โครงการ " ของเสียเหลือศูนย์ “ โรงเรียนรุ่งอรุณ ร่วมกันส่งเสริมวัฒนธรรม "คนไทย...ไม่สร้างขยะ“ ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนรุ่งอรุณ อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร มุ่งทำประโยชน์ เพื่อสาธารณะในด้านการพัฒนาการศึกษา - มีเนื้อที่ ๕๐ไร่ ตั้งอยู่ในเขตบางขุนเทียน ชานเมืองกรุงเทพฯ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึง ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น ๘๔๙ คน - จำนวนครูและบุคลากร ๒๖๗ คน (ข้อมูลในปีการศึกษา ๒๕๔๗ เมื่อเริ่มโครงการฯ)
ที่มาของโครงการฯ โครงการ " ของเสียเหลือศูนย์ " โครงการ " ของเสียเหลือศูนย์ " ที่มาของโครงการฯ ที่มาของโครงการ "ของเสียเหลือศูนย์" - โรงเรียนรุ่งอรุณมีขยะเกิดขึ้นในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยวันละ ๒๐๖ กิโลกรัม (กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗) เนื่องจาก ไม่ได้มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โดยทาง กทม. เข้ามาจัดเก็บขยะให้ได้เพียงสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ปริมาณขยะสะสมอยู่ในโรงเรียนกว่า ๑ ตัน ทุกช่วงสัปดาห์ ที่สร้างทัศนะอุจาด ส่งกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งแพร่พันธุ์แมลงวัน สร้างความอึดอัดใจแก่ทุกคน
แนวคิด ~ ปรัชญา ~ เป้าหมาย โครงการ " ของเสียเหลือศูนย์ " โครงการ " ของเสียเหลือศูนย์ " ฐานคิดในการคิดออกแบบโครงการ “ ของเสีย หรือ ขยะ นั้นไม่มีอยู่โดยตัวเอง หากคือส่วนที่เหลือมาจากการอุปโภคบริโภค "ทรัพยากร" ต่างๆ ดังนั้น ในธรรมชาติเดิมแท้ จึงยังคงคุณค่าแห่งความเป็นทรัพยากรอยู่ แต่ด้วยสายตาแห่งความ "ไม่รู้" และ "ไม่ต้องการ" ก็ได้ถูกทิ้งให้กลายเป็น "ของเสีย" หรือ "ขยะ" ซึ่งจะสามารถถูกกำจัดให้หมดสิ้นลงได้โดย ๒ วิธีการ คือ นำกลับไปใช้ประโยชน์ หรือ หยุดการบริโภคที่จะทำให้เกิด "ของเสีย" หรือ "ขยะ" เหล่านั้น
ปลุกจิตสำนึกสาธารณะ “ปลุกจิตสำนึกสาธารณะ ให้ตื่นขึ้นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ด้วยวิธีการ "เร้ากุศล" เพื่อก่อเกิดความตระหนักในบทบาทของเราแต่ละคนในการเป็นทั้ง ผู้สร้างปัญหา และ ผู้ร่วมแก้ไข อันเป็นผลลัพธ์เชิงคุณค่าที่สำคัญ”
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผ่าน "วิถีชีวิต" "ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม" ของทุกๆ คน โดยอาศัยการกำกับด้วยรูปแบบของ "วิถีชีวิต" ที่เอื้อต่อการฝึกฝน บ่มเพาะลักษณะนิสัยแห่งการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ค่อยๆ บังเกิดขึ้น
พัฒนาคุณภาพภายในจากเรื่องจริง โครงการของเสียเหลือศูนย์เป็นโอกาสดีของโรงเรียนรุ่งอรุณ ในการหยิบยกปัญหาจริงที่เกิดขึ้นมาใช้เป็นเงื่อนไขจัดการเรียนรู้ เรื่องการดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้แก่ทุกคนภายในชุมชนของโรงเรียน สอดคล้องกับแนวทางจัดการเรียนรู้แบบวิถีพุทธ ที่มุ่งเน้นการพัฒนา "คุณภาพภายใน" ผ่านการงานในกิจวัตรประจำวันของโรงเรียนรุ่งอรุณ
เป้าหมายของโครงการของเสียเหลือศูนย์ เป้าหมายของโครงการของเสียเหลือศูนย์ เป็นชุมชนที่สามารถจัดการขยะและของเสียด้วยตนเอง ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่เรียนรู้นอกห้องเรียนในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ในลักษณะ "สถานีกิจกรรมสิ่งแวดล้อม" เสริมสร้าง วัฒนธรรมแห่งการร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยปรากฎเป็นพฤติกรรม และ แบบแผนการใช้ทรัพยากร และจัดการของเสีย ด้วยวิธีที่เหมาะสม คุ้มค่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กระบวนการ~ขั้นตอนดำเนินงาน ขั้นที่ ๑ "สำรวจปัญหา พัฒนาระบบ" สำรวจข้อมูลขยะและของเสียต่างๆ ทั้งประเภท และ ปริมาณ วางระบบการคัดแยก สร้างหรือปรับปรุงสาธารณูปโภคที่จำเป็น ได้แก่ โรงคัดแยกขยะ โรงหมักปุ๋ย
ขั้นที่ ๒ "รวมพลังอาสา เผชิญปัญหาร่วมกัน" ชักชวนกลุ่มครู และ บุคลากร เข้าร่วมกิจกรรม " อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม " คัดแยกขยะของโรงเรียนที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อรวบรวมข้อมูลสถิติขยะประจำเดือน และเป็นการร่วมกันรับรู้และแก้ไขปัญหาของส่วนรวม
ขั้นที่ ๓ "สถานีสิ่งแวดล้อม" จัดพื้นที่กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนในลักษณะ "สถานีสิ่งแวดล้อม" ต่างๆ ได้แก่ สถานีคัดแยกขยะ ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ แปลงผักอินทรีย์
ขั้นที่ ๔ "ศูนย์จัดการขยะชุมชน" เปิดตัวโรงคัดแยกขยะเป็น "ศูนย์จัดการขยะชุมชน" เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมไปยังกลุ่มผู้ปกครอง
ขั้นที่ ๕ "ซื้อ - ขาย ไม่สร้างขยะ" - รณรงค์ ลด - ละ - เลิก วิถีบริโภคที่ก่อให้เกิด "ขยะ" ที่ไม่อาจนำกลับมาใช้ได้อีก
ขั้นที่ ๖ "ชั้นเรียนปลอดขยะ" - จัดและปรับปรุงระบบคัดแยกขยะประจำแต่ละชั้นเรียนให้สมบูรณ์ ชัดเจน และสวยงาม เอื้อต่อการใช้งานอย่างสะดวก - "ชั้นเรียนปลอดขยะ"
ขั้นที่ ๗ "โรงเรียนนี้ ไม่มี ถังขยะ" - ทยอยเก็บ "ถังทิ้ง กทม." ออกจากบริเวณสาธารณะ เช่น ริมทางเดิน และ โรงอาหาร - เหลือไว้แต่ "ถังทรัพยากร" ประเภทต่างๆ คือ ถังเพื่อทำปุ๋ยหมัก เพื่อรีไซเคิล - จากนั้นจึงประกาศวัฒนธรรม "ไม่สร้างขยะ" ในโรงเรียน ที่ทุกคนจะตั้งใจปฏิบัติร่วมกัน