Method & Theory in the Study of Religion

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
John Rawls  John Rawls is the most famous American social contract theorist argued that “Justice is fairness” He Thought human natural have a appropriate.
Advertisements

THE PARTS OF A FLOWERING PLANT AND THEIR FUNTION.
Moment in Life บางขณะของชีวิต.
PERFECT TENSE.
Put “the Glass” Down วาง”แก้ว”ลง
การนำเสนอหนังสือประกอบการสอนวิชาทักษะการเรียนรู้ (HUM100)
Exercise 4: Page 41.
ครูปัทมา แฝงสวัสดิ์. การอ่านเรื่องงานแล้ว บอกรายละเอียดและ สาระสำคัญ.
Unit 10 As Good As It Gets M ฟังการโฆษณาสินค้า 2. อ่านบทความเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง 3. พูดอภิปรายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ที่มีชื่อติดอันดับโลก.
ว เคมีพื้นฐาน พันธะเคมี
ครูรุจิรา ทับศรีนวล. “Christmas Day” * อ่านเรื่องแล้วสรุป ใจความสำคัญได้ ครูรุจิรา ทับศรีนวล.
ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปึที่ 4 Grammar & Reading ครูรุจิรา ทับศรีนวล.
D 2 E 1 S E M N G ม. I G I T Grammar A L 4.0.
สื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ชุดฝึกเขียนสรุป (Writing Summary)
ความคิดเรื่องวุฒิภาวะในศิลปะและการวิจารณ์
A Powerful Purpose – Part 1
Sermon 2: THE WORKS OF JESUS – TOUCHING LIVES THROUGH TEACHING
ความเชื่อที่จะมีชัยชนะ
คำเทศนาหัวข้อที่ 3: ประกาศข่าวดี SERMON 3: PREACHING GOOD NEWS
“เอาชนะเนื้อหนัง” OVERCOMING THE FLESH. “เอาชนะเนื้อหนัง” OVERCOMING THE FLESH.
ความเชื่อที่มีการประพฤติตาม
ศาสนศาสตร์คริสเตียนเพื่อบริบทไทย - MCS Christian Doctrines for the Thai Context (2) PART 2.
Part 1: By the Power of the Gospel
“ชีวิตที่ไร้กังวล” A WORRY FREE LIFE. “ชีวิตที่ไร้กังวล” A WORRY FREE LIFE.
A Powerful Purpose – Part 2
1. นี่เป็นสิ่งที่พระเยซูทรงทำ พระองค์ทรงรักษาทุกคน ที่เจ็บป่วยให้หายดี
Good morning welcome to Calvary Chapel at the Bridge สวัสดีตอนเช้าขอต้อนรับสู่ โบสถ์แคล'วะรีแชพ'เพิลที่สะพาน.
Chapter 6 Diplomatic and Consular Privileges and Immunities
สุขสันต์วันครบรอบคริสตจักร 19 ปี คริสตจักรเรมากรุงเทพฯ
เรื่องราวของวันคริสต์มาส
Adjective Clause (Relative Clause) An adjective clause is a dependent clause that modifies head noun. It describes, identifies, or gives further information.
การประเมินความจำเป็นด้านสุขภาพ Health Needs Assessment - HNA
อย่ากลัวสิ่งใดเลย Fear Nothing. อย่ากลัวสิ่งใดเลย Fear Nothing.
เดือนครอบครัวแข็งแกร่ง
ศาสนศึกษา Religions Studies
ตอนที่ 3: ท่านเป็นผู้ชอบธรรมได้อย่างไร?
พื้นฐานอันแข็งแกร่งของความเชื่อ Faith’s Strong Foundation
การเขียนบทความวิชาการ
คำเทศนาชุด: ท่านมีของประทาน
“เข้าใจเรื่องความเชื่อ”
“คิดอย่างแชมป์” THINK LIKE A CHAMPION. “คิดอย่างแชมป์” THINK LIKE A CHAMPION.
ตอนที่ 2: ความเชื่อจากพระเจ้า
Good morning welcome to Calvary Chapel at the Bridge สวัสดีตอนเช้าขอต้อนรับสู่ โบสถ์แคล'วะรีแชพ'เพิลที่สะพาน.
ตอนที่ 4: ผลประโยชน์ของความชอบธรรม
1 ยอห์น 1:5-7 5 นี่เป็นเรื่องราวซึ่งเราได้ยินจากพระองค์และประกาศแก่ท่าน คือพระเจ้าทรงเป็นความสว่าง ในพระองค์ไม่มีความมืดเลย 6 ถ้าเราอ้างว่ามีสามัคคีธรรมกับพระองค์แต่ยังดำเนินในความมืด.
พระคริสตธรรมล้านนา Lanna Theological Center, 2018
ความเชื่อที่จะเจริญรุ่งเรือง
ตอนที่ 6: ชอบธรรมที่ภายใน Part 6: Righteous On The Outside
คุณลักษณะของเพื่อนที่ดีที่สุด
ตอนที่ 3 - โดยฤทธิ์เดชแห่งการอธิษฐาน Part 3 - By the Power of Prayer
อัตถิภาวนิยม existentialism J.K. Stevens, instructor
“ความเชื่อที่นำสู่ชัยชนะ”
ที่มาและหน่วยงานกาชาดต่างๆ
ตอนที่ 2: ค้นพบของประทานของท่าน Part 2: Finding Your Gift
ตอนที่ 1: ผู้เลี้ยงที่ดีเลิศ Part 1: The Good Shepherd
“สติปัญญาในการเลือกคู่ครอง” “Wisdom in Choosing a Spouse”
Good morning welcome to Calvary Chapel at the Bridge สวัสดีตอนเช้าขอต้อนรับสู่ โบสถ์แคล'วะรีแชพ'เพิลที่สะพาน.
Good morning welcome to Calvary Chapel at the Bridge สวัสดีตอนเช้าขอต้อนรับสู่ โบสถ์แคล'วะรีแชพ'เพิลที่สะพาน.
แล้วไงเกี่ยวกับความจริง What About Truth?
“เคลื่อนไปสู่ชีวิตใหม่ ตอนที่ 2” Moving Into the Newness of Life
“เคลื่อนไปสู่ชีวิตใหม่” Moving Into the Newness of Life
1. พระเยซูทรงต้องการให้เราเป็น เหมือนพระองค์
ตอนที่ 4: เคลื่อนไปกับของประทานของท่าน Part 4: Flowing In Your Gift
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 5
Good morning welcome to Calvary Chapel at the Bridge สวัสดีตอนเช้าขอต้อนรับสู่ โบสถ์แคล'วะรีแชพ'เพิลที่สะพาน.
Good morning welcome to Calvary Chapel at the Bridge สวัสดีตอนเช้าขอต้อนรับสู่ โบสถ์แคล'วะรีแชพ'เพิลที่สะพาน.
เรื่องราวของวันคริสต์มาส ตอนที่ 2: พระเจ้าทรงกลายมาเป็นมนุษย์
Good morning welcome to Calvary Chapel at the Bridge สวัสดีตอนเช้าขอต้อนรับสู่ โบสถ์แคล'วะรีแชพ'เพิลที่สะพาน.
ทฤษฎีทางสังคมวิทยา.
Thai Customs Civics M.5 AJ.Poupe’.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Method & Theory in the Study of Religion

History Prescientific theories about religion can be found in the ancient authors since presocratic times Herodotus (484 – 425 BCE) saw the gods of Greece as the same as the gods of Egypt.Euhemerus (about 330 – 264 BCE) regarded gods as excellent historical persons whom admirers eventually came to worship.

History Scientific theories, inferred and tested by the comparative method, were possible after data from tribes and peoples all over the world became available in the 18th and 19th centuries. Max Müller (1823–1900) has the reputation of having founded the scientific study of religion; he advocated a comparative method that developed into comparative religion. Subsequently, Clifford Geertz and others questioned the validity of abstracting to a general theory of all religions.

การจำแนกประเภททฤษฎีทางศาสนาClassification Substantive theories that focus on the contents of religions and the meaning the contents have for people. This approach asserts that people have faith because beliefs make sense insofar as they hold value and are comprehensible. ทฤษฎีเนื้อหาสาระจะมุ่งเน้นที่เนื้อหาของศาสนาและความหมายที่มีเนื้อหาสำหรับคน แนวทางนี้อ้างว่าคนจะมีความศรัทธาเพราะทำให้รู้สึกตราบเท่าที่พวกเขายังยึดถือคุณค่าและมีความเข้าใจ

Functional theories that focuses on the social or psychological functions that religion has for a group or a person. In simple terms, the functional approach sees religion as "performing certain functions for society“ ทฤษฎีหน้าที่จะมุ่งเน้นไปที่หน้าที่ทางสังคมหรือทางจิตวิทยาว่าศาสนามีสำหรับกลุ่มหรือบุคคล กล่าวง่ายๆแนวทางนี้เห็นว่าศาสนาเป็น "การปฏิบัติหน้าที่บางอย่างให้กับสังคม"

Edward Burnett Tylor (1832-1917) นักมานุษยวิทยา ได้กำหนดว่าศาสนาเป็นความเชื่อทางจิตวิญญาณของสิ่งมีชีวิตและระบุว่าความเชื่อนี้เป็นคำอธิบายของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ความเชื่อในจิตวิญญาณที่งอกเงยออกมาจากความพยายามที่จะอธิบายชีวิตและความตาย Primitive people used human dreams in which spirits seemed to appear as an indication that the human mind could exist independent of a body. They used this by extension to explain life and death, and belief in the after life. คนโบราณใช้ความฝันของมนุษย์ในการที่วิญญาณดูเหมือนจะปรากฏเป็นข้อบ่งชี้ว่าจิตใจมนุษย์สามารถอยู่เป็นอิสระของร่างกาย พวกเขาใช้นามสกุลนี้จะอธิบายชีวิตและความตายและความเชื่อในชีวิตหลังความตาย

*เมื่อเอ่ยถึงวิญญาณโดยทั่วไปอาจเข้าใจว่าหมายถึง ภูตผีปีศาจ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายของ วิญญาณ ว่า สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่อีกความหมายหนึ่งหมายถึง ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยปริยายหมายถึง จิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน มาจากคำภาษาบาลีสันสกฤตว่า วิชฺญาน ในทางวิชาการ วิญญาณ มีกล่าวไว้ในหลายสาขาวิชา *http://www.dailynews.co.th/article/283770

เช่น พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า วิญญาณนิยม (animism) หมายถึง ความเชื่อที่ว่า ในสรรพสิ่งไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตามมีวิญญาณสิงสถิตถาวรหรือชั่ว คราว วิญญาณนี้สามารถคงอยู่ได้ ถึงแม้ว่าสิ่งที่เป็นที่สิงสถิตจะล้มตายหรือแตกสลายไปก็ตาม และเชื่อว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ มีสาเหตุมาจากวิญญาณเหล่านี้ นอกจากนี้ ยังเชื่ออีกว่า วิญญาณบางประเภทมีอำนาจเหนือชีวิตมนุษย์ จึงต้องมีการเซ่นสรวงบูชาด้วยความเคารพยำเกรงทฤษฎีเกี่ยวกับวิญญาณนิยมปรากฏ

ในผลงานของนักมานุษยวิทยาชื่อ เซอร์เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนตต์ ไทเลอร์ (Sir Edward Burnett Tylor) ในผลงานที่ชื่อ Primitive Culture (1871) ไทเลอร์ถือว่า วิญญาณนิยม เป็นศาสนารูปแบบแรกของมนุษย์ ที่เกิดจากการที่มนุษย์ในยุคต้นพยายามอธิบายความฝัน ภาพหลอน การหลับ และการตาย จึงนำไปสู่ความเชื่อที่ว่ามีวิญญาณปรากฏอยู่คำ animism นี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา ราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า animism มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า anima ซึ่งมีความหมายว่า วิญญาณ (soul) และบัญญัติศัพท์ animism ว่า คติการนับถือผี หมายถึง ความเชื่อและการปฏิบัติเกี่ยวกับภูตผีและวิญญาณ ซึ่งมีสาระสำคัญว่า สิ่งต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ โขดหิน แม่น้ำ ภูเขา ท้องฟ้า มีวิญญาณหรือภูตผีบางอย่างสิงสถิตอยู่ วิญญาณหรือภูตผีนั้นสามารถให้คุณหรือโทษแก่คนได้ดังนั้น เพื่อไม่ให้วิญญาณหรือภูตผีเหล่านั้นบันดาลความโชคร้ายให้ มนุษย์ในสังคมสมัยโบราณและจำนวนไม่น้อยในสังคมสมัยใหม่ จึงทำการเซ่นไหว้บูชาตามคติของ“

James George Frazer James George Frazer (1854–1941) ทฤษฎีที่เสนอโดย เซอร์ เจมส์ จอร์ช เฟรเซอร์ ท่านเสนอไว้ว่า มนุษย์ได้พัฒนาเกี่ยวกับความคิดในเรื่องศาสนามีทั้งหมด 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 มนุษย์พยายามจะเอาชนะธรรมชาติโดยใช้ไสยศาสตร์ เวทย์มนต์ พ่อมด หมอผี เป็นต้น โดยจะใช้วิธีการเซ่นสรวงบูชา การเต้นรำขับร้อง และการทำนาย ทั้งหมดนี้เกิดจากพื้นฐานที่ว่ามนุษย์พยายามที่จะควบคุมธรรมชาติ ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มนุษย์มีศาสนาจึงเกิดพวกนักบวชขึ้นมา ใช้วิธีการสวดมนต์ อ้อนวอน และทำพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือเกิดความพอใจ ระยะที่ 3 เป็นระยะเวลาที่เกิดความเจริญในทางวิทยาศาสตร์ การอธิบายสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยหลักของเหตุผลจึงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เช่น ถ้าชาวนาต้องการฝนเขาไม่ต้องทำพิธีแห่นางแมว เขาแค่ต้องไปหานักวิทยาศาสตร์ที่รับผิดชอบในการทำฝนเทียม ที่จะมีวิธีที่จะทำให้เกิดฝนขึ้นโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุและผลและเป็นรูปธรรมสามารถมองเห็นได้ 5 เกิดจากความปรารถนาอันรุนแรงที่จะสร้างพระเจ้าขึ้นมา

Rudolf Otto ในบรรดานักปรากฏการณ์วิทยาทางศาสนาทั้งหลาย เฮเลอร์มีความโดดเด่นตรงที่นำความคิดของ รูดอล์ฟ ออตโต (Rudolf Otto) มาสังเคราะห์เข้ากับงานของนักปรากฏการณ์วิทยาทางศาสนาอีกแนวหนึ่งที่ต่างไปจากออตโต นั้นคือ แนวที่เน้นการวิเคราะห์โครงสร้างของศาสนา (เช่น นิเนียน สมาร์ท ข้างต้น) ออตโตเห็นว่าหัวใจของศาสนาก็คือ “สิ่งที่อยู่นอกเหนือเหตุผล” (the non-rational) เป็นประสบการณ์เฉพาะต่อบางสิ่งที่ที่อยู่พ้นออกไป อาจเรียกสิ่งนี้ว่า “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” (the holy) ประสบการณ์ทางศาสนานี้เป็นสิ่งที่มีมาก่อนคำสอนที่ซับซ้อนเป็นเหตุเป็นผลอันเกิดจากความพยายามอธิบายประสบการณ์นั้น

Mircea Eliade* Mircea Eliade's (1907–1986) approach grew out of the phenomenology of religion อิทธิปาฏิหาริย์(hierophany) หมายถึง หลักฐานอันเป็นรูปธรรมของการบรรลุหรือความศักดิ์สิทธิ์  เบิร์ด(Bird)อาราธนาแอเฟรอะ(Ayfre)และอาแฌล(Agel)เพื่อนำสาระของ’สัจนิยม จิตวิญญาณ'(spiritual realism)มาสวมรอยกิจการหนัง’ที่ซุกซ่อนความศักดิ์สิทธิ์ไว้ ณ ก้นบึ้งของความจริง’   ใช่หรือไม่ที่เรย์กาดาสริอ่านจะปลุกผีจริยธรรมและจิตวิญญาณของปราชญ์ผู้ กำกับเหล่านั้น งานของเขาหยิบยกประเด็นที่แตกต่าง ออกไปแม้จะให้ความสำคัญกับจินตภาพว่าด้วยการหลุดพ้น แต่มีสิ่งที่เรียกว่าส่วนเกินทางวัตถุธาตุรวมอยู่ในงานเขา  เป็นส่วนที่ไม่อาจมุ่งไปสู่ปริมณฑลปริศนาเพียงเพราะรังแต่จะหาทางคืนสู่ เหย้า ในภาวะนี้โลกียวัตถุมักยืนหยัดเป็นหนทางไปสู่มิติทางจิตวิญญาณและปวารณาตัว เป็นเป้าความสนใจ *https://enyxynematryx.wordpress.com/tag/mircea-eliade/

วัตถุธาตุส่วนเกินเหล่านี้หมกตัว อยู่ในคติเกี่ยวกับเนื้อหนังมังสา  เรย์กาดาสพิสมัยสถานการณ์ที่เลือดเดือดเนื้อเต้นสุดแรงเกิดและชำแหละใน สภาพออกลายเต็มคราบผ่านพิธีกรรมกามกรีฑาและมรณกรรม  แนวทางปลีกวิเวกนิยม(transcendentalism) ของเรย์กาดาสผิดแผกไปจากบรรพบุรุษ ทางหนังของเขาตรงที่ความซับซ้อนอันเกิดจากการโคจรตัดผ่านกันระหว่างความหมก มุ่นในโลกียรสกับความสังวรต่อหลักศาสนา

วัตถุธาตุส่วนเกินเหล่านี้หมกตัว อยู่ในคติเกี่ยวกับเนื้อหนังมังสา  เรย์กาดาสพิสมัยสถานการณ์ที่เลือดเดือดเนื้อเต้นสุดแรงเกิดและชำแหละใน สภาพออกลายเต็มคราบผ่านพิธีกรรมกามกรีฑาและมรณกรรม  แนวทางปลีกวิเวกนิยม(transcendentalism)ของเรย์กาดาสผิดแผกไปจากบรรพบุรุษ ทางหนังของเขาตรงที่ความซับซ้อนอันเกิดจากการโคจรตัดผ่านกันระหว่างความหมก มุ่นในโลกียรสกับความสังวรต่อหลักศาสนา

E. E. Evans-Pritchard* อีแวนส์ พริทชาร์ด(Evans-Pritchard) ลูกศิษย์ของมาลีนอฟสกี้ เขียนหนังสือเรื่อง Witchcraft ,Oracles and Magic among the Azande(1937) อธิบายให้เห็นความเชื่อและการปฏิบัติเกี่ยวกับเวทมนต์ และการพยากรณ์ของเทพเจ้าในสังคมแอฟริกา ความเชื่อดังกล่าวมีผลต่อการจัดระเบียบทางสังคมของชาว Azande โดยเฉพาะเรื่องการเจ็บป่วยและความตาย พริทชาร์ดชี้ให้เห็นว่าความคิดเรื่องเวทมนต์ของชาว Azande นั้นมีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน การศึกษาดังกล่าวนี้ทำให้คนพื้นเมืองไม่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกงมงาย ไร้เหตุผล หากแต่มีความคิดในเชิงสัญลักษณ์ กำกับในการกระทำต่างๆ *hftp://smc.ssk.ac.th/intranet/sac.or.th/Subdetail/old_anthronews/anthronews_magic/anthronews_magic.html

ศาสนาเป็นระบบของวัฒนธรรม RELIGION AS A CULTURAL SYSTEM: THE THEORY OF CLIFFORD GEERTZ Religion is ระบบของสัญลักษณ์ (a system of symbols) ซึ่งทำหน้าที่ในการก่อตั้งอย่างมีพลังอำนาจ แพร่หลายและทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่ยาวนาน และทำให้เกิดแรงจูงใจในมนุษย์ (which acts to establish powerful, pervasive and long-lasting moods and motivations in men)

(3) โดยการกำหนดแนวความคิดของคำสั่งทั่วไปของการดำรงอยู่ (by formulating conceptions of a general order of existence) (4) ตกแต่งแนวความคิดเหล่านี้ด้วยเช่นกลิ่นอายของรูปธรรม (clothing these conceptions with such an aura of factuality) (5) อารมณ์ความรู้สึกและแรงจูงใจดูเหมือนมีเหตุผลที่ไม่ซ้ำกัน (the moods and motivations seem uniquely realistic)

Functional theories Karl Marx Karl Marx's religious views have been the subject of much interpretation. He famously stated in Critique of Hegel's Philosophy of Right "Religious suffering is, at one and the same time, the expression of real suffering and a protest against real suffering. Religion is the sigh of the oppressed creature, the heart of a heartless world, and the soul of soulless conditions. It is the opium of the people. The abolition of religion as the illusory happiness of the people is the demand for their real happiness. To call on them to give up their illusions about their condition is to call on them to give up a condition that requires illusions. The criticism of religion is, therefore, in embryo, the criticism of that vale of tears of which religion is the halo. Criticism has plucked the imaginary flowers on the chain not in order that man shall continue to bear that chain without fantasy or consolation, but so that he shall throw off the chain and pluck the living flower. The criticism of religion disillusions man, so that he will think, act, and fashion his reality like a man who has discarded his illusions and regained his senses, so that he will move around himself as his own true Sun. Religion is only the illusory Sun which revolves around man as long as he does not revolve around himself.

จากแนวปรัชญาดังกล่าว แม้จะมีผู้สนใจศึกษาตามมามากมาย แต่ก็ยังมีข้อขัดแย้งทางความคิดปรากฏให้เห็นดังเช่น กลุ่มเฮเกลฝ่ายขวา เชื่อว่าลำดับการวิภาษทางประวัติศาสตร์นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว เพราะสังคมปรัสเซียที่ถึงพร้อมด้วยการบริการพลเมือง มีมหาวิทยาลัยที่ดี การพัฒนาทางอุตสาหกรรม และอัตราการจ้างงานที่สูง จึงเป็นผลสรุปของการพัฒนาการทางสังคมดังกล่าว นอกจากนั้น กลุ่มเฮเกลฝ่ายขวา ยังได้วิเคราะห์ศาสนา และยอมรับว่า ศาสนา เป็นสัจธรรมที่เป็นเหตุผล และพระเจ้าคือ พัฒนาการของเหตุผลสมบูรณ์ แต่กลุ่มนิยมเฮเกลฝ่ายซ้ายที่มาร์กซสังกัดอยู่กลับเชื่อว่า ยังจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบวิภาษอีก และสังคมปรัสเซียในขณะนั้นยังมีความไม่สมบูรณ์อีกมาก ทั้งนี้เนื่องจากสังคมยังมีความยากจน รัฐบาลยังคงใช้ระบบเซ็นเซอร์ที่เข้มแข็ง และยังเชื่ออีกว่า สาระของศาสนา คือ ความจริงที่บิดเบี้ยว การพัฒนาของศาสนา จึงมาจากด้านที่ไม่สมเหตุผล และคำสอนของศาสนา คือ มายาคติ (myth) ที่ถูกสร้างขึ้น ส่วนมาร์กซเองเชื่อว่า “หลักการวิภาษวิธีนั้น สามารถนำมาใช้กับปรัชญาวัตถุนิยม เพื่ออธิบายสังคมและการเปลี่ยนแปลงสังคมได้เป็นอย่างดี” (ยศ สันตสมบัติ. 2538 : 6) ปรัชญาของมาร์กซจึงได้รับการขนานนามในเวลาต่อมาว่า “วัตถุนิยมวิภาษวิธี” (Dialectical materialism)

อิทธิพลของปรัชญาจิตนิยม และวัตถุนิยมต่อมาร์กซ์ในระยะแรกเริ่ม ทรรศนะของมาร์กซ์มองวัตถุนิยมว่าเป็นทรรศนะที่ถูกต้อง เพราะไม่อธิบายว่าโลกถูกสร้างขึ้นด้วยอำนาจเหนือธรรมชาติ ส่วนปรัชญาจิตนิยมในความเห็นของมาร์กซ์นั้นเป็นปรัชญาที่ไม่ให้ความสำคัญแก่ ชีวิตจริง ในทรรศนะของมาร์กซ์มองปรัชญาวัตถุนิยมของกรีก และโรมันว่าเป็นขั้นปฐมเท่านั้น มาถึงสมัยกลาง ปรัชญาที่เคยเป็นวิชาการอิสระได้ถูกนำไปรับใช้ศาสนจักร จนมาถึงสมัยใหม่ มาร์กซ์ได้ยกย่องนักปรัชญาวัตถุนิยม เช่น สปิโนซ่าเห็นว่าสสารเป็นพื้นฐานของเอกภพ เป็นต้น และนักปรัชญาวัตถุนิยม ให้ทรรศนะในเรื่องสสารที่สำคัญ เช่น บอกว่ามนุษย์เป็นสสารซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ของสสาร และในด้านทฤษฎีความรู้ และอภิปรัชญายังคงให้ความสำคัญแก่สสาร อาจเป็นเพราะเขาไม่ชอบระบบศักดินา ศาสนาคริสต์ และปรัชญาจิตนิยม ซึ่งสิ่งนี้คือแรงบันดาลใจวาทะของมาร์กซ์ที่กล่าวว่า “ศาสนา คือ ยาเสพติดของประชาชน” ศาสนาเป็นเครื่องมือของชนชั้นสูง เพื่อรักษาสถานภาพทางสังคม

Sigmund Freud* Sigmund Freud (ค.ศ.1856–1939) เป็นจิตแพทย์ชาวออสเตรียเชื้อสายยิว *ณัฐนนต์ สิปปภากุล

อิด (Id) คือพลังที่แสวงหาความพึงพอใจความอยากได้ เช่น การอยากได้สิ่งของก็พยามยื้อแย่งเอามาให้ได้ด้วยกำลัง อีโก้ (Ego) คือพลังแห่งการใช้เหตุผลตามข้อเท็จจริง เช่น การอยากได้สิ่งขอแต่พยามใช้ความคิด สติปัญญาแทนการใช้กำลัง อาจเป็นการวางแผน หรือใช่เล่ห์เหลี่ยมนานาประการ ซูเปอร์อีโก้ (Super Ego) คือพลังที่เป็นตัวควบคุมทั้ง อิดและอีโก้ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอยู่ในกรอบของสังคมที่สอดคล้องกับขนธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมทำให้เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี เป็นบุคคลที่พึงประสงค์ของสังคม

ยศ สันตสมบัติ (2542:44-46) อธิบายถึงทฤษฎีสังคมของฟรอยด์ว่า มีรากเหง้ามาจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากทฤษฎีสังคมอื่นๆ โดยสิ้นเชิง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ทฤษฎีสังคมของฟรอยด์เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยอารมณ์ (Emotions) และอิทธิพลของอารมณ์ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์... นอกจากจิตไร้สำนึกแล้ว พื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งของทฤษฎีสังคมของฟรอยด์ก็คือ มโนทัศน์เรื่อง “สัญชาตญาณแห่งความตาย” (Death Instinct) ซึ่งฟรอยด์ค้นพบว่า ศาสนาทุกศาสนาในโลกมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการเซ่นสังเวยและการบูชายัญ อันเป็นส่วนสำคัญในระบบสัญลักษณ์ของศาสนาต่างๆ ความสนใจในด้านนี้จึงทำให้ ฟรอยด์เขียนหนังสือเรื่อง Totem and Taboo ในปี ค.ศ. 1913

ยศ สันตสมบัติ (2542:66-69) อธิบายว่า ตามทัศนะของฟรอยด์ ความปรารถนาที่จะใช้ความรุนแรงถูกควบคุมโดยซูเปอร์อีโก้ในระดับจิตไร้สำนึก ทุกครั้งที่ความปรารถนาที่จะใช้ความรุนแรงถูกระงับ ซูเปอร์อีโก้ของบุคคลนั้นจะเข้มแข็งขึ้นแต่บุคคลนั้นก็จะมีความรู้สึกผิด อันเป็นผลเนื่องมาจากว่าความรุนแรงถูกกักเก็บไว้ภายใน ไม่ได้รับการระบายออก เพราะซูเปอร์อีโก้ตักเตือนหากความรู้สึกผิดมีมาก จะทำให้บุคคลลงโทษตนเอง ใช้ความรุนแรงต่อตนเอง...ใครก็ตามที่ใช้ความรุนแรงโดยไม่ถูกตำหนิโดยซูเปอร์อีโก้จะไม่รู้สึกผิด แต่เขาก็ย่อมมิใช่มนุษย์ตามมาตรฐานของสังคมโดยทั่วไป... ความรู้สึกผิดเป็นรากเหง้าของอารยธรรม... สถาบันศาสนานำเอาความรู้สึกผิดมาเป็นเครื่องมือบังคับให้มนุษย์ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ สถาบันศาสนาจึงมีลักษณะเป็น “ซูเปอร์อีโก้ในระดับวัฒนธรรม” (Cultural Superego) หรือกลไกในการถ่ายทอดความรู้สึกผิดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

ในปี ค.ศ. 1927 ฟรอยด์ได้นำเอาทฤษฎีจิตวิเคราะห์มาประยุกต์ใช้อธิบายสังคมในงานเขียนเรื่อง The Future of an Illusion ในหนังสือเล่มนี้ ฟรอยด์ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการที่วัฒนธรรมถ่ายทอดค่านิยมและความเชื่อจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยผ่านองค์กรสังคมที่สำคัญคือ “ศาสนา” ซึ่งมนุษย์เรามีการตอบสนองต่อศาสนาและคำสั่งสอนทางศาสนา คล้ายๆ กับที่เรามีการสนองตอบและมีความผูกพันต่อพ่อ และศาสนาตามทัศนะของฟรอยด์ก็คือ เป็นเรื่องของอารมณ์ไม่ใช่เรื่องของเหตุผลหรือประสบการณ์ ศาสนาจึงเป็นเสมือนดั่ง “ภาพลวง” (Illusion) ที่สนองตอบความปรารถนาของมนุษย์ และศาสนาจะดำรงอยู่ได้ในสังคมและอารยธรรมสมัยใหม่ ก็เพราะความปรารถนาหรือความต้องการที่พึ่งพิงทางอารมณ์และจิตใจของมนุษย์ มิใช่ด้วยเหตุผล หลังจากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1937-1938 ฟรอยด์ได้เขียนหนังสือเรื่อง Moses and Monotheism อันเป็นช่วงที่นาซีเข้ายึดครองกรุงเวียนนา ในหนังสือเล่มนี้ ฟรอยด์พยายามที่จะอธิบายสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์สองกลุ่มที่มีความคล้ายคลึงทางศาสนา หรือมีพัฒนาการทางความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกัน ความขัดแย้งที่ฝังรากลึกในระดับจิตใต้สำนึก ความอิจฉาริษยาและความเกลียดชัง ผลักดันให้ชาวเยอรมันกระทำความรุนแรงต่อชาวยิวในที่สุด

Émile Durkheim* Émile Durkheim (ค.ศ.1858 –1917) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส ได้เสนอทฤษฎีว่า "ทุกศาสนามีความเป็นศาสนาโดยเท่าเทียมกัน" โดยให้เหตุผลว่า ศาสนาแต่ละศาสนาล้วนเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญสองสิ่งคือ สิ่งที่เรียกว่า "ศักดิ์สิทธิ์" (sacred) ในความหมายที่เป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ กับสิ่ง "ธรรมดา" (profane) ในความหมายที่เป็นสิ่งธรรมชาติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นศาสนาคริสต์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนในยุโรป หรือศาสนาปฐมบรรพ์ของคนพื้นเมืองตามชนบทที่มีความเชื่ออย่างง่ายๆ ก็ตาม *ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์

ศาสนาที่มีโครงสร้างอย่างง่ายๆ เช่น ลัทธิบูชารูปเคารพ (Totemism) ของชนเผ่าอะบอริจิ้น (aboriginal) ในทวีปออสเตรเลีย อันเป็นรูปแบบหนึ่งของศาสนาปฐมบรรพ์ (primitive religion) เกี่ยวข้องกับความเชื่อในเรื่อง "ศักดิ์สิทธิ์" กับ "ธรรมดา" อย่างชัดเจนกล่าวคือ ชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องการล่าสัตว์ หรือการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารหรือวัฒนธรรมทางวัตถุใดๆ ล้วนแต่เป็นสิ่ง "ธรรมดา" ถ้าหากเกิดภัยพิบัติตามธรรมชาติในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ความแห้งแล้ง โรคระบาด หรือภัยที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการกดขี่เบียดเบียนหรือสงครามก็ตาม ชนเผ่าอะบอริจิ้นก็จะเข้าหาสิ่ง "ศักดิ์สิทธิ์" เพื่อให้ปกป้องคุ้มครองจากภัยเหล่านั้น โดยรวมก็คือ ความเชื่อทางศาสนาของชนเผ่าอะบอริจิ้นเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญพื้นฐานสองสิ่ง คือสิ่ง "ศักดิ์สิทธิ์" และสิ่ง "ธรรมดา"

สำหรับศาสนาที่มีโครงสร้างอันสลับซับซ้อน อย่างเช่นศาสนาคริสต์ในตะวันตกนั้น มีการจัดองค์กรในระดับสูง(institutionalized religion) เช่น มีพระสันตะปาปา(Pope) เป็นประมุขสูงสุด โดยประทับอยู่ที่สำนักวาติกัน (Vatican) ในกรุงโรม มีการจัดระเบียบการปกครองในฝ่ายศาสนจักร โดยมีพระคาร์ดินัล (Cardinal) อาร์คบิชอพ (Arc-bishop) และอื่นๆ ปกครองลดหลั่นกันตามลำดับชั้น มีการบริหารงบประมาณกันอย่างเป็นระบบ และการปกครองศาสนจักรครอบคลุมไปในทุกประเทศ(ที่มีผู้นับถือศาสนาคริสต์) ทั่วโลก (ยกเว้นในบางประเทศที่มีนโยบายพิเศษเฉพาะตน เช่น จีน เป็นต้น) ในด้านโครงสร้างทางความเชื่อนั้น ศาสนาคริสต์จัดอยู่ในศาสนาประเภท "เอกเทวนิยม" (Monotheism) ที่เชื่อในเรื่องการมีอยู่ของ "พระเจ้าองค์เดียว" และมนุษย์จะรอดพ้นได้ก็โดยผ่าน "ศาสดา"(Prophet) คือ พระเยซู (Jesus) แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น สำหรับ "พระเจ้า" (God) ในศาสนาคริสต์นั้นแสดงตนออกมาในสามลักษณะคือ "พระบิดา" (Father) "พระจิต" (Spirit) และ "พระบุตร" (Son) และพระเยซูซึ่งเป็น "พระบุตร" ของพระเจ้านั้นเกิดจากท้องแม่ซึ่งเป็นหญิงสาวพรหมจรรย์ชื่อมาเรีย(แม้ว่าจะ มีคู่หมั้นชื่อโจเซฟก็ตาม) ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นลักษณะของสิ่ง "ศักดิ์สิทธิ์" ในศาสนาคริสต์ทั้งสิ้น

ือ ของตนเอง ยมน จากล ทธ Totemism การน ยมบ ชาต นไม และส ตว เสมอด วย God สาเหต ุที่นิ บถ ของเผ Emile Durkheim า เพ อกล มหร ได อเผ สร าจะได ปแนวค อย ดจากการศ ูยั่ งย แต่ถึงแม้จะมีโครงสร้างทางความเชื่อ และโครงสร้างการจัดองค์กรที่สลับซับซ้อนอย่างไรก็ตาม ศาสนาคริสต์ในฐานะที่เป็น "ศาสนา" (Religion) ก็หนีไม่พ้นสิ่งพื้นฐานสองสิ่งคือ "ศักดิ์สิทธิ์" กับ "ธรรมดา" ตามทรรศนะของเดอร์ไคม์แล้วความ "ศักดิ์สิทธิ์" ในศาสนาคริสต์ที่สลับซับซ้อน โดยสาระสำคัญแล้วก็ไม่แตกต่างไปจากความ "ศักดิ์สิทธิ์" อย่างง่ายๆ ในศาสนาปฐมบรรพ์ของชนเผ่าอะบอริจิ้นในออสเตรเลียแต่อย่างใด เพราะทั้งคู่ต่างก็เป็น "สิ่งเหนือธรรมชาติ" เช่นเดียวกัน เมื่อเหนือธรรมชาติแล้วแม้จะพิสดารโอฬารพันลึกอย่างไรก็ตาม ก็อยู่ในประเภทสิ่งเหนือธรรมชาติเหมือนกัน นต อไปในส กษาชนเผ งคม า Australian Aborigineses วา ศาสนาเร นมา มต วรรณศ วรรณศ วรรณศ ป ป ป ยพรรณ ยพรรณ ยพรรณ ิริ ิริ ิริ Emile Durkheim* ได้สรุปแนวคิดจากการศึกษาชนเผา Australian Aborigines ว่าศาสนาเริ่มต้นมาจากลัทธิ Totemism การนิยมบูชาต้นไม้และสัตว์เสมอด้วย God ของตนเองสาเหตุที่นิยมนับถือตนไม้และสัตวก็เพื่อจะใช้เป็นเครื่องแบ่งกลุมแบ่งเผาให้คนรูจักนับถือและสำนึกถึงความสำคัญของเผาเพื่อกลืมหรือเผ่าจะได้อยูยั่งยืนต่อไปในสังคม *ปยพรรณ วรรณศิริ ต นไม แบ ูจั และส ตว ก็ เพ อจะใช เป นเคร องแบ งกล ุม งเผ าให คนร กน บถ ือ และส าน าค งความส กถ ัญ

Bronislaw Malinowski* * http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/7011/6/Chapter2.pdf

ความต้องการพื้นฐานทางร่างกายและจิตใจ (basic biological and psychological) เชน อาหารที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม การผักผ่อน การเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ เป็นตน การตอบสนองร่วมกันของสมาชิกในสังคม(instrumental needs) หมายถึง การทำงานรวมกันของสมาชิกในสังคมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานทางร่างกายและจิตใจการทํางานร่วมกันของสมาชิกในสังคมก่อให้เกิดการจัดตั้งองค์กรและสถาบันสังคมต่างๆขึ้นมา

3. ความต้องการเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic needs) ความต้องการประเภทที่สามของมนุษย์คือความต้องการเชิงสัญลักษณ์ความต้องการประเภทนี้ไดรับการตอบสนองโดยการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ ศาสนา ไสยศาสตร์ และ ศิลปะขึ้นมาในสังคม Malinowski อธิบายวามนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่สามารถสะสมความรู้และประสบการณ์และรวบรวมให้เป็นระบบเพื่อนำไปใช้ดัดแปลงแก้ไขวิถีชีวิตของตนต่อไปในภายภาคหนาระบบความรู้หรือวิทยาศาสตรทําหน้าที่ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้และเข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติแต่เมื่อวิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์บางอยางเชน“ภูเขาไประเปดฟาผามนุษยก็คิดคนระบบไสยศาสตร์และศาสนาขึ้นมาแทนที่เพื่ออธิบายปรากฎการณ์เหล่านั้นและเพื่อช่วยให้มนุษยมีความเข้าใจและมีความรูสึกปลอดภัยนอกจากนั้นศาสนาและพิธีกรรมต่างๆยังมีหน้าที่เสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและความร่วมมือระหว่างสมาชิกในสังคม

Max Weber* Max Weber (ค.ศ.1864 –1920) งานศึกษาสำคัญของเวเบอร์ 2 เรื่อง คือ The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism(1920) และ TheSociology of Religion(1922) เวเบอร์อธิบายพัฒนาการของสังคมในช่วงเวลาต่างๆ ถึงแม้ว่าเวเบอร์จะมีความคิดแบบทฤษฎีวิวัฒนาการ แต่เวเบอร์ก็คิดไม่เหมือนเอ็ดเวิร์ด ไทเลอร์ และลิวอิส เฮนรี มอร์แกน แต่เวเบอร์ไม่ได้คิดว่าวิวัฒนาการทางสังคมไม่มีลำดับขั้นที่ตายตัว เวเบอร์เชื่อว่าในแต่ละยุคสมัยจะมีความเชื่อที่แตกต่างกัน วิวัฒนาการจึงมีแนวทางที่ไม่เหมือนกันและทำให้มนุษย์มีความแตกต่างหลากหลาย อย่างไรก็ตามเวเบอร์ก็ยังคิดแบบชาวตะวันตกที่ยึดสังคมของยุโรปเป็นบรรทัดฐาน *นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ

หลักคิดของเวเบอร์ เชื่อว่าสังคมที่ซับซ้อนเกิดมาจากแบ่งหน้าที่การทำงานที่หลากหลายของบุคคล หน้าที่การทำงานทำให้เกิดการแบ่งฐานะสูงต่ำทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่ความไม่เสมอภาคของบุคคล ความไม่เท่าเทียมระหว่างชนชั้นนำ ชนชั้นทหาร กับชนชั้นพ่อค้าและช่างฝีมือ ทำให้เกิดความแปลกแยก พ่อค้าและชาวบ้านจะรู้สึกโดดเดี่ยวจากอำนาจและเศรษฐกิจ ความขัดแย้งและไม่ลงรอยระหว่างชนชั้นจะปรากฎให้เห็นในความคิดทางศาสนา ประเด็นดังกล่าวนี้มีความสำคัญสำหรับเวเบอร์อย่างมาก เวเบอร์เชื่อว่าศาสนาคือเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ ชนชั้นพ่อค้ารู้สึกแปลกแยกจากชนชั้นปกครอง รู้สึกว่าตนเองไม่มีอำนาจ ทำให้เกิดความความกะวนกระวาย เกี่ยวกับการเข้าใจต่อโลก ถ้าชีวิตบุคคลเข้าถึงพรของพระเจ้าได้ แต่ทำไมโลกจึงยังมีปัญหาความไม่แน่นอนนี้ทำให้เกิดความพยายามที่จะหาทางออก เวเบอร์เรียกท่าออกนี้ว่า “การไถ่บาป” เวเบอร์เชื่อว่าการไถ่บาปจะสำเร็จได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับโลก โดยการเปลี่ยนพฤติกรรมและยึดหลักศีลธรรม

การขัดเกลาจิตใจคือหัวใจของการไถ่บาป เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ปราศจากการทำตามใจตนเอง เวเบอร์เชื่อว่าการขัดเกลาจิตใจแตกต่างจากขัดเกลาทางร่างกาย การขัดเกล่าทางร่างกายเป็นการกระทำของนักบวช หรือฤาษีที่ต้องการหนีโลก หรือหลบไปอยู่ในที่ห่างไกลจากคนอื่น การไม่ทำตามใจตนเองจะทำให้จิตใจไม่หมองมัวแม้ว่าบุคคลจะมีอยู่ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับคนอื่นก็ตาม บุคคลที่มีความสามารถพิเศษในการขัดเกลาจิตใจเรียกว่าศาสดาพยากรณ์ เป็นผู้ที่เข้าถึงความจริงของพระเจ้า สามารถขัดเกลาจิตใจและเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ได้ เวเบอร์เชื่อว่าการขัดเกลาจิตใจจะเกิดขึ้นในศาสนาคริสต์โปรแตสแตนท์นิกายคัลวิน ซึ่งเป็นศาสนาของพ่อค้าที่เชื่อเรื่องเหตุผลที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และพระเจ้า นักศาสนาชื่อจอห์น คัลวินถูกเชื่อว่าเป็นศาสดาพยากรณ์ และเป็นผู้ชี้ทางสว่างให้มนุษยชาติ ตามความคิดของคัลวินเชื่อว่ามนุษย์ถูกลิขิตให้สร้างสวรรค์ขึ้นบนโลก โดยต้องทำงานหนักตามบัญชาของพระเจ้า มนุษย์ต้องเชื่อฟังคำสั่งของพระเจ้า ชนชั้นกลางที่เป็นพ่อค้าและช่างฝีมือจะถูกยกให้เป็นผู้ที่มีจิตใจดีงามตามลัทธิคัลวิน พ่อค้าและช่างฝีมือจะต้องยึดถือคำสอนของพระเจ้าเพื่อให้ชีวิตมีความสุขทั้งกายและใจ พ่อค้าแสวงหาทรัพย์สินโดยเชื่อว่าเป็นพรจากพระเจ้า วัฒนธรรมการค้าในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จะเกี่ยวข้องกับลัทธิคัลวินซึ่งทำให้เกิดการทำงานหนักเพื่อหวังสิ่งตอบแทนที่เป็นเงินทองหรือพรจากพระเจ้า ลัทธินี้ทำให้ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมเจริญอย่างรวดเร็วและมีอำนาจไปทั่วโลก

วิวัฒนาการของศาสนา* นักวิชาการทางศาสนวิทยาล้วนกล่าวตรงกันว่า ศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือการนับถือ "วิญญาณ"  คนยุคแรกๆ ของโลก ที่จัดว่าเป็นคนยุคก่อนประวัติศาสตร์  (หรือก่อนที่จะมีการใช้ภาษาเขียนและเขียนบันทึก)  ล้วนแต่นับถือวิญญาณอะไรบางอย่างกันทั้งนั้น  แต่โดยภาษาชาวบ้านหรือภาษาปากของคนไทยมักเรียกวิญญาณเหล่านี้ว่า "ผี"   นักวิชาการคนไทยจึงเรียกตามไปด้วยว่า “ศาสนาผี”  แต่ผู้เขียนเองขอเรียกในทางวิชาการว่า "ศาสนาวิญญาณ"  แต่ก็จะเรียกตามภาษาปากแบบไทยควบคู่ไปด้วยว่า "ศาสนาผี" *ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์

"ศาสนาวิญญาณ" หรือศาสนาผีนี้  ในทางวิชาการศาสนวิทยาเรียกว่า ศาสนาประเภท "วิญญาณนิยม"  ภาษาอังกฤษเรียก Animism    ส่วนพวกที่นับถือผีก็จะเรียกว่า animist    พื้นฐานมาจากคำว่า "anima" แปลว่า “ลมหายใจ” หรือ “วิญญาณ”  (หมายเหตุ: คำว่า "ศาสนาวิญญาณนิยม" หรือ "ศาสนาผี" บางครั้งจะถูกเรียกทางวิชาการเพื่อเลี่ยงนัยของการดูถูกว่า "primitive religion" ซึ่งคงเรียกเป็นภาษาไทยว่า ศาสนาบรรพกาล    ซึ่งหมายถึง ศาสนาของยุคโบราณที่ล้วนมีลักษณะของ "ศาสนาวิญญาณนิยม" ทั้งนั้น) ศาสนาวิญญาณนิยม เป็นแนวความเชื่อที่ว่า   (๑) วิญญาณ (หรือผี) มีจริง   ต่อมาก็เชื่อว่า (๒) วิญญาณเป็นอมตะ   ต่อมาก็เชื่อว่า  (๓) วิญญาณ เหล่านี้เป็นอำนาจเหนือธรรมชาติ ที่คอยรักษากฎเกณฑ์ของธรรมชาติและสังคมมนุษย์ให้เสมอภาคและยุติธรรม

นี่เป็นระบบความเชื่อดั้งเดิมของคนยุคดึกดำบรรพ์ทั่วโลกเมื่อหลายหมื่นหลาย พันปีมาแล้ว  และเป็นความเชื่อเก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และเป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นมาก่อนที่มนุษย์จะได้เอาความเชื่อของตนในเรื่อง นี้มาพัฒนาเป็นรูปแบบทางศาสนาในเวลาต่อมา  จากหลักฐานการค้นคว้าของนักวิชาการ ปรากฏว่า มนุษย์ยุคบรรพกาล (Primitive man) ซึ่งเป็นมนุษย์ยุคแรกๆ ของโลกนั้น มีความเชื่อมั่นว่า วิญญาณมีอยู่ในร่างมนุษย์ และจะไม่แตกสลาย เมื่อร่างกายได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นมนุษย์ยุคบรรพกาลยังมีความเชื่อมั่นว่า ชีวิตของภูตผีมีจริง และมีความเชื่อว่า “ร่างกายเท่านั้นที่ตายไป ส่วยวิญญาณหาได้ตายไปไม่” คำว่า “วิญญาณนิยม” เป็นคำที่เซอร์ ไทเล่อร์ (E.B. Tylor) ใช้ในหนังสือของเขาชื่อว่า “สังคมบรรพกาล” (Primitive culture) เพื่ออธิบายจุดกำเนิดของศาสนา และความเชื่อของมนุษย์ยุคบุพกาล

สำหรับในภูมิภาคของประเทศไทยนั้น  ศาสนาวิญญาณ หรือ ศาสนาผี มีมานานถึงราว 5,000 ปีมาแล้ว หรืออาจเก่ามากกว่านี้ก็ได้  เพราะเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนทางอีสานตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนหมู่บ้านเก่าสุด เริ่มทำกสิกรรมปลูกข้าวเลี้ยงสัตว์ แล้วมีพิธีกรรมเกี่ยวกับผีเพื่อขอความอุดมสมบูรณ์    คนในไทยทุกวันนี้นับถือศาสนาผีปนพราหมณ์พุทธ มีศาลผี และทำพิธีทรงเจ้าเข้าผีทั่วไปทั้งประเทศ  ซึ่งผู้เขียนขอเรียกศาสนาของคนไทยที่ผสมระหว่าง ผี-พราห์ม-พุทธ เช่นนี้ว่า "ศาสนาไทย“ ศาสนาไทยมีลักษณะที่เอาศาสนาผีเป็นรากฐาน  แล้วรับเอาสิ่งละอันพันละน้อยของศาสนาพราหมณ์กับศาสนาพุทธ โดยเลือกเอาส่วนที่ไม่ขัดกับหลักผี เข้ามาประกอบกับศาสนาผี  เพื่อให้ดูดีมีสง่าราศี ดูทันสมัย และน่าเลื่อมใสศรัทธาขึ้น  ขณะที่วิญญาณหรือผีที่ใหญ่ที่สุดของศาสนาผีทั่วไปมักจะเป็น "ผีแห่งท้องฟ้า"  หรือ "ผีฟ้า"  เพราะถือว่าท้องฟ้าคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด   แต่ว่ากันว่า ผีใหญ่ของไทย  สิงสถิตอยู่ฟ้ากับดิน มักเรียกอย่างคุ้นเคยสั้นๆว่า ผีฟ้า แต่หมายถึงฟ้าดิน  และถูกจัดให้เป็นเพศหญิง 

ศาสนาวิญญาณ หรือศาสนาผี ไม่ได้มีความเชื่อหยุดอยู่กับที่  แต่มีพัฒนาการด้วยพัฒนาการของศาสนาผี พัฒนาการไปอย่างนี้คือ    (๑) แรกสุดเริ่มจากศาสนาวิญญาณธรรมชาติ  (หรือผีฟ้าดิน)   (๒) ต่อมาก็เชื่อว่าพ่อแม่และบรรพบุรุษที่ตายไปก็กลายวิญญาณอมตะที่ยังวนเวียน อยู่ใกล้และช่วยเหลือลูกหลานที่ยังอยู่ได้ด้วย  จึงพัฒนาความเชื่อเพิ่มให้มีศาสนาบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ (หรือการไหว้ผีบรรพบุรุษ)     (๓) แล้วต่อมาก็ขยายความเชื่ออีกว่า วัตถุหรือสิ่งของต่างๆ ก็มีวิญญาณสิงสถิตอยู่ด้วย  จึงขยายไปสู่ศาสนาของขลัง หรือศาสนาบูชาวัตถุศักดิ์สิทธิ์ (คือบูชาผีที่สิงสถิตอยู่ในวัตถุต่างๆ)   (๔) ต่อมาก็ขยายเป็นศาสนาสัญญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ (Totemism) (๕) ต่อมาก็ขยายเป็นศาสนาหมอผี (Shamanism)  (๖) ในที่สุดก็เป็นศาสนาบูชาธรรมชาติ (Nature worship) 

ศาสนาวิญญาณบรรพบุรุษ ศาสนาวิญญาณบรรพบุรุษ  ศาสนาผีพัฒนาต่อกลายเป็น ศาสนาผีบรรพบุรุษหรือวิญญาณบรรพบุรุษ  (ancestor worship)   การเคารพบรรพบุรุษเป็นการแสดงออกถึงท่าทีของมนุษย์ที่มีต่อผู้ตาย  ซึ่งปรากฏมีอยู่ในศาสนาและวัฒนธรรมมาตั้งแต่ยุคบุพกาลเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน   การเกิดลัทธิบูชาวิญญาณบรรพบุรุษมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของมนุษย์นั้น เป็นเพราะมนุษย์มีทัศนคติว่า ผู้มีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้วมีความสัมพันธ์กัน  ความตายมิได้ทำให้ผู้นั้นหมดสภาพความเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม อาจจะเป็นครอบครัว สกุล เผ่าพันธุ์ เป็นต้น

ทัศนคติของมนุษย์ที่มีต่อการตายแบ่งออกได้ดังนี้ ความตายเป็นสิ่งที่น่ากลัว พร้อมๆกับไม่น่ากลัวแต่อย่างใด เพราะว่าความตายเป็นสภาพต่อเนื่องจากการมีชีวิตอยู่  ๒. ผู้ตายไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ดังนั้นผู้ทียังมีชีวิตอยู่จะต้องจัดหาสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิตให้กับผู้ตาย ๓. ผู้ตาย โดยเฉพาะการตายของหัวหน้า หรือการตายของผู้อาวุโส ซึ่งในขณะเมื่อยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้มีอำนาจมาก เมื่อถึงแก่กรรมกะมีอำนาจยิ่งกว่าเดิม เพราะมีสภาพเป็นวิญญาณที่หลุดออกไปจากกายซึ่งจะมีความคล่องตัวสูงกว่าขณะมี ร่างกายประกอบ จึงสามารถช่วยเหลือหรือทำร้ายผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ ฉะนั้น การให้ความเคารพต่อการตายของบุคคลประเภทนี้ จึงเป็นเรื่องใหญ่โตมาก ในบางสังคมเชื่อกันอีกว่าผู้ตายไปแล้วจะกลับชาติมาเกิดใหม่ในสังคมเดิมของตน  บุคคลสำคัญเมื่อตายจากไปจะกลายไปเป็นเทพเจ้า

รูปแบบของการเคารพบรรพบุรุษ การเคารพบรรพบุรุษจากทั้งชุมชน ผู้ตายอาจได้รับความเคารพจากคนทั้งกลุ่ม เช่น จากครอบครัว จากคนในตระกูลเดียวกัน จากคนทั้งเผ่า หรือจากคนทั้งประเทศ ทั้งนี้เพราะผู้ตายเมื่อมีชีวิตอยู่ เป็นสมาชิกคนหนึ่งที่มีคนเคารพนับถืออยู่ในชุมชนนั้นๆ โดยแสดงออกทางพิธีกรรมต่างๆ การเคารพบรรพบุรุษจากแต่ละบุคคล รูปแบบของการเคารพบรรพบุรุษที่แพร่หลายมากที่สุดได้แก่ การเคารพจากแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดี การเคารพบรรพบุรุษแบบนี้อาจร่วมกับการเคารพบรรพบุรุษจากคนทั้งชุมชนด้วย อย่างเช่น การเคารพผู้ตายซึ่งเป็นจักรพรรดิของชาวโรมัน หรือการเคารพบรรพบุรุษของกษัตริย์ของชาวอียิปต์ และการเคารพสมาชิกในตระกูลจักรพรรดิของญี่ปุ่นของคนทั้งชุมชน และของแต่ละบุคคล  ในลัทธิเคารพบรรพบุรุษมิได้ถือว่า บรรพบุรุษทุกคนมีคุณค่าต่อการเคารพโดยเท่าเทียมกัน เพราะบรรพบุรุษคนหนึ่งอาจมีอำนาจมากกว่าบรรพบุรุษอีกคนหนึ่ง เมื่อตายก็อาจจะมีแต่ญาติเท่านั้นให้ความเคารพ แต่ในบางกรณีการเคารพบรรพบุรุษของคนที่ตายไปแล้วบางคนอาจจะกลายเป็นศูนย์ กลางของการเคารพสักการะของชุมชมอื่นๆ ไปด้วย นั้นหมายความว่า การเคารพบรรพบุรุษนั้นมีระดับที่แตกต่างกันไป

๓. บรรพบุรุษคือพระเจ้า บรรพบุรุษบางคนมีคุณสมบัติพิเศษ มีค่าต่อการเคารพบูชามาก เมื่อบรรพบุรุษเช่นนี้ตายไปแล้ว จึงไม่ถือว่าเป็นการจากไปแบบธรรมดา อย่างการจากไปของบุคคลทั่วๆ ไป แต่เชื่อกันว่าเป็นการจากโลกนี้ไปเป็นเทพเจ้า ซึ่งในบางกรณีวิญญาณของบรรพบุรุษอาจจะถูกเรียกมาเพื่อให้ความช่วยเหลือสังคม หรือชุมชนนั้นๆ ได้ โดยสรุป ความคิดเคารพบรรพบุรุษ เกิดขึ้นมาเพราะมนุษย์มีความเชื่อว่า วิญญาณมีอยู่จริง ชีวิตหลังความตายจึงมีอยู่จริง การตายจึงเป็นเพียงการจากไปของวิญญาณ ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มีชีวิตอยู่จึงควรมีความสัมพันธ์กับวิญญาณของผู้ตาย โดยการแสดงความเคารพบูชา ลัทธิบูชาบรรพบุรุษจึงเป็นปากฎการณ์เกี่ยวข้องกับลัทธิวิญญาณนิยม หรืออาจกล่าวได้ว่า ลัทธิวิญญาณนิยม ปูทางให้เกิดลัทธิบูชาเคารพบรรพบุรุษ และจากลัทธิเคารพบูชาบรรพบุรุษจึงมีศาสนพิธีให้กับผู้ตาย จะเห็นว่า เมื่อมีระบบศาสนาที่ชัดเจน เช่น ศาสนาพุทธ พราหมณ์-ฮินดู ขงจื้อ เป็นต้น ลิทธิเคารพบูชาบรรพบุรุษก็ได้แฝงตัวอยู่ในพิธีกรรมทาศาสนาให้กับผู้ตายตาม ที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ศาสนาของขลัง ศาสนาวิญญาณได้พัฒนาไปสู่การเป็นศาสนา ของขลัง หรือศาสนาบูชาวัตถุศักดิ์สิทธิ์ (คือบูชาผีที่สิงสถิตอยู่ในวัตถุต่างๆ)    ภาษาเทคนิคเรียกว่า Fetishism  คำ ว่า Fetish มาจากคำว่า Feitico ในภาษาโปรตุเกส  ต่อมาชาวยุโรปในศตวรรษที่ ๑๕ ใช้คำว่า Fetish หมายถึง เวทมนต์ คาถา อาคม ที่มีอยู่ในเครื่องราของขลัง ดังนั้น คำว่า Fetishism จึงหมายถึงศาสนาหรือลัทธิที่บูชาวัตถุที่ถือเป็นของขลังหรือของศักดิ์สิทธิ์ ศาสนาบูชาของขลังเป็นผลสืบเนื่องต่อจากความเชื่อว่า วิญญาณมีอยู่จริง  ต่อมาก็เลยมีความเชื่อว่า มีวิญญาณอยู่ในวัตถุต่างๆ  

อย่างไรก็ดี มีนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ความเชื่อของชาวแอฟริกาที่ว่า วัตถุต่างๆ อย่างเช่นเครื่องรางของขลัง มีอำนาจศักดิ์อยู่มิได้ขึ้นอยู่กับความเชื่อในเรื่องการมีอยู่ของวิญญาณ หากแต่เชื่อว่า “มีพลังชีวิต” อยู่ในนั้น ความเชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลังปรากฏมีอยู่ทั่วไปในสังคมยุคบุพกาล และแอบแฝงเข้ามาอยู่ในความเชื่อและพิธีการของศาสนาที่มีลักษณะก้าวหน้าอย่าง ศาสนาชั้นสูงในปัจจุบันในรูปของวัตถุ  เช่น การเชื่อว่า ผ้ายันต์ ตระกุด มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ดังนั้น ความเชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลังซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับวิญญาณนิยม จึงยังคงมีอิทธิพลอยู่ในความรู้สึกของมนุษย์พอ ๆ กับเรื่องวิญญาณนิยมจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ศาสนาสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ คำว่า ลัทธิโทเทม (Totemism) เป็นคำใช้เพื่ออธิบายลักษณะสำคัญในศาสนา และองค์กรทางสังคมของประชาชนยุคบุพกาลหลายแห่งด้วยกัน    คำว่า โทเทม (Totem) มาจากคำว่า Ototeman ซึ่งเป็นภาษาชาวอินเดียแดงเผ่า Ojibwa ซึ่งอยู่บริเวณทะเลสาบ Great lake ทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ  เดิมทีคำว่า โทเทม หมายถึง “ความเป็นพี่น้อง พี่ชาย น้องสาว” ซึ่งหมายถึงสัมพันธภาพทางสายเลือดระหว่างพี่ชาย และน้องสาว ซึ่งมีมารดาคนเดียวกัน จึงสมรสกันไม่ได้ ความเชื่อแบบโทเทม เป็นแนวความเชื่อที่ว่า มนุษย์มีความเป็นญาติพี่น้องอยู่กับโทเทม หรือมีความสัมพันธ์ลึกลับอยู่ระหว่างกลุ่มบุคคลหรือแต่ละบุคคลกับโทเทม   โทเทม คือ สิ่งเช่นสัตว์หรือต้นไม้ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของคนกลุ่มหนึ่ง หรือบุคคลหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์อยู่กับสิ่งนั้น

คำนี้เข้ามาสู่ยุโรปเมื่อ ค. ศ คำนี้เข้ามาสู่ยุโรปเมื่อ ค.ศ. ๑๗๙๑ โดยพ่อค้าชาวอังกฤษ และแปลคำ โทเทม ว่า ความเชื่อว่ามีวิญญาณปกป้องคุ้มกันในแต่ละบุคคล และวิญญาณนี้ปรากฏออกมาในรูปของสัตว์ ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ชาวอินเดียเผ่าโอจิวาได้แสดงออกด้วยเครื่องนุ่งห่มที่ ทำด้วยหนังสัตว์     นักวิชาการได้ให้คำนิยามคำว่า โทเทม ไว้อย่างกว้างขวาง ลัทธิโทเทม จึงเป็นแนวความคิดที่ซับซ้อนและมีหลายรูปแบบรวมทั้งยังมีวิถีทางพฤติกรรม ซึ่งวางรากฐานจากการมองโลกทัศน์จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีความสัมพันธ์ภาพ ทางด้านอุดมการณ์ ความเร้นลับทางอารมณ์ ความเคารพยำเกรงและทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ของกลุ่มทางสังคมหรือบุคคลหนึ่ง กับสัตว์หรือวัตถุทางธรรมชาติ ซึ่งเรียกว่า โทเทม

แต่โดยทั่วไปลัทธิโทเทมประกอบด้วยลักษณะดังนี้ คือ ๑ แต่โดยทั่วไปลัทธิโทเทมประกอบด้วยลักษณะดังนี้ คือ  ๑. โทเทม คือ เพื่อน ญาติ ผู้ปกครองป้องกัน บรรพชน หรือผู้ให้ความช่วยเหลือมีอำนาจและความสามารถเหนือมนุษย์ เหล่านี้จะเรียกว่า โทเทม และสิ่งใดที่เป็นโทเทมนั้นไม่เพียงแต่ต้องแสดงความเคารพด้วยความคารวะเท่า นั้น แต่โทเทมจะกลายเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัวรวมอยู่ด้วย   ๒. ใช้ชื่อและตราพิเศษเป็นโทเทม    ๓. มีสัญลักษณ์ของโทเทม    ๔. มีการห้ามการฆ่า การกิน หรือแตะต้องโทเทม    ๕. มีพิธีกรรมให้กับโทเทม ในบางกรณีลัทธิโทเทมก็มีพื้นฐานทางศาสนารวมอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย เช่น ลัทธิโทเทมปรากฎรวมอยู่กับการใช้เวทมนต์คาถา และลัทธิโทเทมมักจะมีความเชื่ออื่นๆ เข้ามาผสมผสานรวมอยู่ด้วย อาทิ พิธีเคารพบูชาบรรพบุรุษ ความคิดในเรื่องวิญญาณความเชื่อในเรื่องอำนาจและวิญญาณ

สรุป  ลัทธิโทเทม มีลักษณะของการเคารพสัตว์ หรือพืชในลัทธิโทเทม นักวิชาการได้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ โทเทมส่วนบุคคล และโทเทมของกลุ่มชน ลัทธิโทเทมที่สำคัญและมีความนิยมกันนั้น ก็คือ โทเทมประเภทกลุ่มชน ซึ่งมีความเชื่อตามชื่อของสัตว์พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง หรือบางครั้งก็อาจจะเป็นพืชชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ หรือต้นไม้ ก็ได้ และสัตว์ พืช ต้นไม้ที่เป็นโทเทมของกลุ่มบุคคลนั้นก็จะถูกห้ามนำมากินหรือต้น และที่สำคัญก็คือ พิธีกรรมทาลัทธิโทเทมแสดงออกซึ่งสัมพันธภาพทางศาสนา เวทมนต์ คาถา กับสัตว์และพิธีกรรมของลัทธิโทเทมอาจมีการเซ่นสังเวยและการให้อาหารสัตว์รวม อยู่ด้วย แต่ลัทธิโทเทมก็มีรากฐานของความเชื่อในเรื่องวิญญาณอยู่ด้วย

ศาสนาหมอผี หรือซาแมน (Shamanism) คำว่า Shamanism มาจากคำว่า Saman ในภาษาตังกุส (Tungustic) ซึ่งแปลว่า “พระหมอยา” ลัทธิซาแมนเป็นลัทธิความเชื่อที่เก่าแก่ของประชากรที่อาศัยอยู่ในอูราอัลไต ในเอเชียเหนือ ในบริเวณเทือกเขาอัลไตตั้งแต่บริเวณแลปป์แลนด์ (Lappland) ทางทิศตะวันตก ไปจนถึงบริเวณช่องแคบแบริ่ง (Bering Straits) แต่เดิมลัทธิซาแมน เป็นศาสนาวัฒนธรรมของชนชาติร่อนเร่ล่าสัตว์เป็นอาหาร คือ ชาวเอเชียโบราณ แก่นสาระสำคัญของลัทธินี้ก็คือ การติดต่อกับวิญญาณ ฉะนั้น ลัทธิซาแมนจึงวางรากฐานอยู่ในเรื่องวิญญาณนิยม แต่มีพื้นฐานสูงกว่า กล่าวคือ เมื่อมนุษย์ได้รับเอาวิญญาณนิยมมาเป็นพื้นฐาน แนวความคิดซาแมนจึงเริ่มต้นหาทางติดต่อกับวิญญาณ และที่ผู้ทำที่หน้าที่ติดต่อกับวิญญาณเรียกว่า “ซาแมน” (shaman) หมายถึงพระหมอผู้วิเศษ หรือที่ท้องถิ่นไทยมักเรียกกันว่า "หมอผี" นั่นเอง

ลัทธิความเชื่อนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องการมีชีวิตต่อเนื่องของทุกดวง วิญญาณหลังจากร่างกายดับสิ้นไปแล้ว ความเชื่อเช่นนี้ เป็นรากฐานของการทำให้เกิดลัทธิบูชาบรรพบุรุษ (Ancestor worship) ขึ้นมาอีก การมีพระหมอผีผู้วิเศษ หรือซาแมนถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการมีพระผู้ทำหน้าที่รักษาความเชื่อของ แต่ละศาสนาไว้ไม่ให้สูญสิ้น เป็นการดำรงไว้ของศาสนาทุกศาสนาในเวลาต่อมา และซาแมนในฐานะเป็นนักบวช นอกจากจะมีหน้าที่ทำการติดต่อกับโลกของวิญญาณแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อกับเทพเจ้า ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีหน้าที่ในการทำพิธีบูชายัญ ทำนายโชคชะตาและรักษาโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย  และบางทีก็ถึงขั้นเป็นร่างทรงของวิญญาณต่างๆ ได้ด้วย

ศาสนาบูชาธรรมชาติ (Nature Worship) ลัทธินับถือธรรมชาติ เป็นลัทธิที่ถือว่า อำนาจหรือพลังมีอยู่ในธรรมชาติซึ่งได้รับการเคารพนับถือหรือความเกรงกลัว พลังชนิดนี้ เรียกว่า “มานา” (Mana) คำว่า “มานา” เป็นคำของชาวโพลินีเซีย (Polynesian) และชาวเมลานีเซีย (Melanesian) ซึ่งนักโบราณคดีชาวตะวันตกในศตวรรษที่๑๙ เอามาใช้เพื่อหมายถึงความเชื่อในอำนาจของธรรมชาติในสังคมของมนุษย์ยุคบุพกาล บางครั้งคำว่า มานา หมายถึง “อำนาจไม่มีตัวตน” หรือ “อำนาจเหนือธรรมชาติ” หรือ “พลังอันยิ่งใหญ่” แต่บางครั้งก็ว่า มานาเป็นอำนาจที่ออกมาจากบุคคล หรือบุคคลรับเอามานามาใช้ การเคารพอำนาจเหนือธรรมชาตินี้แสดงออกกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมากมาย เช่น เกี่ยวกับดวงดาวบนท้องฟ้าในฐานะเป็นเทพหรือพระอาทิตย์ในฐานะที่เป็นเทพเจ้า สุริยคราสและจันทรคราส ดวงดาวและกลุ่มดวงดาว เช่น ดาวศุกร์ (Venus) และกลุ่มดาวลูกไก่ เป็นต้น ส่วนการบูชาธรรมชาติอื่นๆ ก็เช่น การบูชาไฟในอารยธรรมต่างๆ