การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี นายสันทัศน์ รันดาเว หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาระบบงาน ส่วนกำกับและตรวจสอบ สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
เหตุผลของการมีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มีการปฏิรูประบบราชการ โดย พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ส่งเสริมการพัฒนาประเทศ และการบริการประชาชนอย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การบริหารราชการมีประสิทธิภาพเกิดผลสัมฤทธิ์
ที่มาของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 3/1 และ มาตรา 71/10 (5) มาตรา 3/1 “ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมี ส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการ ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ” มาตรา 71/10 (5) ให้ ก.พ.ร. มีอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินการจัดให้มีพระราช กฤษฎีกาบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
นิยามศัพท์สำคัญ (มาตรา 4) ผู้รักษาการ ตามพระราชกฤษฎีกา "ส่วนราชการ" หมายความว่า ส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ใน กำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "รัฐวิสาหกิจ" หมายความว่า รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือ พระราชกฤษฎีกา "ข้าราชการ" หมายความรวมถึงพนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ นายกรัฐมนตรี
เป้าหมายสำคัญของพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 6) (1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน (2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ (3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ (4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น (5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ (6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนอง ความต้องการ (7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน (หมวด 2 มาตรา 7) การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน (หมวด 2 มาตรา 7) วัตถุประสงค์ เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและความปลอดภัยของสังคมส่วนร่วม ประโยชน์สูงสุดของประเทศ
แนวทางการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน (มาตรา 8) แนวทางการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน (มาตรา 8) (1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 7 และ สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของ คณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา (2) การปฏิบัติภารกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุข แก่ประชาชน (3) ก่อนเริ่มดำเนินการ ต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วน กำหนด ขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ต้องดำเนินการรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน หรือชี้แจงทำความเข้าใจ (4) ต้องคอยรับฟังความคิดเห็น และความพึงพอใจของสังคม โดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ (5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการ แก้ไขปัญหา และอุปสรรคนั้นโดยเร็ว กรณีปัญหาเกิดจากส่วนราชการอื่นให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วย
การกำหนดแนวทางในการบริหารราชการ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (หมวด 3) การกำหนดแนวทางในการบริหารราชการ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (หมวด 3) แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนนิติบัญญัติ แผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนบริหารราชการแผนดิน แผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติราชการประจำปี
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี จัดให้มีแผนบริหารราชการแผ่นดิน (มาตรา 13) หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินเมื่อคณะรัฐมนตรีแถลงนโยบาย ต่อรัฐสภา (1) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (3) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (4) สำนักงบประมาณภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เสนอ คณะรัฐมนตรี ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบาย ต่อรัฐสภา แผนบริหารราชการแผ่นดินมีผลผูกพันหน่วยงานที่จะต้องดำเนินการจัดทำภารกิจ ให้เป็นไปตามแผนคือ (1) คณะรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) ส่วนราชการ
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน (ต่อ) แผนบริหารราชการแผ่นดิน จัดทำเป็นแผน 4 ปี แผนบริหารราชการแผ่นดิน เกิดมาจากนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา โดยสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญและแผนพัฒนาประเทศ ด้านต่างๆ สาระสำคัญของแผนบริหารราชการแผ่นดิน (มาตรา 14) (1) กำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน (2) ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ (3) ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการ (4) การติดตามประเมินผล
แผนนิติบัญญัติ เมื่อแผนบริหารราชการแผ่นดินมีผลบังคับใช้แล้ว ให้จัดทำแผนนิติบัญญัติ เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ (มาตรา 15) เหตุผลเพราะ แผนบริหารราชการแผ่นดินทำให้มีกฎหมายเกิดขึ้นใหม่ หรือ ต้องปรับปรุง แก้ไข ยกเลิก กฏหมายให้สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกัน พิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ แผนนิติบัญญัติมีผลผูกพันส่วนราชการ
แผนปฏิบัติราชการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีแผนปฏิบัติราชการ สอดคล้องกับแผนการ บริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ จัดทำเป็น แผน 4 ปี
แผนปฏิบัติราชการ (ต่อ) ( มาตรา 9 ) (1) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการ ล่วงหน้า (2) แผนปฏิบัติราชการ ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้อง ใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และ ตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ (3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ (4) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อ ประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทา ผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
แผนปฏิบัติราชการประจำปี เมื่อมีแผนปฏิบัติราชการแล้ว ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติ ราชการประจำปี สาระสำคัญ ได้แก่ (มาตรา 16) (1) นโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ (2) เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน (3) ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ ผู้มีอำนาจเห็นชอบแบบปฏิบัติราชการประจำปี คือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ไม่ทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ
แผนปฏิบัติราชการประจำปี (ต่อ) การปรับแผนปฏิบัติราชการจะกระทำได้โดยเหตุผลความจำเป็น ดังนี้ (1) งานหรือภารกิจใดไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หรือ (2) หมดความจำเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์ หรือ (3) หากดำเนินการต่อไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น หรือ (4) มีความจำเป็นอย่างอื่นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การปรับแผนปฏิบัติราชการเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี
การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ (หมวด 4) ส่วนราชการต้องดำเนินการ ดังนี้ (มาตรา 20) กำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ งบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ ต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย
หน่วยงานที่มีหน้าที่จัดการประเมินความคุ้มค่า ในการปฏิบัติภารกิจของรัฐ (มาตรา 22) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ ภารกิจใด หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนด ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบดังกล่าว แจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอทราบ ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ (มาตรา 24)
การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน (หมวด 5) ส่วนราชการควรจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนการปฏิบัติ ราชการ เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน (มาตรา 27) ให้ ก.พ.ร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการหรือ แนวทางในการกระจายอำนาจความรับผิดชอบของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ให้แก่ส่วนราชการ (มาตรา 28) ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ส่วนราชการภายใน กระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้ง ศูนย์บริการร่วม (มาตรา 30)
การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ (หมวด 6) การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้คำนึงถึง (มาตรา 33) (1) แผนการบริหารราชการแผ่นดิน (2) นโยบายของคณะรัฐมนตรี (3) กำลังเงินงบประมาณของประเทศ (4) ความคุ้มค่าของภารกิจและ (5) สถานการณ์อื่นประกอบกัน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภารกิจให้ส่วนราชการเสนอคณะรัฐมนตรี เห็นชอบด้วย
การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ (หมวด 6) (ต่อ) ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือ บางส่วน ห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ที่มี ลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับส่วนราชการดังกล่าวขึ้นอีก เว้นแต่ (1) มีการเปลี่ยนแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และ (2) มีเหตุผลจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือ (3) เศรษฐกิจของประเทศ หรือ (4) รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน ***โดยได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.ร. (มาตรา 34)
การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ (หมวด 6) (ต่อ) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่อยู่ในความ รับผิดชอบของส่วนราชการใด ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับ สถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการหรือการดำรงชีวิตของ ประชาชน หรือก่อให้เกิดภาระหรือความยุ่งยากต่อประชาชนเกิน สมควร ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแนะต่อส่วน ราชการนั้นเพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกโดยเร็วต่อไป (มาตรา 36)
การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน (หมวด 7) การบริการประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการ ด้วยกัน ให้ส่วนราชการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงาน และประกาศให้ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป (มาตรา 37) เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน หรือจากส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วน ราชการนั้น ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องตอบคำถามหรือ แจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในสิบห้าวันหรือภายในกำหนดเวลาที่ กำหนดไว้ตาม มาตรา 37 (มาตรา 38)
การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน (หมวด 7) (ต่อ) ในกรณีที่ได้รับการร้องเรียนหรือเสนอแนะจากข้าราชการหรือ ส่วนราชการอื่นในเรื่องใด ให้ส่วนราชการที่ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้นพิจารณาโดยทันที และในกรณีที่เห็นว่า การร้องเรียนหรือเสนอแนะนั้นเกิดจากความเข้าใจผิดหรือความไม่ เข้าใจในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ให้ชี้แจงให้ผู้ร้องเรียน หรือเสนอแนะทราบภายในสิบห้าวัน (มาตรา 42 วรรค 2)
การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน (หมวด 7) (ต่อ) เรื่องที่จะต้องกำหนดเป็นความลับอาจไม่เปิดเผยให้ส่วนราชการ หรือประชาชนทราบ (มาตรา 43) (1) ประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ (2) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (3) การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือ (4) การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล
การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน (หมวด 7) (ต่อ) ข้อมูลที่จะต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนขอดูหรือ ตรวจสอบได้ (1) งบประมาณรายจ่ายแต่ละปี (2) รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่จะดำเนินการ ในปีงบประมาณนั้น และ (3) สัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ (หมวด 8) นอกจากการประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการแล้ว ส่วนราชการจะต้องจัดให้มีการประเมิน ดังนี้ (มาตรา 45) (1) ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ (2) คุณภาพการให้บริการ (3) ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ (4) ความคุ้มค่าในภารกิจ
ประเมินผลการปฏิบัติราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (1) ประเมินผู้บังคับบัญชา (มาตรา 46) (2) ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่อประโยชน์ ในการบริหารบุคคล (มาตรา 47)
บทเบ็ดเตล็ด (หมวด 9) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมี หลักเกณฑ์ (1) การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และ (2) การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของ ประชาชน ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ (มาตรา 53)
สรุป หน่วยงานที่จะต้องมีหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน
จบการบรรยาย