งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

12. การสร้างเครื่องมือการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "12. การสร้างเครื่องมือการวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 12. การสร้างเครื่องมือการวิจัย
โดย ร.ศ. ดร.เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช

2 ประเภทเครื่องมือการวิจัย
1. แบบสัมภาษณ์ 2. แบบสอบถาม 3. แบบสังเกต 4. แบบทดสอบ 5. เครื่องมืออื่นๆ

3 ความสัมพันธ์ของเครื่องมือกับขั้นตอนอื่นๆ
เครื่องมือการวิจัยกับขั้นตอนการวิจัย วัตถุประสงค์ของวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือเก็บข้อมูล กรอบแนวคิดวิจัย การรายงานผลวิจัย

4 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. กำหนดข้อมูลที่ต้องการ 2. การวัดโดยกำหนดตัวชี้วัดและสร้างมาตรวัด 3. สร้างข้อคำถาม 4. ตรวจสอบและทำบรรณาธิกร 5. ทดลองใช้และ 6. ปรับปรุง

5 1.ขั้นตอนการกำหนดข้อมูลที่ต้องการ
1.พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการวิจัยแต่ละข้อ เพื่อทราบว่าต้องการข้อมูลอะไร มีตัวแปรอะไรบ้างที่ต้องนำมาพิจารณา 2.แยกวัตถุประสงค์ของการวิจัยออกเป็นประเด็นย่อยๆให้มากที่สุด ( ขึ้นกับการตรวจเอกสาร) 3.นำประเด็นที่แยกออกมาทำเป็นแผนผังก้างปลา เพื่อนำไปกำหนดเป็นข้อคำถาม

6 ตัวอย่างการทำผังก้างปลางานวิจัยเรื่องการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1 เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 2 เพื่อศึกษาการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 3 เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 4 เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

7 2 เพื่อศึกษาการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรซึ่งประกอบไปด้วย 1. แหล่งปลูก / พื้นที่ปลูกมะม่วง 2. การเลือกใช้พันธุ์มะม่วง 3. การปลูก 4. การดูแลรักษามะม่วง 4.1 การบำรุงดูแลมะม่วงในระยะต่างๆ 4.2 การใส่ปุ๋ยมะม่วง 4.3 การให้น้ำมะม่วง 4.4 การตัดแต่งกิ่งมะม่วง 5. สุขลักษณะและความสะอาดภายในสวน 6. การควบคุมศัตรูของมะม่วง 7. การใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 8. การเก็บเกี่ยว 9. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว 10. การบันทึกข้อมูล

8 แหล่งปลูก / พื้นที่ปลูก
การเลือกใช้พันธุ์มะม่วง การบำรุงดูแลมะม่วง การปลูก การใส่ปุ๋ยมะม่วง การดูแลรักษามะม่วง การให้น้ำมะม่วง การตัดแต่งกิ่งมะม่วง สุขลักษณะและความสะอาดภายในสวน เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วง การควบคุมศัตรูของมะม่วง การใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การบันทึกข้อมูล

9 2. การวัดโดยกำหนดตัวชี้วัดและสร้างมาตรวัด
การวัด เป็นการแปรสภาพข้อความคิดหรือแนวคิดซึ่งมีลักษณะเป็น นามธรรมให้เป็นตัวแปรและข้อมูลทางสถิติอาจเป็นเชิง ปริมาณหรือเชิงคุณภาพ ในการวัด ผู้วิจัยต้องกำหนดให้เด่นชัดว่า ข้อมูลหรือตัวแปรที่จะวัดนั้นคืออะไร(ได้จากประเด็นในก้างปลา) ในการวัดใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด ตัวชี้วัดแต่ละตัวมีมาตรวัดอย่างไร ตัวชี้วัดและมาตรวัดนั้นจะถูกนำไปกำหนดเป็นข้อคำถาม

10 การวัด แนวคิด นามธรรม ตัวแปร(สิ่งที่จะวัด) ตัวชี้วัด มาตรวัด รูปธรรม

11 ความหมายของตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด หมายถึงสิ่งที่บ่งบอกหรือสะท้อนลักษณะของประเด็นที่ต้องการจะวัด ประเด็นที่ต้องการจะวัด ตัวชี้วัด ความอ้วน น้ำหนัก ปริมาณไขมันในร่างกาย สุขภาพ จำนวนครั้งของการเจ็บป่วย ความสวย หน้าตา รูปร่าง บุคลิกภาพ อารมณ์

12 ตัวชี้วัดเกษตรดีที่เหมาะสม
แนวคิด : เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ประเด็นที่จะวัด : แหล่งปลูก / พื้นที่ปลูกมะม่วง การเลือกใช้พันธุ์มะม่วง การปลูก การดูแลรักษามะม่วง การบำรุงดูแลมะม่วงในระยะต่างๆ การใส่ปุ๋ยมะม่วง การให้น้ำมะม่วง การตัดแต่งกิ่งมะม่วง ฯลฯ

13 ตัวชี้วัดการทำเกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงของสมาชิกกลุ่ม
ประเด็นที่ 1. แหล่งปลูก / พื้นที่ปลูกมะม่วง ตัวชี้วัด : ประเภทของแหล่งปลูก / พื้นที่ปลูกมะม่วง ประเด็นที่ 2. การเลือกใช้พันธุ์มะม่วง ตัวชี้วัด : ชนิดของพันธุ์มะม่วง ประเด็นที่ 3. การปลูก ตัวชี้วัด : วิธีการปลูก ประเด็นที่ 4 การดูแลรักษามะม่วง ประเด็นย่อย 4.1 การใส่ปุ๋ยมะม่วง ตัวชี้วัด : วิธีการใส่ปุ๋ยมะม่วง : จำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยมะม่วง : ปริมาณการใส่ปุ๋ยมะม่วง

14 ความหมายของมาตรวัด มาตรวัด : หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการวัด
( การกำหนดหน่วยในการวัด ) ระดับของการวัด นามมาตร เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ประเภทกลุ่ม การเข้าร่วม จัดอันดับ ความคิดเห็น – มาก ปานกลาง น้อย อันตรภาค ความคิดเห็น – มาก = 3 ปานกลาง = 2 น้อย = 1 อัตราส่วน น้ำหนัก ส่วนสูง ความถี่ในการประชุม

15 ตัวอย่างของมาตรวัด ตัวชี้วัด : ประเภทของแหล่งปลูก / พื้นที่ปลูกมะม่วง
ตัวชี้วัด : ประเภทของแหล่งปลูก / พื้นที่ปลูกมะม่วง มาตรวัด : นามมาตร ตัวชี้วัด : ชนิดของพันธุ์มะม่วง มาตรวัด : นามมาตร ตัวชี้วัด : วิธีการปลูก มาตรวัด : นามมาตร ตัวชี้วัด : วิธีการใส่ปุ๋ยมะม่วง ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ยมะม่วง มาตรวัด : อัตราส่วน

16 ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
นำประเด็นต่างๆที่ได้ทำเป็นแผนผังก้างปลามาพิจารณา กำหนดตัวชี้วัดในแต่ละประเด็นจากแผนผังก้างปลา กำหนดมาตรวัดในแต่ละประเด็น ทำตารางสรุปประกอบด้วย ประเด็นที่จะวัด ตัวชี้วัด มาตรวัดและแหล่งข้อมูล

17 ตัวอย่างตารางสรุปการกำหนดตัวชี้วัด
ประเด็นที่วัด (แนวคิด ) ประเด็นย่อยที่วัด ตัวชี้วัด มาตรวัด (ระดับวัด) เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วง แหล่งปลูก / พื้นที่ปลูกมะม่วง สภาพของแหล่งที่ปลูก นามมาตร การเลือกใช้พันธุ์มะม่วง ชนิดของพันธ์มะม่วงที่ปลูก การปลูก การใช้พันธ์ วิธีการปลูก

18 3. การสร้างข้อคำถาม นำตารางสรุปตัวชี้วัดมาพิจารณา
สร้างข้อคำถามให้ครบทุกประเด็นตัวชี้วัดและใช้มาตรวัดตามที่ได้กำหนดไว้ ยกร่างชุดของคำถามโดยยึดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสร้างคำถามมาประกอบการพิจารณา

19 ข้อห้ามในการสร้างข้อคำถาม
คำถามนำ เป็นคำถามที่กำหนดคำตอบไว้และพยายามจะให้ผู้ตอบเห็นด้วย เกษตรกรไม่นิยมกำจัดวัชพืชด้วยวิธีชีวภาพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ท่านคิดว่าเกษตรกรใช้วิธีการใดในการกำจัดวัชพืช

20 ท่านกำจัดวัชพืชตามข้อแนะนำที่กำหนดไว้หรือไม่
2. คำถามที่ลำเอียง เป็นคำถามที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้ตอบให้คำตอบตามที่ผู้วิจัยต้องการ ท่านกำจัดวัชพืชตามข้อแนะนำที่กำหนดไว้หรือไม่ ท่านปฏิบัติอย่างไรในการกำจัดวัชพืช 3. คำถามที่เป็นเชิงปฏิเสธ เป็นคำถามในรูปของการปฏิเสธ ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการกำจัดวัชพืชใช่ไหม ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการกำจัดวัชพืชด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ

21 4.คำถามที่มีสองคำถามซ้อนกัน เป็นคำถามที่ถาม 2 ประเด็นในคำถามเดียวกัน
ท่านตรวจสอบและพ่นสารกำจัดศัตรูพืชบ่อยเพียงใด ท่านตรวจสอบศัตรูพืชบ่อยเพียงใด ท่านกำจัดศัตรูพืชบ่อยเพียงใด 5. คำถามที่สร้างความอึดอัดในการตอบ เป็นคำถามที่ทำให้ผู้ตอบมีความลำบากใจที่จะตอบ ทำไมท่านไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานส่งเสริมการเกษตรจัด ท่านได้เข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานส่งเสริมการเกษตรจัดหรือไม่ ถ้าไม่เข้าร่วมเพราะเหตุใด

22 6. คำถามที่กำกวม เป็นคำถามที่ไม่ชัดเจน หรือผู้ตอบอาจเข้าใจความหมายไม่ตรงกับที่ผู้วิจัยต้องการ
ท่านมีประสบการณ์อะไรเกี่ยวกับการกำจัดศัตรูพืช ท่านใช้วิธีการใดในการกำจัดศัตรูพืชต่อไปนี้

23 ข้อควรคำนึงในการสร้างข้อคำถาม
ลักษณะของประชากรที่ตอบ ลักษณะของเรื่องราวที่เก็บข้อมูล ความสั้นยาวของแบบสอบถาม ควรให้เครื่องมือนั้นสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ต้องได้ข้อมูลครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาหรือเพียงพอที่จะใช้ในการทอสอบข้อสมมติฐานที่ตั้งไว้ ลักษณะของข้อคำถาม การลำดับคำถาม โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้คำตอบในข้อหนึ่งๆนำไปสู่คำตอบในอีกข้อหนึ่งอย่างไม่มีทางเลือกที่จะตอบอย่างอื่น

24 การปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วง
ตัวอย่างข้อคำถาม การปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วง ไม่ใช่/ไม่ทำ ใช่/ทำ สำหรับผู้วิจัย แหล่งปลูกพื้นที่ปลูกมะม่วงของท่านเป็นดังต่อไปนี้หรือไม่ -ไม่มีน้ำท่วมขัง - มีเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สะดวก - ดินร่วนหรือระบายน้ำได้ดี -มีน้ำเพียงพอใช้สำหรับทำสวนมะม่วงได้ตลอดปี

25 การปฏิบัติเกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วง
ไม่ใช่/ไม่ทำ ใช่/ทำ สำหรับผู้วิจัย 2. การเลือกใช้พันธ์มะม่วงท่านทำต่อไปนี้หรือไม่ -ใช้พันธ์มะม่วงที่ตลาดต้องการ เช่น พันธ์น้ำดอกไม้สีทอง,พันธ์น้ำดอกไม้ทวายเบอร์ 4 -คัดเลือกจากแหล่งพันธ์ที่เชื่อถือ 3. การปลูกมะม่วงท่านทำดังต่อไปนี้หรือไม่ -ใช้ต้นพันธ์ที่แข็งแรงที่ได้จากการขยายพันธ์ที่ไม่ใช้เพศ เช่นการทาบกิ่งหรือเปลี่ยนยอด - ใช้ต้นพันธ์ที่มีความสูงมากกว่า 60 ซ.ม. - ใช้ระยะปลูกทั่วไป ( 6x6,6x8,8x8เมตร) ฯลฯ

26 4. การตรวจสอบและทำบรรณาธิกรเครื่องมือ
ผู้วิจัยตรวจสอบความถูกต้องด้วยตัวเองว่ามีความครบถ้วนและสามารถตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือยัง ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา จัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามที่สมบรูณ์

27 5. ทดลองใช้และปรับปรุงแก้ไข
นำเครื่องมือที่สร้างแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายกับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย หาความเชื่อมั่น ความเที่ยง ของเครื่องมือ นำมาปรับปรุงแก้ไขก่อนใช้จริง

28 เครื่องมือวิจัยที่ดีต้องตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย

29 การเก็บรวบรวมข้อมูล โดย ร.ศ. ดร.เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
ร.ศ. ดร.เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช

30 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่นำเครื่องมือที่สร้างแล้วไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการวิเคราะห์ ตีความหมาย วิจารณ์และสรุปผล ร.ศ.ดร.เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ

31 วิธีต่างๆที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกต การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การให้ทำแบบทดสอบ การใช้กระบวนการกลุ่มในการเก็บข้อมูล ฯลