การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ Learning Assessment and Evaluation ดร. อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา บทที่ 6 คลังข้อสอบ (Item Bank) ดร.อาภาพรรณ ประทุมไทย วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา บทที่ 6 คลังข้อสอบ (Item Bank)
คลังข้อสอบ (Item bank) หมายถึง การจำแนกข้อสอบออกเป็นกลุ่มๆ ตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างเป็น ระบบ เช่นเดียวกับการจัดหนังสือในห้องสมุด เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการ คัดเลือกข้อสอบมาใช้ในการสร้างแบบสอบประเภทต่างๆ คำภาษาอังกฤษที่ใช้ในความหมายของคลังข้อสอบ : question bank, item pool, item collection, item reservoirs, test item libraries (Coppin, 1976; ภาวิณี ศรีสุข วัฒนานันท์, 2543) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพแบบทดสอบ ลดภาระในการออกข้อสอบ ใหม่ และลดค่าใช้จ่ายประหยัดเวลาในการสร้างข้อสอบใหม่ ที่มา: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, 2551
ความหมายของคลังข้อสอบ เป็นแหล่งจัดเก็บข้อสอบที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจำนวนมาก เพื่อ สามารถนำเอาไปใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว (Mllan and Arter, 1984) เป็นแหล่งรวบรวมข้อสอบรายข้อที่วัดได้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละ จุดประสงค์ ในแต่ละรายวิชา เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในด้านการ วัดผลและการสอนซ่อมเสริมในแต่ละจุดประสงค์ที่ต้องการและจำเป็นได้อย่าง รวดเร็ว (กรมวิชาการ, 2534) เรียกอีกชื่อนึงว่า ธนาคารข้อสอบ หมายถึง ที่รวมของข้อสอบ ซึ่งมีไว้เพื่อ ประโยชน์ในการใช้ข้อสอบเหล่านั้น ตามจุดประสงค์ของการทดสอบในครั้ง ต่อไป (อุทัย บุญประเสริฐ, 2540) การจัดเก็บข้อสอบจำนวนมากอย่างเหมาะสมเป็นระบบ และมีกระบวนการ เรียกคืนกลับมาใช้หรือปรับปรุงใหม่ (ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์, 2543) ที่มา: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, 2551
ความหมายของคลังข้อสอบ คลังข้อสอบ หมายถึง แหล่งรวบรวมและจัดเก็บข้อสอบที่มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ โดยมีการจำแนกข้อสอบตามเนื้อหาวิชา พฤติกรรมการเรียนรู้ และคุณภาพข้อสอบในด้านความยากและอำนาจจำแนก เพื่อทำการจัดเก็บในลักษณะเอกสารหรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ความหมายของคลังข้อสอบ Mllan และ Arter (1984) ได้เสนอจำนวนข้อสอบที่เหมาะสมสำหรับจัดเก็บ ในคลังข้อสอบว่า หากใช้เพื่อการวัดผลในแต่ละครั้ง (การทดสอบย่อย)ควรมี จำนวน 10 ข้อ แต่ถ้าใช้เพื่อการวัดผลเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ควรมีจำนวนข้อสอบ 50 ข้อ จำนวนข้อสอบในคลังข้อสอบยิ่งมีมากเท่าใดก็จะยิ่งดีมากเท่านั้น เพื่อช่วย ลดปัญหาการใช้ข้อสอบซ้ำบ่อยครั้งมากจนเกินไป อย่างไรก็ตาม ข้อสอบที่จัดเก็บ ต้องมีลักษณะการเขียนข้อสอบที่มีความถูกต้องชัดเจนทั้งข้อคำถามและตัวเลือก มีความตรงตามเนื้อหา และมีค่าสถิติแสดงคุณภาพของข้อสอบที่เหมาะสม โดยทั่วไปการจัดแบ่งประเภทของข้อสอบเพื่อจัดเก็บเข้าคลังข้อสอบจะใช้ เนื้อหารายวิชาเป็นเกณฑ์ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อย แบ่งข้อสอบออก ตามจุดประสงค์ และเพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อสอบ ควรกำหนดรหัส ประจำข้อสอบที่แสดงรายละเอียดถึงเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ต้องการวัด ที่มา: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, 2551
รูปแบบที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ รูปแบบของคลังข้อสอบ รูปแบบที่ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งจัดเก็บข้อสอบในยุคสมัยที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ยังไม่เจริญก้าวหน้า วิธีการจัดเก็บมี 2 ลักษณะ 1. การจัดเก็บแบบสอบทั้งชุดตามกำหนดการสอบของสถานศึกษา ซึ่งเป็นการเก็บหลักฐานมากกว่าการนำมาใช้ใหม่ 2. การจัดเก็บเป็นข้อๆ ตามหมวดหมู่ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบรายข้อและนำกลับมาใช้ใหม่ตามความต้องการ การจัดเก็บลักษณะนี้เป็นกระบวนการที่ทำด้วยมือ โดยการเขียนรายละเอียดของข้อสอบแต่ละข้อลงในบัตรบันทึกคุณภาพข้อสอบแยกเป็นแผ่นๆ แล้วเก็บเข้าแฟ้ม ข้อด้อยของจัดเก็บข้อสอบในลักษณะนี้ คือ ต้องใช้เวลาในการคัดลอก ซึ่งทำให้เสียเวลาและอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย
รูปแบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ รูปแบบของคลังข้อสอบ รูปแบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งจัดเก็บข้อสอบในยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยจำนวนข้อสอบที่มีคุณภาพจะต้องมีปริมาณที่มากเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ข้อสอบซ้ำ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ทำให้มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การประมวลข้อสอบ การวิเคราะห์ข้อสอบ การจัดเก็บ และการสร้างแบบสอบชุดใหม่ที่สะดวกรวดเร็วต่อการนำไปใช้สอบครั้งถัดไป การจัดเก็บข้อสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์นี้ ยังเป็นพื้นฐานสำหรับการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Adaptive Testing: CAT) อีกด้วย
ขั้นตอนของการพัฒนาระบบคลังข้อสอบ ศิริชัย กาญจนวาสี (2541) ได้เสนอขั้นตอนของการพัฒนาระบบคลังข้อสอบด้วย คอมพิวเตอร์ไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การวางแผน 1.1 วิเคราะห์สภาพปัญหา กำหนดขอบข่าย คามต้องการในการใช้คลังข้อสอบ 1.2 กำหนดลักษณะคลังข้อสอบ ใครจะเป็นผู้จัดทำระบบและพัฒนาคลังข้อสอบ ลักษณะของซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ต้องมีความจุหรือ หน่วยความจำเท่าใด โครงสร้างของระบบคลังข้อสอบมีลักษณะอย่างไร ฐานข้อมูลการ ใช้โปรแกรมในวัตถุประสงค์ต่างๆ ใครเป็นผู้รับผิดชอบดูแลรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องมือต่างๆ 1.3 กำหนดรหัสประจำข้อสอบ (coding of item) เช่น ระดับหลักสูตร ชื่อวิชา เนื้อหาสาระ จุดมุ่งหมายการเรียนการสอน จุดประสงค์การเรียนรู้ ระดับชั้นเรียน ระดับ พฤติกรรมการเรียนรู้ ค่าสถิติของข้อสอบ เป็นต้น
ขั้นตอนของการพัฒนาระบบคลังข้อสอบ (ต่อ) 2. ออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2.1 จัดหานักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เลือกภาษาโปรแกรม เขียนโปรแกรม ทดสอบโปรแกรม หรือจัดซื้อซอฟแวร์ 2.2 ประเมินระบบคลังข้อสอบ: ข้อสอบในคลังข้อสอบสามารถวัดครอบคลุม วัตถุประสงค์หรือเนื้อหาที่กำหนดหรือไม่ ให้ผลการวัดที่มีมาตรฐานเดียวกันเมื่อวัดใน ช่วงเวลาต่างกันหรือไม่ 2.3 จัดทำคู่มือการใช้ 3. การจัดเก็บข้อสอบเข้าคลัง 3.1 การบันทึกข้อสอบเข้าคลัง: ค่าความตรงและความเที่ยงเท่าใดจึงจะจัดเก็บ ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบควรกำหนดเท่าใด ใครจะเป็นผู้จัดเก็บและจะจัดเก็บตัว ข้อสอบอย่างไร จำนวนข้อคำถามที่ต้องการจัดเก็บมีเท่าใด 3.2 การปรับปรุงแก้ไข: พิจารณาความเป็นปัจจุบันของข้อสอบ มีการปรับปรุงแก้ ข้อสอบหรือไม่ ใครเป็นผู้ปรับปรุงแก้ไข
ขั้นตอนของการพัฒนาระบบคลังข้อสอบ (ต่อ) 4. การคัดเลือกข้อสอบจากคลังมาใช้งาน 4.1 กำหนดลักษณะของแบบสอบที่ต้องการ: เป็นรูปแบบปลายเปิดหรือเป็นแบบกำหนดคำตอบให้ จำนวนกี่ตัวเลือก 4.2 คัดเลือกข้อสอบโดยการสุ่ม: จะสุ่มเลือกข้อสอบอย่างไร ข้อสอบแต่ละข้อใช้บ่อยแค่ไหน 4.3 จัดเรียงข้อสอบ: มีกระบวนการจัดเรียงข้อสอบอย่างไร ใช้คำสั่งเลือกอย่างสุ่ม หรือการจัดให้ข้อสอบแตกต่างกันในแต่ละแบบสอบ 5. การจัดพิมพ์ข้อสอบ 5.1 กำหนดรูปแบบการจัดพิมพ์ข้อสอบ 5.2 จัดพิมพ์ข้อสอบ 6. การให้สารสนเทศเกี่ยวกับคลังข้อสอบ 6.1 การจำแนกลักษณะข้อสอบ 6.2 จำนวนข้อสอบ ค่าสถิติของข้อสอบ
ขั้นตอนของการพัฒนาระบบคลังข้อสอบ (ต่อ) 7. การรักษาความปลอดภัยของระบบคลังข้อสอบ 7.1 การป้องกันการเข้าถึงคลังข้อสอบ - การแบ่งระดับผู้ใช้และการเข้าถึง: ใครที่สามารถใช้ข้อสอบหรือ ข้อมูลอื่นๆ ในคลังข้อสอบได้ ใครสามารถเข้าไปดูรายงานผลการสอบได้บ้าง - การกำหนดรหัสผ่านและทำการเปลี่ยนเป็นระยะๆ 7.2 การป้องกันการทำลายข้อสอบ - ซอฟแวร์ช่วยเตือน ตรวจจับ ทำลายสิ่งแปลกปลอม การต่อต้าน ป้องกันไวรัส
นิสิตคิดว่า การจัดทำคลังข้อสอบ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง จงอภิปราย
ประโยชน์ของคลังข้อสอบ Choppin (1985), สุพัฒน์ สุกมลสันต์ (2539) และศิริชัย กาญจนวาสี (2541) ได้สรุปประโยชน์ของคลังข้อสอบไว้ดังนี้ 1. ทำให้ได้ข้อสอบที่ตรงกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาของแต่ละรายวิชา สามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ 2. ทำให้ได้ข้อสอบและแบบสอบที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือเป็นจำนวนมาก ผลที่ได้จากการวัดก็จะมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น 3. สร้างข้อสอบได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง มีความพร้อมในการสร้างแบบสอบได้ทุกเวลา 4. ใช้ข้อสอบซ้ำได้หลายครั้ง ด้วยการเลือกใช้ข้อสอบที่มีระบบ 5. ประหยัดงบประมาณ ทรัพยากร และเวลา ลดภาระด้านการออกข้อสอบให้แก่ครูผู้สอน 6. ได้ข้อสอบที่มีลักษณะเป็นข้อสอบคู่ขนานได้ 7. สามารถจัดทำแบบสอบที่เหมาะกับความสามารถของกลุ่มผู้สอบที่เป็นเป้าหมายได้ ตลอดจนสามารถสร้างข้อสอบแบบปรับเหมาะสำหรับบุคคลได้ 8. กระตุ้นครูผู้สอนให้เกิดการพัฒนาข้อสอบให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานที่สูงยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของคลังข้อสอบ (ต่อ) ประโยชน์ของคลังข้อสอบที่มีต่อบุคคล 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้สอน เพราะคลังข้อสอบทำหน้าที่จัดเก็บข้อสอบที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับจุดประสงค์ การเรียนการสอน จึงทำให้สามารถสร้างข้อสอบให้ผู้เรียนได้หลายชุดในช่วงเวลาที่ แตกต่างกัน ผลการสอบสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบ ข้อสอบที่มีความยากและอำนาจจำแนกที่เหมาะสมกับการทดสอบเป็นรายบุคคล 2. นักการศึกษา เนื่องจากคลังข้อสอบมีข้อสอบที่มีคุณภาพเป็นจำนวนมาและข้อสอบแต่ละข้อมี ค่าพารามิเตอร์ประจำข้อสอบ ทำให้นำมาใช้เป็นสารสนเทศเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและ วิธีการจัดการเรียนการสอน ผลการสอบสามารถใช้ประเมินผลการสอนของผู้สอนแต่ละ คน และยังสามารถเปรียบเทียบผลการสอนระหว่างผู้สอนหลายคน เป็นประโยชน์ในการ ประเมินรูปแบบการสอน เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของคลังข้อสอบ (ต่อ) 3. ผู้เรียน เนื่องจากในการทดสอบแต่ละครั้ง จะมีปัจจัยและสภาพการณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการทำข้อสอบของผู้เรียน ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดได้ เช่น การเดา การลอก ความสะเพร่า ความกดดัน เป็นต้น ซึ่งในการพัฒนาคลังข้อสอบให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้สอบ สามารถทำได้โดยการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบด้วยทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) ได้ ซึ่งจะช่วยลดความเคลื่อนที่เกิดขึ้นได้ 4. นักวิจัยที่สนใจเกี่ยวกับการพัฒนาการวัดความสามารถของบุคคล เนื่องจากความก้าวหน้าของทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ) และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถคำนวณค่าพารามิเตอร์ประจำข้อสอบได้โดยที่ค่าไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มผู้สอบ นอกจากนี้ การดำเนินการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ก็สามารถจัดกระทำได้อย่างเป็นระบบ สามารถจัดสอบได้บ่อยครั้งมากขึ้นตามความพร้อม และสามารถวิเคราะห์แปลผลความสามารถของผู้สอบได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย