อาจารย์จุฑามาศ พรหมทอง สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ บทที่ 2 แหล่งสารสนเทศ อาจารย์จุฑามาศ พรหมทอง สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
ความหมายของแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศหรือแหล่งค้นคว้า (Information sources) หมายถึง แหล่งที่ผลิต และ/หรือ แหล่งที่รวบรวมสารสนเทศในทุกรูปแบบไว้เป็นแหล่งจัดเก็บและบริการทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ไว้ให้บริการแก่ผู้ต้องการสารสนเทศ และเพื่อประโยชน์แก่ผู้ใช้ในการค้นคว้าและหาข้อมูล
ประเภทของแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศบุคคล แหล่งสารสนเทศสถาบัน แหล่งสารสนเทศสถานที่ แหล่งสารสนเทศเหตุการณ์ แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน แหล่งสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
ประเภทของแหล่งสารสนเทศ 1. แหล่งสารสนเทศบุคคล แหล่งสารสนเทศที่มีอยู่ในตัวบุคคลที่เป็นผู้รู้สารสนเทศ โดยเกิดจากการประมวลความคิด ความรู้และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศบุคคลอาจต้องใช้วิธีการติดต่อสอบถาม ขอความรู้ คำแนะนำเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการจากบุคคลเหล่านั้นโดยตรง ตัวอย่างแหล่งสารสนเทศบุคล เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักวิชาชีพในสาขาวิชาต่างๆ
ประเภทของแหล่งสารสนเทศ 2. แหล่งสารสนเทศสถาบัน แหล่งสารสนเทศที่มีลักษณะเป็น หน่วยงานที่จัดทำ/ผลิต/เผยแพร่สารสนเทศได้แก่ สถาบัน/องค์การต่างๆ ซึ่งอาจเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน สมาคม หรือองค์การระหว่างประเทศ หน่วยงานที่รวบรวมและบริการ เช่น ห้องสมุด หอสมุด หอจดหมายเหตุ เป็นต้น 1. แหล่งสารสนเทศบุคคล
แหล่งสารสนเทศสถาบัน - ห้องสมุด ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) ห้องสมุดมหาวิทยาลัย (Academic library) ห้องสมุดประชาชน (Public Library) ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) หอสมุดแห่งชาติ (National Library)
ห้องสมุดโรงเรียน (School Library)
ห้องสมุดมหาวิทยาลัย (Academic library) คลิปวิดีโอห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ห้องสมุดประชาชน (Public Library)
ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library)
ประเภทของแหล่งสารสนเทศ 1. แหล่งสารสนเทศบุคคล แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริงหรือสถานที่จำลอง ผู้ใช้สามารถศึกษาหาความรู้จากสถานที่เหล่านี้ได้ เช่น ปราสาท โบราณสถาน อุทยานแห่งชาติ รวมถึงสถานที่จำลอง แหล่งสารสนเทศประเภทนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เนื่องจากบุคคลจะได้รับประสบการณ์ โดยตรง ข้อด้อย หากแหล่งสารสนเทศอยู่ไกล ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 2. แหล่งสารสนเทศสถาบัน 3. แหล่งสารสนเทศสถานที่ ตัวอย่าง คลิปเขากระโดง
ประเภทของแหล่งสารสนเทศ 1. แหล่งสารสนเทศบุคคล 2. แหล่งสารสนเทศสถาบัน 3. แหล่งสารสนเทศสถานที่ เป็นแหล่งสารสนเทศที่รวบรวมกิจกรรมหรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้นและจบไปแล้วแต่ยังเป็นเหตุการณ์ที่ยังคงระลึกถึงและให้ความสำคัญ 4. แหล่งสารสนเทศเหตุการณ์
ประเภทของแหล่งสารสนเทศ 1. แหล่งสารสนเทศบุคคล แหล่งสารสนเทศที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ข่าวสาร เหตุการณ์ต่อมวลชนส่วนใหญ่ เน้นที่ความทันสมัย/ทันต่อเหตุการณ์ ใช้การถ่ายทอดสารสนเทศในรูปของการกระจายเสียง ภาพ และตัวอักษร โดยผ่านสื่อประเภทต่างๆ ได้แก่ สื่อหนังสือพิมพ์ เน้นการนำเสนอข่าวสาร เหตุการณ์บ้านเมือง ความรู้ ความบันเทิงที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผ่านทางอักษรและรูปภาพ สื่อวิทยุ เผยแพร่สารสนเทศ ประเภทข่าว เหตุการณ์ต่างๆผ่านทางเสียง สื่อโทรทัศน์ เป็นการเผยแพร่สาระความรู้เรื่องที่ผู้คนสนใจผ่านทางเสียง ภาพ ข้อความโดยผ่านทางเครื่องรับโทรทัศน์ 2. แหล่งสารสนเทศสถาบัน 3. แหล่งสารสนเทศสถานที่ 4. แหล่งสารสนเทศเหตุการณ์ 5. แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน
ประเภทของแหล่งสารสนเทศ 1. แหล่งสารสนเทศบุคคล เป็นแหล่งที่รวบรวม สื่อสารและให้บริการสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จัดทำโดยบุคคล หน่วยงาน หรือองค์การต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของผู้ผลิตในกลุ่มต่างๆ ดังนี้ เว็บของสถาบันการศึกษา เว็บของบริษัทธุรกิจ เว็บของหน่วยราชการ เว็บขององค์การระหว่างประเทศ เว็บของสมาคมวิชาชีพ 2. แหล่งสารสนเทศสถาบัน 3. แหล่งสารสนเทศสถานที่ 4. แหล่งสารสนเทศเหตุการณ์ 5. แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน 6. แหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต
แหล่งสารสนเทศอื่นๆ ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Document Center or Information Center) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ จัดเก็บและให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา การบริการส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่เนื้อหาของเอกสารมากกว่าตัวเล่ม โดยมี นักเอกสารสนเทศ ช่วยเหลือในการค้นคว้าวิจัยและการให้บริการแก่ผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่ คือ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย
แหล่งสารสนเทศอื่นๆ หอจดหมายเหตุ (Archives) คลิปหอจดหมายเหตุประเภทต่างๆ หอจดหมายเหตุ (Archives) เป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ทำการคัดเลือก จัดเก็บ และอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ โดยการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. เอกสารจดหมายเหตุประวัติศาสตร์ เป็นการจัดเก็บเอกสารที่มีอายุ 25 ปี ขึ้นไป จะถูกจัดเก็บในหอจดหมายเหตุประวัติศาสตร์ 2. เอกสารจดหมายเหตุงานบริหาร เป็นการจัดเก็บเอกสารที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี และเอกสารการบริหารงานที่ผ่านมา โดยจะถูกจัดเก็บในหอจดหมายเหตุ ไม่สามารถยืมออกมาได้ และมีนักจดหมายเหตุเป็นคนดูแลหอจดหมายเหตุ