โดย นางสาวเพชรอุมา แสงอ่วม กลุ่ม 19 คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา 3 BEST
3 รายการสุดยอดของฝากสุรินทร์ ได้แก่ : 1. ผ้าไหมบ้านท่าสว่าง 2. เม็ดบัวอบกรอบ มาย 3. ผักกาดหวาน
ผ้าไหม บ้านท่าสว่าง หมู่บ้านที่ ได้รับการยกย่องว่า “ ทอผ้าไหม หนึ่งสี่ร้อยสิบหกตะกอ ” เมื่อครั้ง ทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจากการริเริ่ม ผลงานศิลปหัตถกรรมของกลุ่ม ทอผ้ายกทอง “ จันทร์โสม ” โดยมี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำและผู้รวบรวมชาวบ้าน ท่าสว่างมารวมกลุ่มกันทำงานทอ ผ้ายามว่างจากงานไร่งานนา
เม็ดบัวอบกรอบ มาย ขนมขบเคี้ยวที่มี ชื่อเสียงของจังหวัด สุรินทร์ ผลิตจากเม็ดบัวที่ปลูก กันอย่าง แพร่หลาย ใน ชนบท มีวางขายตามห้าง modern trade ทั่ว ประเทศ ( ยี่ห้อ มาย เม็ดบัวอบกรอบ )
ผักกาด ชาวบ้านละหุ่ง มีอาชีพ หลักคือ การทำนา และอาชีพเสริม คือปลูกหัวผักกาดขาวเป็นวัตถุดิบ ส่งโรงงานผลิตหัวผักกาดหวาน ต่อมาเริ่มหมักหัวผักกาด ซึ่งเดิมส่ง โรงงานแต่เนื่องจากการส่งโรงงาน ไม่ได้ราคาเท่าที่ควร ชาวบ้านจึง รวมกลุ่มกันเพื่อจัดจำหน่ายเอง และเริ่มพัฒนาขึ้นเป็นการทำหัว ผักกาดหวาน
ห้วยเสนง เป็นอ่างเก็บน้ำ ของโครงการชลประทาน ห้วยเสนงเป็นอ่างเก็บน้ำ ที่มีสันเขื่อนสูง สันเขื่อน เป็นถนนราดยาง เป็น สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวเมืองสุรินทร์ ภายในที่ทำการ ชลประทานมีพระตำหนัก ที่ประทับของสมเด็จพระ ศรีนครินทราบรมราชชนนี และมีที่พักให้ นักท่องเที่ยวที่สนใจ
หมู่บ้านทอผ้าไหม ถิ่นผ้าไหม บ้าน สวาย บ้านจันรม บ้านเขวาสินรินทร์ ผ้าไหมที่นี่เด่นด้วยลวดลายอันเป็น เอกลักษณ์เฉพาะ ที่ได้รับอิทธิพล มาจากเขมร ลายดอก ลายขิด มัดหมี่จึงไม่เหมือนใคร อีกทั้งยัง นิยมใช้ไหมหนึ่งหรือไหมน้อยที่ เขมรเรียกว่า " โชคซัก " เป็นไหมเส้น เล็กละเอียด นุ่ม เงางาม มีคุณภาพ ดีที่สุด
หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่ ม. ที่ 9 และะ 13 บ้านตากลาง ต. กระโพ อ. ท่าตูม ส่วนใหญ่ใน เขตนี้จะเป็นที่นาและป่าละเมาะ สลับกับป่าโปร่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วย พืชพรรณนานาชนิด บริเวณนี้จึง เหมาะสมกับการเลี้ยงช้างอย่าง ที่สุดและจะมีการแสดงช้างให้ชม เป็นประจำทุกๆวัน
ปราสาทภูมิโปน ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิ โปน ตำบลดม อำเภอสังขะน ประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และ ศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้าง อย่างน้อย 2 สมัย ปราสาทก่ออิฐ หลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรทีมี อายุเก่าที่สุดในประเทศไทย
โดย นางสาวเพชรอุมา แสงอ่วม กลุ่ม 19 คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา