บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
THE PARTS OF A FLOWERING PLANT AND THEIR FUNTION.
Advertisements

Texture การประมวลผลภาพแบบดิจิตอล Ian Thomas
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต UMAPORN.
โดย คุณครูทานตะวัน เทียมถนอม กลุ่มสาระฯภาษาต่างประเทศ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร.
Color Standards A pixel color is represented as a point in 3-D space. Axis may be labeled as independent colors such as R, G, B or may use other independent.
Virus.
โพรโทซัว( Protozoa ).
การลำเลียงผ่านเมมเบรน
ขบวนการสร้างตัวอสุจิ (Spermatogenesis)
การผลิตเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
Yv xv zv.
บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
Merchant Marine Training Centre วิชาการเป็นเลิศ เชิดชู คุณธรรม ผู้นำ.
คุณสมบัติของเซลล์ เพิ่มจำนวนได้โดยการแบ่งเซลล์
 Not breathing!  Respiration is the process of releasing energy from food molecules  Bacteria and Fungi carry out: - Aerobic respiration ( การหายใจแบบใช้
 Fungi reproduce using spores produced in the sporangium.  Spores contain the genetic material for growth of a new organism, protected by a tough coat.
Adapted from Mr Hayward Y11 Science. Micro-organisms or microbes are microscopic living things including:  Bacteria ( แบคทีเรีย )  Fungi ( หูหนู ) 
จัดทำโดย นางสาวทิพยรัตน์ กำลังมาก เลขที่ 19 นางสาวปัญณิศา ป้องขันธ์ เลขที่ 26 นางสาวพรวษาทวีกุล เลขที่ 27 นางสาววลัยลักษณ์ ขวัญคุ้ม เลขที่ 34 นางสาวอมรรัตน์
การสร้าง WebPage ด้วย Java Script Wachirawut Thamviset.
RNA (Ribonuclei c acid). RNA มี 3 ชนิด คือ 1.Ribosomal RNA (rRNA) ไร โบโซมอล อาร์เอ็นเอ ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบหลัก ของ ribosome 2.Transfer RNA (tRNA)
เคมีของชีวิต สารประกอบอินทรีย์
ว เคมีพื้นฐาน พันธะเคมี
ว เคมีพื้นฐาน พันธะเคมี
ครูปัทมา แฝงสวัสดิ์. การอ่านเรื่อง สิ่งแวดล้อม ที่อยู่รอบตัวเรา.
Reprod. Physio. of Domestic Animal
พันธะเคมี อ. ศราวุทธ แสงอุไร ว เคมี พื้นฐาน พันธะเคมี Intermolecular forces 1 นายศราวุทธ แสงอุไร ครูวิชาการสาขาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ วันที่
ครูรุจิรา ทับศรีนวล “Room service”. “Room service”
ครูวิชาการสาขาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปึที่ 4 Grammar & Reading ครูรุจิรา ทับศรีนวล.
Peroxisome: a specialized type of Lysosome that breaks down H2O2
เซลล์ (Cell).
อาณาจักรโปรติสตา Kingdom Protista พิษณุ วรรณธง
บทที่ 12 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
“เอาชนะเนื้อหนัง” OVERCOMING THE FLESH. “เอาชนะเนื้อหนัง” OVERCOMING THE FLESH.
พื้นฐานการเขียนแบบทางวิศวกรรม
อ.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 4 หน่วยของสิ่งมีชีวิต.
บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง
บทที่ 13 การสังเคราะห์ด้วยแสง
1. นี่เป็นสิ่งที่พระเยซูทรงทำ พระองค์ทรงรักษาทุกคน ที่เจ็บป่วยให้หายดี
สารชีวโมเลกุล (Biomolecules) ดร.ธิดา อมร.
Photosynthesis กรวรรณ งามสม.
Wave Characteristics.
บทที่ 6 การรักษาดุลยภาพ ในร่างกาย
บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง
เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ (Cell and Cell Compositions)
บทที่ 1 อยู่ดีมีสุข.
บทที่ 12 โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
การใช้สารช่วยยืดอายุสับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่นตัดแต่งพร้อมบริโภค
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
นวัตกรรมการบริการสารสนเทศ ในยุคประเทศไทย 4.0
บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เซลล์และองค์ประกอบสำคัญของเซลล์
อ.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 8 การรับรู้และการตอบสนอง
ตอนที่ 3: ท่านเป็นผู้ชอบธรรมได้อย่างไร?
ชั่วโมงที่ 39 กรดนิวคลิอิก
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
คำเทศนาชุด: ท่านมีของประทาน
โครงสรางพื้นฐานของเซลล
ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มรอบ
นิวเคลียส (Nucleus) ประกอบด้วย
การเคลื่อนที่ของพวกโพรติสต์
การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
OXIDATIVE PHOSPHORYLATION
เซลล์ของสิ่งมีชีวิต นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.
ตอนที่ 4: เคลื่อนไปกับของประทานของท่าน Part 4: Flowing In Your Gift
บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
Color Standards A pixel color is represented as a point in 3-D space. Axis may be labeled as independent colors such as R, G, B or may use other independent.
Thai Customs Civics M.5 AJ.Poupe’.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต Biology (40241)

บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต. 4. 1 เซลล์และทฤษฎีเซลล์. 4 บทที่ 4 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต 4.1 เซลล์และทฤษฎีเซลล์ 4.2 โครงสร้างของเซลล์ที่ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน 4.2.1 นิวเคลียส 4.2.2 ไซโทพลาซึม 4.2.3 ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ 4.3 การรักษาดุลยภาพของเซลล์ 4.3.1 การลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ 4.3.2 การลำเลียงสารโดยไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ 4.4 การสื่อสารระหว่างเซลล์ 4.5 การแบ่งเซลล์ 4.5.1 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส 4.5.2 การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส 4.6 การเปลี่ยนสภาพของเซลล์และการชราภาพของเซลล์ 4.7 เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบของร่างกาย

เซลล์และทฤษฎีเซลล์

Robert Hooke http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/celltheory.htm

ประวัติการศึกษาเซลล์ ค.ศ. 1665 รอเบิร์ต ฮุก นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ที่มีคุณภาพดี และได้ส่องดูไม้คอร์กที่เฉือนบางๆ และได้พบช่องเล็กๆ จำนวนมาก จึงเรียกช่องเล็กๆ นี้ว่า เซลล์ (cell)  เซลล์ที่ฮุกพบนั้นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว การที่คงเป็นช่องอยู่ได้ก็เนื่องจากการมีผนังเซลล์นั่นเอง ค.ศ. 1824 ดิวโทเชท์ ได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืชและเนื้อเยื่อสัตว์ พบว่าประกอบด้วยเซลล์เช่นกัน แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ค.ศ. 1831 รอเบิร์ต บราวน์ นักพฤษศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ศึกษาเซลล์ขนและเซลล์อื่นๆ ของพืช พบว่ามีก้อนกลมขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง จึงให้ชื่อก้อนกลมนี้ว่า นิวเคลียส (nucleus)

ประวัติการศึกษาเซลล์ ค.ศ. 1838 มัตทิอัส ยาคบ ชไลเดน นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืชต่างๆ และสรุปว่าเนื้อเยื่อทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์ ค.ศ. 1839 เทโอดอร์ ชวันน์ นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ได้ศึกษาเนื้อเยื่อสัตว์ต่างๆ แล้วสรุปว่าเนื้อเยื่อสัตว์ทุกชนิดประกอบขึ้นด้วยเซลล์ ค.ศ. 1839 ชวันน์และชไลเดน ได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (cell theory) ซึ่งมีใจความสำคัญว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบขึ้นด้วยเซลล์ และเซลล์คือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

M.J. Schleiden and Theodor Schwann http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/celltheory.htm

ประวัติการศึกษาเซลล์ ทฤษฎีเซลล์ในปัจจุบันครอบคลุมถึงใจความสำคัญ 3 ประการ คือ   1. สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจมีเพียงเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ ซึ่งภายในมีสารพันธุกรรมและมีกระบวนการเมแทบอลิซึม ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้      2. เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต ที่มีการจัดระบบการทำงานภายในโครงสร้างของเซลล์       3. เซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์แรกเริ่ม เซลล์เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์เดิม แม้ว่าชีวิตแรกเริ่มจะมีววัฒนาการมาจากสิ่งไม่มีชีวิต แต่นักชีววิทยายังคงถือว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์เป็นผลสืบเนื่องมาจากเซลล์รุ่นก่อน

ประวัติการศึกษาเซลล์ ค.ศ. 1839 พูร์คินเย นักสัตววิทยา ชาวเชโกสโลวาเกีย ได้ศึกษาไข่และตัวอ่อนของสัตว์ต่างๆ ได้พบว่าภายในมีของเหลวใส เหนียว และอ่อนนุ่ม จึงได้เรียกของเหลวใสนี้ว่า โพรโทพลาซึม (protoplasm) ค.ศ. 1868 ทอมัส เฮนรี ฮักซ์ลีย์ แพทย์ชาวอังกฤษศึกษาโพรโทพลาซึมและพบว่า โพรโทพลาซึมเป็นรากฐานของชีวิตเนื่องจากปฏิกิริยาต่างๆ ของเซลล์เกิดขึ้นที่โพรโทพลาซึม   ค.ศ. 1880 วัลเทอร์ เฟลมมิง นักชีววิทยาชาวเยอรมันได้ค้นพบว่าภายในนิวเคลียสของเซลล์ต่างๆ มีโครโมโซม

ชนิดของเซลล์ เซลล์แบ่งตามลักษณะของนิวเคลียส แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ      1. เซลล์โพรคาริโอต (prokaryotic cell) เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวเคลียสประกอบด้วย โครโมโซมเพียงเส้นเดียว มีลักษณะเป็นวงแหวน ได้แก่ เซลล์ของพวกแบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน        2. เซลล์ยูคาริโอต (eukaryotic cell) เป็นเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส สารพันธุกรรมหรือโครโมโซมบรรจุอยู่ภายในนิวเคลียส ได้แก่ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั่วไป เช่น รา โปรโตซัว สาหร่ายอื่นๆ พืช สัตว์

The Prokaryotic cells - Bacteria and cyanobacteria http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/cells.htm

The Eukaryotic cells animal cell http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/cells.htm

http://mil. citrus. cc. ca http://mil.citrus.cc.ca.us/cat2courses/bio104/ChapterNotes/Chapter08notesLewis.htm

http://mil. citrus. cc. ca http://mil.citrus.cc.ca.us/cat2courses/bio104/ChapterNotes/Chapter08notesLewis.htm

โครงสร้างของเซลล์ที่ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

เซลล์โดยทั่วไปถึงแม้จะมีขนาด รูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะพื้นฐานภายในเซลล์มักไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ โดยเซลล์มีโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ 1. นิวเคลียส (nucleus) 2. ไซโทพลาซึม (cytoplasm) 3. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์

Nucleus

สารประกอบทางเคมีของนิวเคลียส 1. ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA เป็นส่วนประกอบของโครโมโซมนิวเคลียส 2. ไรโบนิวคลีอิก แอซิด (ribonucleic acid) หรือ RNA เป็นส่วนที่พบในนิวเคลียสโดยเป็นส่วนประกอบของนิวคลีโอลัส 3. โปรตีน ที่สำคัญ คือโปรตีนฮีสโตน (histone) โปรตีนโพรตามีน (protamine) ทำหน้าที่ เชื่อมเกาะอยู่กับ DNA ส่วนโปรตีนเอนไซม์ส่วนใหญ่จะเป็นเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก และเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก

โครงสร้างของนิวเคลียส 1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ 2 ชั้น เรียงซ้อนกัน ที่เยื่อนี้จะมีรู เรียกว่า nuclear pore หรือ annulus มากมาย ทำหน้าที่ เป็นทางผ่านของสารต่างๆ ระหว่างไซโทพลาซึมและนิวเคลียส นอกจากนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียสยังมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์ 2. โครมาทิน (chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี เป็นเส้นใยเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห ประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด และ DNA มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป 3. นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (phosphoprotein) และไม่พบโปรตีนฮีสโตนเลย มีหน้าที่ ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ ดังนั้นนิวคลีโอลัสจึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากไรโบโซมทำหน้าที่สร้างโปรตีน

The Nucleus

The Nucleus http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/nucleus.htm

Experiment support  ตัวอย่างการทดลองอีกการทดลองหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ของนิวเคลียส โดยใช้สาหร่ายทะเลเซลล์เดียว ชื่อ Acetabularia spp. (อะเซตาบูลาเรีย) 2 ชนิด เป็นชนิด ก. และชนิด ข. ได้มีการทดลองโดยตัดส่วนยอดของเซลล์ทิ้งไป แล้วนำส่วนก้านของสาหร่ายชนิด ก. และ ชนิด ข. ไปต่อกับส่วนโคนสลับกัน ผลการทดลองพบว่า เมื่อสาหร่ายทั้งสองชนิดงอกส่วนยอดใหม่ออกมา ปรากฎว่าสาหร่ายที่ส่วนโคนมีนิวเคลียสเป็นชนิด ก. จะมีส่วนยอดคล้ายชนิด ก. และ สาหร่ายที่ส่วนโคนมีนิวเคลียสเป็นชนิด ข. จะมีส่วนยอดคล้ายชนิด ข.

Experiment support

cytoplasm

ไซโทพลาซึม (cytoplasm) ก. ออร์แกเนลล์ (organelle) เป็นส่วนที่มีชีวิต ทำหน้าที่คล้ายๆ กับเป็นอวัยวะของเซลล์ ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม (membrane bounded organelle) เช่น mitochondria , endoplasmic reticulum:ER , Golgi complex , lysosome , vacuole ออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม (nonmembrane bounded organelle) เช่น ribosome , centriole ข. ไซโทพลาสมิก อินคลูชัน (cytoplasmic inclusion) หมายถึง สารที่ไม่มีชีวิตที่อยู่ในไซโทพลาสมิก เช่น เม็ดแป้ง (starch grain) เม็ดโปรตีน หรือพวกของเสียที่เกิดจากกระบวนการแมแทบอลิซึม

endoplasmic reticulum:ER 1. เอนโดพลาสมิก เรติคูลัม (endoplasmic reticulum:ER) เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้ม ประกอบด้วยโครงสร้างระบบท่อที่มีการเชื่อมประสานกันทั้งเซลล์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ      2.1 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดขรุขระ (rough endoplasmic reticulum:RER)  เป็นชนิดที่มีไรโบโซม มีหน้าที่สำคัญ คือ การสังเคราะห์โปรตีนของไรโบโซมที่เกาะอยู่ และลำเลียงสารซึ่งได้แก่โปรตีนที่สร้างได้ และสารอื่นๆ       2.2 เอนโดพลาสมิก เรติคูลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum:SER)  เป็นชนิดที่ไม่มีไรโบโซม มีหน้าที่สำคัญ คือ ลำเลียงสารต่างๆ เช่น RNA ลิพิด โปรตีน สังเคราะห์สารพวกไขมัน และสเตอรอยด์ฮอร์โมน

Endoplasmic Reticulum (ER) http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/nucleus.htm

RER and SER

ribosome 2. ไรโบโซม (ribosome) เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็ก พบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วไป ประกอบด้วยสารเคมี 2 ชนิด คือ กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid : RNA) โปรตีน มีทั้งที่อยู่เป็นอิสระในไซโทพลาซึม และเกาะอยู่บน ER พวกที่เกาะอยู่ที่เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมจะพบมากในเซลล์ต่อมที่สร้างเอนไซม์ต่างๆ พลาสมาเซลล์เหล่านี้จะสร้างโปรตีนที่นำไปใช้นอกเซลล์เป็นสำคัญ

Ribosomes http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/nucleus.htm

Golgi complex 3. กอลจิ บอดี (Golgi body) มีรูปร่างลักษณะเป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ มี หน้าที่ สำคัญ คือ เก็บสะสมสารที่เซลล์สร้างขึ้นก่อนที่จะปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งสารส่วนใหญ่เป็นสารโปรตีน นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการสร้าง นีมาโทซีส (nematocyst) ของไฮดราอีกด้วย

Gogli Bodies (Complex) http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/nucleus.htm

