เครื่องมือ 7 อย่างของคิวซี QC 7 TOOLS หรือ เครื่องมือ 7 อย่างของคิวซี
7 เครื่องมือ QC คืออะไร ? คือ บรรดาเทคนิค วิธีการ ผัง แผนภูมิ ตาราง และรูปแบบในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้เพื่อช่วยในการค้นหาข้อเท็จจริงในการเก็บข้อมูล ในการช่วยค้นหาความคิด และจดความคิดอย่างเป็นระบบ ช่วยในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของเหตุและผล ตลอดจนการตัดสินใจ การนำมาตราการแก้ไขหรือปรับปรุงงานไปปฏิบัติและจัดตั้งการควบคุม
1.ใบตรวจสอบ คำอธิบายความหมาย วิธีใช้งาน ใช้เก็บข้อมูลจำนวนครั้งหรือจำนวนชิ้นที่ตรวจพบข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อจะนำไปสรุปและคำนวณค่าต่างๆ ต่อไป เช่น หา % เป็นตารางแบบฟอร์มหรือแผ่นภาพที่ออกแบบให้มีลักษณะง่ายต่อการเก็บข้อมูล โดยทำหรือกาเครื่องหมายในช่องที่จัดทำไว้
ใบตรวจสอบข้อบกพร่องของเครื่องรับโทรทัศน์ บริษัท XYZ จำกัด ใบตรวจสอบข้อบกพร่องของเครื่องรับโทรทัศน์ Model 1013 ผู้ตรวจสอบ กิรติ เวลาตรวจสอบ 18 - 22 เมษายน 2540 ช่างเทคนิคผู้แก้ไข กิติพล IC Capacitors Resistors Transformers ชุดคำสั่ง จอภาพ (CRT) อื่น ๆ
2. กราฟ ( Graph ) คำอธิบายความหมาย วิธีใช้งาน เป็นรูปภาพ ผังหรือการพล๊อตจุด เพื่อแสดงข้อมูลและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ความสัมพันธ์ต่าง ๆ หรือแสดงองค์ประกอบของค่าวัด เลือกใช้กราฟและแผนภูมิให้เหมาะกับงาน อาทิ กราฟเส้น : กาลเวลา กราฟแท่ง : เปรียบเทียบข้อมูล กราฟวง กลม เพื่อจำแนกองค์ประกอบ
กราฟเส้น : การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
กราฟแท่ง : เปรียบเทียบขนาดของข้อมูล
กราฟวง กลม เพื่อจำแนกองค์ประกอบของค่าวัดที่กำลังกล่าว
3.แผนภูมิควบคุม คำอธิบายความหมาย วิธีใช้งาน กราฟเส้นที่ประกอบด้วยเส้นกึ่งกลาง 1 เส้น เส้นพิกัดควบคุม 1 คู่ อยู่ด้านบนและล่างของเส้นกึ่งกลาง ใช้เพื่อตรวจจับหาจุดบกพร่อง ว่าข้อมูลที่ได้อยู่ในพิกัดควบคุมหรือไม่ ตรวจจับจุดค่าวัดที่ผิดไปจากค่าขอบเขตควบคุมและตรวจจับแนวโน้มความผิดปกติต่าง ๆ
UCL LCL Control charts CL
4. แผนภูมิพาเรโต วิธีใช้งาน คำอธิบายความหมาย แผนภูมิหรือกราฟแท่งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่า,ขนาด หรือความถี่ในการตรวจพบปัญหาและจำแนกประเภทโดยเรียงลำดับตามความสำคัญ ใช้แสดงให้เห็นถึงรายการ จำนวนประเภทหรือชนิดต่าง ๆ ของเหตุการณ์หรือสถานการณ์พร้อมกับระบุขนาดของความสัมพันธ์ ของแต่ละปัจจัยที่นำเสนอ
Pareto diagram 100%
5. แผนภูมิก้างปลา คำอธิบายความหมาย วิธีใช้งาน ใช้เพื่อค้นหาสาเหตุหรือต้นตอที่มาของปัญหา โดยแยกแยะสาเหตุหลักและสาเหตุรองอย่างเป็นกลุ่มประเภทเดียวกัน ช่วยให้จดบันทึกอย่างเป็นระบบ ผังหรือแผนภูมิที่ประกอบด้วยเส้นตรง หลายลักษณะที่ประกอบกันแล้วมีรูปร่างคล้ายก้างปลา เพื่อผูกความ สัมพันธ์อย่างเป็นระบบ ระหว่างเหตุและผล
Cause & effect diagram
6. ฮิสโตแกรม ( Histogram ) คำอธิบายความหมาย วิธีใช้งาน เพื่อใช้หาตำแหน่งจุดยอดของข้อมูล ทำให้เข้าใจการกระจายของข้อมูล และแสดงให้เห็นแนวโน้มการกระจายของข้อมูล ควรเขียนฮิสโตแกรมแต่ละรูปจากข้อมูล 4M คือกราฟแท่งชนิดหนึ่ง ซึ่งแสดงการกระจายความถี่ของข้อมูลที่ได้จากการวัดหรือเก็บรวบรวมมาในคราวเดียวกันเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้สะดวกและชัดเจนขึ้น
Histograms
7. ผังการกระจาย คำอธิบายความหมาย วิธีใช้งาน คือกราฟ 2 แกน (ตั้งกับนอน)ที่แทนค่าวัดหรือคุณลักษณะของค่าวัด 2 อย่าง เพื่อจะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าวัดบนแกนทั้งสอง ใช้วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาสำหรับการตั้งเป้าหมาย ทั้งนี้ต้องเก็บข้อมูลที่มีค่าตัวแปร 2 ค่า เช่น ค่าความแข็งแรงต่อความหนา ความกว้างต่อแรงกด
Scatter diagram
การใช้เครื่องมือ QC 7 อย่างใน 7 ขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบ QC X Y หมายเหตุ : ได้ผลดีโดยเฉพาะ ได้ผลดี