ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล การเสนอขอตำแหน่ง ทางวิชาการ นางจริยา ปัญญา ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล 30 มีนาคม 2559
ผู้ที่จะเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ควรมีการเตรียมตัวในเรื่องต่างๆ ดังนี้ ผู้ที่จะเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ควรมีการเตรียมตัวในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1. ศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณา ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย และประกาศคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ 2. ตรวจสอบคุณสมบัติ และเตรียมผลงานทางวิชาการสำหรับตำแหน่งที่จะเสนอขอ การเสนอขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ สามารถเสนอขอได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. วิธีปกติ หมายถึง คุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่กำหนด 2. วิธีพิเศษ หมายถึง คุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ระยะ เวลาไม่ครบ หรือเสนอขอข้ามขั้น หรือเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาที่เสนอขอตำแหน่ง
(ปริญญาเอก หรือ เทียบเท่า) ตำแหน่งทางวิชาการ คุณสมบัติ - ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง (วิธีปกติ) อาจารย์ (ปริญญาเอก หรือ เทียบเท่า) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ 2 ปี 3 ปี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ 1. ชั่วโมงสอน 180 ชม.ทำการ/ปี 2. ภาระงาน 1,380 ชม./ปี 3. ผลการสอน ชำนาญ ชำนาญพิเศษ เชี่ยวชาญ 4. เอกสารการสอน เอกสารประกอบ การสอน “ดี” เอกสารคำสอน “ดี” - 5. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
การเสนอผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ข้าราชการ แตกต่างจาก พนักงานมหาวิทยาลัย) การเสนอผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ข้าราชการ แตกต่างจาก พนักงานมหาวิทยาลัย) คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งแตกต่างจากเกณฑ์ ก.พ.อ. ดังนี้ 1. ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ วิธีปกติ สามารถเสนอผลงานได้ 2 แบบ 2. การมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ นอกจากเป็นไปตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนดแล้ว ผู้ขอตำแหน่งสามารถเสนอผลงานในฐานะ corresponding author ได้ 3. ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ สามารถนำบทความทางวิชาการ (scholarly article หรือ learned article) ที่เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูลที่มี Impact factor มาเสนอขอตำแหน่งได้
ผลงานทางวิชาการ
ผลงานทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย วิธีปกติ ผลงานทางวิชาการประกอบด้วย งานวิจัย และ/หรือ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม และ/หรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ/หรือบทความทางวิชาการ หรือตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 3 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่อง มีคุณภาพในระดับ “ดี” วิธีปกติ มี 2 แบบ แบบที่ 1 1. งานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อย่างน้อย 2 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” และ 2. บทความทางวิชาการ หรือตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” แบบที่ 2 งานวิจัย อย่างน้อย 3 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการตามวิธีปกติ และมีคุณภาพ “ดีมาก” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการตามวิธีปกติ และมีคุณภาพ “ดีมาก”
ผลงานทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย วิธีปกติ 1. งานวิจัย หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นอย่างน้อย 3 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” และ 2. ตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ“ดี” วิธีปกติ มี 2 แบบ แบบที่ 1 1. งานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อย่างน้อย 3 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” และ 2. บทความทางวิชาการ (scholarly article หรือ learned article) หรือตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” แบบที่ 2 งานวิจัย อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 3 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีมาก” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการตามวิธีปกติ และมีคุณภาพ “ดีมาก” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการตามวิธีปกติ และมีคุณภาพ “ดีมาก”
