รายวิชา สุนทรียภาพกับชีวิต Aesthetic Appreciation

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

ข้อสรุปหลักสูตรการอบรมการผลิต รายการเด็ก TV4Kids.
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
(กล้องจับที่วิทยากร)
บทที่ 3 ประเภทของบทและรูปแบบของรายการวิทยุโทรทัศน์
กระบวนการของการอธิบาย
คนเป็นทรัพย์สินที่มี ค่ายิ่งของหน่วย อ้างอิง : สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย คน เก่ง คน ดี คน มี ความ สุข เป้าหมายการ พัฒนากำลังพล เพื่อให้ทำงานอย่าง.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1. ด้าน หลักสูตร. จุดเน้นกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ คุณภาพผู้เรียน “ คุณภาพผู้เรียน ที่ระบุในจุดเน้นมีอยู่ แล้วในหลักสูตร.
เก่ง. ความรู้และทักษะ คุณลักษณะที่เน้น ความรู้ ทักษะเชิง วิชาชีพ และศาสตร์ที่ เกี่ยวข้อง.
ของฝากสุรินทร์ : เม็ดบัวอบกรอบมาย, ผ้าไหม , ผักกาด ( Best 3 Souvenirs of Surin)
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
ALLPPT.com _ Free PowerPoint Templates, Diagrams and Charts.
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovation
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
สมัยกลาง (EARLY MEDIVAL)
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
Scene Design and Lighting Week1-3
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง. หลักการแต่ง คำประพันธ์ประเภท โคลง.
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
งานสังคมครั้งที่ 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เริ่มทำแบบทดสอบ แบบทดสอบก่อนเรียน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
พื้นฐานการวิจัยและสร้างสรรค์ทางศิลปกรรมศาสตร์
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
หมวดศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้สอน : อ.สำราญ ผลดี
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
โดย ครูสมจินตนา เทียมวิไล
การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
พื้นฐานการออกแบบ กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้การสื่อความหมาย ด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายของข้อมูลได้ถูกต้องตรง.
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
ความหมายของเรียงความ
สร้างภูมิคุ้มกัน (แสงหิ่งห้อย)
เงื่อนไขความเข้าใจความหมาย
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
รายวิชา การบริหารการศึกษา
Legal Culture วัฒนธรรมทางกฎหมาย
ทดสอบหลังเรียนพระพุทธหน่วย8
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
บทที่ ๑ การพูดและการนำสนอเพื่องานนิเทศศาสตร์
การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
การออกแบบและนำเสนอบทเรียน
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ
ศาสนาเชน Jainism.
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
งานสังคมครั้งที 1 เรื่อง การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน โดย น.ส.อธิชา ฤทธิ์เจริญ ม.4 MEP-A เลขที่ 21.
Singapore ประเทศสิงคโปร์.
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
การพัฒนาทักษะภาษาไทย ป.๑ – ป.๖
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

รายวิชา สุนทรียภาพกับชีวิต Aesthetic Appreciation GEH1101 3(3-0-3)

บทที่ 2 สุนทรียภาพด้านวรรณกรรม ความนำ คำว่า “สุนทรียภาพ” มีความหมายตามภาษาของคนทั่วไปว่า “ความงาม” แต่เมื่อผูกโยงสุนทรียภาพเข้ากับคำว่า “ศิลปะ” ความหมายนั้นแปรไปจากภาษาปรกติของคนทั่วไป กล่าวคือมีนัยยะว่ามุ่งให้ความสนใจในทางการรู้สึกสัมผัสรับรู้ได้ต่อความงามของศิลปะหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เมื่อความหมายดังกล่าวอยู่ในบริบทของศิลปะประเภทอื่นและศิลปะร่วมสมัยพบว่า สุนทรียภาพได้ก้าวข้ามคุณค่าด้านความงามไปสู่คุณค่าด้านอื่นหลายรูปแบบ ดังกรณีเมื่อสุนทรียภาพเข้าอยู่ในบริบทของงานวรรณกรรม ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงสุนทรียภาพจึงต้องศึกษาความหมาย แนวคิด ความรู้ทั่วไปด้านความสัมพันธ์ระหว่างสุนทรียภาพกับวรรณกรรม เพื่อเป็นพื้นฐานการอธิบายประสบการณ์สุนทรียภาพ เมื่อได้สัมผัสรับรู้ผลงานศิลปะประเภทวรรณกรรม