Lysosome 4. ไลโซโซม (lysosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเมมเบรนห่อหุ้มเพียงชั้นเดียว รูปร่างกลมรี พบเฉพาะในเซลล์สัตว์เท่านั้น มีหน้าที่สำคัญคือ      4.1 ย่อยสลายอนุภาคและโมเลกุลของสารอาหารภายในเซลล์      4.2 ย่อยหรือทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายหรือเซลล์      4.3 ทำลายเซลล์ที่ตายแล้ว      4.4 ย่อยสลายโครงสร้างต่างๆ ของเซลล์ในระยะที่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง

Lysosomes http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/nucleus.htm

Lysosomes http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/nucleus.htm

vacuole  5. แวคิวโอล (vacuole) แวคิวโอลเป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและสัตว์ชั้นต่ำ แวคิวโอลมีหลายชนิด ทำหน้าที่แตกต่างกันไป คือ contractile  vacuole ทำหน้าที่ รักษาสมดุลของน้ำ  พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว  เช่น อะมีบา  พารามีเซียม เป็นต้น   food  vacuole ทำหน้าที่ บรรจุอาหารที่รับมาจากภายนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายต่อไป  พบในเซลล์เม็ดเลือดขาวและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว sap  vacuole เป็นแวคิวโอลที่พบในเซลล์พืช ขณะที่เซลล์พืชอายุน้อยมีแวคิวโอลขนาดเล็กจำนวนมาก  แต่เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นแวคิวโอลเหล่านี้จะรวมเป็นถุงเดียวกันทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น  ทำหน้าที่ สะสมสารบางชนิด  เช่น  สารสี  ไอออน  น้ำตาล  กรดอะมิโน  ผลึกและสารพิษต่างๆ

Contractile Vacuole

Food Vacuole

Sap Vacuole http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/vacuoles.htm

mitochondria 6. ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น เยื่อหุ้มชั้นนอกหุ้มรอบโครงสร้าง ส่วนเยื่อหุ้มชั้นในจะพับไปพับมา ส่วนที่พับเข้าไปเรียกว่า คริสตี้ (cristae) องค์ประกอบทุกตัวที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดอิเล็กตรอน และทำงานในกระบวนการ ออกซิเดทีฟ ฟอสโฟริเลชัน (oxidative phosphorilation) ล้วนแต่อยู่บนเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรียทั้งสิ้น กลุ่มโปรตีนและโคแฟคเตอร์เหล่านี้จะแทรกตัวอยู่ในเยื่อหุ้มชั้นใน ( ที่มีองค์ประกอบเป็นไขมันหรือที่เรียกว่า lipid bilayer ) ส่วนในสุดของไมโทคอนเดรียเรียกว่า แมทริกซ์ (matrix) มีลักษณะเป็นเจล เป็นแหล่งที่มีเอนไซม์สำหรับวัฏจักรเครบส์ รวมทั้งสารอินทรีย์อื่นๆ ที่ ทำหน้าที่เป็นซับสเตรต โคแฟคเตอร์ รวมทั้งอิออนต่างๆ

Mitochondria http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/mitochondria.htm

ไมโทคอนเดรีย

plastid  7. พลาสติด (plastid)  : เม็ดสีในเซลล์  เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้นพลาสติดมีสีแตกต่างกันจำแนกได้  3  ชนิด  คือ 7.1 คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นพลาสติดที่มีสีเขียวเนื่องจากมีสารคลอโรฟิลล์  เป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่  เป็นแหล่งสร้างอาหารของเซลล์พืชและโพรทิสต์บางชนิด  ภายในคลอโรพลาสต์มีโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงแบนๆที่มีเยื่อหุ้ม เรียกว่า  ไทลาคอยด์(thylakoid)  และไทลาคอยด์เรียงซ้อนกัน เรียกว่า  กรานุม (granum)  แต่ละกรานุมมีโครงสร้างเชื่อมต่อถึงกัน  บนไทราคอยด์มีสารสีที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  เช่น  คลอโรฟิลล์  แคโรทีนอยด์ (carotenoid)  และมีของเหลวที่เรียกว่า  สโตรมา (stroma)  อยู่โดยรอบไทลาคอยด์  ในของเหลวนี้มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

The Chloroplast http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/mitochondria.htm

The Chloroplast

plastid 7.2 โครโมพาสต์ (chromoplast) เป็นพลาสติดที่มีสารที่ทำให้เกิดสีต่างๆยกเว้นสีเขียว  ทำให้ดอกไม้  ผลไม้และใบไม้  มีสีสันสวยงาม  เช่น  ผลสีแดงของพริก  รากของแครอท  และใบไม้แก่ๆเนื่องจากมีสารพวกแคโรทีนอยด์  จึงทำให้เกิดสีแดง  สีส้ม  และสีเหลือง   7.3 ลิวโคพลาสต์(leucoplast)  เป็นพลาสติดที่ไม่มีสี  มีหน้าที่สะสมเม็ดแป้งที่ได้จากการสังเคราะห์แสง  พบในเซลล์ของรากและเซลล์ที่สะสมอาหาร  เช่น มันเทศ  มันแกว  เผือก  ผลไม้  เช่น กล้วย และใบพืชบริเวณที่ไม่มีสี

Chloroplast

Chromoplast

Leucoplast.

centriole 8. เซนทริโอล (centriole) มีลักษณะคล้ายท่อทรงกระบอก 2 อันตั้งฉากกัน พบเฉพาะในสัตว์และโพรทิสต์บางชนิด มีหน้าที่ เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ เซนทริโอลแต่ละอันจะประกอบด้วยชุดของไมโครทูบูล (microtubule) ซึ่งเป็นหลอดเล็กๆ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงสารในเซลล์ ให้ความแข็งแรงแก่เซลล์และโครงสร้างอื่นๆ เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ การเคลื่อนที่ของเซลล์

centriole

Centrioles and Basal Bodies

The Cytoskeleton 9 cytoskeleton  :  โครงร่างที่ค้ำจุนเซลล์   เป็นเส้นใยโปรตีนที่เชื่อมโยงกันเป็นร่างแหเพื่อค้ำจุนรูปร่างของเซลล์และเป็นที่ยึดเกาะของออร์แกเนลล์  เช่น  ไมโทคอนเดรียให้อยู่ตามตำแหน่งต่างๆ จึงเปรียบคล้ายกับโครงกระดูกของเซลล์  และยังทำหน้าที่ลำเลียงออร์แกเนลล์ให้เคลื่อนที่ภายในเซลล์  รวมทั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์บางชนิด  ไซโทสเกเลตอนในเซลล์พืชและสัตว์  แบ่งได้เป็น  3  ชนิด ตามชนิดของหน่วยย่อยที่เป็นองค์ประกอบ  ได้แก่   9.1 microfilament หรือ actin  filaments ประกอบด้วยเส้นใยโปรตีนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  7  นาโนเมตร  เกิดจากโปรตีนแอกทินซึ่งมีรูปร่างกลมต่อกันเป็นสาย  2  สายพันกันเป็นเกลียวคล้ายสายสร้อยไข่มุก  ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเซลล์  เช่น  อะมีบา  เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นต้น  นอกจากนี้ยัง ทำหน้าที่ ค้ำจุนซึ่งพบในไมโครวิลไล (microvilli)  ซึ่งเป็นส่วนของเซลล์เยื่อบุผิวในลำไส้เล็กและช่วยในการแบ่งตัวของไซโทพลาซึมในกระบวนการแบ่งเซลล์

The Cytoskeleton 9.2 microtublue เป็นหลอดกลวงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  25  นาโนเมตร  เกิดจากโปรตีนที่เรียกวว่า  ทูบูลิน (tubulin)  เรียงต่อกันเป็นสาย  ไมโครทิวบลูเป็นโครงสร้างของเส้นใยสปินเดิล  ซิเลีย แฟลเจลลัม  และยังทำหน้าที่ลำเลียงออร์แกเนลล์ภายในเซลล์   9.3 Intermediate filaments เป็นเส้นใยร่างแหที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 นาโนเมตร ประกอบด้วยหน่วยย่อยซึ่งเรียงตัวเป็นสายยาวๆ 4 สายพันบิดกัเป็นเกลียว อินเทอร์มีเดียทฟิลาเมนท์มี 8 ชุด จัดเรียงตัวเป็นร่างแหตามลักษณะรูปร่างของเซลล์   Cytoskeleton มีการเรียงตัวได้ทั้งที่คงรูปเป็นเส้นหรือท่อตลอดเวลา  เช่น ไมโครฟิลาเมนท์ในเซลล์กล้ามเนื้อลาย และไมโครทิวบลูที่เป็นแกนของซิเลียและแฟลเจลลัม   ไซโกสเตเลตอนที่ไม่คงรูปร่างให้เห็นเป็นแท่งหรือเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ  เช่น  ไมโครฟิลาเมนท์และไมโครทิวบลูของเซลล์ประสาทเป็นต้น

