ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม : 2500105 Human and Environment
Intro อาจารย์ชนม์ธนัช สุวรรณ (อ.เนธ์) 089-6321-988 // chontanatsuwan@gmail.com ห้อง 0431 เวลา : แล้วแต่นัดหมาย โหลดสไลด์และเอกสารประกอบ : http://csuwan.weebly.com/lecture.html
การวัดและประเมิน คะแนนสอบ 50% คะแนนงานรวม 50% จิตพิสัย 5% Midterm 20% Final 30% คะแนนงานรวม 50% จิตพิสัย 5% แบบฝึกหัด 15% งานเดี่ยว 15% งานกลุ่ม 20%
บทที่ 1 บทนำ
ทำไมต้องรู้ความสัมพันธ์ของชีวิตกับสิ่งแวดล้อม?? เพราะ ณ ตอนนี้ สิ่งแวดล้อมที่มีมาแต่เดิมมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วทั้ง กายภาพและสังคม เพราะ สิ่งมีชีวิตอื่นๆและมนุษย์คือส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ที่ต้องพึ่งพาสวล. และเป็นตัวการที่ทำให้สวล. เสื่อมลงอย่างมาก ซึ่ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีผลต่อสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะ มนุษย์ ดังนั้น ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ สวล.บ้าง อะไรบ้าง จะได้มีความรู้ถึงเหตุและ ผล และความสำคัญของสวล.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ความหมาย : นิยามความหมายตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 คือ สิ่งต่างๆที่มีลักษณะทาง กายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ความหมาย : ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัวมนุษย์ ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม (จับต้องได้และมองเห็นได้) และ นามธรรม (วัฒนธรรม, แบบแผน, ประเพณี, ความเชื่อ) มีอิทธิพล เกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
ตัวอย่างการพึ่งพาของสมช.กับสวล.? มนุษย์กับแสงอาทิตย์ Environment Humans Animals Plants Adaptation การปรับตัว กายภาพ ชีวภาพ ตามธรรมชาติ มนุษย์สร้าง กายภาพ มีชีวิต ไม่มีชีวิต สังคม นามธรรม รูปธรรม Interaction ปฏิสัมพันธ์ มองเห็น มองไม่เห็น ตัวอย่างการพึ่งพาของสมช.กับสวล.? มนุษย์กับแสงอาทิตย์
ประเภทของสิ่งแวดล้อม 2 ประเภท สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ (Natural Environment) สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต (Biotic Environment) เช่น สัตว์เซลล์เดียว จุลินทรีย์ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) เช่น แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น กรด-ด่าง สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made Environment) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมที่มองเห็น(Physical Env.) : รูปธรรมและจับต้องได้ เช่น บ้านเรือน ถนน สะพาน สิ่งแวดล้อมทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (Social Env.) มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้อยู่ร่วมกัน เช่น ศาสนา ความเชื่อ
คุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม 1. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดเฉพาะตัว (Unique) ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามเอกลักษณ์นั้นจะบ่งบอกอย่างชัดเจน เช่น ต้นไม้ มนุษย์ น้ำ บ้าน ฯลฯ 2. สิ่งแวดล้อมจะไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติแต่จะมีสิ่งแวดล้อมอื่นอยู่ด้วย เสมอ เช่นปลากับน้ำ มนุษย์กับที่อยู่อาศัย ต้นไม้กับดิน ฯลฯ 3. สิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งมีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นเสมอ เช่น ปลาต้องการน้ำ มนุษย์ต้องการที่อยู่อาศัย ฯลฯ 4. สิ่งแวดล้อมจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า ระบบนิเวศหรือ ระบบสิ่งแวดล้อม ซึ่งภายในระบบนิเวศจะมีองค์ประกอบหรือหลากชนิด ของสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศทางทะเล
5. สิ่งแวดล้อมทั้งหลายมีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์ต่อกันเป็น ลูกโซ่ ดังนั้นถ้าทำลายสิ่งแวดล้อมหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เป็นลูกโซ่เสมอ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดการพังทลายของดิน, ค่า pH เปลี่ยน = พืชไม่เจริญเติบโต 6. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีลักษณะทนทานและมีความเปราะต่อ การถูกกระทบแตกต่างกัน บางชนิดมีความคงทนดี บางชนิดเปราะ ง่าย เช่น การชะล้างของดิน 7. สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป อาจเป็นการ เปลี่ยนแปลงแบบถาวรหรือชั่วคราวก็ได้ เช่น การเจริญเติบโตของเมือง การ เผาทาลายป่า ซึ่งจะมีพืชค่อยๆ ขึ้นทดแทน
