลึกทางเคมี หรือจากสิ่งมีชีวิต มีเนื้อประสานกันแน่นไม่สามารถพิสูจน์สภาพเดิมได้ เช่น หินปูน (Limestone) หินเชิร์ต (Chert) เกลือหิน (Rock Salte) ถ่านหิน (Coal) เป็นต้น ชั้นหินเชิร์ต

         3. หินแปร เป็นหินที่เกิดจากการแปรสภาพอันเนื่องมาจากความร้อนและความกดดันของโลกเช่นหินไนซ์แปรสภาพมาจากหินแกรนิต หินควอร์ตไซต์แปรสภาพมาจากหินทราย หินชนวนแปรสภาพมาจากหินดินดาน หินอ่อนแปรสภาพมาจากหินปูน

3. หินแปร (Metamorphic Rock)        แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

3.1การแปรสภาพบริเวณไพศาล (Regional metamorphism) เกิดเป็นบริเวณกว้างโดยมีความร้อนและความดันทำให้เกิดแร่ใหม่หรือผลึกใหม่เกิดขึ้น มีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ และแสดงริ้วขนาน (Foliation) อันเนื่องมาจากแร่เดิมถูกบีบอัดจนเรียงตัวเป็นแนวหรือแถบขนานกัน เช่น หินไนส์ (Gneiss) หินชีสต์ (Schist) และหินชนวน (Slate) เป็นต้น หินชนวน (Slate) หินไนส์ (Gneiss)

3.2 การแปรสภาพสัมผัส (Contact metamorphism) เกิดจากการแปรสภาพโดยความร้อนและปฏิกิริยาทางเคมีของสารละลายที่ขึ้นมากับหินหนืดมาสัมผัสกับหินท้องที่ ไม่มีอิทธิพลของความดันมากนัก ปฏิกิริยาทางเคมีอาจทำให้ได้แร่ใหม่บางส่วนหรือเกิดแร่ใหม่แทนที่แร่ในหินเดิม หินแปรที่เกิดขึ้นจะมีการจัดเรียงตัวของแร่ใหม่ ไม่แสดงริ้วขนาน (Nonfoliation) เช่น หินอ่อน (Marble) หินควอตไซต์ (Quartzite)

หินควอตไซต์ (Quartzite) หินอ่อน (Marble)

วัฏจักรของหิน วัฏจักรของหิน (Rock cycle) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของหินทั้ง 3 ชนิด จากหินชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งหรืออาจเปลี่ยนกลับไปเป็นหินชนิดเดิมอีกก็ได้ กล่าวคือ เมื่อ หินหนืด เย็นตัวลงจะตกผลึกได้เป็น หินอัคนี เมื่อหินอัคนีผ่านกระบวนการผุพังอยู่กับที่และการกร่อนจนกลายเป็นตะกอนมีกระแสน้ำ ลม ธารน้ำแข็ง หรือคลื่นในทะเล พัดพาไปสะสมตัวและเกิดการแข็งตัวกลายเป็นหิน เหล่านี้อาจข้ามขั้นตอนดังกล่าวได้ เช่น จากหินอัคนีไปเป็นหินแปร หรือจากหินแปรไปเป็นหินชั้น

อันเนื่องมาจากแรงบีบอัดหรือมีสารละลายเข้าไปประสานตะกอนเกิดเป็น หินชั้นขึ้น เมื่อหินชั้นได้รับความร้อนและแรงกดอัดสูงจะเกิดการแปรสภาพกลายเป็นหินแปร และหินแปรเมื่อได้รับความร้อนสูงมากจนหลอมละลาย ก็จะกลายสภาพเป็นหินหนืด ซึ่งเมื่อเย็นตัวลงก็จะตกผลึกเป็นหินอัคนีอีกครั้งหนึ่งวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไปเป็นวัฏจักรของหิน กระบวนการเหล่านี้อาจข้ามขั้นตอนดังกล่าวได้ เช่น จากหินอัคนีไปเป็นหินแปร หรือจากหินแปรไปเป็นหินชั้น

วัฏจักรของหิน

จบนำเสนอ