งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ธรณีวิทยาเบื้องต้น INTRODUCTION TO GEOLOGY (GEO3102)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ธรณีวิทยาเบื้องต้น INTRODUCTION TO GEOLOGY (GEO3102)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ธรณีวิทยาเบื้องต้น INTRODUCTION TO GEOLOGY (GEO3102)
อ.พรสมิทธิ์ ฉายสมิทธิกุล สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2 กำเนิดโลก โลกที่เราอาศัยอยู่มีอายุประมาณ 4,500-4,600 ล้านปี กำเนิดมาจากกลุ่มเมฆฝุ่นมหึมา และกลุ่มแก๊สที่พุ่งมาชนคล้ายหนามแหลม ภาพที่ 1 กลุ่มเมฆฝุ่นมหึมา และแก๊สความร้อนสูงมาจากดวงอาทิตย์พุ่งมาชนอัดแน่นสู่ศูนย์ไส้โลก

3 กำเนิดโลก ภาพที่ 2 โลกถูกอุกกาบาตใหญ่วิ่งมาชน มีการระเบิดต่อเนื่อง แร่กัมมันตรังสีในโลกให้ความร้อนสูง หินหนืดละลายจมตัวสู่แกนโลก หินเบาอยู่ภายนอกเปลือกโลก ดวงจันทร์เกิดเวลานี้

4 ทฤษฎีบิกแบง(Big Bang)
โดยจอร์จ เลอแมตร์

5 จอร์จ เลอแมตร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี ค.ศ เอ็ดวิน ฮับเบิลค้นพบว่า ระยะห่างของดาราจักรมีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับการเคลื่อนไปทางแดง การสังเกตการณ์นี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรและกระจุกดาวอันห่างไกลกำลังเคลื่อนที่ออกจากจุดสังเกต ซึ่งหมายความว่าเอกภพกำลังขยายตัว ยิ่งตำแหน่งดาราจักรไกลยิ่งขึ้น ความเร็วปรากฏก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น[1] หากเอกภพในปัจจุบันกำลังขยายตัว แสดงว่าก่อนหน้านี้ เอกภพย่อมมีขนาดเล็กกว่า หนาแน่นกว่า และร้อนกว่าที่เป็นอยู่ แนวคิดนี้มีการพิจารณาอย่างละเอียดย้อนไปจนถึงระดับความหนาแน่นและอุณหภูมิที่จุดสูงสุด และผลสรุปที่ได้ก็สอดคล้องอย่างยิ่งกับผลจากการสังเกตการณ์ ทว่าการเพิ่มของอัตราเร่งมีข้อจำกัดในการตรวจสอบสภาวะพลังงานที่สูงขนาดนั้น หากไม่มีข้อมูลอื่นที่ช่วยยืนยันสภาวะเริ่มต้นชั่วขณะก่อนการระเบิด ลำพังทฤษฎีบิกแบงก็ยังไม่สามารถใช้อธิบายสภาวะเริ่มต้นได้ มันเพียงอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเอกภพที่เกิดขึ้นหลังจากสภาวะเริ่มต้นเท่านั้น

6 ทฤษฎีดาวหลุมดำ

7 กาแลกซี่ (Galaxy) ดาวแสนล้านดวงรวมตัวกันคล้ายกระจกเลนส์นูน เรียกว่า กาแลกซี่ (gal-ax-see) ระบบสุริยะ เป็นเพียงจุดเล็กๆอยู่ค่อนมาตอนริมของกาแลกซี่

8 ระบบสุริยะ (Solar System)

9 กำเนิดโลก 3 ภาพที่ 3 โลกเย็นลง อุกกาบาตที่พุ่งชนทำให้เกิดมหาสมุทรขนาดใหญ่บนผิวโลก และดวงจันทร์ ผิวโลก และดวงจันทร์เย็นลง และแข็งตัว

10 กำเนิดโลก 4 ภาพที่ 4 กำเนิดโลกเสร็จสิ้น ส่วนประกอบภายในเปลือกโลก 3 ชั้น ได้แก่ เปลือกโลกชั้นครัสต์ ชั้นแมนเติล และแกนโลก ภูเขาไฟ-อุกกาบาต ได้ให้แก๊ส และน้ำ เกิดบรรยากาศ มหาสมุทร พืช และสัตว์ตามมา

11 ขนาดและสัณฐานของโลก(size and shape)
โลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางวัดตามแนวเส้นศูนย์สูตรประมาณ 7, ไมล์ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของดาวนพเคราะห์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางผ่านขั้วโลกทั้งสองเท่ากับ 7, ไมล์ ต่างกัน ไมล์ แสดงว่ารูปร่างของโลกเป็นทรงสเฟียรอยด์ Spheroid หรือรูปร่างเสมือนทรงกลม มีบริเวณอีเควเตอร์ป่องออก ค่อนข้างแบนเล็กน้อยที่ขั้วโลกทั้งสอง

12 ส่วนประกอบของโลก เปลือกโลกที่เราอาศัยอยู่เป็นเปลือกโลกชั้นครัสต์ (Crust) เป็นหินหนืดที่แข็งตัวประกอบเป็นตัวทวีป และพื้นท้องมหาสมุทร หนา 5-70 กิโลเมตร ถัดไปคือชั้นแมนเติล (Mantle) เป็นหินหนืดหนากว่าครัสต์เกือบ 40 เท่า หนา 2,900 กิโลเมตร ชั้นที่สาม เรียกว่าแกนโลก (Core) มี 2 ชั้น คือ แกนโลกชั้นนอก(Outer core) และแกนโลกชั้นใน (Inner core) ประกอบด้วยธาตุเหล็ก และนิเกิล หนา 2,250 กิโลเมตร และ1,200 กิโลเมตร ตามลำดับ

13 เปลือกโลก (crust) ชั้นซิแอลจะหนาบริเวณตัวทวีป
เปลือกโลกที่เป็นตัวทวีปประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เรียกชั้น ซิแอล (sial) มีธาตุซิลิกา และอลูมิเนียมเป็นธาตุหลัก ถือว่าเป็นธาตุที่เบากว่าชั้นซิมา (sima) เช่นหินพัมมิส หินบะซอล์ท ที่มีธาตุซิลิกา และแมกนีเซียมที่หนักกว่า ชั้นซิแอลจะหนาบริเวณตัวทวีป ชั้นซิมาจะหนาบริเวณพื้นมหาสมุทร ถึงแม้เปลือกโลกชั้นครัสต์จะแข็งตัวแล้วแต่มีหลายบริเวณได้แก่ เขตภูเขาไฟ ที่เห็นหินหนืด หรือแมกม่าสีแดงร้อนจัดไหลได้ ถ้าขึ้นมาบนเปลือกโลกเรียกลาวา (Lava) ถูกอากาศจะแข็งตัวเป็นหินอัคนีภายนอกที่มีรูพรุน

14 ความสัมพันธ์ทางกายภาพของโลก
หลังจากโลกเกิดแล้ว เกิดธรณีภาค (Lithosphere) มีบรรยากาศเกิดขึ้น (Atmosphere) มีอุทกภาคเกิดขึ้น (Hydrosphere) และ ชีวภาค (Biosphere) ตลอดจนเกิดความสัมพันธ์กับดวงดาวเช่น ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆบนโลก อาทิ น้ำขึ้น-น้ำลง สุริยุปราคา จันทรุปราคา ซึ่งเกิดเป็นครั้งคราว

15 ธรณีวิทยาเบื้องต้น ธรณีประวัติ - ประวัติและสาขาวิชาธรณีวิทยา กำเนิดโลก
- ประวัติและสาขาวิชาธรณีวิทยา กำเนิดโลก - โครงสร้างและส่วนประกอบของโลก

16 ธรณีวิทยาเบื้องต้น แร่ - การเกิดแร่ - คุณสมบัติของแร่ - ชนิดของแร่

17 แร่(Minerals) แร่เป็นสารประกอบอนินทรีย์ หรือธาตุแท้ที่เกิดโดยธรรมชาติ
แร่เป็นสารประกอบอนินทรีย์ หรือธาตุแท้ที่เกิดโดยธรรมชาติ มีทั้งที่เป็นธาตุเดี่ยว เช่นทองคำ(Au) เพชร(C) ฯลฯ มีทั้งที่เป็นธาตุสองธาตุ เช่นตะกั่ว(Pb) หรืออาจจะประกอบด้วยสามธาตุก็มี แร่เป็นสารประกอบทางเคมีที่เขียนสูตรเคมีแทนได้ มีทั้ง

18 แร่(Minerals) แร่มีคุณสมบัติทางฟิสิกส์เฉพาะตัว จะเปลี่ยนแปลบ้างก็อยู่ในขอบเขตที่จำกัด ได้แก่ รูปร่าง สี รอยแตก ความแข็ง ความเหนียว น้ำหนัก ความวาว แร่ส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะแร่ประกอบหินกว่า 2,000 ชนิด ทั้งในหินอัคนี หินชั้น หินแปร

19 คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของแร่
ความแข็ง แนวแตก การแตก แนวแยก ลายเส้น ความเหนียว ความถ่วงจำเพาะ สี สีผงละเอียด ประกาย การให้แสงผ่าน การเล่นแสง คุณสมบัติเกี่ยวกับแม่เหล็ก การเป็นฟอง(เมื่อถูกกรด) รูปผลึก

20 สเกลความแข็งของโมห์(Moh’Hardness Scale)
แร่ทัลค์ (Talc) แข็ง 1 แร่ยิปซั่ม(Gypsum) แข็ง 2 แร่แคลไซต์(Calcite) แข็ง 3 แร่ฟลูออไรท์(Fluorite) แข็ง 4 แร่อะปาไทท์(Apatite) แข็ง 5 แร่ออร์โธเคลส(Orthoclase) แข็ง 6 แร่แคลควอทซ์(Quartz) แข็ง 7 แร่โทแปซ(Topaz) แข็ง 8 แร่ควอรันดัม(Corundum) แข็ง 9 แร่เพชร(Dimon) แข็ง 10

21 หากไม่มีแร่มาตรฐานให้ใช้เครื่องมือง่ายๆดังนี้
เล็บมือ แข็ง 2.5 สตางค์ทองแดง แข็ง 3.0 มีดพับ แข็ง 5.0 – 5.5 แผ่นแก้ว แข็ง 5.5 – 6.0 ตะไบ แข็ง 6.5 – 7.0

22 คุณสมบัติทางเคมีของแร่
ศึกษาจากส่วนประกอบทางเคมี การตรวจดูปฏิกิริยากับกรด การตรวจดูการละลายในกรด การตรวจด้วยเปลวไฟ การตรวจดูด้วยสีของเปลวไฟ การหลอมตัวของแร่บนแท่งถ่าน พวกธาตุเดี่ยว เช่น เงิน ทองคำ ทองแดง พวกซัลไฟต์ เช่น ไพไรท์ กาลีนา พวกเฮไลด์ เช่น เกลือแกง ฟลูออไรท์ พวกออกไซด์ เช่น แร่เหล็ก แร่ดีบุก พวกคาร์บอเนต เช่น แคลไซท์ ซิเดอร์ไรท์ พวกซัลเฟต เช่น แร่แบไรท์ พวกฟอสเฟต เช่น อะปาไทท์ พวกซิลิเกต เช่น โอลิวีน แร่ชุดอื่นๆที่ไม่ได้กล่าว แร่ซิลิเกทจะพบมากที่สุดบนเปลือกโลก

23 ชนิดของแร่ แร่ประกอบหิน (Rock forming minerals)
คือแร่ที่เกิดเป็นส่วนชนิดต่างๆ สามารถสกัดออกจากหินมาใช้ประโยชน์ได้ เช่นแร่เฟลด์สปาร์หรือแร่หินฟันม้าที่ใช้เคลือบถ้วยชามได้ 2. แร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม(Industrial minerals) แร่โลหะ Metallic minerals แร่อโลหะ Non - Metallic minerals แร่เชื้อเพลิง Fuel minerals

24 การเกิดแร่ เกิดจากการตกผลึกของแมกมา เกิดจากการที่ของแข็งที่ระเหยออกไป
เกิดจากอิทธิพลของไอน้ำที่แยกออกจากแมกมา เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี เกิดจากการเปลี่ยนที่ของแร่ที่มีอยู่ก่อน เกิดจากการตกผลึกของแร่เดิมเป็นแร่ใหม่ เมื่ออุณหภูมิหรือความดันเปลี่ยน เกิดจากสารละลายที่ระเหยออกไป

25 หิน (Rocks) หินเป็นสารผสมของแร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปเป็นของแข็ง มี 3 ชนิด 1) หินอัคนี (Igneous rocks) 2) หินชั้นหรือหินตะกอน (Sedimentary rocks) 3) หินแปร (Metamorphic rocks) หินทั้งสามชนิดสามารถเปลี่ยนแปลสภาพไปมาซึ่งกันและกันได้ ตามวัฏ จักรของหิน (Rock cycle)

26 หินอัคนี หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวของลาวาที่ออกมานอกโลก(Extrusive
Igneous rocks) จะตกผลึกไม่สมบูรณ์ ผลึกไม่สารถมองเห็นด้วยตาเปล่าเนื้อละเอียด หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวของแมกมาภายในโลก(Intrusive Igneous rocks) จะตกผลึกสมบูรณ์ ผลึกมีขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นผลึกด้วยตาเปล่า

27 รูปร่างของหินอัคนี ธารลาวา (lava flows) โวลแคนิค เนค (volcanic necks)
ซีลล์(sills) ไดค์(dikes) แลคโคลิท(laccoliths) บาโทลิท(batholiths)

28 หินชั้น เกิดจากการทับถมและแข็งตัว ของกรวด หิน ทราย ดิน หรือเกิดจากการตกตะกอน แร่ที่พบมากในหินชั้นได้แก่ แร่ควอทซ์ แร่แคลไซต์ แร่ดินเหนียว และแร่อื่นๆ หินชั้นเกิดขึ้นทั้งหมดในเปลือกโลกเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ แต่หินที่โผล่บนผิวโลกจะเป็นหินชั้น 3 ใน 4 ส่วน

29 ชนิดของหินชั้น ชนิดเศษหิน fragmental rock 1.1 ชื่อหิน
- หินกรวดมน (conglomerate) มีส่วนประกอบเศษหิน - หินทราย (sandstone) มีส่วนประกอบจากแร่ควอทซ์จำนวนมาก - หินดินดาน (shale) มีส่วนประกอบแร่ดินเหนียว 2. ชนิดตะกอน precipitates rock 2.1 ชื่อหิน - หินเชอร์ท (chert) มีส่วนประกอบแร่ควอร์ทขนาดเล็กมาก - หินปูน (limestone) มีส่วนประกอบแร่แคลไซท์

30 หินแปร เกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบที่เป็นแร่ธาตุ โดยมีความร้อนหรือความกดดัน เช่นหินชนวนแปรมาจากหินดินดาน หินชิสท์ แปรมาจากหินดินดาน หินไนส์ หินทุกชนิดแปรสภาพมาเป็นหินไนส์ได้ยกเว้นหินปูนจะแปรสภาพเป็นหินอ่อน(marble )และหินทรายที่บริสุทธิ์ แปรสภาพเป็นหินควอทซ์ไซต์(quartzite)

31 ลักษณะปรากฏการณ์ทางธรณีภาค
ธรณีภาค ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์พิเศษบนโลกในที่นี้จะกล่าวถึง - การเกิดแผ่นดินไหว - การเกิดคลื่นสึนามิ - การเกิดภูเขาไฟระเบิด

32 แผ่นดินไหว (Earthquake)
แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติจากธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของมนุษยโลกเหลือคณานับ พ.ศ ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุด มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดถึง 830,000 คน ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความรุนแรงถึง 8.9 ริคเตอร์สเกล ปัจจุบันมีการคาดคะเน และเตือนภัยดีขึ้น จำนวนผู้เสียชีวิตจึงลดลงไม่มากเท่าในอดีต

33 แผ่นดินไหว สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว 1) การเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน(fault)
- ทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 2) ภูเขาไฟระเบิด(volcano)-เกิดแผ่นดินไหวบริเวณแคบๆ 3) หลังคาถ้ำใต้ดินถล่ม(sinkhole) –เกิดแผ่นดินเลื่อน(landslide)ไม่รุนแรง 4) มนุษย์กระทำเช่น ระเบิดเขื่อน ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ บางครั้งแยกการเกิดแผ่นดินไหวไม่ออกว่าเป็นธรรมชาติ หรือมนุษย์กระทำ

34 ทฤษฎีเพลตเทคโทนิก หรือทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเลื่อน Plate tectonic theory
เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงเปลือกโลกส่วนครัสต์ที่มีรอยต่อเป็นชิ้นๆ เหมือนการเล่นเกมต่อภาพ(jigsaw puzzle)ชิ้นส่วนเหล่านี้เป็นแผ่นแข็งเรียกว่า เพลต(plate) เพลตเล็กๆอาจรวมกันอยู่เป็นเพลตใหญ่ หรือจากเพลตใหญ่อาจแตกเป็นเพลตเล็กๆด้วยแรงกระทำภายในโลกที่ยังมีพลังความร้อนสูงอยู่ ลึกลงไปทุกๆ 1 กิโลเมตรอุณหภูมิจะสูงขึ้น 15 องศาเซลเซียส

35

36 จุดกำเนิดแผ่นดินไหว จุดกำเนิดแผ่นดินไหวจะอยู่ลึกลงไปจากผิวโลกตั้งแต่ระดับตื้นจนถึงระดับลึกถึง 700 กิโลเมตร เมื่อความลึกของโฟกัสมากขึ้น พลังงานที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวจะลดลง

37 ขนาดของแผ่นดินไหว (magnitude)
ขนาด หมายถึง ค่าของพลังงานที่แผ่นดินไหวปล่อยออกมาแต่ละครั้ง ผู้คิดคนแรกคือ ริคเตอร์(C.F. Richter) ชาวอเมริกัน เมื่อ ค.ศ. 1930(พ.ศ. 2473) เรียกว่า มาตราริคเตอร์ (Richter’s seale) เป็นค่าของ log scale

38 ตัวอย่างมาตราริคเตอร์
ความเสียหาย ≥ 8.0 เสียหายเกือบหมด ≥ 7.4 เสียหายร้ายแรง 7-7.3 เสียหายหนักเกิดบิดงอ อาคารเสียหายพอประมาณ อาคารเสียหายเล็กน้อย สั่นสะเทือน/ทุกคนรู้สึก สั่นสะเทือน/คนส่วนมากรู้สึก สั่นสะเทือน/บางคนรู้สึก ไม่มีใครรู้สึกแต่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวจแผ่นดินไหว

39 เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว (seismograph)
แสดงถึงการทำงานอย่างง่ายมีแท่งเหล็ก 2 ข้างที่ยึดติดกับหินแข็งใต้ดิน เมื่อตุ้มน้ำหนักที่ติดกับสปริงยึดขึ้นลง ขณะเกิดแผ่นดินไหวปลายตุ้มจะมีเข็มเล็กๆจะขีดกับกระดาษกราฟ บนกระบอกกราฟที่หมุนไปรอบๆได้ออกมาเป็นข้อมูลแผ่นดินไหวเรียก ไซโมแกรม (Seismogram)

40 เครื่องวัดแผ่นดินไหว
seismograph กราฟแผ่นดินไหว seismogram

41 สึนามิ/ซึนามิ(Tsunami)
แผ่นดินไหวที่เกิดใต้ท้องมหาสมุทรอาจทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม บริเวณท้องมหาสมุทรมีการยกตัวหรือจมตัวของท้องมหาสมุทร ทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ หรือคลื่นใต้มหาสมุทร หรือเรียกว่า คลื่นสึนามิ(seismic sea wave)หรือ(tsunami waves) หรืออาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิด คลื่นขนาดใหญ่ที่ได้ทำลายชีวิตมนุษย์ และทรัพย์สินตามหมู่เกาะต่างๆ และตามชายฝั่งทะเลหลายครั้ง

42 คลื่นยักษ์สึนามิแห่งอันดามัน
เมื่อเวลา 8.30 น. ของเช้าวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดน้ำทะเลของทะเลอันดามันถาโถมเข้ากวาดทุกสิ่งทุกอย่างลงสู่ท้องทะเลอย่างรวดเร็ว ก่อนเกิดเหตุมีปรากฏการณ์น้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็วจากชายฝั่งไม่กี่วินาที จากนั้นน้ำทะเลได้ยกสูงขึ้นถึงตึก 2-3 ชั้น มีผู้เสียชีวิตรวมทุกประเทศที่อยู่ริมมหาสมุทรอินเดียราว 2 แสนกว่าคน

43 สึนามิถล่มชายฝั่งอันดามัน
ในประเทศไทยได้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิถล่มหลายจังหวัดริมทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่จังหวัดระนอง ถึงจังหวัดสตูล เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่อาคารบ้านเรือน รีสอร์ตริมทะเล เรือประมง และพื้นที่เกษตร โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติที่กำลังพักผ่อนอยู่ริมชายฝั่ง และตามหมู่เกาะต่างๆ เสียชีวิตสูญหายไปประมาณ 5,000 คน ที่เป็นคนไทย และชาวต่างชาติอีกราว 3,000 คน สูญหายไม่ทราบสัญชาติราว 3,000 คน

44

45 สาเหตุการเกิดสึนามิ มาจากการมุดตัวของเพลตอินโด-ออสเตรเลีย มุดเข้าใต้เพลตยูเรเซีย มีจุดเหนือศูนย์กำเนิดแผ่นดินไหวอยู่ทางตะวันตกของเกาะสุมาตราจังหวัดอาเจาะห์ ของประเทศอินโดนีเซีย จากเวลาเกิด 7.58 น. แต่คลื่นยักษ์สึนามิ ได้เข้าถล่มชายฝั่งอันดามันของไทยเวลา 8.30 น. มีขนาดแผ่นดินไหว 9.0 ริคเตอร์(ที่มา:สหรัฐอเมริกา)นับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดเป็นครั้งที่ 5 ของเอเชีย นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2443 เป็นต้นมา แต่นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยในรอบ 100 ปี

46 ชื่อสึนามิ สึนามิเป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า คลื่นท่าเรือ(Harbour wave) สึมาจาก Habour นามิ มาจาก wave ปัจจุบันใช้เป็นคำเรียกกลุ่มคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากๆขนาดหลายร้อยกิโลเมตร เกิดจากน้ำทะเลจำนวนมหาศาลถูกผลักดันให้เคลื่อนที่

47 ความสูงของยอดคลื่น Amplitude
หมายถึง ยอดคลื่นที่นับจากระดับน้ำทะเล โดยทั่วไปมีความเร็วประมาณ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่คลื่นสึนามิอาจมีความเร็วกว่า 950 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พอๆกับความเร็วของเครื่องบินพาณิชย์ทีเดียว ขึ้นอยู่กับความลึกของแผ่นดินไหว ใต้ท้องมหาสมุทร ยิ่งเกิดก้นทะเลลึกเท่าไร ความเร็วของสึนามิจะสูงมากขึ้นเท่านั้น บางครั้งสึนามิสามารถเดินทางถึง 1,600 กิโลเมตรใน 24 ชั่วโมง ความสูงของยอดคลื่นเมื่อ 26 ธ.ค สูงกว่า 3 เมตร

48 ผลจากสึนามิ เกิดปรากฏการณ์หลุมยุบ (sinkhole)
ในหลายจังหวัดได้แก่ จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา สตูล สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช พัทลุง และจังหวัดเลย สาเหตุคือการลดลงของน้ำทะเลได้ทำให้แรงดันน้ำใต้ดินลดต่ำลง ผิวหน้าดินจึงยุบ ตามวันเวลาที่แตกต่างกัน รวม 18 แห่ง ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ กับอีก 1 จังหวัดในภาคอีสาน

49

50 การเตือนภัยจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ
การเตรียมการก่อนภัยพิบัติ ควรปรับปรุงเครือข่ายที่สามารถรับรู้ข้อมูลแผ่นดินไหวติดตั้งระบบเตือนภัย แลกเปลี่ยนข่าวสารและประสานงานในภูมิภาค ประเมินโครงสร้าง ชีวิตผู้คนที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและจัดทำแผนที่เขตย่อย(micro-zonation)เขตเสี่ยงภัย ออกแบบก่อสร้างทางวิศวกรรมให้ต้านทานแผ่นดินไหว มีการศึกษาวิจัยให้การศึกษาแก่ประชาชน

