งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชั่วโมงที่ 39 กรดนิวคลิอิก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชั่วโมงที่ 39 กรดนิวคลิอิก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ชั่วโมงที่ 39 กรดนิวคลิอิก
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 ชั่วโมงที่ 39 กรดนิวคลิอิก

2 สารและสมบัติของสาร ม. 4–6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 กรดนิวคลิอิก เวลา 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 กรดนิวคลิอิก 1 ชั่วโมง สาระการเรียนรู้ 4. กรดนิวคลิอิก 4.1 โครงสร้างของ DNA 4.2 โครงสร้างของ RNA จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

3 มีสารชีวโมเลกุลเป็นองค์ประกอบหรือไม่
รูปนี้คือรูปอะไร โครงสร้างดังรูป มีสารชีวโมเลกุลเป็นองค์ประกอบหรือไม่ 1) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยถามคำถามกับนักเรียนว่า – รูปนี้คืออะไร – โครงสร้างดังรูปมีสารชีวโมเลกุลเป็นองค์ประกอบหรือไม่ 2) ครูให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และให้นักเรียนร่วมกันค้นหาคำตอบจากบทเรียนเพื่อ เชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง กรดนิวคลิอิก ครูใช้เวลาในการนำเข้าสู่บทเรียนประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)

4 กรดนิวคลิอิก (nucleic acid)
4. กรดนิวคลิอิก กรดนิวคลิอิก (nucleic acid) กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA กรดไรโบนิวคลิอิก (ribonucleic acid) หรือ RNA มีขนาดโมเลกุลใหญ่มาก มี นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) เป็นหน่วยย่อย 4. กรดนิวคลิอิก 1) ครูอธิบายเกี่ยวกับ กรดนิวคลิอิก (nucleic acid) ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกตามลำดับ เพื่อแสดงกรดนิวคลิอิกแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA และ กรดไรโบนิวคลิอิก (ribonucleic acid) หรือ RNA ซึ่งกรดนิวคลิอิกทั้ง 2 ชนิดมีหน่วยย่อย คือ นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) ครูใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประมาณ 25 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม)

5 นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยประกอบด้วยส่วนย่อยกี่ส่วน อะไรบ้าง
 4. กรดนิวคลิอิก นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยประกอบด้วยส่วนย่อยกี่ส่วน อะไรบ้าง และกรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก และกรดไรโบนิวคลิอิก แตกต่างกันลักษณะใด แบ่งกลุ่ม ร่วมกันสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ แล้วมาอภิปรายและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ลองตอบคำถาม จากแนวคำถามต่อไปนี้ 4. กรดนิวคลิอิก 1) ครูถามนักเรียนว่า นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยประกอบด้วยส่วนย่อยกี่ส่วน อะไรบ้าง และกรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก และกรดไรโบนิวคลิอิกแตกต่างกันลักษณะใด แล้วให้นักเรียน ร่วมกันอภิปรายคำตอบเกี่ยวกับคำถาม ซึ่งคำตอบอาจมีได้หลากหลายคำตอบ โดยครูยังไม่เฉลย คำตอบที่ถูกต้อง จากนั้นครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มแล้วร่วมกันค้นหาคำตอบ เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ การปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม 2) ครูคลิกเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม โดยครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5–6 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกรดนิวคลิอิก ดังนี้ – ส่วนประกอบของนิวคลีโอไทด์ – กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก – กรดไรโบนิวคลิอิก โดยครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากหนังสือเรียน ในห้องสมุด หรืออินเทอร์เน็ต จากนั้นให้ แต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกันจนสมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้าใจ และให้แต่ละกลุ่ม นำเสนอผลการสืบค้นข้อมูลหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 3) ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา 4) ครูคลิกเพื่อให้นักเรียนตอบคำถามจากแนวคำถามในเฟรมถัดไป

6 แนวคำถาม 1. หน่วยย่อยของกรดนิวคลิอิกเรียกว่าอะไร นิวคลีโอไทด์
 4. กรดนิวคลิอิก แนวคำถาม 1. หน่วยย่อยของกรดนิวคลิอิกเรียกว่าอะไร นิวคลีโอไทด์ 2. นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยประกอบด้วยส่วนย่อยกี่ส่วน อะไรบ้าง 3 ส่วน คือ หมู่ฟอสเฟต น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม และเบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ 3. โครงสร้างของ DNA และ RNA มีลักษณะแบบใด โครงสร้างของ DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สายยาว 2 สายพันกันเป็นเกลียวคู่แบบบันไดเวียน ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส ยึดเกาะกันด้วยคู่เบส คือ กัวนีนกับไซโทซีน และแอดินีนกับไทมีน ส่วนโครงสร้างของ RNA ประกอบด้วยสายนิวคลีโอไทด์เหมือนใน DNA แต่น้ำตาลของ RNA เป็นไรโบสยึดเกาะกันด้วยคู่เบสแอดินีนกับยูราซิลแทนไทมีน 4. กรดนิวคลิอิก 1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายซักถามและแสดงความคิดเห็นผลจากการสืบค้นข้อมูล โดยใช้แนวคำถาม 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถาม ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและคำตอบทีละข้อ)

7 P N C นิวคลีโอไทด์ หมู่ฟอสเฟส เบสที่มีไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบ
 4. กรดนิวคลิอิก นิวคลีโอไทด์ หมู่ฟอสเฟส P C น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม N เบสที่มีไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบ 4. กรดนิวคลิอิก ครูคลิกตามลำดับเพื่อแสดงโครงสร้างของนิวคลีโอไทด์ พร้อมอธิบายว่านิวคลีโอไทด์ เกิดจากปฏิกิริยาควบแน่นระหว่างหน่วยย่อย 3 หน่วย ได้แก่ น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม หมู่ฟอสเฟต และเบสที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ

8 เบสในนิวคลีโอไทด์ อนุพันธ์ของพิวรีน อนุพันธ์ของพิริมิดีน แอดินีน A
 4. กรดนิวคลิอิก เบสในนิวคลีโอไทด์ อนุพันธ์ของพิวรีน อนุพันธ์ของพิริมิดีน แอดินีน A กัวนีน G ยูราซิล U ไซโทซีน C ไทมีน T 4. กรดนิวคลิอิก ครูคลิกแสดงเบสในนิวคลีโอไทด์ตามลำดับ พร้อมอธิบายลักษณะของเบสในนิวคลีโอไทด์ ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัทสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

9 C C น้ำตาลในนิวคลีโอไทด์ OH H น้ำตาลไรโบส น้ำตาลดีออกซีไรโบส
 4. กรดนิวคลิอิก น้ำตาลในนิวคลีโอไทด์ C H น้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose sugar) OH C น้ำตาลไรโบส (ribose sugar) 4. กรดนิวคลิอิก ครูคลิกแสดงน้ำตาลในนิวคลีโอไทด์ตามลำดับ พร้อมอธิบายลักษณะของน้ำตาลใน นิวคลีโอไทด์ ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

10 นิวคลีโอไซด์ (nucleoside)
 4. กรดนิวคลิอิก นิวคลีโอไซด์ (nucleoside) แอดิโนซีน OH A น้ำตาลไรโบส แอดินีน ไทมิดีน H T น้ำตาล ดีออกซีไรโบส 4. กรดนิวคลิอิก ครูคลิกแสดงตัวอย่างของนิวคลีโอไซด์ (nucleoside) ตามลำดับ พร้อมอธิบายลักษณะของ นิวคลีโอไซด์ ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

11 P N C P N C DNA RNA A G C T A G C U  4. กรดนิวคลิอิก H OH
ครูคลิกตามลำดับ เพื่อเปรียบเทียบนิวคลีโอไทด์ของ DNA และ RNA พร้อมอธิบายว่า นิวคลีโอไทด์ของ DNA และ RNA นั้นมีจุดที่แตกต่างกัน 2 จุด คือ – อะตอมของ H และ หมู่ OH บนโมเลกุลของน้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม – เบส T และเบส U A G C U OH

12 ยึดด้วยคู่เบสแบบเจาะจง
 4. กรดนิวคลิอิก 4.1 โครงสร้างของ DNA นิวคลีโอไทด์ 2 สายพันกัน เป็นเกลียวคู่แบบบันไดเวียน 3.4 นาโนเมตร หน้าที่ สะสมข้อมูลทางพันธุกรรม ถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรม ด้วยการจำลองแบบตัวเอง (replication) น้ำตาลดีออกซีไรโบส ยึดด้วยคู่เบสแบบเจาะจง 4. กรดนิวคลิอิก 4.1 โครงสร้างของ DNA ครูคลิกตามลำดับ เพื่ออธิบายโครงสร้างของ DNA ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด G C A T

13 4.2 โครงสร้างของ RNA หน้าที่ มักพบเป็นสายนิวคลีโอไทด์ สายเดี่ยว
 4. กรดนิวคลิอิก 4.2 โครงสร้างของ RNA มักพบเป็นสายนิวคลีโอไทด์ สายเดี่ยว หน้าที่ คัดลอกข้อมูลจาก DNA สังเคราะห์โปรตีนที่ร่างกาย ต้องการ น้ำตาลไรโบส ยึดด้วยคู่เบสแบบเจาะจง 4. กรดนิวคลิอิก 4.2 โครงสร้างของ RNA ครูคลิก ตามลำดับ เพื่ออธิบายโครงสร้างของ RNA ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด G C A U

14 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง เรามาตรวจสอบความเข้าใจกัน
1. เบสที่ต่างกันเพียง 5 ชนิด ของนิวคลีโอไทด์ทำให้เกิดสาย DNA ที่แตกต่างกัน ได้มากมายเพราะอะไร สาย DNA แต่ละสายมีจำนวนและการเรียงลำดับนิวคลีโอไทด์ต่างกัน จำนวนที่ต่างกัน 1 นิวคลีโอไทด์ หรือลำดับการเรียงนิวคลีโอไทด์ที่ต่างกัน 1 ตำแหน่ง ก็ทำให้หน้าที่ของ DNA ต่างกัน 2. DNA และ RNA มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในลักษณะใด 1) ครูถามนักเรียนว่าในหัวข้อนี้มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม 2) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม 3) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถาม ให้นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและคำตอบทีละข้อ) DNA ทำหน้าที่สะสมข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต เพื่อถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ส่วน RNA ทำหน้าที่คัดลอกข้อมูลจาก DNA เพื่อนำมาสังเคราะห์โปรตีนที่ร่างกายต้องการ

15 ทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์
1. กรดนิวคลิอิกมีหน่วยย่อยเรียกว่าอะไร แต่ละหน่วยประกอบด้วยส่วนย่อยกี่ส่วน อะไรบ้าง กรดนิวคลิอิกมีหน่วยย่อย คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก และกรดไรโบนิวคลิอิก ทั้ง 2 ชนิดมีนิวคลีโอไทด์เป็นหน่วยย่อยซึ่งประกอบด้วยส่วนย่อย 3 ส่วน ได้แก่ หมู่ฟอสเฟต น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม และเบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ 2. DNA มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยอะไรบ้าง 1) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถามจากกิจกรรมประจำหน่วย ใน หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูคลิกเพื่อแสดงคำถามในหัวข้อทบทวนคำศัพท์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ แล้วให้ นักเรียนช่วยกันตอบ (ครูคลิกคำถามและเฉลยทีละข้อ) DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สายยาว 2 สายพันกันเป็นเกลียวคู่แบบบันไดเวียน ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบสยึดเกาะกันด้วยคู่เบสที่เฉพาะเจาะจง

16 กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก
สรุป กรดนิวคลิอิก นิวคลีโอไทด์ หน่วยย่อย คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก กรดไรโบนิวคลิอิก แบ่งเป็น น้ำตาลดีออกซีไรโบส หมู่ฟอสเฟต เบส A G C T ประกอบด้วย น้ำตาลไรโบส หมู่ฟอสเฟต เบส A G C U ประกอบด้วย 1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกรดนิวคลิอิก โดยครูให้นักเรียน แต่ละคนเขียนสรุปเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ 2) ครูคลิกเพื่อแสดงตัวอย่างแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์ทีละขั้น พร้อมสรุปทีละประเด็น 3) ครูอาจให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม โดยดูจากคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ครูใช้เวลาในการสรุปประมาณ 5 นาที (หรือให้ครูใช้เวลาตามความเหมาะสม) DNA เกิดเป็น RNA เกิดเป็น

17 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล
แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สารชีวโมเลกุล ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด (การทำแบบทดสอบใน PowerPoint อาจใช้เวลามาก ครูควร print ให้นักเรียนทำแล้วจึงใช้ PowerPoint ตรวจคำตอบ)

18 เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. เมื่อนำสาร A มาทดสอบได้ผลดังนี้ ก หยดสารละลายเบเนดิกต์แล้วไม่เปลี่ยนสี ข หยดสารละลายไอโอดีนแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ค ผสมกับกรดไฮโดรคลอริกและหยดสารละลายเบเนดิกต์แล้วเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง สาร A ไม่ใช่ สารใด ก ข้าวเจ้าสุก ค ข้าวโพดสุก ข มันฝรั่งสุก ง น้ำตาลทราย 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 1 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 1 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะข้าวเจ้าสุกเป็นแป้ง จึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อหยดสารละลายไอโอดีน และต้องผสมกับกรดไฮโดรคลอริกก่อนจึงจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงเมื่อหยดสารละลายเบเนดิกต์ ข ไม่ถูกต้อง เพราะมันฝรั่งสุกเป็นแป้ง จึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อหยดสารละลายไอโอดีน และ ต้องผสมกับกรดไฮโดรคลอริกก่อนจึงจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงเมื่อหยดสารละลายเบเนดิกต์ ค ไม่ถูกต้อง เพราะข้าวโพดสุกเป็นแป้ง จึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อหยดสารละลายไอโอดีน ง ถูกต้อง เพราะน้ำตาลทรายเป็นคาร์โบไฮเดรตขนาดเล็ก ซึ่งอาจเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือ น้ำตาลโมเลกุลคู่ เมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนจึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง และเมื่อหยด สารละลายเบเนดิกต์จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงโดยไม่ต้องผสมกับกรดไฮโดรคลอริกก่อน คำอธิบาย : ง ถูกต้อง เพราะน้ำตาลทรายเป็นคาร์โบไฮเดรตขนาดเล็ก ซึ่งอาจเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ เมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนจึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง และเมื่อหยดสารละลายเบเนดิกต์จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง โดยไม่ต้องผสมกับกรดไฮโดรคลอริกก่อน

19 2. สารละลาย A ผสมกับสารละลายเบเนดิกต์ เมื่ออุ่นในน้ำเดือด เป็นเวลานานจะเกิดการเปลี่ยนแปลง สาร A อาจเป็นสารใดได้บ้าง A แป้ง C CH3COH B ฟรักโทส D น้ำตาลมอลโทส ก A และ B ค B และ D ข A และ C ง C และ D 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 2 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 2 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะแป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ การนำมาต้มไม่ทำให้แป้งสลาย เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้ แป้งจึงไม่เปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์ ข ไม่ถูกต้อง เพราะแป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ การนำมาต้มไม่ทำให้แป้งสลาย เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้ แป้งจึงไม่เปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์ ส่วน CH3COH ไม่ใช่โมเลกุลของน้ำตาล จึงไม่เปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์เช่นกัน ค ถูกต้อง เพราะฟรักโทสเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว จึงเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์ได้เมื่อนำไปต้ม เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ส่วนน้ำตาลมอลโทสเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ จึงต้องนำไปต้มเป็นเวลานาน จึงเกิดการเปลี่ยนสีของสารละลายเบเนดิกต์เป็นสีเขียวหรือสีส้ม ง ไม่ถูกต้อง เพราะ CH3COH ไม่ใช่โมเลกุลของน้ำตาล จึงไม่เปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกต์ คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะฟรักโทสเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจึงเปลี่ยนสีเบเนดิกต์ได้เมื่อนำไปต้มเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ส่วนน้ำตาลมอลโทสเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่จึงต้องนำไปต้มเป็นเวลานานจึงเกิดการเปลี่ยนสีของเบเนดิกต์เป็นสีเขียวหรือสีส้ม

20 3. นริศทดสอบคาร์โบไฮเดรตจากพืชชนิดหนึ่งด้วยสารละลายเบเนดิกต์ ปรากฏว่า ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง นริศจึงสรุปว่าสารที่นำมาทดสอบเป็นเซลลูโลส ถ้านักเรียน ต้องการยืนยันข้อสรุปของนริศ นักเรียนจะเลือกทดสอบด้วยวิธีใด ก ทดสอบด้วยสารละลายไบยูเร็ต ข ทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน ค ทดสอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกและสารละลายเบเนดิกต์ ง ทดสอบด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์และสารละลายเบเนดิกต์ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 3 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 3 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะสารละลายไบยูเร็ตใช้ในการทดสอบโปรตีน ซึ่งคาร์โบไฮเดรตทุกชนิด ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไบยูเร็ต ข ไม่ถูกต้อง เพราะสารละลายไอโอดีนทดสอบได้เฉพาะแป้งเท่านั้น ถ้าสารที่นำมาทดสอบ เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ก็ไม่สามารถทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนได้ ค ถูกต้อง เพราะเซลลูโลสเป็นคาร์โบไฮเดรตจากพืชชนิดเดียวที่กรดไฮโดรคลอริกไม่สามารถ ย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้ เมื่อนำมาทดสอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกและสารละลาย เบเนดิกต์จึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ง ไม่ถูกต้อง เพราะคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ทุกชนิดไม่ทำปฏิกิริยากับโซเดียมไฮดรอกไซด์ คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะเซลลูโลสเป็นคาร์โบไฮเดรตจากพืชชนิดเดียวที่กรดไฮโดรคลอริกไม่สามารถย่อย ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้ เมื่อนำมาทดสอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกและสารละลายเบเนดิกต์จึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

21 4. สิ่งใดไม่ใช่หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต ก ทำลายพิษของสารบางชนิด ข ช่วยในการทำงานของลำไส้ใหญ่ ค มีส่วนร่วมในการสังเคราะห์โปรตีน ง ช่วยประหยัดการใช้โปรตีนในร่างกาย 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 4 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 4 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะสารพิษบางชนิดเมื่อถูกนำไปกำจัดที่ตับจะทำปฏิกิริยากับคาร์โบไฮเดรต ทำให้สารพิษกลายเป็นสารที่ไม่มีพิษ ข ไม่ถูกต้อง เพราะคาร์โบไฮเดรตประเภทเซลลูโลสไม่ถูกย่อยในระบบย่อยอาหารของมนุษย์ จึงเหลือเป็นกากใยอาหาร ซึ่งทำให้ลำไส้ใหญ่ต้องทำหน้าที่ขับกากใยอาหารนี้ออกจากร่างกาย ค ถูกต้อง เพราะสิ่งที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกาย คือ ดีเอ็นเอ ง ไม่ถูกต้อง เพราะคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย โดยร่างกายจะย่อย คาร์โบไฮเดรตเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย ถ้าร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอจึงจะนำ ไขมันและโปรตีนมาย่อยเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะสิ่งที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกาย คือ ดีเอ็นเอ

22 5. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ A ปฏิกิริยาแซพอนิฟีเคชันได้ผลิตภัณฑ์ คือ กลีเซอรอลและเกลือโซเดียมของกรดไขมัน B สบู่คือเกลือโซเดียมของกรดไขมัน C กรดไขมันจำเป็น คือ กรดไขมันชนิดที่ร่างกายขาดไม่ได้ ร่างกายจึงต้องสร้างไว้ ใช้ตลอดเวลา D น้ำมันมีกลิ่นเหม็นหืนเพราะพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ข้อความใดถูกต้อง ก A เท่านั้น ค A, B และ D ข A และ B ง A, B, C และ D คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะข้อความ A ปฏิกิริยาแซพอนิฟีเคชันเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากน้ำมันและสารละลายเบสทำปฏิกิริยากัน ได้ผลิตภัณฑ์ คือ กลีเซอรอลและเกลือโซเดียมของกรดไขมัน โดยถ้าใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นเบส เกลือที่ได้ก็คือ เกลือโซเดียมของกรดไขมัน ข้อความ B เกลือโซเดียมของกรดไขมันที่เกิดจากปฏิกิริยา แซพอนิฟีเคชัน จะมีสมบัติลื่นมือ และสามารถละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน ซึ่งก็คือ สบู่ ข้อความ D พันธะคู่ระหว่างคาร์บอนในกรดไขมันจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนทำให้เกิดเป็นพันธะเดี่ยวที่มีโครงสร้างเปลี่ยนไป จึงเกิดการเหม็นหืน 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 5 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 5 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าข้อความ A จะถูกต้อง แต่ข้อความ B และ D ก็ถูกต้องเช่นกัน ข ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าข้อความ A และ B จะถูกต้อง แต่ข้อความ D ก็ถูกต้องเช่นกัน ค ถูกต้อง เพราะข้อความ A ปฏิกิริยาแซพอนิฟีเคชันเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากน้ำมันและสารละลาย เบสทำปฏิกิริยากัน ได้ผลิตภัณฑ์ คือ กลีเซอรอลและเกลือโซเดียมของกรดไขมัน โดยถ้าใช้ โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นเบส เกลือที่ได้ก็คือ เกลือโซเดียมของกรดไขมัน ข้อความ B เกลือโซเดียมของกรดไขมันที่เกิดจากปฏิกิริยาแซพอนิฟีเคชัน จะมีสมบัติลื่นมือและสามารถ ละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน ซึ่งก็คือ สบู่ ข้อความ D พันธะคู่ระหว่างคาร์บอนในกรดไขมัน จะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนทำให้เกิดเป็นพันธะเดี่ยวที่มีโครงสร้างเปลี่ยนไป จึงเกิดการ เหม็นหืน ง ไม่ถูกต้อง เพราะกรดไขมันจำเป็น คือ กรดไขมันชนิดที่ร่างกายขาดไม่ได้ และร่างกาย ไม่สามารถสร้างได้เอง ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น

23 6. เมื่อนำกรดไขมันมาหยดด้วยสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีน สารที่สีไม่จางลงคือสารใด ก กรดโอเลอิก ข กรดปาล์มิติก ค กรดไลโนเลนิก ง กรดไลโนเลอิก 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 6 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 6 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะกรดโอเลอิกมีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล จึงทำปฏิกิริยากับสารละลายทิงเจอร์- ไอโอดีนได้ ข ถูกต้อง เพราะกรดปาล์มิติกไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล จึงไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายทิงเจอร์- ไอโอดีน ค ไม่ถูกต้อง เพราะกรดไลโนเลนิกมีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล จึงทำปฏิกิริยากับสารละลายทิงเจอร์- ง ไม่ถูกต้อง เพราะกรดไลโนเลอิกมีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล จึงทำปฏิกิริยากับสารละลายทิงเจอร์- คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะกรดปาล์มิติกไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล จึงไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีน

24 7. ตรีตั้งข้อสันนิษฐานว่ากรดไขมันตัวอย่างที่จะนำไปทดสอบเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ผลการทดลองใดที่ตรีไม่ควรบันทึกได้ ก ฟอกสีทิงเจอร์ไอโอดีนได้ ข ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน ค มีปริมาณอะตอมของไฮโดรเจนน้อย ง ได้ผลการทดลองไม่เหมือนกรดปาล์มิติก 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 7 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 7 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะไอโอดีนจะเข้าทำปฏิกิริยากับพันธะคู่ในสายไฮโดรคาร์บอนของกรดไขมัน ไม่อิ่มตัว ทำให้สีของทิงเจอร์ไอโอดีนจางหายได้เมื่อหยดลงในกรดไขมันไม่อิ่มตัว ข ถูกต้อง เพราะเป็นผลการทดลองที่ไม่ควรบันทึกได้ เนื่องจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่ ในสายไฮโดรคาร์บอนของกรดไขมัน ซึ่งทำปฏิกิริยากับแก๊สไฮโดรเจน ทำให้พันธะคู่กลาย เป็นพันธะเดี่ยว ซึ่งเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน ค ไม่ถูกต้อง เพราะพันธะคู่ทำให้คาร์บอนคู่หนึ่งสร้างพันธะกับไฮโดรเจนได้น้อยลง ปริมาณ อะตอมของไฮโดรเจนในกรดไขมันไม่อิ่มตัวจึงน้อย ง ไม่ถูกต้อง เพราะกรดปาล์มิติกเป็นกรดไขมันอิ่มตัว คำอธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะเป็นผลการทดลองที่ไม่ควรบันทึกได้ เนื่องจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่ในสายไฮโดรคาร์บอนของกรดไขมัน ซึ่งทำปฏิกิริยากับแก๊สไฮโดรเจน ทำให้พันธะคู่กลายเป็นพันธะเดี่ยว ซึ่งเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน

25 8. ธนกฤตนำนมสดมาทดสอบด้วยสารละลาย CuSO4 ปรากฏว่าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ธนกฤตจึงสรุปว่านมสดไม่มีสารอาหารประเภทโปรตีน นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ ก เห็นด้วย เพราะสารละลาย CuSO4 จะทำปฏิกิริยากับโปรตีนเท่านั้น ข เห็นด้วย เพราะนมสดประกอบด้วยสารอาหารประเภทไขมันเป็นหลัก ค ไม่เห็นด้วย เพราะสารละลาย CuSO4 ไม่ทำปฏิกิริยากับโปรตีน ง ไม่เห็นด้วย เพราะการทดสอบต้องเติมสารละลาย NaOH ด้วยจึงจะเป็นการทดสอบ หาโปรตีนที่ถูกต้อง 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 8 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 8 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะสารละลาย CuSO4 จะทำปฏิกิริยากับโปรตีนเมื่ออยู่ในสภาวะเบสเท่านั้น ข ไม่ถูกต้อง เพราะนมสดเป็นอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารประเภทโปรตีนเป็นหลัก ค ไม่ถูกต้อง เพราะสารละลาย CuSO4 จะทำปฏิกิริยากับโปรตีนเมื่ออยู่ในสภาวะเบส ง ถูกต้อง เพราะการทดสอบหาโปรตีนในอาหารต้องใช้สารละลายไบยูเร็ต ซึ่งประกอบด้วย สารละลาย CuSO4 ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีสมบัติเป็นเบสแก่ คำอธิบาย: ง ถูกต้อง เพราะการทดสอบหาโปรตีนในอาหารต้องใช้สารละลายไบยูเร็ต ซึ่งประกอบด้วยสารละลาย CuSO4 ในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีสมบัติเป็นเบสแก่

26 9. สารที่เมื่อทดสอบหาโปรตีนแล้วมีการเปลี่ยนสีสารละลายที่ถูกต้องคือสารใด ก น้ำเชื่อม–สีส้มแดง ข ไข่ขาวดิบ–สีส้มแดง ค น้ำนมถั่วเหลือง–สีม่วง ง น้ำมันพืช–สีม่วงอมชมพู 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 9 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 9 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำเชื่อมไม่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ เมื่อทดสอบกับสารละลายไบยูเร็ต จึงไม่เกิดการเปลี่ยนสี ข ไม่ถูกต้อง เพราะไข่ขาวดิบมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ เมื่อทดสอบกับสารละลายไบยูเร็ต จะเปลี่ยนสีจากสีฟ้าเป็นสีม่วง สีม่วงอมชมพู หรือสีน้ำเงิน ค ถูกต้อง เพราะน้ำนมถั่วเหลืองมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ เมื่อทดสอบกับสารละลายไบยูเร็ต ง ไม่ถูกต้อง เพราะน้ำมันพืชไม่มีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ เมื่อทดสอบกับสารละลายไบยูเร็ต คำอธิบาย: ค ถูกต้อง เพราะน้ำนมถั่วเหลืองมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ เมื่อทดสอบกับสารละลายไบยูเร็ต จะเปลี่ยนสีจากสีฟ้าเป็นสีม่วง สีม่วงอมชมพู หรือสีน้ำเงิน

27 10. ส่วนประกอบของ DNA และ RNA แตกต่างกันในเรื่องใด ก กลุ่มเบส ข กลุ่มน้ำตาล ค กลุ่มฟอสเฟต ง กลุ่มเบสและกลุ่มน้ำตาล 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน วิทยาศาสตร์ สารและสมบัติของสาร ม. 4–6 ข้อ 10 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 10 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่า DNA และ RNA จะมีกลุ่มเบสที่ต่างกัน แต่ก็มีกลุ่มน้ำตาลที่ต่างกันด้วย ข ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่า DNA และ RNA จะมีกลุ่มน้ำตาลที่ต่างกัน แต่ก็มีกลุ่มเบสที่ต่างกันด้วย ค ไม่ถูกต้อง เพราะกลุ่มฟอสเฟตของ DNA และ RNA คือ PO42- เหมือนกัน ง ถูกต้อง เพราะ DNA และ RNA มีกลุ่มเบสที่ต่างกัน 1 กลุ่ม โดยกลุ่มเบสใน DNA คือ แอดินีน กัวนีน ไซโทซีน และไทมีน ส่วนกลุ่มเบสใน RNA คือ แอดินีน กัวนีน ไซโทซีน และยูราซิล นอกจากนี้กลุ่มน้ำตาลของ DNA และ RNA ก็ต่างกัน โดยกลุ่มน้ำตาลของ DNA คือ น้ำตาล ดีออกซีไรโบส ส่วนกลุ่มน้ำตาลของ RNA คือ น้ำตาลไรโบส คำอธิบาย: ง ถูกต้อง เพราะ DNA และ RNA มีกลุ่มเบสที่ต่างกัน 1 กลุ่ม โดยกลุ่มเบสใน DNA คือ แอดินีน กัวนีน ไซโทซีน และไทมีน ส่วนกลุ่มเบสใน RNA คือ แอดินีน กัวนีน ไซโทซีน และยูราซิล นอกจากนี้กลุ่มน้ำตาลของ DNA และ RNA ก็ต่างกัน โดยกลุ่มน้ำตาลของ DNA คือ น้ำตาลดีออกซีไรโบส ส่วนกลุ่มน้ำตาลของ RNA คือ น้ำตาลไรโบส


ดาวน์โหลด ppt ชั่วโมงที่ 39 กรดนิวคลิอิก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google