มิติของสิ่งแวดล้อม การให้ขนาดด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการประเมินความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้คุณลักษณะของสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่เป็นรูปธรรม มิติทรัพยากร (Resource Dimension) เป็นมิติที่มีความสำคัญที่ มนุษย์ใช้เป็นปัจจัย ในการดำรงชีวิตทั้งทรัพยากรธรรมชาติ, มิติ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นและมิติทรัพยากรทางปฏิบัติ มิติเทคโนโลยี เป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ทั้งในรูป ความรู้ แนวคิดทฤษฎี และข้อเท็จจริงในการปฏิบัติ เทคโนโลยีมี บทบาทสาคัญต่อมนุษย์ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์สามารถนา เอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ = ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
มิติของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม มิติด้านของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อม แสดงถึงผลของการใช้ทรัพยากรของมนุษย์จะมีของเสียปล่อยสู่ สภาพแวดล้อมไม่มากก็น้อย มิติมนุษย์/เศรษฐสังคม การให้ขนาดกับผลที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมหรือ พฤติกรรมของมนุษย์ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม อันจะเป็นผลในทาง ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และองค์ประกอบด้านประชากร เช่น การศึกษา สาธารณสุข “ความสัมพันธ์ระหว่างมิติ” : มนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้โดยใช้ เทคโนโลยีในการผลิต ก่อให้เกิดมลพิษ อย่างไรก็ดีมนุษย์ก็ได้นำเอา เทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อลดมลพิษและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติด้วยเช่นกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตต้อง อาศัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มี ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ การแพร่กระจาย ตลอดจนพฤติกรรมอื่นๆ ของสิ่งมีชีวิต // พฤติกรรมที่ดำเนินอยู่จะหยุดชะงัก หรือเปลี่ยนแปลงไปจากปกติสภาพแวดล้อมที่ไม่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโต เรียกว่า “ปัจจัยจำกัด” (Limiting Factor) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต 2 อย่าง 1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (Intraspecific Relationship) ธรรมชาติมักพบว่า สิ่งมีชีวิตมีการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นฝูง การรวมเป็น กลุ่มก่อให้เกิดผลดี (Beneficial Effect) และจัดลำดับชั้นของสังคม (Social Hierarchy) เช่น ผึ้ง ปลวก มด ลิง
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน (Interspecific Relationship) สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นในโลกมีความเกี่ยวพันกัน โยงใย ซึ่งกันและกัน 1. แบบพึ่งพา (Mutualism) (+,+) ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันตลอดไปจึงจะสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น รากับสาหร่าย 2. การได้รับประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation) (+,+) ไม่จำเป็นจะต้องอาศัย อยู่ร่วมกันตลอดไป เช่น ดอกไม้กับผีเสื้อ 3. แบบเกื้อกูล (Commensalism) (+,0) เช่น กล้วยไม้บนต้นไม้ใหญ่ 4. ผู้ล่า (Predation) (+,-) สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น มนุษย์กินหนูนา 5. ปรสิต (Parasitism) (+,-) สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น ไวรัสในตัวมนุษย์ 6. ความสัมพันธ์แบบไม่ได้และไม่เสียผลประโยชน์ (Neutralism) (0,0) โดยไม่ได้ และไม่เสียผลประโยชน์ เช่น มนุษย์กับแมว 7. การแข่งขัน (Competition) (-,-) สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดต่างฝ่ายต่างเสียประโยชน์ เช่น หญ้านวลน้อยที่เจริญเติบโตร่วมกับหญ้าแห้วหมู
จบบทที่ 1