งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Logistics : a Key for Thailand’s Food Hub การสัมมนา “Food Challenges Toward AEC” (Bitec Bangna) โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Logistics : a Key for Thailand’s Food Hub การสัมมนา “Food Challenges Toward AEC” (Bitec Bangna) โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Logistics : a Key for Thailand’s Food Hub การสัมมนา “Food Challenges Toward AEC” (Bitec Bangna)
โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย และประธานบริษัทในเครือ V-SERVE GROUP วันที่ 17 มิถุนายน 2558

2 AEC ศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารของไทย
มูลค่าอุตสาหกรรมอาหารไทย ปี 2557 ประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท เป็นการส่งออกมูลค่า 970,00 ล้านบาท (ขยายตัวร้อยละ 6.2%) นำเข้าประมาณ 400,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการบริโภคภายในประเทศ การเปิด AEC เป็นโอกาสของอุตสาหกรรมอาหารของไทย เพราะ80% ของวัตถุดิบที่ผลิตอาหารใช้วัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศ มีอุตสาหกรรมสนับสนุนครบวงจรเป็น Food Cluster ต้นน้ำ-ปลายน้ำ มี Value Chain ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ ภาคเกษตรของไทยเข้มแข็งและมีอุตสาหกรรมอาหารไทยมีคุณภาพ รวมทั้งมีระบบโลจิสติกส์สนับสนุนในระดับสากล เปิด AEC ไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อม ไม่ใช่แค่ระดับ AEC แต่ยังเป็นแหล่งผลิตอาหารลำดับที่ 6 ของโลก มีโครงสร้างพื้นฐานในระดับแข่งขันได้ดีและได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางในภูมิภาค

3 Market Size Appropriate ตลาดภายในของไทยมีขนาดเหมาะสมต่อการเป็นอุตสาหกรรมอาหารของภูมิภาค
ขนาดตลาดภายในของไทยอยู่ลำดับ 3 ของอาเซียน มีกำลังแรงงาน ล้านคน การว่างงานน้อยกว่า 1.0% กำลังซื้ออยู่ในระดับปานกลาง สิงคโปร์ บรูไนและมาเลเซีย ถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อแต่ขนาดตลาดเล็กทำให้มีมูลค่าต่ำกว่าไทย อัตราการขยายตัวของบริโภคไม่สูงนัก สินค้าที่จะเติบโตในตลาดเหล่านี้ต้องเป็นสินค้าใหม่ เวียดนาม อินโดนีเซีย มีตลาดขนาดใหญ่เทียบเท่ากับไทย แต่กำลังซื้อต่ำกว่าและคุณภาพด้อยกว่าไทย แต่ในอนาคตจะเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ลาวและกัมพูชาประชากรน้อยและกำลังซื้อต่ำ ขาดอุตสาหกรรมสนับสนุน มีปัญหาด้านคุณภาพและด้านโครงสร้างพื้นฐาน เมียนมาร์ มีประชากรใกล้เคียงกับไทยแต่กำลังซื้อต่ำมาก ภาคเกษตรอยู่ในระดับเลี้ยงตนเอง ไม่มีอุตสาหกรรมรองรับและโครงสร้างพื้นฐานต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

4 Skill Labour & Supporting Industries ไทยมีแรงงานคุณภาพและ
อุตสาหกรรมสนับสนุนครบวงจร ทักษะฝีมือแรงงานไทยมีคุณภาพกว่าประเทศในอาเซียน แต่มีการขาดแคลนแรงงานในระดับสูงและค่าจ้างสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ไทยมีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่ดีกว่าทุกประเทศใน ASEAN โดยอุตสาหกรรมอาหารของไทยค่อนข้างมีความหลากหลาย ไทยเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารของอาเซียน เนื่องจากความเข้มแข็งในด้านปัจจัยการผลิต อาทิ วัตถุดิบมีคุณภาพและมีความหลากหลาย ประเทศ CLMV ขาดอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เพียงพอ ขาดความต่อเนื่องของสายโซ่อุปทาน ต้องนำเข้าปัจจัยการผลิตอื่นๆ จากต่างประเทศเช่น วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์

5 High Quality & Standardize สินค้าไทยมีคุณภาพและมาตรฐานสูง แข่งขันได้ในระดับนานาชาติ
ความเชื่อมั่นด้านคุณภาพของสินค้าอาหารไทยในสายตาผู้บริโภคอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับประเทศ CLMV เพราะสินค้าส่วนหนึ่งผลิตเพื่อการส่งออก ผู้ผลิตจาเป็นต้องยกระดับการผลิตเข้าสู่มาตรฐานระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมส่วนหนึ่งของไทยเป็นการลงทุนจากต่างประเทศจึงได้รับการถ่ายทอด เทคโนโลยีการผลิตให้มีมาตรฐาน แต่สินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่ยังผลิตตามคาสั่งซื้อ (OEM) อุตสาหกรรมฮาลาลเป็นจุดอ่อนของไทย เมื่อเทียบกับอินโดนีเซียและมาเลเซียซึ่งประชากรอาเซียนเกินกว่าครึ่งเป็นมุสลิม

6 สินค้าส่งออกไทยไปอาเซียน ปี 2557 10 อันดับ
ลำดับ รายการ มูลค่า (ล้านบาท) อัตราขยายตัว สัดส่วน 1 น้ำตาลทราย 39,279.0 -5.44 2.06 2 เครื่องดื่ม 37,197.2 21.22 1.95 3 ข้าว 21,892.4 114.77 1.15 4 ผลิตข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 14,017.9 7.54 0.73 5 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 13,316.6 14.48 0.70 6 ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 12,767.4 63.77 0.67 7 ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 7,664.70 -18.02 0.40 8 ข้าวโพด 6,248.2 14.31 0.33 9 สิ่งปรุงรสอาหาร 5,900.4 11.37 0.31 10 นมและผลิตภัณฑ์นม 5,288.4 1.42 0.28 รวม 10 อันดับ 163,590.2 รวมทั้งหมด 198,195.1

7 FARMs TO TABLEs LOGISTICs AEC : Logistics Food HUB
FARMs CONNECT CONSUMERs โลจิสติกส์ในฟาร์มต้องเชื่อมโยงกับผู้บริโภค อาหารส่วนใหญ่มาจากภาคเกษตรกรรม-ปศุสัตว์-ประมง ต้องผ่านการขนส่งทางไกลสู่อุตสาหกรรมแปรรูป-ค้าส่ง-ค้าปลีก-ร้านค้าใกล้บ้าน-จนถึงผู้บริโภค ทั้งหมดต้องอาศัยระบบโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ JIT in Perishable Food การส่งมอบตรงเวลาสำหรับลูกค้าอาหารเน่าเสียง่าย เกี่ยวข้องกับประเภทของบรรจุภัณฑ์ คลังสินค้าและประเภทพาหนะขนส่งทั้งทางใกล้และไกล ซึ่งมีผลต่อคุณภาพหรือความเสียหายของตัวสินค้า การขนส่งวัตถุดิบทางไกล (Land Distance Logistics) จะต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการในการส่งมอบ ยิ่งการขนส่งระยะทางห่างไกลเท่าไหร่ก็จะมีผลต่อคุณภาพของวัตถุดิบ-สินค้า

8 Quality Preserve for Logistics Across Border Key Success for Food HUB
Mode of Transport Choice การเลือกประเภทการขนส่งที่เหมาะสมกับสินค้าและภูมิศาสตร์ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขข้อตกลง เช่น ขนส่งทาง Air-Sea-Train-Road และลักษณะของพาหนะ เช่น Refrigerator-Chill Storage Packaging Design การออกแบบแพคเกจจิ้งสำหรับสินค้าประเภทอาหาร ทั้งฉลาก กล่อง ภาชนะหรือตู้คอนเทนเนอร์ประเภท (Refrigerator) ต้องออกแบบทั้งเพื่อภาพลักษณ์ของสินค้า (Image) และเพื่อการถนอมคุณภาพรวมทั้งออกแบบมา เพื่อไม่ให้สินค้าเสียหายในระหว่างการส่งมอบ Cross Border Transport โลจิสติกส์ขนส่งข้ามแดนทางถนน การค้าในภูมิภาคจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งทางถนน จำเป็นต้องเข้าใจกฎ-ระเบียบ-โครงสร้างพื้นฐาน-ผู้ให้บริการ เพราะมีผลต่อการส่งมอบ 5 R.Derivery

9 AEC Food Logistics Silk Road เส้นทางขนส่งถนนหลักสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (1)
แนวโน้มการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านจะมีปริมาณและมูลค่า 1 ใน 5 ของการส่งออก โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายการลงทุนจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ “Cross Border Logistics” จะมีบทบาทสูงขึ้น East-West Economic Corridor Route เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เส้นทางขนส่งทางถนนข้ามแดนฝั่งตะวันออกประเทศ สปป.ลาวผ่านสะพานข้ามแม่น้ำโขง 3 แห่ง (หนองคาย/นครพนม/มุกดาหาร) และในอนาคตสะพานข้ามแม่น้ำโขง จ.บึงกาฬ เชื่อมโยงประเทศลาว-เวียดนาม เส้นทางขนส่งทางถนนข้ามแดนฝั่งตะวันตกเชื่อมโยงประเทศเมียนมาร์ (แม่สอด-ย่างกุ้ง)

10 AEC Food Logistics Silk Road เส้นทางขนส่งถนนหลักสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (2)
North-South Economic Corridor Route เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้เชื่อมโยงเส้นทางขนส่งข้ามแดน เส้นเหนือเชื่อมประเทศจีน (R3) และเส้นทางใต้เชื่อมโยงมาเลเซีย, ปีนัง, สิงคโปร์ South Economic Corridor Route เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจใต้เชื่อมโยงท่าเรือทวาย-บ้านพุน้ำร้อน และเส้นทางอรัญประเทศ-พนมเปญ (R6)

11 Impact of AEC to Thai’s Logistics Provider (1) AEC การเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทใหม่ทางธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ Changing Content in LSP ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของไทยต้องเร่งเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ของบริบท AEC Scope of Service การให้บริการทางไกล เกี่ยวข้องกับขีดความสามารถทั้งด้านศักยภาพของการให้บริการ D2D Network Facilitate การสร้างเครือข่ายทั้งในระดับภูมิภาคและประเทศเป้าหมาย ต้องมีการพัฒนาเครือข่ายเชื่อมต่อในเรื่องของขนส่ง เพื่อสามารถรับช่วงการให้บริการในการขนส่งและกระจายสินค้าในรูปแบบที่เรียกว่า “Door to Door”

12 Impact of AEC to Thai’s Logistics Provider (2) AEC การเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทใหม่ทางธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ Logistics Food Cluster การเป็นคลัสเตอร์ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ในระดับที่เป็นโซ่อุปทาน ทั้งแต่ละคลัสเตอร์อุตสาหกรรมและครอบคลุมไปถึง Value Chain Integrated Logistics Service ดำเนินธุรกิจให้บริการครบวงจร World Class Services การให้บริการในระดับสากลและความเป็นมืออาชีพ ขาดทั้งการจัดการด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม เงินทุน

13 การพัฒนาขีดความสามารถแข่งขันโลจิสติกส์ ในอุตสาหกรรมอาหารของไทย
การสนับสนุนโซ่อุปทานโลจิสติกส์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของคลัสเตอร์อาหาร โลจิสติกส์สินค้าเกษตรขาดการพัฒนา ซึ่งโลจิสติกส์ของไทยเน้นด้านอุตสาหกรรมและค้าส่ง-ปลีก แต่ในภาคเกษตรยังขาดการพัฒนาอย่างจริงจัง ส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตและต้นทุน ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ SMEsยังขาดประสิทธิภาพการให้บริการ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดห่างไกลและต่อสินค้าเกษตร GMP Logistics มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการขนส่งสินค้าอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีระบบตรวจสอบและการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ทราบถึงสถานะการขนส่ง การรักษาอุณหภูมิ และความสะอาดของพาหนะการขนส่ง Logistics Halal อาเซียนเกือบ 2 ใน 3 เป็นมุสลิม เกี่ยวข้องกับการขนส่ง การเก็บรักษา บรรจุภัณฑ์ การส่งมอบให้เป็นไปตามเงื่อนไขของวิถีมุสลิม

14 “Challenges Toward For Food AEC Logistics HUB” (1)
Quality – Safety – Healthy ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจด้านสุขภาพและการปนเปื้อน เรื่องความสะอาดปลอดภัย ความเชื่อทางศาสนา-ด้านสิ่งแวดล้อมและมาตรการ NTMs ต่างๆ More Complicated โลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหารมีความซับซ้อนมากกว่าสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ เกี่ยวข้องกับการบริโภคของคน รวมทั้งโซ่อุปทานทั้งภาคเกษตร-ประมง-อุตสาหกรรมค้าส่ง-ค้าปลีก-ผู้ให้บริการ-ผู้บริโภค JIT & Quality การส่งมอบที่ตรงเวลา ในอุตสาหกรรมอาหาร มีความรับผิดชอบต่อคุณภาพ-ผลิตผล (YIELD) และราคา Traceability & NTMs มาตรการสืบค้นข้อมูลย้อนกลับ ทั้งด้านแหล่งเพาะปลูก-การผลิต-โลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน เกี่ยวข้องกับมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีและด้านค้ามนุษย์และสิ่งแวดล้อม

15 “Challenges Toward For Food AEC Logistics HUB” (2)
Corporate in Supply Chain การร่วมมือกับลูกค้าและผู้ให้บริการในโซ่อุปทาน เพื่อให้การจัดส่งสินค้า เพื่อสามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุด Food Cluster Efficient ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและพัฒนาประสิทธิภาพของโซ่อุปทานทั้งระบบ โดยเฉพาะการปรับตัวของผู้ประกอบการ SME เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน Logistics Service Competitiveness การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยเฉพาะเอสเอ็มอี Infrastructure & Trade Facilitation โครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน และการอำนวยความสะดวกในการค้า ทั้งด้านกฎ-ระเบียบที่เกี่ยวกับ CIQ และขนส่งข้ามแดน รวมทั้งด้านอำนวยความสะดวกทางการค้า ด้านสิ่งแวดล้อม-ด้านความสอดคล้องกฎระเบียบ-NTMs ของประเทศในอาเซียน

16 FARMs TO TABLEs VALUE CHAIN KEY ACHIEVEMENT
--END--


ดาวน์โหลด ppt Logistics : a Key for Thailand’s Food Hub การสัมมนา “Food Challenges Toward AEC” (Bitec Bangna) โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google