ตอนที่ 2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรม เรื่องที่ 2.1.1 ความหมายของคำว่า “วรรณกรรม” คำว่า “วรรณกรรม” และคำว่า “วรรณคดี” เป็นคำที่มีอยู่ในภาษาไทย คำว่า “วรรณกรรม” และ “วรรณคดี” มีความหมายต่างกัน วรรณคดี คือวรรณกรรมที่ได้รับยกย่อง หมายความว่ามีคณะบุคคลทำหน้าที่ยกย่องวรรณกรรมเรื่องนั้น ๆ ว่าแต่งดี มีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ ทั้งนี้ โดยมิได้กล่าวถึงสุนทรียภาพหรือการรู้สึกสัมผัสรับรู้ได้ ของแต่ละบุคคลต่อความงามด้านศิลปะของวรรณกรรม

วรรณคดีสโมสร สังคมไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะบุคคลทำหน้าที่พิจารณาหนังสือเพื่อให้เป็นวรรณคดีที่แต่งดี ได้แก่คณะบุคคลที่เป็นกรรมการในวรรณคดีสโมสร อันเป็นสโมสรที่ตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พระพุทธศักราช 2457 ดังนั้น กล่าวได้ว่าเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 สังคมไทยไม่มีคำว่า “วรรณกรรม” แต่มีคำว่า “หนังสือ”

วรรณคดีสโมสร กับ วรรณคดีที่แต่งดี หนังสือเล่มใดหรือเรื่องใดจะได้รับการยกย่อง ว่าเป็นวรรณคดีที่มีคุณสมบัติตรงตามหรือเข้าอยู่ในข่ายแห่งความในพระราชกฤษฎีกาอันควรได้รับประโยชน์นั้น ต้องผ่านการพิจารณาจากวรรณคดีสโมสรเท่านั้น โดยนัยยะดังกล่าว หมายความว่าหนังสือหรือวรรณคดีที่มีคุณวิเศษบริบูรณ์ ได้มาโดยการกำหนดจากอำนาจของรัฐ ดังนั้น สามารถเข้าใจได้ว่าเวลานั้นสุนทรียภาพก็พึงเกิดขึ้น โดยการกำหนดจากอำนาจรัฐ พลเมืองแห่งรัฐจะเกิดสุนทรียภาพเองมิได้

สุนทรียภาพจากอำนาจรัฐ เหตุนั้น สุนทรียภาพดังกล่าวนั้น จึงมิใช่สุนทรียภาพที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับศิลปะวรรณกรรม ดังที่โลกศิลปะวรรณกรรมเข้าใจตามความหมายของคำภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ คำว่าวรรณคดีในภาษาไทยเป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2457 เพียงเพื่อปรับความหมายให้เข้ากับคำว่า “literature” ในภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตรงที่มิได้มีความหมายเกี่ยวข้องกับสุนทรียภาพในศิลปะวรรณกรรม

Literature เป็นคำนาม มีความหมายหลายความหมาย หนึ่ง การเขียนที่มีลักษณะจำเพาะตามประเภทการเขียน ที่ผูกโยงอยู่กับแนวคิดหลากหลาย เช่น กวีนิพนธ์ นวนิยาย ประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ และความเรียง สอง งานเขียนโดยรวมตามยุคสมัย ภาษาเฉพาะแต่ละภาษา หรือชนชาติ เช่น the literature of England สาม งานเขียนที่จำเพาะศาสตร์ เช่น the literature of ornithology, the literature of medicine สี่ อาชีพนักเขียน ห้า ผลงานเขียนด้านวรรณกรรม (literary work or production) หก สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น แผ่นพับโฆษณา (literature describing company products) เจ็ด โบราณหมายถึง ความรู้อันประณีต (polite learning) วัฒนธรรมทางวรรณกรรม (literary culture) ความซาบซึ้งจับใจด้านตัวอักษรและหนังสือ แปด งานเขียนที่เขียนดีอย่างมีวรรณศิลป์ (belles-lettres)