http://mil. citrus. cc. ca http://mil.citrus.cc.ca.us/cat2courses/bio104/ChapterNotes/Chapter04notesLewis.htm

Cilia and Flagella http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/cytoskeleton.htm

http://mil. citrus. cc. ca http://mil.citrus.cc.ca.us/cat2courses/bio104/ChapterNotes/Chapter04notesLewis.htm

Cilia and Flagella

http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/cytoskeleton.htm

http://mil. citrus. cc. ca http://mil.citrus.cc.ca.us/cat2courses/bio104/ChapterNotes/Chapter04notesLewis.htm

Cytosol 10. ไซโทซอล (cytosol) เป็นส่วนของไซโทพลาซึมมีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว  มีอยู่ประมาณร้อยละ 50-60 ของปริมาตรเซลล์ทั้งหมด   เซลล์ส่วนใหญ่มักมีปริมาตรของไซโทซอล ประมาณ 3 เท่าของปริมาตรนิวเคลียส   บริเวณด้านนอกที่อยู่ติดกับเยื่อหุ้มเซลล์เรียกว่า เอ็กโทพลาซึม (ectoplasm) บริเวณด้านในเรียกว่า  เอนโดพลาซึม(endoplasm) เซลล์บางเซลล์มีการไหลของไซโทพลาซึมไปรอบๆเซลล์เรียกการไหลนี้ว่า ไซโคลซิส (cyclosis  หรือ  cycloplasmic  syreaming)  เป็นผลจากการหดและคลายของไมโครฟิลาเมนท์ บริเวณเอนโดพลาซึมมีลักษณะค่อนข้างเหลวเป็นที่อยู่ของออร์แกเนลล์ต่าง ๆ นอกจากนี้ในไซโทซอลยังอาจพบโครงสร้างอื่นๆ เช่น  ก้อนไขมัน  เม็ดสีต่าง ๆ เป็นต้น

Cytosol

ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์

cell wall 1. ผนังเซลล์ (cell wall)      ผนังเซลล์ พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลากชนิด เช่น เซลล์พืช สาหร่าย แบคทีเรีย และรา ผนังเซลล์ทำหน้าที่ป้องกันและให้ความแข็งแรงแก่เซลล์ โดยที่ผนังเซลล์เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตของเซลล์ ผนังเซลล์พืช ประกอบด้วยชั้นต่างๆ 3 ชั้น คือ       1. ผนังเชื่อมยึดระหว่างเซลล์ (middle lamella) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์พืชแบ่งตัว และเป็นชั้นที่เชื่อมระหว่างเซลล์ให้อยู่ติดกัน       2. ผนังเซลล์ปฐมภูมิ (primary wall) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เริ่มเจริญเติบโต ประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลส เป็นส่วนใหญ่       3. ผนังเซลล์ทุติยภูมิ (secondary wall) เป็นชั้นที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์หยุดขยายขนาดแล้ว โดยมีสารพวก เซลลูโลส คิวทิน ซูเบอริน ลิกนิน และเพกทินมาเกาะ