ผลงานทางวิชาการ (ต่อ) ศาสตราจารย์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย วิธีปกติ มี 2 วิธี วิธีที่ 1 1. งานวิจัย หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่อง เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีฐานข้อมูลระดับนานาชาติ (กรณีงานวิจัย) และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีมาก” และ 2. ตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เล่ม มีคุณภาพ “ดีมาก” วิธีที่ 2 1. งานวิจัย อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่อง เผยแพร่ ในวารสารวิชาการที่มีฐานข้อมูลระดับนานาชาติ และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีเด่น” หรือ 2. ผลงานวิชาการรับใช้สังคม อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีเด่น” หรือ 3. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีเด่น” หรือ 4. ตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เล่ม มีคุณภาพ “ดีเด่น” วิธีปกติ มี 2 วิธี วิธีที่ 1 1. งานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่อง เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีฐานข้อมูลระดับ นานาชาติ และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีมาก” หรืองานวิจัยรวมกับ บทความทางวิชาการ (scholarly article หรือ learned article) ที่เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติในฐานข้อมูลที่มี impact factor มีจำนวนและคุณค่าเทียบเท่างานวิจัย และ 2. ตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เล่ม มีคุณภาพ “ดีมาก” วิธีที่ 2 1. งานวิจัยอย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่องเผยแพร่ใน วารสารวิชาการที่มีฐานข้อมูลระดับนานาชาติ และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีเด่น” หรือ 2. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นอย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีเด่น” หรือ 3. ตำรา หรือหนังสืออย่างน้อย 1 เล่ม มีคุณภาพ “ดีเด่น” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการเฉพาะวิธีที่ 1 และมีคุณภาพ “ดีเด่น” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการเฉพาะ วิธีที่ 1 และมีคุณภาพ “ดีเด่น”
การประเมินผลการสอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ ชำนาญ ชำนาญพิเศษ เชี่ยวชาญ เอกสารการสอน เอกสารประกอบ การสอน “ดี” เอกสารคำสอน “ดี” -
เกณฑ์การตัดสิน ตำแหน่ง วิธีการเสนอขอ ผู้ทรงคุณวุฒิ การตัดสิน คุณภาพ ผศ. (ขรก.) วิธีปกติ 3 คน เสียงข้างมาก ดี วิธีพิเศษ 5 คน 4 ใน 5 เสียง ดีมาก ผศ. (พม.) วิธีปกติ แบบที่ 1 และ 2 วิธีพิเศษ แบบที่ 1 และ 2 รศ. (ขรก.) รศ. (พม.) วิธีปกติ แบบที่ 1 วิธีปกติ แบบที่ 2 ศ. วิธีปกติ วิธีที่ 1 (ขรก.และ พม.) วิธีปกติ วิธีที่ 2 ดีเด่น
การมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ ข้าราชการ ผู้ขอตำแหน่งเป็นเจ้าของและเป็นดำเนินการหลัก และมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 พนักงานมหาวิทยาลัย ผู้ขอตำแหน่งเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการหลักและมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือเป็น corresponding author
ขั้นตอนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ขอแต่งตั้ง เสนอหัวหน้าภาควิชาพร้อม แบบ ก.พ.อ.03ฯ และผลงานทางวิชาการ หัวหน้าภาควิชาตรวจสอบ ส่วนงาน
ขั้นตอนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ (ต่อ) ส่วนงาน คณะอนุกรรมการประเมินผลการสอนในชั้นต้น คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองการขอตำแหน่งทางวิชาการ (ระดับส่วนงาน)ตรวจสอบคุณสมบัติ/ภาระงาน/ผลการสอน/แบบ ก.พ.อ.03ฯ/ผลงานทางวิชาการ ส่วนงาน มหาวิทยาลัย แบบ ก.พ.อ.03ฯ /แบบรายงานประเมินผลการสอนในชั้นต้น/ผลงานทางวิชาการ คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองการขอตำแหน่งทางวิชาการ (ระดับมหาวิทยาลัย) แก้ไข
ขั้นตอนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ (ต่อ) คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ** **อาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอน คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ สภามหาวิทยาลัย อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง (ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์) ตำแหน่งศาสตราจารย์ เสนอ ก.พ.อ. ให้ความเห็นชอบและดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ตำแหน่งศาสตราจารย์อาวุโส เสนอ ก.พ.อ. ให้ความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบแล้วมหาวิทยาลัยทำคำสั่งแต่งตั้ง
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ 1. เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการที่มี peer review ประเมินคุณภาพ และตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว โดยระบุ ปีที่พิมพ์ ฉบับที่พิมพ์ และเลขหน้า หรือมีหมายเลข DOI ให้พึงระวังวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ในลักษณะ Open Access Journal ที่ไม่ได้มาตรฐานไม่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ ดังนี้ - ไม่มีระบุสำนักพิมพ์หรือสถานที่ตีพิมพ์ที่แน่นอน - ไม่มีการระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของวารสาร และสาขาวิชาที่รับตีพิมพ์ หรือมีการระบุ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าวารสารรับตีพิมพ์ผลงานนอกเหนือจากขอบเขตหรือสาขาวิชาที่ระบุไว้ - ไม่มีกำหนดการเผยแพร่ที่แน่นอนชัดเจนตามมาตรฐานวารสารวิชาการระดับสากล และไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด - ไม่มีบรรณาธิการ หรือบรรณาธิการไม่ใช่ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ และมักพบว่าบทความวิจัยที่ลงเผยแพร่ในวารสารออนไลน์มีข้อผิดพลาดในเชิงวิชาการ เช่น ใช้ภาษาอังกฤษ รูปแบบการนำเสนอ การเขียนอ้างอิงไม่ถูกต้อง ไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงวารสารที่มีความสุ่มเสี่ยงว่าเป็นวารสารที่ไม่มีคุณภาพจากฐานข้อมูลต่างๆ เช่น Beall’s List ประกอบการพิจารณาการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้วย งานวิจัย / บทความทางวิชาการ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ (ต่อ) 2. เผยแพร่ในรูปแบบของ Proceedings Proceedings หมายถึง หนังสือประมวลบทความในการประชุมทางวิชาการที่เป็นฉบับเต็มของการประชุมทางวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ โดยต้องมีการระบุคณะบรรณาธิการที่อยู่ในวงวิชาการนั้น หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลายๆ สถาบัน ทำหน้าที่คัดสรรกลั่นกรอง ตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนการเผยแพร่
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ (ต่อ) 3. เผยแพร่ในรูปแบบของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และแสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชานั้นและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง กรณีการทำงานวิจัยที่ได้รับทุน หรือรับทำงานวิจัยให้กับหน่วยงานอื่น และมีการตรวจรับงานต้องมี peer review ในสาขาวิชานั้นๆ ประเมินคุณภาพผลงานก่อนการเผยแพร่ มิใช่เป็นการดำเนินการของคณะกรรมการตรวจรับทุนหรือตรวจรับงานจ้าง เพื่อให้งานวิจัยนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์และข้อกำหนดของสัญญาจ้างเท่านั้น
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ (ต่อ) ตำรา ต้องใช้ประกอบการเรียนการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา หนังสือ ต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 เดือน รูปภาพ ตาราง ไดอะแกรม และ/หรือข้อมูลที่นำมาจากแหล่งอื่น - ต้องขออนุญาตจากผู้ถือสิทธิ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ สำนักพิมพ์ หรือ ผู้แต่งเดิม และแสดงหลักฐานการได้รับอนุญาตให้ใช้รูปภาพ หากวาดเองให้ชี้แจงว่าเป็นรูปภาพ หรือตารางใด - มีการดัดแปลงไม่ต้องขออนุญาต และให้ระบุว่า “ดัดแปลงจาก...” - หากนำมาจากเว็บไซต์ ถ้ามีลิขสิทธิ์ต้องขออนุญาตจากผู้ถือสิทธิ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ (ต่อ) บทความทางวิชาการ ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 เดือน
การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ก.พ.อ. ได้มีประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการทั้งที่เป็นรูปเล่ม สิ่งพิมพ์ หรือวารสารออนไลน์ โดยให้สถาบันอุดมศึกษาใช้วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ (รายละเอียดตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556)
ข้อปฏิบัติ 1. งานวิจัย - ผลงานที่ตีพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2550 หากวิจัยในคนหรือในสัตว์ทดลอง ต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรอง หรือหนังสือการได้รับอนุญาตให้ทำวิจัย เรื่องนั้นๆ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน หรือ คณะกรรมการพิจารณาด้านจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองแล้วแต่กรณี หากไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ ให้ชี้แจงรายละเอียดเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป - การทำวิจัยในศพ ให้แสดงหลักฐานหนังสือรับรองจากส่วนงาน หรือหน่วยงาน - งานวิจัยที่เป็น case report เพียง case เดียว ไม่ต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรอง ยกเว้นงานวิจัยที่เก็บข้อมูลจาก case report จำนวนหลาย case ต้องแสดงหลักฐานการได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัย
ข้อปฏิบัติ (ต่อ) 2. ผู้ที่จะลาศึกษาหรือลาฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ หากประสงค์จะขอตำแหน่งทางวิชาการ ให้ยื่นเรื่องไปที่มหาวิทยาลัยก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้ ลาศึกษาหรือลาฝึกอบรม 3. การเสนอผลงานทางวิชาการประเภท “งานวิจัย” และ “บทความทางวิชาการ” ให้ระบุว่า วารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่นั้นอยู่ในฐานข้อมูลใด (ควรเป็นฐานข้อมูลที่ ก.พ.อ. กำหนด)
... ขอบคุณค่ะ...