วรรณกรรม – วรรณคดี – Literature โดยสาระสำคัญของคำดังกล่าว หมายถึงข้อเขียนที่เขียนหรือแต่งขึ้นเป็นหนังสือ แต่งดีหรือไม่ดี เนื้อหาดีหรือไม่ดี เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องใดก็ตาม หนังสือของชาติใดก็ตาม หนังสือภาษาใดก็ตาม หนังสือยุคใดสมัยใดก็ตาม ล้วนนับว่าเป็นวรรณกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น

วรรณกรรม – วรรณคดี – Literature เมื่อวรรณกรรมประสงค์คำรับรอง ว่าเขียนดีอย่างมีวรรณศิลป์ จึงมอบให้คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นทำหน้าที่พิจารณาตัดสิน และประกาศผลการตัดสินแก่สาธารณชนทราบ ดังกรณี เช่น รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม - The Noble prize in literature, รางวัลพูลิตเซอร์ - The Pulitzer prize for fiction, รางวัลซีไรท์ - The S.E.A. Write Award, or Southeast Asian Writers Award

เรื่องที่ 2.1.2 วรรณกรรมในฐานะเป็นศิลปะ คำนิยามของวรรณกรรมที่คนทั่วไปเข้าใจ คือผลงานเขียนที่มีลักษณะเชิงศิลปะ ให้คุณค่าทางปัญญา จรรโลงใจหรือค้ำชูจิตใจให้เบิกบาน โดยจำกัดรูปแบบตามลักษณะการเขียนเป็นกวีนิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร และจำแนกตามแนวทางเนื้อหา (genre) ที่กระทบอารมณ์เป็นประเภทพาฝัน สยองขวัญ ผจญภัย ชวนขัน วรรณกรรมยังถูกจัดเป็นงานเขียนประเภทบันเทิงคดี (fiction) เพราะเขียนขึ้นมาจากจินตนาการและให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน ส่วนงานเขียนที่ไม่ก่อเกิดความบันเทิงตามความหมายดังกล่าว ถูกจัดเป็นสารคดี (non-fiction) เพราะเขียนหรือเรียบเรียงขึ้น เพื่อให้สาระหรือข้อมูลความรู้แก่ผู้อ่านเป็นสำคัญ

คำนิยามของวรรณกรรม วรรณกรรมคืออะไร คำนิยามของวรรณกรรมมีลักษณะที่ไม่ชัดเจนเด่นชัด หากต้องระบุว่าวรรณกรรมจำเป็นต้องตีพิมพ์เป็นหนังสือ เนื่องจากหาข้อยุติมิได้โดยฉันทานุมัติของโลกทางศิลปะวรรณกรรม

คำนิยามของวรรณกรรม ไซมอน ไรอัน และ ดิลีส ไรอัน (Simon Ryan and Delyse Ryan) นักวรรณกรรมศึกษา ชาวออสเตรเลียน อธิบายเชิงอุปมาอุปไมยเกี่ยวกับคำนิยามของวรรณกรรม ดังนี้ การค้นหาคำนิยามของ “วรรณกรรม” คือถนนสายหนึ่งที่ถูกย่ำผ่านไปนับครั้งไม่ถ้วน แม้ว่าจุดหมายปลายทางที่ไปถึงมิได้เป็นที่พึงพอใจนัก คำนิยามส่วนใหญ่ที่กลั่นออกมานั้นกลับกว้างเกินไป คลุมเครือและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาอย่างเลี่ยงไม่พ้น ความจริงแล้วมีเพียงสิ่งเดียวที่แน่นอนที่สุดเกี่ยวกับการนิยามวรรณกรรม คือคำนิยามจะต้องเปลี่ยนแปลง กรอบคิดของคำถามว่าวรรณกรรมคืออะไรจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน

เรื่องที่ 2.1.3 กวีนิพนธ์ กวีนิพนธ์คืออะไร กวีนิพนธ์ (poetry, poem, poesy) เป็นวรรณกรรมที่นับเป็นงานศิลปะ เพราะสามารถสร้างความจับใจต่อผู้อ่านผ่านภาษา ก่อให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน งามหมดจดในจินตภาพ แช่มชื่นในอารมณ์ หรือกระด้าง หยาบคาย สะอิดสะเอียน กักขฬะ ต่ำช้า เช่นนั้นแล้ว จึงเกิดคำถามว่า กวีนิพนธ์ (poetry) คืออะไร

กวีนิพนธ์คืออะไร กวีนิพนธ์คืออะไร คำตอบที่น่าจะมีความชัดเจนอยู่บ้างปรากฏดังคำนิยามของแซมูเอิล เทย์เลอร์ โคเลอะริดจ์ (Samuel Taylor Coleridge 1722-1834) กวีชาวอังกฤษ ผู้นิยามกวีนิพนธ์ว่า “กวีนิพนธ์คือถ้อยคำที่ดีที่สุดในตำแหน่งที่เรียงไว้อย่างดีที่สุด” “Poetry is the best words in their best order.”

องค์ประกอบของกวีนิพนธ์ เมื่อบทกวีนิพนธ์เป็นเช่นคำนิยามของโคเลอะริดจ์ การอ่านบทกวีนิพนธ์จึงเป็นการหาความหมายของถ้อยคำ เพื่อก่อเกิดสุนทรียภาพในอารมณ์สัมผัสรับรู้ของผู้อ่าน ความหมายของถ้อยคำบทกวีนิพนธ์ปรากฏในองค์ประกอบหลายประเภท ได้แก่ ภาพพจน์ (figures of speech) เสียง (sound features) กระบวนจินตภาพ (imagery) สัญลักษณ์ (symbols) ความเปรียบประชดประชันพลิกผัน (irony) เอกภาพ (unity) จินตนาการ ความย้อนแย้ง ความกำกวมหลายนัย (imagination, paradox, ambiguity) และ แก่นเรื่อง (theme)

ตัวอย่าง องค์ประกอบของกวีนิพนธ์ประเภท แก่นเรื่อง

แสงดาวแห่งศรัทธา พร่างพรายแสงดวงดาวน้อยสกาว ส่องฟากฟ้าเด่นพราวไกลแสนไกล ดั่งโคมทองส่องเรืองรุ้งในหทัย เหมือนธงชัยส่องนำจากห้วงทุกข์ทน พายุฟ้าครืนข่มคุกคาม เดือนลับยามแผ่นดินมืดมน ดาวศรัทธายังส่องแสงเบื้องบน ปลุกหัวใจปลุกคนอยู่มิวาย ขอเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย แม้นผืนฟ้ามืดดับเดือนลับละลาย ดาวยังพรายศรัทธาเย้ยฟ้าดิน ดาวยังพรายอยู่จนฟ้ารุ่งราง (แสงดาวแห่งศรัทธา, จิตร ภูมิศักดิ์)

แสงดาวแห่งศรัทธา บทเพลงชื่อ “แสงดาวแห่งศรัทธา” แต่งโดยจิตร ภูมิศักดิ์ มีลักษณะเป็นกวีนิพนธ์ประเภทกลอนสุภาพ เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ “อุปสรรคของชีวิต” มีความหมายว่า “ชีวิตคนแม้เผชิญอุปสรรคขวากหนามมากเพียงใด ไม่ควรสิ้นศรัทธาในชีวิตและความหวัง” ความหมายดังกล่าวคือความคิดหลักที่เรียกว่า แก่นเรื่อง

แสงดาวแห่งศรัทธา บทเพลงนี้ใช้องค์ประกอบอะไร : ภาษาภาพ (figurative language) ประเภทภาพพจน์ (figure of speech) ลักษณะเป็นอุปมา (simile) กวีเปรียบศรัทธาและความหวังเหมือนแสงดาว แม้ว่าดวงดาวทอแสงริบหรี่อยู่ฟากฟ้าแสนไกล แต่ดาวยังมีแสงให้มองเห็นเมื่อมืดมิดยามค่ำคืน หัวใจคนไม่ควรสิ้นแสงแห่งความหวัง คนควรดำรงความหวังจนกว่าจะสมหวัง เมื่อแสงแห่งอรุณรุ่งมาเยือน ความมืดหม่นจะปลาสนาการไป

กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ กลอนเปล่า (blank verse or free verse) และ แคนโต้ กวีต้องการมุ่งเน้นความสำคัญของคุณลักษณะ (qualitative) ใดคุณลักษณะหนึ่งของภาษาในบทกวี ได้แก่ เสียง ภาพ เสียงและภาพ เมื่อกวีเน้นเสียงและจังหวะของคำ กวีมีเจตนาเพียงเพื่อสร้างจังหวะของคำสำหรับโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่าน โดยมิได้ยึดหลักการของเสียงอย่างรัดกุมเคร่งครัดเหมือนกวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์ มุ่งให้ความสำคัญกับความหมายของเนื้อหา และปลดปล่อยบทกวีให้ผ่อนคลายลื่นไหล พรั่งพรูความคิดความรู้สึกออกมาผ่านคำและถ้อยคำ ก่อเกิดความแปลกใหม่แก่ความเป็นวรรณกรรม

เน้นเสียงและจังหวะของคำ ที่สุดเราก็จากกัน : ความทรงจำจำนวนหนึ่ง อุ้มลูกเดือนเศษไว้ในอ้อมอก เธอบอกลาพี่ชายว่าจะไปสู่อีกรากเหง้าที่ไม่รู้จัก เธอกำลังกลายเป็นอื่น, น้องสาว เธออยากฟังเสียงสะอื้นของพี่ชาย, สะอื้นร่วมกับพี่ชาย โลกหมุนเร็วเกินไป น้องสาว การเรียนรู้ย่างก้าวไม่ทันความปรารถนา, เปราะบางเหลือเกิน ในร่างของเธอจึ่งซ่อนความลับ รอยยิ้มของสาวน้อย, รู้ไหม- ใบหน้าความเป็นแม่กำลังเบิกบาน (ที่สุดเราก็จากกัน: ความทรงจำจำนวนหนึ่ง,พิทักษ์ ใจบุญ)

กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ กลอนเปล่า (blank verse or free verse) และ แคนโต้ เมื่อกวีเน้นภาพผ่านคำ นอกจากการสื่อความหมายตามเนื้อหาแล้ว กวียังเจตนาสร้างรูปลักษณ์ของกวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์อย่างงานศิลปะประเภททัศนศิลป์อีกโสดหนึ่งด้วย กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า วรรณรูป (concrete poetry or visual poem) ซึ่งมักมีลักษณะที่สามารถสังเกตเห็นชัดเจนด้านรูปทรง ระบบสัญลักษณ์ ตรรกะด้านภาษาและความคิด

เน้นภาพผ่านคำ

กวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ กลอนเปล่า (blank verse or free verse) และ แคนโต้ เมื่อกวีเน้นเสียงและภาพ กวีมีเจตนาให้ความสำคัญแก่ลีลาของเสียงและภาพในบทกวี ทั้งนี้ อาจทำให้เข้าใจได้ว่านอกจากการสื่อความหมายตามเนื้อหาของบทกวีแล้ว กวียังมีเจตนาสร้างความลงตัวระหว่างกวีนิพนธ์ฉันทลักษณ์กับกวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์

จนกว่าพลทหารคนสุดท้ายจากแนวรบจะกลับมา เน้นเสียงและภาพ จนกว่าพลทหารคนสุดท้ายจากแนวรบจะกลับมา IIIIIIIIIIIIIIIIIIIIII เธอนั่งริมทางรถไฟ บนม้านั่งตัวเดิม ที่เธอกับเขาเคยนั่ง รถไฟขบวนหนึ่งขบวนนั้น จอดเทียบชานชาลา ........................... ค่อยค่อยเล็กลง เล็กลง เล็กลง เล็กลง เล็กลง เล็กลง เล็กลง เล็กลง เล็กลง เล็กลง จนหายลับสายตา -----------------------------------------

----------------------------------------- เธอนั่งริมทางรถไฟ IIIIIIIIIIIIIIIIIIIIII บนม้านั่งตัวเดิมตัวนั้น ที่เธอกับเขาเคยนั่ง รถไฟเทียบชานชาลา ขบวนแล้วขบวนเล่า เธอนั่งและยืน เธอนั่งแล้วยืน ยืนแล้วนั่ง รอคอยอย่างนี้ นานหลายสิบปี 10+10+10+10+10 ขบวนแล้วขบวนเล่าขบวนแล้วขบวนเล่า รถไฟขบวนเก่าวิ่ง โขยกเขยก บรรทุกผู้ต้องโดยสารจำเป็น ในชุดผ้าพันแผลเปื้อนเลือด เฝือกและไม้ค้ำยัน รอยยิ้มบนแผลฟกช้ำ แต่ไม่มีวี่แวว ใครที่เธอรอคอย กระซิบสัญญาของเขาดังแว่ว และจางหาย ----------------------------------------- (จนกว่าพลทหารคนสุดท้ายจากแนวรบจะกลับมา, ไม่มีหญิงสาวในบทกวี , ซะการีย์ยา อมตยา)

แคนโต้ แคนโต้ หมายเลข 1 เมื่อได้ยินข่าวความตายของคนอื่น ลึกลงไปในหัวใจของข้า มีเสียงหัวเราะอย่างชั่วร้าย แคนโต้ หมายเลข 2 ได้ข่าวความตายของเพื่อน ผมไปนั่งอยู่ริมบึง ที่เต็มไปด้วยดอกบัวสีชมพู (แคนโต้ หมายเลข 1, 2 บทที่ 259, 329 ฟ้า พูลวรลักษณ์)

เรื่องที่ 2.1.4 องค์ประกอบของนวนิยายและเรื่องสั้น นวนิยาย (novel) และเรื่องสั้น (short story) เป็นวรรณกรรมที่เขียนเป็นร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี (fiction) ผลงานวรรณกรรมประเภทนวนิยายและเรื่องสั้นนับเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มิได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นจากการวางแผนสร้างโดยนักเขียน นักเขียนสร้างงานขึ้นมาอย่างเปรียบเสมือนเป็นสถาปนิกของเรื่องเล่า (narrative) กล่าวคือนักเขียนต้องมีแบบแปลนเรื่องเหมือนสถาปนิกที่ต้องมีพิมพ์เขียวของการสร้างอาคารบ้านเรือน

องค์ประกอบของนวนิยายและเรื่องสั้น การอ่านนวนิยายและเรื่องสั้นผู้อ่านควรพิจารณาองค์ประกอบของเรื่องเล่าสองประเภทดังกล่าว เพื่อเป็นสิ่งช่วยให้เข้าใจและเข้าถึงความคิด อารมณ์ ปัญญา และการสร้างสรรค์อันเป็นคุณค่าของเรื่องเล่าด้านศิลปะวรรณกรรม โครงสร้างของเรื่อง (structure) โครงเรื่อง (plot) ฉากของเรื่อง (setting) ผู้เล่าและมุมมองการเล่าเรื่อง (narrators and point of view) ลีลาภาษาและบทสนทนา (style and dialogue) ตัวละคร (character) แก่นเรื่อง (theme)

ผู้เล่าเรื่อง (Narrator)

เรื่องที่ 2.1.5 องค์ประกอบของบทละคร บทละคร (play) เป็นวรรณกรรมที่เขียนเป็นร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี (fiction) นักเขียนบทละคร (playwright) เขียนบทละครขึ้นด้วยรูปแบบที่แตกต่างจากงานเขียนร้อยแก้วประเภทอื่น เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี (non-fiction) บทละครเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการแสดงละครบนเวที ดังนั้น บทละครหมายถึงงานเขียนประเภทเรื่องเล่าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นบท (screen) สำหรับการแสดงบนเวที

องค์ประกอบของบทละคร บทละครมีรูปแบบที่แตกต่างจากงานเขียนร้อยแก้วประเภทอื่นในข้อที่ว่า บทละครแบ่งเรื่องราวเหตุการณ์ออกเป็นหลายองก์ (Act) แต่ละองค์แบ่งออกเป็นหลายฉาก (Scene) บทละครตลอดทั้งเรื่องถูกเขียนขึ้นให้มีเฉพาะบทสนทนาของตัวละคร คำสนทนาถูกกำกับไว้ด้วยชื่อของตัวละคร ตัวละครถูกกำหนดทิศทางขณะปรากฏตัวบนเวทีด้วยคำอธิบายบอกในตัวบท

องค์ประกอบของบทละคร บทละครมีองค์ประกอบแห่งความเป็นวรรณกรรม (literariness) บางประการที่เหมือนกันกับวรรณกรรมร้อยแก้วประเภทอื่น ดังนี้ ตัวบท (text) ตัวละคร (character) โครงสร้างของเรื่อง (structure) โครงเรื่อง (plot) ความขัดแย้ง (conflict) แก่นเรื่อง (theme)

วิธีอ่านบทละคร ก่อนอ่าน กวาดสายตาดูชื่อตัวละครว่ามีตัวละครตัวใดบ้าง สร้างคำเชื่อมโยง (transitional words) เข้ากับชื่อตัวละครเอง กระถิน: ทำไมเธอพูดจาแปลกหูพิกล มีเรื่องหนักใจอะไร หรือเปล่า สายบัว: ฟังฉันให้ดีนะกระถิน กำนันถุยจะยึดที่นาของฉัน กับแม่ไว้ขัดดอกเบี้ยเงินกู้ ฉันจะพูดจาเป็นปรกติ ได้อย่างไร คนมันกังวลใจนี่นา ยังไม่รู้จะทำยังไงดี

กระถินเอ่ย, “ทำไมเธอพูดจาแปลกหูพิกล มีเรื่องหนักใจอะไรหรือ เปล่า” สายบัวตอบ, “ฟังฉันให้ดีนะกระถิน กำนันถุยจะยึดที่นาของฉันกับ แม่ไว้ขัดดอกเบี้ยเงินกู้ ฉันจะพูดจาเป็นปรกติได้ อย่างไร คนมันกังวลใจนี่นา ยังไม่รู้จะทำยังไงดี”

ตอนที่ 2.2 สุนทรียภาพด้านวรรณกรรม เรื่องที่ 2.2.1 ปรัชญาของวรรณกรรม ปรัชญาของวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับคำถามพื้นฐานที่ว่าด้วยเรื่องธรรมชาติของวรรณกรรมในฐานะเป็นศิลปะ คำถามนั้นมีลักษณะเป็นอภิปรัชญา (metaphysics) และภววิทยา (ontology) อันหมายถึงการแสวงหาคำอธิบายเกี่ยวกับภาวะ (being) และความจริง (reality) ของงานวรรณกรรม ตัวอย่างคำถาม เช่น อะไรทำให้งานวรรณกรรมในฐานะเป็นศิลปะ อาทิ กวีนิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร มีความแตกต่างจากงานเขียนประเภทอื่น เช่น คัมภีร์ทางศาสนา ตำราประวัติศาสตร์ รายงานด้านวิทยาศาสตร์ คู่มือทำอาหาร หนังสือนำเที่ยว

ปรัชญาของวรรณกรรม สรุป ปรัชญาของวรรณกรรมเป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวด้วยเรื่องของการแสวงหาคำอธิบายเกี่ยวภาวะและความจริงของงานวรรณกรรมในฐานะเป็นศิลปะ โดยอธิบายว่าภาวะและความจริงของวรรณกรรมคือสิ่งใด สามารถก่อเกิดประโยชน์อะไรต่อมนุษย์ด้านปัญญาความคิดและการเข้าใจโลกเข้าใจชีวิต วรรณกรรมสร้างการหยั่งเห็น (insights) หรือความรู้อะไรที่โดดเด่นแตกต่างอย่างชัดเจนหรือไม่ ข้อดีข้อเสียเชิงพุทธิปัญญา (cognitive process) ของงานวรรณกรรมนับเป็นข้อดีข้อเสียเชิงศิลปะได้หรือไม่

เรื่องที่ 2.2.2 ความซาบซึ้งด้านสุนทรียภาพของวรรณกรรม สุนทรียภาพของวรรณกรรมก่อเกิดจากรูปแบบและเนื้อหาของตัวงานวรรณกรรม แม้ว่าเมื่อปิดหนังสือวรรณกรรมเล่มที่อ่านลง แต่เสน่ห์ (enchantment) ของสุนทรียภาพยังคงดำเนินต่อไปในการรับรู้ของผู้อ่าน วรรณกรรมเป็นงานศิลปะประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างสรรค์ผ่านตัวอักษร ซึ่งเมื่ออ่าน ผู้อ่านสามารถเกิดความซาบซึ้งด้านสุนทรียภาพ (aesthetic appreciation of literature) หรือความงามของวรรณกรรม วรรณกรรมเป็นการแสดงออกของผู้เขียนด้วยกลวิธีทางวรรณศิลป์อย่างจับใจผู้อ่านด้านประสบการณ์ ความคิด จินตนาการที่มีความหมาย

