หน่วยงานราชการและภาคเอกชน จังหวัดกาฬสินธุ์ และ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การประชุม ผู้อำนวยการสถานศึกษา สพป. มหาสารคาม เขต 1 1 สิงหาคม 2557 ณ ห้องประชุม 4 B อาคารศูนย์ภาษา และคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาสารคาม.
Advertisements

ประธานกลุ่ม:พ.อ.กิตติศักดิ์ ดวงกลาง สมาชิก:ผู้แทนจาก สขว.กอ.รมน., ศปป.1 กอ.รมน., ศปป.6 กอ.รมน., กอ.รมน.ภาค 2, กอ.รมน.จังหวัด ก.ส., ข.ก., บ.ก., น.ค., ล.ย.,
ระบบการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ปี 2558 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิตโดยเกษตรกร และ / หรือองค์กรเกษตรกรในพื้นที่และกิจกรรม.
1 การดำเนินการ โครงการยกระดับคุณภาพการ ให้บริการประชาชน.
การประชุมเชิงปฏิบัติการ กลไกการขับเคลื่อนแผนพัฒนากำลังคนรายจังหวัด
การขับเคลื่อน ด้านการตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย
ทิศทางการปฏิบัติงานกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ปีงบประมาณ 2561
มอบนโยบายการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย โดย นายอาทิตย์ วุฒิคะโร
การเตรียมพร้อมทรัพยากรมนุษย์สู่ไทยแลนด์ 4.0
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0 อุตสาหกรรม 4.0
เอกสารประกอบการบรรยาย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย อุตสาหกรรม 4
หน่วยงานที่ 2 บัณฑิตวิทยาลัย เวลา น. Process Key factor คำถาม (1) มีแนวทางและวิธีการอย่างไรในการส่งมอบผลิตภัณฑ์หลักและ/หรือ บริการหลักที่เราส่งมอบให้กับลูกค้าของเรา.
HOW TO IMPLEMENT SUPPLY CHAIN 4
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
EEC : EASTERN SPECIAL ECONOMIC CORRIDOR อีอีซี : เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก.... กรณีศึกษา : มิติการลงทุนและการจ้างงาน โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย.
Value Chain and Supply Chain ห่วงโซ่คุณค่า และห่วงโซ่อุปทาน
กรณีตัวอย่าง : ส้มโอแปลงใหญ่ประชารัฐ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
แผนแม่บทการจัดการความรู้ ปี
รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ สำนักงานเกษตรจังหวัดสตูล
ทิศทางการดำเนินงาน ของกรมการข้าว ปี 2561
ระเบียบวาระการประชุม
การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2560
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ ตัวชี้วัดปศุสัตว์อำเภอ รอบที่ 1/61
กระทรวงยุติธรรม   รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ  แนวทางการปฏิรูปประเทศ
กระทรวงยุติธรรม  แนวทางการปฏิรูปประเทศ  การปรองดองสมานฉันท์
“พัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปี พ.ศ ”
หมวด 6 การปฏิบัติการ โดย ดร.สุนทรัสส์ เพชรรักษ์คำด้วง
โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตร และสหกรณ์ระดับจังหวัด ครั้งที่ 5/2561 วันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 เวลา – น. ณ ห้องประชุมสุพรรณิการ์ ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี
รางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2560
แผนขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2561
การประชุมผู้บริหารโรงเรียน เรื่อง เกณฑ์ประเมินการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา โดยใช้กระบวนการ PLC ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑.
คำขวัญอำเภอเมืองเชียงใหม่
โครงการพัฒนาฝีมือให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้มีรายได้น้อย
มอบนโยบายการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย โดย นายอาทิตย์ วุฒิคะโร
สัมมนาเชิงปฏิบัติการเกษตรสมัยใหม่ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสุโขทัย รอบที่ ๒/๒๕๖๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
กระบวนการวางแผนพัฒนาจังหวัดและการจัดทำคำของบประมาณ
The Association of Thai Professionals in European Region
แผนการผลิตรายบุคคล Individual Farm Production Plan (IFPP)
การวางแผนพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ภายใต้ความมั่นคงและมั่งคั่ง
แผนผังความคิด.
ฝ่ายรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ส่วนรับรองด้านการปศุสัตว์
การติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
CASE STUDY : MYANMAR CHANGE OPPORTUNITY
Logistics : a Key for Thailand’s Food Hub การสัมมนา “Food Challenges Toward AEC” (Bitec Bangna) โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย.
อุทธรณ์,ฎีกา.
การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ
(Rice Analysis) จังหวัดอุทัยธานี การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องข้าว
พืชเกษตรอย่างครบวงจรในระดับพื้นที่
เรื่อง เทคโนโลยี ดนตรี หมอลำ
แผนการขับเคลื่อน Smart Agricultural Curve ปี 2561 (ระบบส่งน้ำและกระจายน้ำ) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน วันพุธที่ 6 กันยายน 2560.
ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2560 ตามนโยบายยกกระดาษ A4
บทที่ 14 ระบบสารสนเทศ กับการเปลี่ยนแปลงองค์การ
ครั้งที่ 6/2560 สรุปผลการประชุม คณะอนุกรรมการด้านบริการ
คัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2562
狗隻的訓練 聖士提反女子中學附屬小學 孫晞庭.
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
ทิศทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ข้อมูลการระดมความคิดเห็นต่อ การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท แผน ข
การทำงานพัฒนาสังคม : ทิศทางการทำงานในกระแสการเปลี่ยนแปลง
แผนพัฒนาการเกษตรตำบลคำพราน ปีงบประมาณ 2560 พื้นที่เพาะปลูกพืช เศรษฐกิจ
แปลงใหญ่ทั่วไป (ข้าว) ตำบลสองห้อง อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แปลงใหญ่ทั่วไป ข้าว ตำบลหันสัง อ.บางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การสรุปผลข้อมูล และ Action Query
คิดใหม่ ทำใหม่ ประสงค์ นรจิตร์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา
รายงานผลการจัดการความรู้ ปี ……… ระดับส่วนงาน ระดับบุคคล ชื่อ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การประชุม แนวทางการขับเคลื่อนปฏิรูปเมืองข้าวแบบครบวงจร (ESAN RICE CITY) หน่วยงานราชการและภาคเอกชน จังหวัดกาฬสินธุ์ และ อนุกรรมาธิการการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการเกษตร ในคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 8 เดือนกรกฎาคม 2559 จังหวัดกาฬสินธุ์

อนาคตข้าวไทย 1. การแข่งขันข้าวในอนาคตจะรุนแรงขึ้น ไทยส่งออกข้าวปีละ 9-10 ล้านตันขณะที่ศักยภาพลดน้อยถอยลงทั้งด้านพื้นที่ ต้นทุนการผลิต และทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะ การเข้าถึงแหล่งน้ำ ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ลดลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งใหม่ 2. อนาคตข้าวไทยเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงห่วงโซ่ข้าวทั้งระบบ ตั้งแต่การผลิตในระดับเกษตรกร การแปรรูปเพิ่มมูลค่า อุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับข้าวจะต้องนำมาบูรณาเชื่อมโยงให้เป็นโซ่แห่งคุณค่าหรือ “Value Chain” 3. การขับเคลื่อนปฏิรูปข้าวต้องมีการบูรณาการ เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ซึ่งจะต้องปฏิรูปในลักษณะองค์รวมไม่ใช่ แยกส่วนอย่างที่เป็นอยู่ในอดีตและปัจจุบันซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นส่วนๆ ทำให้ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาข้าว และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวนาไม่ค่อยสำเร็จเท่าที่ควร 4. การขับเคลื่อนจำเป็นจะต้องมีต้นแบบ (Model Plant) พื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 60.6 ล้านไร่เกี่ยวของกับจังหวัดต่างๆกว่า 70 จังหวัด การปฏิรูปข้าวจึงต้องมีจังหวัดต้นแบบโดยมีการนำร่องใน “เขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการเกษตร” โดยมี มาตรการส่งเสริมทางด้านการเงิน การคลังและการส่งเสริมด้านการลงทุน www.tanitsorat.com

แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับข้าวให้มีศักยภาพในการแข่งขัน ควรต้องมีการนำร่องเมืองข้าวครบวงจรต้นแบบ(Rice City) ซึ่งจะต้องมีการขับเคลื่อนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำรวมถึงด้านการจำหน่าย กระบวนการสนับสนุนให้มีการส่งออกเสรี (จริงๆ) การแก้ไขปัญหาการส่งออกข้าวซึ่งเป็นลักษณะการผูกขาดโดยพ่อค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ทำให้ผู้ส่งออกรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงโอกาสการเป็นผู้ส่งออกข้าวรายย่อย องค์กรเกษตรกรมีความอ่อนแอไม่อยู่ในโซ่แห่งคุณค่าข้าว (Rice Value Chain) ขาดอำนาจในการต่อรอง ขาดโอกาสของการเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าของข้าว ขาดกลไกในการกระจายเฉลี่ยผลประโยชน์ การแก้ปัญหาความยากจน หนี้สิน และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวนายังขาดความเป็นรูปธรรม การนำร่องการใช้ภาคอีสาน เพราะพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรมีความยากจนหากแก้ปัญหาที่ภาคอีสานได้ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาข้าวได้ทั้งประเทศ www.tanitsorat.com

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มีจังหวัดข้าวครบวงจรต้นแบบ โดยเลือกพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดซึ่งมีศักยภาพและความพร้อมในการขับเคลื่อนเป็นต้นแบบของประเทศ   2. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันข้าวเชิงอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร เพื่อลดต้นทุนในการผลิตให้กับ เกษตรกร อีกทั้งการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับข้าวในพื้นที่เดียวกัน จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงต้นทุนการผลิตที่ต่ำเป็น การเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกร 3. การพัฒนาแบบเฉพาะเจาะจงเชิงพื้นที่ จะทำให้เกษตรกรสามารถรวมตัวในการผลิตข้าวเกษตรแปลงใหญ่สามารถนำเทคโนโลยีการผลิต การเข้าถึงแหล่งน้ำ ศูนย์พันธุ์ข้าวคุณภาพ รวมถึงการส่งเสริมข้าวอินทรีย์และข้าวปลอดสารพิษ 4. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวครบวงจร เป็นทางเลือกในการแปรรูปข้าวปลอดภัย/ปลอดสารพิษทั้งในรูปแบบส่วนบุคคล การจัดตั้งสหกรณ์โรงสีข้าว สหกรณ์บรรจุข้าวถุง ฯลฯ ซึ่งจังหวัดใกล้เคียงสามารถใช้เป็นต้นแบบให้เกิดเป็นเมืองข้าว 5. เพื่อให้เกษตรกรสามารถรวมตัวเป็นตลาดกลางในการจำหน่ายข้าวทั้งในและต่างประเทศ โดยผลผลิตนำมารวมไว้ที่ศูนย์จัดจำหน่าย สามารถทำด้านการตลาด การสร้าง “Provincial Brand” ด้วยการทำโร้ดโชว์ในต่างประเทศ ในฐานะเป็นเมือง ข้าวของไทย 6. การขับเคลื่อนด้วยกลไก “เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษข้าวครบวงจร” เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าข้าวและอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวแห่งอนาคต ทั้งด้านอาหารสุขภาพ และอุตสาหกรรมใหม่ที่เกี่ยวกับข้าวครบวงจร www.tanitsorat.com

องค์ประกอบของการเป็นอีสาน เมืองข้าว (Esan Rice City) 1. 2. ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปข้าว ครบวงจร และธุรกิจต่อเนื่องเกี่ยวกับข้าวและอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวในลักษณะ First S-Curve Industry การขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ในรูปแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการผลิตข้าวครบวงจร โดยใช้มาตรการคลังและการเงินรวมทั้งมาตรการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้สิทธิประโยชน์เทียบเท่าของเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 8. 3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับข้าวเชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์โดยเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐ – เอกชน - วิชาการ – เกษตรกร การผลิตข้าวปลอดสารพิษเชิงอุตสาหกรรม ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้าที่เป็นข้าวอินทรีย์และข้าวปลอดภัยและตรงกับความต้องการของตลาด องค์ประกอบของการเป็นอีสาน เมืองข้าว (Esan Rice City) : กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ 7. ส่งเสริมการดำเนินงานในลักษณะสหกรณ์และรัฐวิสาหกิจชุมชน โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรมระหว่างเกษตรกร – โรงสี –อุตสาหกรรมแปรรูปและศูนย์จำหน่ายข้าว การนำเกษตรกรชาวนาเป็นศูนย์กลางเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ด้วยการส่งเสริมการรวมตัวโดยใช้แนวทางสหกรณ์และหรือรัฐวิสาหกิจชุมชน 4. 6. ส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางผลิตและจำหน่ายข้าว มีหน่วยธุรกิจในการค้าข้าวทั้งส่งออกและในประเทศโดยมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนค้าข้าวหรือสหกรณ์ร่วมทุนค้าข้าว 5. ส่งเสริมอัตลักษณ์จังหวัดด้วยการสร้าง “Provincial Brand” และสนับสนุนระบบมาตรฐานต่างๆ เช่นGAP, IFOAM และ GI โดยมีช่อง “Fast Track” ในการขอใบรับรอง www.tanitsorat.com

รายละเอียดโครงการ (Detail Design) 1. กำหนดจังหวัดเป้าหมายซึ่งมีความพร้อมที่จะเป็นต้นแบบ โดยรัฐบาลสนับสนุนให้เป็น “เขตส่งเสริมเศรษฐกิจผลิตข้าวและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร” ทั้งอุตสาหกรรมแปรรูป-อุตสาหกรรมในโซ่คุณค่า และอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวแห่งอนาคต (First S-Curve Industry)โดยใช้มาตรการทางการคลังและการเงิน และรวมทั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กำหนดให้เป็นพื้นที่ได้รับการส่งเสริมประเภท A1 2. การกำหนดพื้นที่อาจใช้ทั้งจังหวัดและหรือบางอำเภอเป็นพื้นที่นำร่องและต้นแบบ ในการปลูกข้าวเชิงอุตสาหกรรมและหรือข้าวปลอดสารพิษ โดยเน้นเพื่อให้เป็นทางเลือกของเกษตรกรในพื้นที่ โดยจะต้องมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการที่จะรับซื้อในราคาที่เป็นธรรม และมีระบบแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน 3. การขับเคลื่อนเมืองข้าวปลอดสารพิษ จะต้องขับเคลื่อนทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพทั้งข้าวอินทรีย์และข้าวปลอดสารพิษ ซึ่งจะต้องได้รับมาตรฐานทั้ง IFOAM : (International Federation of Organic Agriculture Movements ) เป็นใบรับรองจากสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ และมาตรฐาน GI (Geographical Indications) เป็นการเพิ่มมูลค่าของข้าวที่มี อัตลักษณ์เชื่อมโยงกับข้าวพื้นเมือง มีใบรับรองบ่งชี้ได้ว่าเป็นพันธ์ข้าวและผลิตที่เกิด ณ ที่ใดที่หนึ่ง มีลักษณะจำเพาะที่เป็นความ พิเศษในตัวสินค้า เกี่ยวพันธ์กับพื้นที่เฉพาะเจาะจง 4. การเปิดพื้นที่ลงทุนอุตสาหกรรมข้าวแบบครบวงจร ตั้งแต่ศูนย์พันธ์ข้าว โรงสีข้าว อุตสาหกรรมไซโลและบรรจุข้าวถุง อุตสาหกรรมต่อเนื่องเกี่ยวกับข้าว เช่น โรงงานผลิตปุ๋ยเคมี อุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร ฯลฯ โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดเทียบเท่าการลงทุนในเศรษฐกิจพิเศษชายแดน www.tanitsorat.com

รายละเอียดโครงการ Detail Design (ต่อ) 5. ศูนย์การตลาดกลางข้าวสำเร็จรูปทั้งเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออก มีการสร้างแบรนด์ในลักษณะ “Provincial Brand” (กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น) มีการทำการตลาดศูนย์กระจายสินค้า การทำโร้ดโชว์และส่งเสริมการตลาด โดยการดำเนินงานต้องเป็นรูปแบบสหกรณ์/วิสาหกิจชุมชน มีการแบ่งปันผลกำไรกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 6. การส่งเสริมให้เป็นเมืองวิจัยและพัฒนาข้าวเชื่อมโยงอุตสาหกรรมและการผลิตจริง ทั้งด้านการเพาะปลูก การแปรรูปและเทคโนโลยีซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมข้าว ในงานวิจัยจะต้องเกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวคุณภาพ ข้าวปลอดสารพิษ การแปรรูปข้าวทั้งทีเป็นอาหารเสริม วิตามิน หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อให้เป็นเมืองวิจัยข้าวของประเทศ 7. ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรชาวนาในพื้นที่ ในลักษณะของสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ชุมนุมสหกรณ์ ฯลฯ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้มีการเชื่อมโยงกับภาพอุตสาหกรรม และให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับข้าวทั้งวงจร 8. เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย เกิดอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่และสร้างการจ้างงาน และเป็นศูนย์บ่มเพาะยุวชนเกษตรกรชาวนา ในลักษณะ “New S-Curve Farmer” เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่สำหรับจังหวัดต่างๆ www.tanitsorat.com

โซ่แห่งคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับอีสานเมืองข้าวครบวงจร (Esan Rice City Value Chain) สหกรณ์-วิสาหกิจชุมชน-ชุมนุมเกษตรกร สถาบันเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับข้าว ทั้งด้านการผลิต-แปรรูป-การจำหน่าย การผลิตข้าวเจ้า-ข้าวเหนียวคุณภาพ ทั้งข้าวอินทรีย์,ข้าวปลอดสารพิษ,ข้าวพื้นเมืองจีไอ (GI) โดยเน้นอัตลักษณ์ของจังหวัด “Provincial Brand” สนับสนุนการผลิตข้าวแปลงใหญ่และโซ่แห่งคุณค่าข้าวครบวงจร (Farm To Table) ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง อุตสาหกรรมแปรรูปข้าวกึ่งสำเร็จรูป อุตสาหกรรมโรงสี,โรงบรรจุข้าวถุง, อุตสาหกรรมแปรรูปข้าวเพื่อเป็นอาหาร ทั้งในประเทศและเป็นการส่งออก รวมทั้งอุตสาหกรรมน้ำมันพืชจากรำข้าว ฯลฯ อุตสาหกรรมแปรรูปข้าวและอุตสาหกรรมใหม่ที่เกี่ยวกับการแปรรูปข้าว (Rice New Engine Industry) เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว ได้แก่ การแปรรูปข้าวเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ, ยา, เครื่องสำอาง, วิตามิน, กระดาษ, ไบโอพลาสติก และหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวัตกรรมจากข้าว อุตสาหกรรมในโซ่อุปทานข้าว (Rice Supply Chain) เช่น โรงงานปุ๋ย ศูนย์พัฒนาพันธุ์ข้าว อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกข้าว อุตสาหกรรมสนับสนุนในโซ่แห่งคุณค่าข้าว (Rice Support Industry) เช่นโรงงานประกอบรถไถนา เครื่องจักรกลการเกษตร อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ-อุปกรณ์การทำนาข้าว ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวิจัยและพัฒนาข้าว ทั้งด้านเกษตร การแปรรูป และการเพิ่มมูลค่า www.tanitsorat.com

เหตุและผลของการนำร่องจังหวัดกาฬสินธุ์ 1. ลักษณะภูมิศาสตร์จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพื้นที่ศูนย์กลางของภาคอีสาน สามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร ฯลฯ ซึ่งเป็นเขตเพาะปลูกข้าว ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถเชื่อมโยงดึงน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาวเข้ามาในพื้นที่ 2. จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพื้นที่นาแปลงใหญ่ มีเนื้อที่ 1.598 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.4ของพื้นที่ ผลผลิตข้าว เหนียวประมาณ 291,270 ตันต่อปี ผลผลิตต่อไร่ 362.57 กก.ต่อไร่ และผลผลิตข้าวเจ้า 178,673 ตัน ต่อปี ผลผลิตต่อไร่ 358.41 กก.ต่อไร่ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (334 กก.ต่อไร่) 3. เป็นแหล่งผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวปลอดสารพิษ มีเกษตรกรที่เป็น “Best Practice” ได้รับใบรับรองมาตรฐาน IFOAM และเป็นแหล่งข้าวพื้นเมือง GI หลายชนิดทั้งข้าวหอมมะลิพันธ์ 105 ข้าวกล้องหอมมะลิ ข้าวเหนียวดำ หอมมะลิ ข้าวหอมมะลิแดงและดำ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ฯลฯ 4. หลายพื้นที่ของกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ซึ่งมีข้าวพื้นเมืองและเกษตรกรได้รับมาตรฐาน GI จำนวนมาก เป็น พื้นที่ซึ่งเกษตรกรตื่นตัวในการปลูกข้าวคุณภาพและปลอดสารพิษ 5. จังหวัดกาฬสินธุ์มีความพร้อมในการขับเคลื่อนเมืองข้าว โดยภาครัฐในจังหวัดร่วมกับสถาบันเกษตรกร สภาอุตสาหกรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ หอการค้าจังหวัดกาฬสินธุ์ และภาคเอกชน พร้อมที่จะผลักดันขับเคลื่อน มี ความร่วมมือและมีเครือข่ายที่เข้มแข็งพร้อมเป็นต้นแบบ “New S-Curve Famer” ให้กับจังหวัดต่างๆ www.tanitsorat.com

อนุกรรมาธิการการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการเกษตร สปท อนุกรรมาธิการการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจด้านการเกษตร สปท. การดำเนินการขับเคลื่อนปฏิรูปเมืองข้าวแบบครบวงจร (ESAN RICE CITY) วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2559 การประชุมเพื่อรับทราบทราบสถานการณ์ข้าว ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ คณะกรรมการนโยบายข้าว (นบข.), กรมวิชาการเกษตร และสถาบันเกษตร วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2559 การประชุมเพื่อนำเสนอการศึกษา ขับเคลื่อนปฏิรูปเมืองข้าวแบบครบวงจร (ESAN RICE CITY) กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับข้าว เพื่อรับทราบถึงปัญหาข้าว,นโยบายที่เกี่ยวกับข้าวและอนาคตข้าวไทย วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2559 การประชุมเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการขับเคลื่อนปฏิรูปเมืองข้าวแบบครบวงจร (ESAN RICE CITY) กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับที่ปรึกษา รมต.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทน สอท.จังหวัดกาฬสินธุ์, ผู้แทนสภาหอการค้าไทยจังหวัดกาฬสินธุ์ วันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2559 การประชุมเพื่อรับทราบความพร้อมของจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับหน่วยงานจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ ผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัดกาฬสินธุ์, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อังคารที่ 5 กรกฎาคม 2559 การประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาดูงาน การขับเคลื่อนปฏิรูปเมืองข้าวแบบครบวงจร (ESAN RICE CITY) กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ www.tanitsorat.com

เวลา 08.30 น ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2559 การดูงานการขับเคลื่อนและความเป็นไปได้ของโครงการขับเคลื่อนปฏิรูปเมืองข้าวแบบครบวงจร (ESAN RICE CITY) กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ เวลา 08.30 น ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ การนำเสนอแนวทางเรื่อง การขับเคลื่อนโครงการ : Esan Rice City : Kalasin Model ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย เวลา 11.30 น. รับฟังสรุปข้อมูลการบริหารจัดการน้ำสำหรับการเกษตรในเขตพื้นที่ชลประทานเขื่อนลำปาว เวลา 13.30 น. ศึกษาดูงานเขตพื้นที่นำร่องการทำโครงการ Esan Rice City จุดที่ 1 พื้นที่ต้นแบบปลูกข้าว เหนียว กข 6 และข้าวจ้าวมะลิ 105 ณ บ้านเลิงทุ่มหมู่ 7 ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จุดที่ 2 พื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ณ โคกดอนหัน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เวลา 14.00 น. ศึกษาดูงานบริษัท อีสเทิร์นไรซ์มิลล์ จำกัด จังหวัดกาฬสินธุ์ 8) ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 ขอนแก่น 9) ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนจังหวัดขอนแก่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร (ธ.ก.ส.) 10) ผู้แทนสมาคมธนาคารไทยจังหวัดกาฬสินธุ์ 11) ประธานสภาเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ 12) ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์ 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) อธิบดีกรมการข้าว 3) เกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ 4) พาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ 5) อุตสาหกรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ 6) ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ 7) ประธานหอการค้าจังหวัดกาฬสินธุ์ www.tanitsorat.com

ประเด็นที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้น การขับเคลื่อนปฏิรูปเมืองข้าวแบบครบวงจร : กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ (1) แนวทางและรูปแบบการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมจะมีแนวทางและ Road Map อย่างไร นโยบายของรัฐบาลสนับสนุนหรือไม่ และการขับเคลื่อนหน่วยงานรัฐใดจะเป็นเจ้าภาพหลัก งบประมาณ และบุคลากรจะได้มาจากไหน ความชัดเจนของโครงการ “Esan Rice City” มีความเหมือนหรือต่างกับโครงการพัฒนา นาข้าวแปลงใหญ่ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังจะพัฒนาอย่างไร การเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าข้าว เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐหลายกระทรวง, เกี่ยวข้องกับภาคเอกชน, สถาบันเกษตร และภาคธุรกิจจะมีการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมการเกษตรได้อย่างไร เกษตรกรรายย่อยจะได้รับโอกาสและประโยชน์อย่างไร เช่น การเฉลี่ยผลประโยชน์ การลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนจะทำได้อย่างไร โครงการจะมีการเชื่อมโยงอย่างไรกับมาตรการของรัฐ เช่น โครงการ “Start up SME , โครงการ Doing Business ซึ่งรัฐมีนโยบายส่งเสริมผลผลิตการเกษตรมาแปรรูป-เพิ่มมูลค่า www.tanitsorat.com

ประเด็นที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้น การขับเคลื่อนปฏิรูปเมืองข้าวแบบครบวงจร : กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ (2) ทางการขับเคลื่อนปฏิรูปเมืองข้าวแบบครบวงจร กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเด็นที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้น กลไกขับเคลื่อนด้วย “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” มีความสำคัญอย่างไรกับโครงการ ทำไมจึงต้องนำมาเกี่ยวข้องกัน มีข้อพิเศษอย่างไร จะยกระดับอะไร กิจกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษข้าวครบวงจรมีอะไรบ้าง และสามารถตอบโจทย์ข้าวของประเทศได้อย่างไร นวัตกรรม-เทคโนโลยีใหม่ และมูลค่าเพิ่มของโครงการอยู่ตรงไหน อะไรเป็นข้อบ่งชี้ว่าเป็นอุตสาหกรรม First S-Curve และ New Engine Industry ที่รัฐบาลและ BOI สนับสนุน มาตรการของรัฐบาลจะสนับสนุนอะไร เพื่อให้โครงการขับเคลื่อนเป็นต้นแบบ ทั้งมาตรการคลัง การเงิน โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการจัดทำแผนของจังหวัดให้เกิดความต่อเนื่อง จังหวัดกาฬสินธุ์มีความพร้อมเพียงใด มีจังหวัดอื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่ ทางจังหวัด-ภาคเอกชน-สถาบันเกษตรในจังหวัดสนับสนุนหรือไม่ พื้นที่มีไหม และจะมีการลงทุนอย่างไร อะไรคือการจูงใจ การปิดกั้นจังหวัดอื่น โครงการข้าวครบวงจร “Esan Rice City” โดยใช้จังหวัดกาฬสินธุ์นำร่องจะเป็นการปิดกั้นจังหวัดอื่นหรือไม่ และการเชื่อมโยงกับจังหวัดต่างๆในภาคอีสานเพื่อให้ได้รับประโยชน์จะมีวิธีอย่างไร www.tanitsorat.com

END สามารถติดตามรายงานฉบับนี้และบทความอื่นๆ ได้ที่ www.tanitsorat และ Facebook/Tanit.Sorat รวมทั้งบทสัมภาษณ์ต่างๆ ได้ที่ Youtube.com โดยใช้คีย์เวิร์ด ดร.ธนิต โสรัตน์ END