บทที่ 4 เทคนิคการแตกโครงสร้างงาน Work Breakdown

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Work Breakdown Structure
Advertisements

Best Practices for Managing A Project
การวางแผนและกำหนดเป้าหมาย (Organizational Planning and Goal Setting)
Business System Analyst
Mind map (From Wikipedia, the free encyclopedia)
Enhanced Entity-Relationship Model
Systems Analysis and Design
Resource Leveling การจัดการทรัพยากร
Process Analysis การวิเคราะห์กระบวนการ
บทที่ 4 Plan การวางแผน.
List ADTs By Pantharee S..
พัฒนาการบริหาร ที่มีประสิทธิภาพ ??? โดยการบริหารการพัฒนาโครงการ
Definition and organization
ผู้จัดการโครงงาน และ คณะทำงานโครงงาน The Project Manager and The Project Team Information System Project Management Date 27 June 2008 Time
Customer Relationship Management (CRM)
Establishing a Culture of Achievement: Multiliteracies in the ELT Classroom Session #2: 27 July 2012.
Company LOGO Management Skills for New Managers on October วิทยากร อ. ประสานศักดิ์ สุวรรณโพธิพระ บรรยายภาษาไทย.
Self-access materials By Self-access Learning Centre, KMUTT Copyright © 2011 Self-access Learning Centre, KMUTT Synonym.
1 คต ๔๔๑ สรุปการจัดการ โครงการซอฟต์แวร์ คต ๔๔๑ สรุปการจัดการ โครงการซอฟต์แวร์ Royal Thai Air Force Academy : RTAFA Royal Thai Air Force Academy : RTAFA.
อาจารย์ วิทูร ธรรมธัชอารี. เนื้อหาในการเรียน  เครื่องมือในการออกแบบและพัฒนาระบบ บัญชีด้วยคอมพิวเตอร์  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล  การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
Verb to have (have, has)
LIT MBA รุ่นที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ธันวาคม 2558.
Practice File. Our Executive Coaching Program is proven effective. Our customer survey show ROI of coaching can be as high as 3 times the investment value.
Faculty of Information Science and Technology, MUT 13/8/59 IS/Thesis OverviewIS/Thesis Overview.
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
หน้าต่างหลัก ของโปรแกรม Project Management เป็นโปรแกรมที่ ช่วยดูแล การ จัดการของงาน ต่างๆ ให้มี ความเป็น ระเบียบ และ ตรวจสอบการ ทำงานได้ง่าย ยิ่งขึ้น.
Information Systems Project Management MIT-M Chiangmai University Project Scheduling Project Implementation ครั้งที่ 4 วันที่ 6 มีนาคม 2559.
Work Study: Its History
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
ICT in KM 03: เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม
Information Systems Development
คำขวัญกลุ่ม สร้างสรรค์ ส่งเสริม ใส่ใจ เรียนรู้ผ่านกิจกรรม กลุ่ม RE-ACC
Product Overview & ERP Concept
การทดสอบซอฟต์แวร์ Software Testing
การบริหารธุรกิจ MICE Chapter 7 TD 451.
Road to the Future - Future is Now
ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต
8 แนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายธุรกิจที่มี CSR
Information System Development
หน่วยที่ 2 ข้อมูลและสารสนเทศ
การปลูกจิตสำนึกในการทำกิจกรรมปรับปรุง และ ทำงานอย่างมีความสนุกสุขใจ
การจัดทำแบบบรรยายลักษณะงาน (Job Description) และตัวชีวัดระดับบุคคล
บทที่ 2 แนวคิดทางด้านต้นทุน ชนิดต้นทุน
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางการเงิน
Advanced Topics on Total Quality Management
การวางแผน (Planning) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 2 การวางแผนและการบริหารโครงการ (Project Planning and Management)
ความต้องการสารสนเทศ (Information need)
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงการ
การคำนวณต้นทุนผลผลิต
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทที่ 6 การบริหารและการวางแผนการผลิต
Selecting Research Topics for Health Technology Assessment 2016
  ISY3103 ธุรกิจสารสนเทศ.
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information System Development)
Activity-Based-Cost Management Systems.
แนวความคิดและทฤษฎีการจัดการ Concept and Management Theory
บทที่ 5 องค์กร การบริหารในองค์กรและการพัฒนางานอาชีพในองค์กร
การควบคุม (Controlling)
บทที่ 13 การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ).
MR. PAPHAT AUPAKA UPDATE PICTURE MEETING ROOM SYSTEM
เทคนิคการเขียน Resume
ณ ห้องประชุมกองการเงินและบัญชี กรมชลประทาน สามเสน กรุงเทพมหานคร
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการบูรณาการภาครัฐและเอกชนในการจัดยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคตะวันออก This template can be used as a starter file to give updates for.
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทางธุรกิจ
สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
กลยุทธ์การทดสอบซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
สารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
บทที่ 1 กลยุทธ์ของกระบวนการการพัฒนา ซอฟต์แวร์รายบุคคล
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 4 เทคนิคการแตกโครงสร้างงาน Work Breakdown

Key Topics Covered in This Chapter Using work breakdown structure to subdivide complex tasks into many smaller tasks การใช้เทคนิคการแตกโครงสร้างงาน เพื่อแบ่งย่อยงานใหญ่ที่มีความซับซ้อนออกเป็นงานย่อย ๆ หลาย ๆ งาน Estimating time and resource requirements for each task การประเมินเวลาและทรัพยากรที่ต้องการสำหรับแต่ละงาน Fitting people to tasks การจัดคนให้เหมาะสมกับงาน

Scope Definition การนิยามขอบเขตงาน (Scope definition) เป็นการแบ่งงานหลัก ๆ ในโครงการให้ย่อยลงจนสามารถมองเห็นรายละเอียดได้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ทีมงานโครงการมักจะจัดทำรายละเอียดเหล่านี้ให้อยู่ในรูปของโครงสร้างกิจกรรมย่อย (Work Breakdown Structure หรือ WBS)

Work Breakdown Structure โครงสร้างกิจกรรมย่อย (WBS) เป็นการจัดกลุ่มกิจกรรมที่อยู่ในโครงการทั้งหมดเพื่อแสดงให้เห็นขอบเขตงานโครงการทั้งหมด ในขั้นตอนของการจัดทำ WBS นั้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นที่จะต้องทำในโครงการจะถูกแบ่งย่อยให้เล็กลง จนกระทั่งสามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนได้เลยว่า ทีมงานโครงการจะต้องทำอะไรบ้างในแต่ละกิจกรรมย่อยเหล่านั้น และจะทำกิจกรรมย่อยเหล่านั้นอย่างไร

Work Breakdown Structure จากรูป แสดงตัวอย่างส่วนของ WBS โครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการของ Microsoft Corporation สำหรับ Windows XP ถูกกำหนดให้อยู่ในรูปของ WBS ในรายละเอียดเป็นระดับย่อยลงไปได้ถึง 4 ระดับเป็นอย่างน้อย แหล่งที่มา: Heizer, Jay, and Barry Render. Operations Management. New Jersey: Pearson Education, Inc., 2004.

Work Breakdown Structure WBS ถือเป็นเอกสารเบื้องต้นชิ้นหนึ่งในการบริหารจัดการโครงการ เนื่องจากเอกสารดังกล่าวจะแสดงหลักเกณฑ์ในการวางแผนและการบริหารจัดการตารางเวลา ต้นทุน ทรัพยากร และเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโครงการ WBS ที่ดีมีประสิทธิภาพควรจะแสดงกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำทั้งหมดของโครงการ กิจกรรมใดที่ไม่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการไม่ควรถูกแสดงไว้ใน WBS นี้ หรือถ้าจะพูดอีกแง่หนึ่งก็คือ ทีมงานโครงการควรจะทำกิจกรรมที่ปรากฏอยู่ใน WBS เท่านั้น เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นต้องทำ และกิจกรรมใดที่ไม่ปรากฏอยู่ใน WBS ก็ไม่ต้องทำเพราะไม่มีความจำเป็นต่อโครงการ

