งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วัฒนธรรมศาสตร์ ศิลป์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ละครเงา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วัฒนธรรมศาสตร์ ศิลป์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ละครเงา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วัฒนธรรมศาสตร์ ศิลป์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ละครเงา
หน้าหลัก หนังตะลุง ประวัติ ตัวละครเอก แหล่งที่มา ผู้จัดทำ วัฒนธรรมศาสตร์ ศิลป์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ละครเงา

2 หน้าหลัก หนังตะลุง ประวัติ ตัวละครเอก แหล่งที่มา ผู้จัดทำ
หน้าหลัก หนังตะลุง ประวัติ ตัวละครเอก แหล่งที่มา ผู้จัดทำ หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียง ท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ 25นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่งมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในยุคสมัยก่อนที่จะมีไฟฟ้าใช้กันทั่วถึงทุกหมู่บ้านอย่างในปัจจุบัน หนังตะลุงแสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพ ดังนั้นงานวัด งานศพ หรืองานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอ แต่เมื่อเวลาผ่านไป หนังตะลุงกลับกลายเป็นความบันเทิงที่ต้องจัดหามาในราคาที่ "แพงและยุ่งยากกว่า" เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ เพราะการจ้างหนังตะลุง

3 หน้าหลัก หนังตะลุง ประวัติ ตัวละครเอก แหล่งที่มา ผู้จัดทำ
จากหลักฐานเก่าแก่เกี่ยวกับหนังตะลุงที่บ่งชี้ว่า หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงน่าจะมีต้นกำเนิดที่ภูมิภาคนี้คือที่จังหวัด พัทลุง จากนั้นจึงแพราหลายไปยังจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้               สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2508 : 99)  ได้ทรงบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า พวก ชาวบ้านควน (มะ) พร้าว แขวงจังหวัดพัทลุงคิดเอาอย่างหนังแจก (ชวา) มาเล่นเป็นเรื่องไทยขึ้นก่อนแล้วจึงแพร่หลายไปที่อื่น ในมณฑลนั้นเรียกว่า  หนังควนเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร  บุนนาค) พาเข้ากรุงเทพฯ ได้เล่นถวายตัวที่บางปะอินเป็นที่แรกเมื่อปีชวด พ.ศ.2419

4 หน้าหลัก หนังตะลุง ประวัติ ตัวละครเอก แหล่งที่มา ผู้จัดทำ
หน้าหลัก หนังตะลุง ประวัติ ตัวละครเอก แหล่งที่มา ผู้จัดทำ ตัวละครเอก หมายถึง ตัวละครที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป นายหนังคณะต่างๆหลายคณะนิยมนำไปแสดง อ้ายเท่ง หนังจวนบ้านคูขุดเป็นคน สร้าง โดยเลียนแบบบุคลิกมาจากนายเท่ง ซึ่งเป็นชาวบ้านอยู่บ้านคูขุด อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา เป็นคนรูปร่างผอมสูง ลำตัวท่อนบนยาวกว่าท่อนล่าง ผิวดำ ปากกว้าง หัวเถิก ผมหยิกงอ ใบหน้าคล้ายนกกระฮัง ลักษณะเด่นคือ นิ้วมือขวายาวโตคล้ายอวัยวะเพศผู้ชาย ส่วนนิ้วชี้กับหัวแม่มือซ้ายงอหยิกเป็นวงเข้าหากัน รูปอ้ายเท่งไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก มีผ้าขาวม้าคาดพุง มีมีดอ้ายครก เหน็บที่สะเอว เป็นคนพูดจาโผงผาง ไม่เกรงใจใคร ชอบข่มขู่และล้อเลียนผู้อื่น เป็นคู่หูกับอ้ายหนูนุ้ย เป็นตัวตลกที่นายหนังเกือบทุกคณะนิยมนำไปแสดง อ้ายหนูนุ้ย ไม่มีบันทึกว่าใครเป็น คนสร้าง หนูนุ้ยมีบุคลิกซื่อแกมโง่ ผิวดำ รูปร่างค่อนข้างเตี้ย พุงโย้ คอตก ทรงผมคล้ายแส้ม้า จมูกปากยื่นคล้ายปากวัว ไว้เคราหนวดแพะ รูปอ้ายหนูนุ้ยไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าโสร่งไม่มีลวดลาย ถือมีดตะไกรหนีบหมากเป็นอาวุธ พูดเสียงต่ำสั่นเครือขึ้นนาสิก เป็นคนหูเบาคล้อยตามคำยุยงได้ง่าย แสดงความซื่อออกมาเสมอ ไม่ชอบให้ใครพูดเรื่องวัว เป็นคู่หูกับอ้ายเท่ง และเป็นตัวตลกที่นายหนังทุกคณะนิยมนำไปแสดงเช่นกัน

5 แหล่งที่มา ; https://sites.google.com/site/61projet1419/
หน้าหลัก หนังตะลุง ประวัติ ตัวละครเอก แหล่งที่มา ผู้จัดทำ แหล่งที่มา ;

6 1. นางสาวชาลิตา พุ่มชา เลขที่ 14 2. นางสาวพรรณนิภา พรมอินทร์ เลขที่ 19
หน้าหลัก หนังตะลุง ประวัติ ตัวละครเอก แหล่งที่มา ผู้จัดทำ ผู้จัดทำ 1. นางสาวชาลิตา พุ่มชา เลขที่ 14 2. นางสาวพรรณนิภา พรมอินทร์ เลขที่ 19 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1


ดาวน์โหลด ppt วัฒนธรรมศาสตร์ ศิลป์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ละครเงา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google