intra-abdominal compartment syndrome (ACS )
ความเป็นมา เนื่องจากผู้ป่วยที่รับเข้ามานอนในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม ประมาณร้อยละ 60% มีปัญหาเกี่ยวกับระบบช่องท้อง และพบว่าบางรายมีภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากมีภาวะ ไตวาย ความดันสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ จำเป็นต้องผ่าตัดเปิดช่องท้องซ้ำ
Intra-abdominal hypertension ( IAH ) หมายถึงความดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น และยังคงอยู่ในระดับมากกว่าหรือเท่ากับ 12 มม.ปรอท
intra-abdominal compartment syndrome (ACS ) คือความดันช่องท้องที่เพิ่มขึ้น และคงอยู่ในระดับมากกว่า 20 มม.ปรอท ร่วมกับการมีอวัยวะล้มเหลวที่เกิดขึ้นใหม่หรือมีอวัยวะล้มเหลวมากขึ้น
กลุ่มโรคหรือการรักษาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด IAH/ACS แบ่งเป็น 4 กลุ่มได้แก่ (1) ภาวะที่สัมพันธ์กับความสามารถในการขยายตัวของผนังหน้าท้องที่ลดลง (2) ภาวะที่ทำให้มีการเพิ่มของปริมาตรของอวัยวะในช่องท้อง (3) ภาวะที่สัมพันธ์กับการสะสมของสารน้ำ อากาศและเลือด (4) ภาวะที่สัมพันธ์กับการรั่วซึมของสารน้ำและการให้สารน้ำเพื่อช่วยชีวิต
ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อ IAH/ACS 1. มีการขยายของผนังหน้าท้องลดลง ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน 2.การเพิ่มขึ้นของความดันในช่องอก การผ่าตัดช่องท้องที่มีการปิดช่องท้องและท้องอืด อุบัติเหตุหลายระบบและรุนแรง/แผลไฟไหม้ นอนคว่ำหรือหัวสสูงมากกว่า 30 องศา อ้วนมาก
4. เพิ่มขึ้นของปริมาตรในลำไส้ ภาวะของ gastroparesis,ileous Colonic pseudo – obstruction 5. การเพิ่มขึ้นของปริมาตรนอกลำไส้ มีเลือดหรือลมในช่องท้อง ท้องมานและตับแข็ง 6. การซึมของสารน้ำ ความเป็นกรดในเลือดสูง ( pH < 7.2 ) อุณหภูมิกายต่ำ ( core temperature < 33 องศาเซลเซียส ) การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
เครื่องมือวัด IAH
วัสดุที่ใช้ สาย NG tube NO.12 2 เส้น Three way 2 อัน - จุกยาง ข้อต่อ set IV - ตัวหนอน 1 อัน - Set pressure transducer 1 set ( กรณีต่อเข้าจอ monitor ) - สาย Extention 1 สาย ( กรณีวัด แบบ manual )
ประกอบอุปกรณ์ดังรูป
วิธีวัด
Zero level ขณะนี้ได้มีข้อตกลงอย่างเป็นสากลโดยวัดระดับศูนย์ ที่เส้นกึ่งกลางรักแร้( mid axillary line) บริเวณสันของกระดูกปีกตะโพก( iliac crest)
ขั้นตอนการวัด 1.จัดท่าผู้ป่วยในท่านอนหงาย 2.กำหนดตำแหน่งการวัด(calibrate)ที่ Iliac crest mid axillary line ดังกล่าวข้างต้น 3.ใส่ 0.9% nss จำนวนไม่เกิน 25 มล. ( เด็กไม่เกิน 20 kg.ใช้ 1 มล./กก) ที่ข้อต่อชุดวัดความดันในช่องท้อง ดังรูป
4. วัดหลังใส่น้ำเกลือ 30 – 60 วินาที เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัว และวัดขณะที่ไม่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้อง 5.อ่านค่าความดันในช่องท้อง ในขณะผู้ป่วยสิ้นสุดการหายใจออก มีหน่วยเป็น mmHg
ระดับความรุนแรงของ IAH มี 4 ระดับ คือ Grade I. IAH 12 – 15 mmHg Grade II IAH 16 – 20 mmHg Grade III IAH 21- 25 mmHg Grade IV IAH > 25 mmHg