จงทำในสิ่งที่ต้องทำ และไม่ทำในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำ ข้อบกพร่องอันเกิดจากการที่ไม่ได้กำหนดว่าส่วนต่าง ๆ ของโครงการนั้นคืออะไร (ทำให้ไม่ได้ทำ) และ ส่วนใดที่ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำในโครงการ (ทำให้ทำในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำ) อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์อันเกิดจากการทำงานโดยไม่จำเป็นในการสร้างผลผลิตจากโครงการ มันจะนำไปสู่การเกินเวลา และงบประมาณที่ใช้ในโครงการนั้น ๆ งบประมาณบานปลาย โครงการไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนด

Work Breakdown Structure วิธีการสร้างโครงสร้างกิจกรรมย่อย (WBS) มีอยู่มากมายหลายวิธี แต่วิธีที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย มีอยู่ 5 วิธี คือ วิธีการใช้คำแนะนำ (Using guidelines) เป็นการสร้าง WBS ตามแนวทาง หรือคำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินโครงการหรือการทำกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว บางครั้งกิจการหรือองค์กรขนาดใหญ่จะมีแนวทางและรูปแบบที่ชัดเจนในการสร้าง WBS เพื่อให้ผู้ที่ทำโครงการได้ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดโครงร่างของโครงการ ในกรณีเช่นนี้ จึงถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และสำคัญมากที่ WBS ที่ถูกจัดทำขึ้นจะต้องเป็นไปตามแนวทางเดียวกับคำแนะนำที่กิจการหรือองค์กรเจ้าของโครงการได้แนะนำไว้

Work Breakdown Structure วิธีการเปรียบเทียบ (Analogy approach) โดยการอาศัยข้อมูลหรือ WBS ของโครงการที่เคยทำมาแล้ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการที่กำลังพิจารณาอยู่ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้าง WBS สำหรับโครงการปัจจุบัน การนำวิธีนี้มาใช้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่ของการประหยัดทรัพยากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้บางส่วน เช่น เวลา ค่าใช้จ่าย และบุคลากร เป็นต้น

Work Breakdown Structure วิธีการสร้างจากบนลงล่าง (Top-down approach) การใช้วิธีนี้เพื่อสร้าง WBS จะเริ่มต้นจากการกำหนดกิจกรรมหรืองานอย่างกว้าง ๆ และมีขนาดใหญ่ที่สุดก่อน แล้วจึงแบ่งกิจกรรมดังกล่าวออกเป็นกิจกรรมย่อย ที่มีขอบเขตอยู่ภายใต้กิจกรรมใหญ่อีกทีหนึ่ง กระบวนการแตกกิจกรรมในลักษณะนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า กิจกรรมที่วางไว้ตามแผนโครงการได้ถูกกลั่นกรองในรายละเอียด และแจกแจงให้มีขนาดที่เล็กลงและพร้อมที่จะดำเนินการได้อย่างชัดเจนในระดับที่ต่ำลงไป วิธีนี้เหมาะที่จะนำมาใช้ในการสร้าง WBS สำหรับโครงการที่ผู้จัดการโครงการเป็นผู้ที่มีความรู้ประสบการณ์ด้านเทคนิคมากเพียงพอ และสามารถมองภาพโดยรวมของโครงการออกได้อย่างชัดเจน

Work Breakdown Structure วิธีการสร้างจากล่างขึ้นบน (Bottom-up approach) วิธีนี้ สมาชิกในทีมงานโครงการจะมีบทบาทมาก โดยเริ่มจากการที่สมาชิกในทีมงานจะช่วยกันกำหนดกิจกรรมหรืองานที่จำเป็นที่จะต้องทำในโครงการให้เฉพาะเจาะจง และมีจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กิจกรรมที่เป็นผลลัพธ์ซึ่งมักจะมีขนาดเล็กจะถูกจัดรวบรวมเป็นกลุ่มที่ชัดเจน ตามหมวดกิจกรรมในระดับที่สูงขึ้นอีกทีหนึ่ง ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของวิธีนี้ก็คือ ทีมงานโครงการจะต้องสูญเสียเวลาจำนวนมากไปกับการสร้าง WBS อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีการสร้าง WBS ที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว วิธีนี้มักจะถูกนำมาใช้กับโครงการทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับการสร้าง หรือพัฒนาสินค้าหรือบริการแนวใหม่ ๆ ที่ยังไม่ค่อยมีโครงการใดทำมาก่อน หรือเป็นโครงการที่ต้องการให้สมาชิกทีมงานมีความรู้สึกผูกพันกับโครงการนั้นเป็นพิเศษ

Work Breakdown Structure วิธีการวางแผนจากความคิด (Mind-mapping approach) เป็นเทคนิคที่แสดงการแตกความคิดหลักออกเป็นกิ่งก้านสาขาที่สร้างความคิดย่อย ๆ ที่สัมพันธ์กัน วิธีการนี้จะเปิดโอกาสให้ทีมงานโครงการได้เริ่มต้นสร้าง WBS อย่างอิสระด้วยการถ่ายทอดความคิดผ่านการเขียนหรือวาดความสัมพันธ์ของกิจกรรมหรืองาน ที่คิดว่าจำเป็นต้องทำในโครงการอย่างคร่าว ๆ โดยไม่ต้องมีโครงสร้างที่เป็นทางการดังเช่นวิธีการสร้าง WBS วิธีอื่น การกำหนดแล้วรวบรวมกิจกรรมย่อยให้เป็นกลุ่มในลักษณะนี้ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ของสมาชิกในทีมงาน ตลอดจนเสริมสร้างความมีส่วนร่วมและศีลธรรมอันดีให้เกิดขึ้นภายในทีมงาน

Work Breakdown Structure แสดงตัวอย่างการสร้างโครงสร้างกิจกรรมย่อยด้วยวิธี Mind-mapping แหล่งที่มา: Hal. “Tired of MS Project? Try Mind Mapping.” Reforming Project Management 3 Aug. 2004. 31 Jul. 2007 <http://www.reformingprojectmanagement.com/ 2004/08/03/407/>.

Work Breakdown Structure ในการสร้าง WBS ให้ได้ดีมีประสิทธิภาพอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการสร้างดังเช่นที่แนะนำข้างต้นประกอบกันหลาย ๆ วิธี เนื่องจากการสร้าง WBS ที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น การนำวิธีการสร้างวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียวมาประยุกต์ใช้จึงเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้แล้ว ข้อควรคำนึงถึงเพิ่มเติมในการสร้าง WBS ได้แก่ เนื้อหารายละเอียดของกิจกรรมใน WBS จะต้องเป็นการสรุปรายละเอียดของกิจกรรมที่อยู่ในระดับล่างลงไป กิจกรรมย่อยที่สุด (ที่อยู่ในระดับล่างสุด) จะต้องมีผู้รับผิดชอบเพียงคนเดียวถึงแม้ว่าจะมีผู้ร่วมทำกิจกรรมนั้นมากกว่า 1 คน ก็ตาม ข้อมูลใน WBS จะต้องสอดคล้องกับการดำเนินงานจริงของโครงการ

Work Breakdown Structure สมาชิกทีมงานโครงการควรมีส่วนร่วมในการสร้าง WBS เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การดำเนินโครงการจริงจะเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ใน WBS และสมาชิกทีมงานทุกคนได้ยอมรับและเห็นพ้องต้องกัน กิจกรรมทุกกิจกรรมใน WBS ควรจะมีการกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับขอบเขตงานที่จะต้องทำและที่จะไม่ต้องทำ WBS ที่ถูกสร้างขึ้นจะต้องสามารถยืดหยุ่นได้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่ยังคงสามารถควบคุมรายละเอียดงานในโครงการตามคำชี้แจงเกี่ยวกับขอบเขตงานได้อย่างเหมาะสม

Work Breakdown Structure แสดงตัวอย่าง WBS และตารางเวลาการดำเนินกิจกรรมโดยการใช้ Gantt chart แหล่งที่มา: Schwalbe, Kathy. Information Technology Project Management. Canada: Thomson, 2004.

Time and Resource Estimates Estimating (การประมาณการ) การประมาณการถือว่าเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการวางแผน (planning process) เป็นการสร้างพื้นฐานในการจัดทำมาตรฐานในเรื่อง budgets, man-hours, material costs, contingencies (เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น โดยมิได้คาดหมาย) เป็นต้น

Time and Resource Estimates การประมาณการระยะเวลากิจกรรม (Activity duration estimating) เป็นการประมาณการช่วงระยะเวลาของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของโครงการ ที่ทีมงานโครงการจำเป็นต้องใช้เพื่อดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ ให้แล้วเสร็จ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงในการประมาณการช่วงระยะเวลาของกิจกรรม ก็คือ ค่าของช่วงระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งจะเป็นผลรวมของระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ จริง และระยะเวลาที่จำเป็นต้องสูญเสียไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระหว่างที่ดำเนินกิจกรรมนั้นอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ช่วงระยะเวลาในการเขียนโปรแกรม (Coding) ในโครงการสร้าง Web site สำหรับการประกอบธุรกิจ Online ของกิจการหนึ่งจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงทั้งระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการเขียนโปรแกรมจริง ๆ และระยะเวลาในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Code และระยะเวลาที่จะต้องสูญเสียไปในการแก้ Code ที่ผิดพลาดเข้าไปรวมอยู่ด้วย เป็นต้น

Time and Resource Estimates การประมาณการระยะเวลากิจกรรม (Activity duration estimating) (ต่อ) การประมาณการระยะเวลากิจกรรมจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าทีมงานโครงการได้มีโอกาสศึกษาโครงการในอดีตที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และขอคำแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์ความชำนาญในโครงการประเภทเดียวกัน เกี่ยวกับการประมาณการดังกล่าวไปพร้อม ๆ กันด้วย การพิจารณาและคำนึงถึงปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อโครงการ (อันได้แก่ ข้อจำกัด ข้อสมมติฐาน ทรัพยากรที่มีอยู่และที่จำเป็นต้องใช้) และความถูกต้องเที่ยงตรงแม่นยำของระยะเวลาอย่างสม่ำเสมอ ตลอดช่วงระยะเวลาของโครงการ จะทำให้ตารางเวลาโครงการสามารถสะท้อนให้เห็นความเป็นจริง และปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอย่างถูกต้องแม่นยำและทันท่วงทีมากขึ้น

Time and Resource Estimates การวางแผนทรัพยากร (Resource Planning) เป็นการพิจารณาและกำหนดว่า ทรัพยากรประเภทใดบ้าง ที่ทีมงานโครงการควรจะใช้ในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ และควรจะใช้ในปริมาณเท่าใด ประเภทของโครงการและลักษณะขององค์กรถือเป็นตัวแปรที่สำคัญในการวางแผนทรัพยากร การดำเนินการในขั้นตอนนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์ความรู้ความชำนาญในโครงการที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและคุ้นเคยกับองค์กรที่จะดำเนินโครงการ เพื่อที่จะได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมสำหรับโครงการ

Time and Resource Estimates การวางแผนทรัพยากร (Resource Planning) (ต่อ) นอกจากนั้น การร่วมกันพิจารณาประเมินทางเลือกในการใช้ทรัพยากรโดยละเอียด ก็ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการวางแผนทรัพยากรของโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่จำเป็นต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถจากหลาย ๆ แขนงวิชา ซึ่งบุคคลเหล่านี้อาจมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการเลือกทางเลือกที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด หลังจากที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทีมงานโครงการจะมีข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่จำเป็นจะต้องใช้ในการดำเนินโครงการ ทั้งด้านบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในการดำเนินงานในขั้นตอนถัด ๆ ไป

Assigning the Work การมอบหมายงานให้กับสมาชิกทีมงาน (Resource assignment) เป็นการมอบหมายงานของโครงการให้กับสมาชิกทีมงานแต่ละคนตามความสามารถและความชำนาญ และตามความต้องการของโครงการ งานทุกชิ้นควรมีการระบุผู้รับผิดชอบหรือเจ้าของงาน และต้องตรวจสอบด้วยว่า มีสมาชิกในทีมคนใดที่ไม่ได้รับการมอบหมายงานให้ทำ หรือจำนวนงานน้อยเกินไป หรือจำนวนงานมากเกินไป จำไว้ว่าทุก ๆ คนจำเป็นต้องมีส่วนร่วม นอกจากนี้ การสรรหาสมาชิกเพิ่มเติมเมื่อถึงคราวจำเป็นไม่ว่าจากภายในหรือภายนอกองค์กร เพื่อนำมาช่วยในโครงการก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้

Assigning the Work การกำหนดจำนวนสมาชิกทีมงาน (Resource Loading) เป็นการตรวจสอบและจัดสรรสมาชิกทีมงานให้สอดคล้องกับตารางเวลาที่ได้กำหนดไว้ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง การกำหนดจำนวนสมาชิกตามความเหมาะสมในลักษณะนี้ จะช่วยให้ผู้จัดการโครงการสามารถมองภาพความต้องการทางด้านบุคลากรของโครงการได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารงานด้านบุคลากรของทั้งองค์กรโดยรวมและสมาชิกทีมงานแต่ละคนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างการแตกโครงสร้างงาน (WBS) ของ Project Phoenix An Extended Example Project Phoenix บริษัท Auto Company ได้จัดตั้งโครงการชื่อว่า “Project Phoenix” เป้าหมายของโครงการนี้ คือ การติดตั้งเซิร์ฟเวอร์สามตัวให้แก่เว็บไซต์และย้ายฐานข้อมูลสำคัญไปยังศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ ตัวอย่างการแตกโครงสร้างงาน (WBS) ของ Project Phoenix

Shall We Proceed? เราจะดำเนินการต่อไปหรือไม่ การจัดทำโครงสร้างงานให้สำเร็จนั้น เป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการวางแผนโครงการ โดยผลลัพธ์ของ WBS จะเป็นการประเมินเวลาคร่าว ๆ ที่ต้องการใช้ในการดำเนินโครงการให้สำเร็จ ต้นทุนและทักษะซึ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินโครงการ ก็สามารถประเมินได้จากการวิเคราะห์ในแบบเดียวกัน

Shall We Proceed? เราจะดำเนินการต่อไปหรือไม่ (ต่อ) และเมื่อพิจารณาโดยรวมทั้งหมด จะแสดงถึงสิ่งที่ผู้ตัดสินใจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมิได้เคยรับทราบเมื่อเริ่มต้นรับผิดชอบกับโครงการ ดังนั้นผู้ตัดสินใจจึงต้องถามตัวเองว่า ยังคงต้องการดำเนินโครงการต่อไปจริง ๆ หรือไม่ ด้วยคำถามเหล่านี้ : Can we afford the project? เรามีความสามารถสนับสนุนโครงการหรือไม่? If the project succeeds, will it be worth the cost? ถ้าโครงการสำเร็จ มันจะคุ้มกับต้นทุนที่เสียไปหรือไม่? Do we have the skills needs to succeed? เรามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง? Will the project finish in time to make a difference for our business? โครงการจะดำเนินการได้เสร็จตามกำหนดการ เพื่อจะสร้างการเปลี่ยนแปลงสำหรับธุรกิจของเราหรือไม่? เรามีความสามารถสนับสนุนโครงการหรือไม่? ถ้าโครงการสำเร็จ มันจะคุ้มกับต้นทุนที่เสียไปหรือไม่? เรามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง? โครงการจะดำเนินการได้เสร็จตามกำหนดการ เพื่อจะสร้างการเปลี่ยนแปลงสำหรับธุรกิจของเราหรือไม่?

Shall We Proceed? เราจะดำเนินการต่อไปหรือไม่ (ต่อ) เนื่องจากการลงทุนโครงการขององค์กร ณ จุดนี้ ยังถือว่าเป็นจำนวนน้อย ดังนั้น คำถามข้างต้นนั้นจึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก และการล้มเลิกโครงการด้วยเหตุผลใดก็ตาม จากคำตอบข้างต้นก็จะไม่สร้างความเจ็บปวดอย่างรุนแรงนัก การล้มเลิกโครงการ ไม่ใช่เป็นทางเลือกเดียวอย่างแน่นอน เมื่อเวลา เงิน และทักษะมีไม่เพียงพอ ทางเลือกอื่นก็คือ การปรับขอบเขตของโครงการ ถ้าเวลามีไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายสำคัญ หรือถ้าโครงการมีต้นทุนสูงเกินไป ก็ควรนึกถึงการลดวัตถุประสงค์ของโครงการลงมาการดำเนินการโครงการเพียงบางส่วน อาจจะดีกว่าการไม่ดำเนินการใด ๆ เลย เรามีความสามารถสนับสนุนโครงการหรือไม่? ถ้าโครงการสำเร็จ มันจะคุ้มกับต้นทุนที่เสียไปหรือไม่? เรามีทักษะที่จำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จแล้วหรือยัง? โครงการจะดำเนินการได้เสร็จตามกำหนดการ เพื่อจะสร้างการเปลี่ยนแปลงสำหรับธุรกิจของเราหรือไม่?

Summing up การแตกโครงสร้างงาน (WBS) เป็นเทคนิคที่ ถูกใช้เพื่อแบ่งย่อยเป้าหมายโครงการในระดับสูง ไปสู่งานหลาย ๆ กิจกรรมย่อยที่จำเป็นสำหรับ การบรรลุเป้าหมายนั้น ๆ เมื่อได้ทำการแตกโครงสร้างงานแล้ว ผู้จัดการโครงการสามารถประเมินเวลา และ ต้นทุนที่จำเป็นสำหรับงานแต่ละกิจกรรมย่อยได้ อีกทั้งมอบหมายงานให้คนทำงานต่าง ๆ ที่ กำหนดไว้ได้

Summing up หยุดการแตกงานไปสู่งานย่อยเมื่อถึงจุดที่งาน ๆ นั้น ใช้เวลาในการดำเนินการให้เสร็จ เท่ากับ หน่วยของเวลาที่เล็กที่สุดที่วางแผนในกำหนดการ โดยหน่วยของเวลานั้น อาจหมายถึงหนึ่งวันหรือ หนึ่งสัปดาห์ก็ได้ ในการแตกโครงสร้างงาน เราอาจพบข้อสรุปที่ ท้าทายบางอย่าง เช่น โครงการจะมีต้นทุนสูงกว่า มูลค่าที่โครงการจะให้ได้ องค์กรขาดแคลนทักษะที่ จำเป็นในการทำงานโครงการให้สำเร็จ หรือ โครงการจะต้องใช้เวลามากเกินไปกว่าจะสำเร็จ การค้นพบเหล่านี้น่าจะทำให้ฝ่ายบริหารพิจารณาอีก ครั้งว่าจะดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่

Any Question? Q & A Reference (Additional) 1. เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชา การบริหารโครงการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กิตตินุช ชุลิกาวิทย์