51

52 วงแหวนภูเขาไฟอยู่ในแนวเดียวกับแผ่นดินไหว

53 ภูเขาไฟ (Volcanoes) สมัยก่อนเชื่อกันว่า ภูเขาไฟทำให้เกิดแผ่นดินไหวแต่ปัจจุบันกลับเชื่อว่าการเกิดแผ่นดินไหว และการระเบิดของภูเขาไฟเกิดจากสาเหตุเดียวกัน ทั้งนี้เพราะแนวของแผ่นดินไหวทับกับแนวของภูเขาไฟที่ยังมีพลัง แผ่นดินไหวและการระเบิดของภูเขาไฟ เกิดจากสาเหตุ - การแยกออกจากกันของเพลต - การทรุดตัวของเพลต - การเลื่อนผ่านของเพลตในแนวราบ

54 ภูเขาไฟคืออะไร ภูเขาไฟ คือ ภูเขาที่เกิดขึ้นโดยการปะทุของหินหนืด แรงดันสูงใต้เปลือกโลก แล้วปรากฏตัวเป็นสภาพเด่นอย่างหนึ่งทางภูมิศาสตร์ ภูเขาไฟหลายชนิดแบ่งไปตามสภาพของความรุนแรงในการปะทุ(ราชบัณฑิตยสถาน;2516:391) คาดกันว่ายังมีภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 850 ลูกทั่วโลก แต่ยากที่จะแยกว่ามันจะปะทุขึ้นมาได้อีกหรือไม่ การปะทุของภูเขาไฟแต่ละครั้ง เป็นสาเหตุให้เกิดแผ่นดินไหว

55 ชนิดของภูเขาไฟ แยกตามความรุนแรงของการปะทุ มี 3 แบบ
1) แบบปะทุระเบิด (Explosive volcanoes) ภูเขาไฟแบบนี้มีรูปร่างสูงชัน แบบกรวยเถ้าถ่าน (cinder cone)ลาดชัน 35 องศา ฐานแคบ มีปล่องกาฝากได้แก่ ภูเขาไฟกรากะตัว ในอินโดนีเซีย และภูเขาไฟแคทไมในรัฐอลาสกา ของสหรัฐอเมริกา 2) แบบปะทุปานกลาง (Intermediate volcanoes) มีการปะทุบ้าง และมีการไหลของลาวาสลับกัน ภูเขาไฟส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ ความชันจะลดลง ได้แก่ภูเขาไฟ วิสุเวียส ในอิตาลี ภูเขาไฟฟุจิยามาในญี่ปุ่น เป็นต้น

56 3) แบบปะทุเงียบ (Quiet volcanoes)
เกิดจากการไหลของลาวาปิดปากปล่องอยู่บางๆ ภูเขาไฟมีฐานกว้างไม่สูงชัน เรียกแบบกรวยลาวา (lava cone) ได้แก่ภูเขาไฟโมนาโลอา ในหมู่เกาะฮาวายที่ใหญ่ที่สุดในโลก สำหรับประเทศไทยเคยปรากฏมีภูเขาไฟที่จังหวัดบุรีรัมย์ อายุประมาณ แสนปี ดับสนิทแล้ว ได้แก่ภูเขาไฟพนมรุ้ง ภูกระโดง ภูอังคาร เป็นต้น

57 งานที่มอบหมาย (งานเดี่ยว)
แสดงตารางเวลาทางธรณีวิทยา - มหายุค / ยุค / สมัย

58 งานที่มอบหมาย (งานกลุ่มๆละ 3 คน)
ธรณีวิทยาในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย ธรณีวิทยาในมหายุคพรีแคมเบรียนของประเทศไทย ธรณีวิทยาในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนล่างของประเทศไทย ธรณีวิทยามหายุคพาลีโอโซอิกตอนบนของประเทศไทย ธรณีวิทยามหายุคมีโซโซอิกของประเทศไทย ธรณีวิทยามหายุคซีโนโซอิกของประเทศไทย ธรณีวิทยาในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ธรณีวิทยากับการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย


ดาวน์โหลด ppt ธรณีวิทยาเบื้องต้น INTRODUCTION TO GEOLOGY (GEO3102)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google