งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ครูอัญชลี เรืองไพศาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ครูอัญชลี เรืองไพศาล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ครูอัญชลี เรืองไพศาล
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ครูอัญชลี เรืองไพศาล

2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลก

3 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลก
โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน ( ) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนักดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิด ตามมาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์

4 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลก
โลกหมุนจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก โลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว 1,674.4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เร็วกว่าความเร็วสูงสุดของเครื่องบินโดยสารแอร์บัส A380 เสียอีก แต่เพราะขนาดของโลกมันใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดตัวของเรา จึงทำให้เราไม่รู้สึกเลยว่าโลกกำลังหมุนอยู่ ด้วยความเร็วขนาดนี้ทำให้โลกใช้เวลาหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบเท่ากับ 23 ชั่วโมง 56 นาที 4.09 วินาที แต่เพื่อไม่ให้วุ่นวายจึงต้องปัดเศษเป็น 24 ชั่วโมงเต็ม

5 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโลก
ไม่ใช่แค่หมุนรอบตัวเองเท่านั้น แต่โลกยังหมุนรอบดวงอาทิตย์ไปด้วยพร้อมๆ กัน ที่ความเร็ว 107,218 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบเท่ากับ วัน แต่ปัดเศษเหลือแค่ 365 วันเต็ม นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมทุกๆ 4 ปี เดือนกุมภาพันธ์จะต้องมี 29 วัน ก็เพราะบวกเศษที่เหลืออีกปีละ 0.24 วัน รวมเข้าด้วยกันเป็นอีกหนึ่งวันนั่นเอง

6 สัณฐานของโลก โลก (Earth) มีสัณฐานกลมรี แบบสเฟียรอยด์ (Spheroid)
คือมีลักษณะป่องตรงกลาง ขั้วเหนือ-ใต้ แบนเล็กน้อย เพราะเกิดจากแรงเหวี่ยงหมุนรอบตัวเอง แต่พื้นผิวโลกที่แท้จริงมีลักษณะขรุขระ สูง ต่ำ ไม่ราบเรียบ สม่ำเสมอ พื้นผิวโลกจะมีพื้นที่ประมาณ 509,450,00 ตารางกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว 12, กิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ 12, กิโลเมตร แกนของโลกเอียงเป็นมุม 23 1/2องศา

7 สัณฐานของโลก จุดที่สูงที่สุดของโลกบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่ที่ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ มีความสูงประมาณ 8,848 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จุดที่ลึกที่สุดของโลกอยู่ที่ร่องลึกมาเรียนา ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีความลึกประมาณ 10,997 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

8 แก่นโลก เนื้อโลก เปลือกโลก โครงสร้างของโลก
โครงสร้างของโลกจำแนกความแตกต่างได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ แก่นโลก เนื้อโลก เปลือกโลก

9 แก่นโลก (Core) เป็นส่วนชั้นในสุดของโลก ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่ มีความหนามาก มีรัศมียาวประมาณ 3,475 กิโลเมตร แก่นโลกแบ่งได้ 2 ชั้น คือ แก่นโลกชั้นนอกและแก่นโลกชั้นใน แก่นโลกชั้นใน (Inner Core) มีลักษณะเป็นทรงกลม มีแรงดันมาก มีสภาพเป็นของแข็งอยู่ระหว่างระดับความลึกจากผิวโลก 5,115 กิโลเมตร ไปถึงจุดศูนย์กลางของโลก ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิล

10 แก่นโลก (Core) แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core) มีสภาพเป็นของเหลวที่อยู่ระดับความลึกจากผิวโลก 2,459 กิโลเมตร มีอุณหภูมิสูงถึง 2,200-2,750 องศาเซลเซียส แก่นโลกชั้นนี้มีการเคลื่อนตัวตลอดเวลา สามารถดันชั้นเนื้อโลกให้เคลื่อนตัวออกมาถึงชั้นเปลือกโลกได้ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ

11 เนื้อโลก (Mantle) ชั้นเนื้อโลก เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลก มีความหนาประมาณ 2,895 กิโลเมตร มีส่วนประกอบเป็นของแข็ง ได้แก่ แมกนีเซียม-เหล็กซิลิกา ชั้นเนื้อโลก มีสภาวะความไม่เสถียร คือ มีการเคลื่อนไหว เลื่อนไหลของหินหนืดตลอดเวลา ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดพลังงานปริมาณมหาศาลที่ส่งต่อมาถึงเปลือกโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ ทวีปเลื่อนตามบริเวณแนรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก

12 เปลือกโลก (Crust) คือส่วนผิวนอกสุดของโลก ประกอบด้วยหินและแร่ต่างๆ ที่มีความหนาประมาณ 6-40 กิโลเมตร สามารถแยกได้ 2 ส่วน คือ ชั้นไซอัลและชั้นไซมา 1. เปลือกโลกชั้นบน หรือชั้นไซอัล (Sial layer) คือ ชั้นหินสีจาง มีแร่ประเภท ซิลิกา และ อลูมินัม เป็นส่วนประกอบหลัก พบได้ทั่วไปบริเวณเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป 2. เปลือกโลกชั้นล่าง หรือชั้นไซมา (Sima) คือ เปลือกโลกชั้นที่มีลักษณะเป็นหินหนืด ประกอบด้วย แร่ซิลิกา และแมกนีเซียม มีความแข็งกว่าหินชั้นบน

13

14

15 ส่วนประกอบของเปลือกโลก
เปลือกโลกเป็นส่วนนอกสุดของโลกและมีความบางที่สุด ประกอบด้วยแผ่นดิน 1 ส่วน และพื้นน้ำ 3 ส่วน ดังนี้ - เปลือกโลกที่เป็นผืนน้ำ ประกอบด้วย 4 มหาสมุทร ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอาร์กติก - เปลือกโลกส่วนที่เป็นแผ่นดินหรือพื้นทวีป ประกอบด้วย 7 ทวีป ได้แก่ ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปออสเตรเลีย และทวีปแอนตาร์กติก

16 ธาตุ ธาตุที่ประกอบด้วยเปลือกโลกมีมากกว่า 100 ชนิด มีปริมาณมากน้อแตกต่างกันไป มีสถานะเป็นทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส แต่ที่เปลือกโลกจะอยู่ในลักษณะของสารประกอบที่เป็นของแข็ง มีสภาพเป็นแร่ธาตุ ออกซิเจน ซิลิคอน อะลูมิเนียม เหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ไททาเนียม

17 ธาตุ จากตารางพบว่า เปลือกโลกเกือบร้อยละ 99 ประกอบขึ้นจากธาตุเพียง 9 ชนิด โดยมีออกซิเจนและซิลิคอนรวมกันเป็น 72 ของมวลโลก ซึ่งทางองค์ประกอบทางเคมี ธาตุเหล่านี้มีมูลฐานสำคัญของการทำให้แร่มีรูปร่างแตกต่างกัน ตั้งแต่ผลึกใสจนมีสีเข้ม ธาตุออกซิเจนในรูปของแก๊สจะมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก แต่ส่วนใหญ่ออกซิเจนที่เปลือกโลกจะอยู่ในรูปของสารประกอบ โดยการรวมกับธาตุชนิดอื่นๆ ธาตุโลหะ คือ ซิลิคอน อะลูมิเนียม เหล็ก และแมกนีเซียม ส่วนอโลหะ คือ แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม และไททาเนียม

18 แร่ (mineral) ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีส่วนประกอบทางเคมี และทางกายภาพที่แน่นอน หรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. แร่ปฐมภูมิ ได้แก่ แร่ที่เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืด (magma) ใต้เปลือกโลกอย่างช้าๆ เช่น ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ ไมกา เป็นต้น 2. แร่ทุติยภูมิ ได้แก่ แร่ที่เกิดจากการผุพังจากแร่ปฐมภูมิ เช่น เมื่อเฟลด์สปาร์และไมกาผุพังจะกลายเป็นแร่ดินเหนียว เป็นต้น

19 แร่ (mineral) ประเภทของแร่จำแนกตามคุณสมบัติ มี 4 ประเภท คือ
(1) แร่โลหะ เป็นแร่ที่ความวาวแบบโลหะ เป็นสื่อความร้อนและไฟฟ้าได้ดีแลเป็นวัตถุทึบแสง แร่โลหะที่มนุษย์นำมาใช้มากที่สุด คือ แร่เหล็ก รองลงมาคือ ทองแดง แร่โลหะอื่นๆ ได้แก่ เงิน ทอง ดีบุก อะลูมิเนียม ตะกั่ว สังกะสี และทังสเตน เป็นต้น

20 แร่ (mineral) (2) แร่อโลหะ เป็นแร่ที่ไม่มีความวาวแบบโลหะ เป็นสื่อนำความร้อนและสื่อนำไฟฟ้าที่เลว เช่น ไนเตรด ฟอสเฟต โพแทช กำมะถัน ยิปซัม ฟลูออไรด์ หินปูน แร่ใยหิน และเกลือหิน เป็นต้น

21 แร่ (mineral) (3) แร่เชื้อเพลิง เป็นแร่ที่เผาไหม้แล้วจะให้พลังงานความร้อนและแสงสว่าง ได้แก่ ถ่านหิน และปิโตรเลียม มี 2 ชนิด ได้แก่ น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ

22 แร่ (mineral) (4) แร่รัตนชาติ เป็นแร่ที่มีผลึกชัดเจน สวยงาม ใช้เป็นเครื่องประดับได้ดี ได้แก่ เพชร ทับทิม พลอย และควอตซ์ เป็นต้น

23 หิน (rock) หินอัคนี หินชั้นหรือหินตะกอน หินแปร
คือส่วนที่แข็งของเปลือกโลก ซึ่งเป็นสารประกอบตั้งแต่หนึ่งหรือสองอย่างขึ้นไปรวมตัวกัน หินแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ หินอัคนี หินชั้นหรือหินตะกอน หินแปร

24 หินอัคนี (igneous rock)
หินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืดใต้เปลือกโลก ดังนั้นหินอัคนีจึงมีแร่ธาตุต่างๆปนอยู่ด้วย เป็นหินที่มีมากที่สุดประมาณร้อยละ 96 ของหินเปลือกโลกทั้งหมด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หินอัคนีพุ คือหินละลายหรือหินหนืดซึ่งดันตัวออกมานอกเปลือกโลก และแข็งตัวอย่างรวดเร็ว หรือเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟดันหินหลอมเหลวที่เรียกว่า “ลาวา” ออกมา และเมื่อลาวาเย็นตัว เรียกว่า หินอัคนีพุ เป็นหินเนื้อละเอียดหรือมีรูพรุน เช่น หินบะซอลต์ หินแก้วภูเขาไฟ หินลอยน้ำ หินไรโอไลต์

25 หินอัคนี (igneous rock)
หินอัคนีแทรกซอน หรือหินอัคนีระดับลึก เป็นมวลหินอัคนีขนาดใหญ่ เนื้อหยาบ และแข็งตัวอยู่ภายใต้ผิวเปลือกโลก เช่น หินแกรนิต หินแกบโบร หินไดออไรต์

26 หินตะกอน (sedimentary rock)
หินที่เกิดจากการทับถมของตะกอน โดยตะกอนเหล่านี้เกิดจากการผุพังแตกสลายของหินอัคนี หินแปรหรือหินชั้น ที่มีอายุเก่ากว่า แล้วถูกพัดพามาจมสะสมโดย น้ำ ลม ธารน้ำแข็ง หรือการตกตะกอนทางเคมี รวมถึงหินที่เกิดจากการสะสมของซากดึกดำบรรพ์ ตะกอนต่างๆเหล่านี้จะมีการสะสมตัวเป็นชั้นๆ และเมื่อหารแข็งตัวกลายเป็นหินแล้ว ลักษณะการเรียงตัวจะเป็นชั้นๆตามลำดับอายุที่ปรากฏให้เห็นอยู่ เช่น หินทราย หินดินดาน หินปูน ลิกไนต์ ถ่านหิน เป็นต้น

27 หินแปร (metamorphic rock)
หินทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นหินชั้นหรืออัคนีที่แปรสภาพไปจากเดิม จากการได้รับแรงอัดอย่างแรง อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงสูง หรือการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมี หินเหล่านี้จะเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม โดยเฉพาะเนื้อหิน สีสัน และความแข็งแกร่ง เช่น หินดินดาน แปรเป็น หินชนวน หินปูน แปรเป็น หินอ่อน หินแกรนิต แปรเป็น หินไนส์

28 ดิน (soil) วัตถุที่ทับถมปกคลุมเป็นชั้นบางๆอยู่บนพื้นผิวโลก ประกอบด้วยอินทรียวัตถุและอนินทรียวัตถุต่างๆปะปนกันในสภาพของแข็ง ของเหลว และแก๊สผสมผสานกัน มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืช ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ และสัตว์ ดินมีลักษณะและสมบัติแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของโลก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ชนิดของหินเปลือกโลกที่กำเนิดดิน ระยะเวลาที่ดินมีวัฒนาการ

29 ทดสอบ จุดสูงสุดของโลกอยู่ ณ บริเวณใด หินปูนเกิดจากอะไร
โครงสร้างประกอบด้วยอะไรบ้าง โลกประกอบด้วยธาตุชนิดใดมากที่สุด แร่ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด หินดินดานจะแปรเป็นหินชนิดใด หินแกรนิตจะแปรเป็นหินชนิดใด หินปูนจะแปรเป็นหินชนิดใด


ดาวน์โหลด ppt ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ครูอัญชลี เรืองไพศาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google