ความซาบซึ้งด้านสุนทรียภาพของวรรณกรรม ดังนั้น ความซาบซึ้งด้านสุนทรียภาพของงานวรรณกรรม มิอาจก่อเกิดขึ้นได้จากมุมมองการอ่านที่ข้ามรูปแบบและเนื้อหาของวรรณกรรมในฐานะเป็นงานศิลปะ หรืองานที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมีวรรณศิลป์ (literary work’s artistic aspects) สรุป ผู้อ่านต้องเพ่งพินิจวรรณกรรมจากความรู้ความสามารถด้านภาษาและวิจารณญาณของตน จนกระทั่งหยั่งเห็นความหมายและคุณค่าที่เป็นความซาบซึ้งด้านสุนทรียภาพ

เรื่องที่ 2.2.3 ลักษณะของสุนทรียภาพในวรรณกรรม ลักษณะของสุนทรียภาพในวรรณกรรม (aesthetic features) เกิดจากศักยภาพ ดังนี้ ความซาบซึ้งทางพุทธิปัญญา (intellectual appreciation) การสัมผัสรับรู้ถึงความงาม (aesthetic taste) ด้านรูปแบบและเนื้อหา ความรู้สึกอันประณีต (fine feeling) ที่มีต่อความงามและจินตนาการในงานวรรณกรรม

เรื่องที่ 2.2.4 การประเมินสุนทรียภาพในวรรณกรรม วรรณกรรมเป็นงานศิลปะที่ก่อให้เกิดสุนทรียภาพในความรู้สึกสัมผัสรับรู้ของผู้อ่าน เพราะวรรณกรรมมุ่งสร้างประสบการณ์หนึ่งอย่างที่ถูกรับรู้ว่าเป็นสุนทรียภาพ สุนทรียภาพดังกล่าวนั้นจึงควรถูกอธิบายด้วยปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ เพื่อยืนยันได้ว่าปัจเจกบุคคลเกิดประสบการณ์สุนทรียภาพอย่างไร ความหมายข้างต้นคือ เมื่ออ่านงานวรรณกรรม ผู้อ่านเกิดการสัมผัสรับรู้จนมีสุนทรียภาพ ฉะนั้น ผู้อ่านควรประเมินสุนทรียภาพ(aesthetic appraisal) ของตนออกมาให้เป็นที่ประจักษ์

หลักเกณฑ์อธิบายประสบการณ์สุนทรียภาพ ประวัติผลงานศิลปะ (History of Artwork) หมายถึง การรู้แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของผลงานวรรณกรรมเรื่อง ทฤษฎีศิลปะ (Art Theory) หมายถึง แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดประเภทของวรรณกรรม ที่นำไปสู่ความเข้าใจรูปแบบและเนื้อหาของผลงานวรรณกรรม คุณค่าด้านสุนทรียภาพ (Aesthetic Qualities) หมายถึง คุณค่าจากองค์ประกอบของสุนทรียภาพด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านที่ตัวผลงานวรรณกรรมเรื่องนั้น ๆ เช่น ด้านความงาม (the beautiful) ด้านวัฒนธรรม (cultural specifics) ของสังคมแต่ละสังคม ด้านที่ถูกกำหนดขึ้นด้วยอำนาจของชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง และผู้ปกครอง (bourgeois-elitist-state regulation) แห่งรัฐ ด้านที่เกิดจากการตีความหมายเชิงปัจเจก (individual interpretations) คุณค่าด้านเกณฑ์สุนทรียภาพ (Qualitative Criteria) หมายถึง คุณค่าที่เกิดจากประสบการณ์สุนทรียภาพที่รับรู้อย่างสอดคล้องกับรูปแบบ (form) เนื้อหา (content) ของทฤษฎีวรรณกรรมและองค์ประกอบของวรรณกรรม ที่วรรณกรรมแต่ละเรื่องถูกจัดประเภทไว้

ขอบคุณ