ชุมชนปลอดภัย
แนวคิดเกี่ยวกับอุบัติเหตุ อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ และเหตุการณ์นั้นต้องทำให้บุคคลถึงแก่ความตาย บาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย
แนวคิดเกี่ยวกับอุบัติเหตุ อุบัติเหตุสามารถจำแนกประเภท ได้ดังนี้ 1. อุบัติเหตุในเคหสถาน หมายถึง เหตุที่เกิดขึ้นในครอบครัว อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น ไฟฟ้าดูด น้ำร้อนลวก และอื่นๆ 2. อุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ หมายถึง เหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานหรืออาชีพบางอาชีพ เช่น การทำงานในโรงงาน การทำงานก่อสร้าง
แนวคิดเกี่ยวกับอุบัติเหตุ 3. อุบัติเหตุในสาธาณสถาน หมายถึง เหตุที่เกิดขึ้นในโรงเรือน โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ รวมทั้งอัคคีภัย เป็นต้น 4. ภัยพิบัติจากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ไฟป่า แผ่นดินไหว เป็นต้น 5. อุบัติเหตุ จากการจราจร หมายถึง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากกานคมนาคม หรือการขนส่ง ได้แก่อุบัติเหตุทางอากาศ ซึ่งอุบัติเหตุจากกาจจราจร ทางบกเป็นอุบัติเหตุ ที่มีปริมาณที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด
การป้องกันอุบัติเหตุ หลักการวิเคระห์ความปลอดภัย 3 ประการ ดังนี้ 1.การแยกแยะ 2.การควบคุม 3.การประเมินผล
หลัก 3 E ในการป้องกันอุบัติเหตุ หลักการ 3 E ในการป้องกันอุบัติเหตุ โดยเพื่อเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องยึดหลักการ 3 E ได้แก่ 1.E ตัวแรก คือ Engineering คือ การใช้ความรู้ทางวิชาการ ด้านวิศวกรรมศาสตร์ในวณ และออกแบบเครื่องจักร เครื่องมือ ที่มีสภาพการใช้งานที่ปลอดภัยที่สุด การติดตั้งเครื่องป้องกัน อันตรายให้แกส่วนที่เคลื่อนไหว หรืออันตรายของเครื่องจักร การวางผังโรงงานระบบไฟฟ้า แสงสว่าง เสียง การระบายอากาศ เป็นต้น
หลัก 3 E ในการป้องกันอุบัติเหตุ 2. E ตัวที่สอง คือ Education คือ การให้การศึกษา หรือการฝึกอบรม และแนะนำคนงาน หัวหน้างาน ตลอดจน ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ และการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงาน ให้รู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้น และป้องกันได้อย่างไร และจะทำงานวิธีใดจะปลอดภัยที่สุด เป็นต้น Education = เอดยุเค-ฌัน [n.] การศึกษา การเรียน, การให้ความรู้
หลัก 3 E ในการป้องกันอุบัติเหตุ 3. E ตัวที่สาม คือ Enforcement คือ การกำหนดวิธีการทำงานอย่างปลอดภัย และมาตรการควบคุมบังคับให้คนงานปฏิบัติตามเป็นระเบียนปฏิบัติที่ต้องประกาศให้ทราบทั่วกันหากผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ เมื่อให้เกิดสำนึก และหลีกเลี่ยง การกระทำที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นอันตราย Enforcement = เอ็นโฟซ-เม็นท [n.] ใช้ (กฎหมาย)บังคับ, บังคับ, บังคับการให้เป็นไปตาม(กฏหมาย)
การวางแผนและการกำหนดแนวทางลดอุบัติเหตุ และสร้างเสริมความปลอดภัย อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์อันตรายที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือคาดคิดมาก่อนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินบุคคลได้รับ อันตรายทั้งร่างกาย และจิตใจ อาจบาดเจ็บ พิการ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
การวางแผนและการกำหนดแนวทางลดอุบัติเหตุ และสร้างเสริมความปลอดภัย การลดอุบัติเหตุ คือ การลดหรือป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือคาดคิดมาก่อนทำให้ลดการเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และบุคคลได้รับอันตรายทั้งร่างกาย และจิตใจ และอาจลดการ บาดเจ็บ พิการ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
การวางแผนและการกำหนดแนวทางลดอุบัติเหตุ และสร้างเสริมความปลอดภัย การวางแผนและการกำหนดแนวทางลดอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัย มีขั้นตอนดังนี้ 1.การสำรวจข้อมูลในชุมชน สำรวจปัญหาต่างๆ สำรวจความต้องการของคนในชุมชน จัดลำดับความสำคัญของปัญหา ศึกษาแนวทางและหลักการในการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน จัดลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหา
การวางแผนและการกำหนดแนวทางลดอุบัติเหตุ และสร้างเสริมความปลอดภัย 2.การกำหนดวางแผนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน การระบุข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการ การพิจารณาแนวโน้มการพยากรณ์ในอนาคต การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน การกำหนดวิธีการดำเนินงาน การปฏิบัติตามแผน การประเมินผล
สรุป ชุมชนปลอดภัย สร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน มีความสำคัญต่อสุขภาพ และความปลอดภัยในชีวิตของบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชน ซึ่งหลักการดำเนินงานของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องยึดหลักความร่วมมือกันของคนในชุมชนเป็นพื้นฐาน ตลอดจนต้องมีการประเมินกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนที่มีความถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริง เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยที่กำลังดำเนินการและที่จะจัดทำต่อไปในอนาคตบรรลุผลสัมฤทธิ์ที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ชุมชนจะต้องสร้างความตระหนักในความปลอดภัยของบุคคลในชุมชนด้วย รวมทั้งต้องร่วมกันเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายด้านความปลอดภัย และทราบแหล่งให้คำปรึกษาและช่วยเหลือด้านความปลอดภัย เพื่อการคุ้มครองความปลอดภัยของตนเอง ครอบคัว และชุมชน ความปรารถนาที่จะมีชีวิตที่มีความสุขและปลอดภัยจากภัยอันตราย เป็นความต้องการตามธรรมชาติของเราทุกคน กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่ทุกชุมชนควรดำเนินการ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและการมีชีวิตที่ดีของคนในชุมชน การเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน จะช่วยให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองได้
THE END