ส่วนประกอบของ Cell wall เซลลูโลส (cellulose) เป็นโพลีเซคาไรด์ที่ประกอบด้วยกลูโคสหลาย ๆ โมเลกุลเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว เซลลูโลสจะเรียงตัวขนานกันและเชื่อมยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจน มีลักษณะเป็นกลุ่มเรียกว่า ไมโครไฟบริล (microfibril) ลิกนิน (lignin) เป็นสารอินทรีย์ที่ทำให้ผนังเซลล์มีความแข็งแรงในเนื้อเยื่อ หรือเนื้อเยื่อ หรือเนื่อไม้ที่มีอายุน้อยจะมีลิกนินน้อยกว่าที่มีอายุมาก คิวติน (cutin) เป็นสารที่พบในชั้นเคลือบผิวที่บริเวณใบ เรียกชั้นนี้ว่า คิวติเคิล (cuticle) คิวตินพบปะปนอยู่กับขี้ผึ้ง ทำให้เนื้อเยื่อส่วนนั้น ๆ มีสีขาวนวล และป้องกันการระเหยของน้ำ เพคติน (pectin) เป็นสารที่ช่วยเสริมผนังเซลล์ให้หนา แข็งแรง และยืดหยุ่นได้เล็กน้อย ซูเบอริน (suberin) เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง ที่ผนังเซลล์ เช่นที่ผนังเซลล์ของไม้คอร์ก

Plasmodesmata http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/cellwall.htm

2. cell membrane The plasma (or cell) membrane is composed of a variety of molecules, including phospholipids, proteins, carbohydrates (sugar molecules), glycoproteins (protein + carbohydrate), glycolipids (lipid + carbohydrate) and even cholesterol.  biologists use the phrase Fluid Mosaic Model to describe the plasma membrane ("fluid" refers to movement and "mosaic" refers to the fact that it is composed of more than one type of molecule)

http://mil. citrus. cc. ca http://mil.citrus.cc.ca.us/cat2courses/bio104/ChapterNotes/Chapter04notesLewis.htm

http://mil. citrus. cc. ca http://mil.citrus.cc.ca.us/cat2courses/bio104/ChapterNotes/Chapter04notesLewis.htm

phospholipid The main component of the plasma membrane is the phospholipid. The phospholipid contains a charged phosphate head and two fatty acid tails.  The phosphate heads like to be in contact with water and are said to be hydrophilic (“water-loving”). On the other hand, the fatty acid tails contain long hydrocarbon chains that are hydrophobic (“water-fearing”). An amphipathic molecule contains two regions with different affinities for water. The amphipathic nature of phospholipids creates a unique arrangement within the plasma membrane. The phospholipids in the plasma membrane are, therefore, arranged in a phospholipid bilayer

The Plasma Membrane (or cell membrane) http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/plasmamembrane.htm

The Plasma Membrane (or cell membrane)

The plasma membrane will allow certain substances to cross it but not others! Such a membrane is referred to as “ selective permeable" “differentially permeable membrane” or "semipermeable". The plasma membrane's permeability depends on a large part on its makeup.

Reference http://io.uwinnipeg.ca/~simmons/1115/cm1503/celltheory.htm http://61.19.145.7/student/science401/bio/bio4-2/index.html http://mil.citrus.cc.ca.us/cat2courses/bio104/ChapterNotes/Chapter04notesLewis.htm

Thank you Miss Lampoei Puangmalai Major of biology Department of science St. Louis College Chachoengsao

Plant cell

Animal cell

Plant cell

Animal cell

Ribosome

Cytoskeleton. Figure 9. Electron micrograph showing the cytoplasm and its five basal bodies (BB) surrounded by the pelta (P); a portion of the costa (C) can be also observed. (X14,000). Figure 10. T. vaginalis anterior section showing the birth of four anterior flagella (F); a longitudinal cut of two of the flagella shows peripheral microtubules and the central pair in their interior. One of the basal bodies (BB) can be observed distinctively showing its nine triplets of peripheral microtubules and no central pair. Ciliary rootlets (CR) are observed as emerging from these microtubules. The cytoplasm shows microtubules belonging to the pelta (P) (X27,000). Figure 11. Tangential cut of the anterior section of the parasite showing the transverselly-sectioned microtubules of the axostyle (Ax), the pelta (P) and the four basal bodies (X24,0 00). Figure 12. Axostyle (Ax) shown in Fig 11, now at a higher magnification (X50,000). Figure 13. Transversal cut of a flagellum showing nine pairs of peripheral microtubules and the central pair (X67,000). Figure 14. Transversal cut of the undulating membrane (UM) being accompanied by the recurrent flagellum (X27,000). Figure 15. Longitudinal section of the costa (C) showing the «palisade-like» conformation displayed by its microtubules (X27,000).