ผ้าห่มไม่หายแค่ใส่ตัวเลข ปัญหาและการปรับปรุงแก้ไข หน่วยงานซักฟอก ผ้าห่มไม่หายแค่ใส่ตัวเลข Laundry_By_Aor วัตถุประสงค์ 1ลดการสูญหายของผ้าห่ม 2เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการผ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและจัดซื้อทดแทนได้อย่างเหมาะสม หลักการและเหตุผล หน่วยงานซักฟอกเป็นหน่วยงานที่จัดหาวัสดุผ้าสำหรับผู้ป่วยและ ทำหัตถการ ให้บริการผ้าสะอาดแก่หน่วยงานต่างๆ ในศูนย์การแพทย์ฯ ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาผ้าห่มไม่เพียงพอต่อการใช้งาน สูญหาย ไม่สามารถติดตามการไหลเวียนของผ้าได้ และทางหน่วยงานซักฟอกไม่มีแนวทาง การบริหารจัดการผ้าห่มที่ชัดเจน สถานที่เข้าถึงง่าย มีบุคคลภายนอกเข้า-ออกหน่วยงานตลอดเวลา ผ้าห่มไม่มีสัญลักษณ์ให้ตรวจเช็คหรือติดตามได้เจ้าหน้าที่จ่ายผ้าตามรู้สึกส่วนตัว ตลอดจนหน่วยงานที่เบิกผ้าไม่มีการกำกับติดตามดูแลผ้า นำไปใช้ส่วนตัว สถานที่เก็บไม่ล็อคกุญแจ เข้าถึงง่าย ผู้ป่วยและญาตินำกลับบ้าน ดังนั้นแม้จะมีการจัดสรรวัสดุผ้าทุกปีแต่ยังประสบปัญหาเช่นเดิม ทางหน่วยงานจึงรันหมายเลขบนผ้าห่มและตรวจนับหมายเลขที่ส่งมาซักพร้อมบันทึกข้อมูลการรับ-ส่งผ้า เป้าหมาย 1 ความครบถ้วนของจำนวนผ้าห่มที่ส่งซัก 2 ร้อยละของการสูญหายของผ้าห่มน้อยกว่า 10 ผลการสำรวจสภาพ ข้อมูลก่อนแก้ปัญหา ที่ รายการ เป้าหมาย ปีงบ 2559 1 ความครบถ้วนของจำนวนผ้าห่มที่ส่งซัก 80% 82.08 2 ร้อยละของการสูญหายของผ้าห่มน้อยกว่า10 <10% 30.20 ปัญหาและการปรับปรุงแก้ไข ปัญหา สาเหตุ วางแผนการปรับปรุงแก้ไข ผู้รับผิดชอบ วัน/เดือน/ปี ประเมินผลการปรับปรุง เริ่ม สิ้นสุด แก้ไข Man 1.ไม่มีการตรวจนับผ้า 2.ไม่ทำบัญชีรับ-ส่งผ้า 3.จ่ายผ้าตามความรู้สึกส่วนตัว 4.ไม่มีการกำกับติดตามดูแลผ้า 5.ขาดความตระหนักในการใช้ผ้า 6.นำไปใช้ส่วนตัว 7.ผู้ป่วย/ญาตินำกลับบ้าน 8.ติดไปกับคนไข้ที่ส่งต่อรพ.อื่น 1.จัดทำหมายเลขบนผ้าห่ม ทำบันทึกการรับ-ส่งผ้า ตรวจนับหมายเลขที่ส่งซักตรวจสอบก่อนส่งคืนหน่วยงาน 2.จัดให้มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนของแต่ละหน่วยงาน 3.ตรวจเช็คผ้าก่อนจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน 4.จนท. refer ต้องนำผ้าที่ติดไปกับผู้ป่วยกลับมาที่รพ.ทุกครั้ง งานซักฟอกและหน่วยเบิกต่างๆ หอผู้ป่วยต่างๆ หน่วยreferผู้ป่วย ต.ค.59 ก.ย.60 1.มีการตรวจนับผ้าจากหอผู้ป่วย และงานซักฟอก 2.มีการทำสมุดบันทึกการรับ-ส่งผ้า พร้อมลงลายมือชื่อ 3.มีการรายงานจำนวนผ้าห่มที่ไม่ส่งซักกลับไปยังหน่วยงาน Method 1.ไม่มีแนวทางการบริหารจัดการและตรวจเช็คผ้าห่มที่ชัดเจน 1.จัดทำแนวทางการบริหารจัดการผ้าห่ม งานซักฟอก 1.มีการตรวจนับจำนวน เช็คหมายเลขที่ส่งซัก ลงบันทึก 2.มีการตรวจเช็คก่อนรับกลับ Material 1.ผ้าเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน 2.ไม่มีสัญลักษณ์ให้ตรวจเช็ค/ติดตามได้ 3.งบประมาณในการจัดซื้อมีจำกัด 1.นำผ้าที่เสื่อมสภาพมาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2.จัดทำสัญลักษณ์บนผ้าเพื่อง่ายต่อการตรวจเช็ค/ติดตาม 3.มีการจัดซื้อจัดจ้างทดแทนได้อย่างเหมาะสม 1.มีการนำผ้าชำรุดมาดัดแปลง ทำเป็นผ้าเอนกประสงค์ 2.มีการใส่หมายเลขบนผ้า 3.จัดซื้อจัดจ้างทดแทน Machine 1.เครื่องซักผ้า/เครื่องอบชำรุด - ขาดการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง - อายุการใช้งานนาน 1.จัดทำแนวทางการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามมาตรฐาน - 1.มีแพลนจ้างทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรจากบริษัทภายนอก Environment ซักฟอก 1.สถานที่จัดเก็บเข้าถึงง่าย 2.บุคคลนอกหน่วยงานเดินผ่านเข้า –ออกได้ตลอด หอผู้ป่วย 3.สถานที่เก็บผ้าเข้าถึงง่าย 4.ไม่ Lock กุญแจตู้เก็บผ้า 1.จำกัดบุคคลภายนอกเข้า-ออกหน่วยงาน นอกจากมาติดต่อรับผ้าหรือประสานงานอื่นๆ 2.ล็อคกุญแจตู้เก็บผ้าหลังเลิกงาน 3.ล็อคประตูหน่วยงานหลังเลิกงาน 4.ห้ามบุคคลภายนอกเข้า-ออกห้องเก็บผ้า 5.ตู้เก็บผ้าควรปิดมิชิดล็อคกุญแจเมื่อไม่ใช้งาน หน่วยเบิกต่างๆ 1.มีการปรับพื้นที่ชัดเจน ห้ามบุคคลภายนอกเข้า ยกเว้นผู้มาติดต่องาน 2.ล้อคกุญแจเมื่อเลิกงาน 3.หอผู้ป่วยมีผู้รับผิดชอบเรื่องผ้าที่ชัดเจน แนวทางการบริหารจัดการผ้าห่ม จัดซื้อผ้าห่ม ใส่หมายเลข/สัญลักษณ์ ลงบันทึกข้อมูล/จัดทำสมุดรับ-ส่งผ้าห่ม แจกผ้าไปยังWard/หน่วยงานตาม หมายเลข Ward/หน่วยงาน - ส่งซักโดยเขียนหมายเลขผ้าห่มและจำนวนลงในใบส่งซัก - รับผ้าห่มสะอาดคืนโดยตรวจสอบหมายเลข จำนวนผืน ให้ตรงกับที่ส่งซักและเซ็นรับในสมุดรับ-ส่งผ้า ซักฟอก - ตรวจนับจำนวนผ้าห่มและตรวจเช็คหมายเลขผ้าห่ม - โทรแจ้งหน่วยงานถ้าจำนวนและหมายเลขไม่ตรงกับใบส่ง ซัก - ซัก อบ พับ ตรวจสอบหมายเลขส่งคืนหน่วยงาน และต้องมี การเซ็นรับผ้าจากหน่วยงานนั้นๆทุกครั้ง - สรุปรายงานหมายเลขผ้าห่มไม่ส่งซักประจำเดือน แจ้งกลับ หน่วยงาน ไปสุ่มตรวจ ผลการสำรวจสภาพ ข้อมูลหลังแก้ปัญหา ที่ รายการ เป้าหมาย ปีงบ 2560 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. 1 ร้อยละความครบถ้วนของจำนวนผ้าห่มที่ส่งซัก 80 92 88.57 89.14 88 90.28 89.1 91.42 2 ร้อยละของการสูญหายของผ้าห่มน้อยกว่า10 <10 8 11.42 10.85 12 9.71 10.8 8.57 สรุปผล จากผลการดำเนินงานพบว่าก่อนใส่สัญลักษณ์หรือหมายเลขบนผ้าห่ม หน่วยงานซักฟอกไม่มีการตรวจนับผ้าห่มของแต่ละหน่วยงานที่ส่งมาซัก ไม่มีบันทึกการรับ-ส่งผ้า และส่งคืนโดยเฉลี่ยไปในปริมาณที่เท่าๆกัน ทำให้บางหน่วยงานผ้าห่มไม่พอใช้ ไม่สามารถตรวจเช็คและติดตามสถานะของผ้าห่มได้ จึงเกิดการสูญหายและไม่เพียงพอ จากปัญหาดังกล่าวทางหน่วยงานซักฟอกจึงจัดทำแนวทางการบริหารจัดการผ้าห่ม โดยมีการใส่สัญลักษณ์/หมายเลขบนผ้าห่ม แจกไปตามหน่วยงานต่างๆพร้อมลงบันทึก ให้เจ้าหน้าที่ตรวจเช็คหมายเลขผ้าห่มที่ส่งมาซักพร้อมจำนวนและลงบันทึก หลังจากดำเนินไปจะเห็นได้ว่าทางหน่วยงานต่างๆได้ดำเนินการส่งผ้าห่มซักหมุนเวียนครบถ้วน >80% ซึ่งยังคงมีอัตราการสูญหายของผ้าห่มมากกว่าร้อยละ10 แต่ทางหน่วยงานซักฟอกสามารถติดตามผ้าห่มที่สูญหายโดยใช้วิธีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆให้ติดตามผ้าห่มหมายเลขดังกล่าว จากแนวทางปฏิบัติข้างต้นทำให้หน่วยงานซักฟอกสามารถเก็บข้อมูลอัตราการสูญหายของผ้าและนำมาบริหารจัดการการจัดซื้อจัดจ้างทดแทนได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม 9,999,999,999 Likes Laundry_By_Aor งานซักฟอก ฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี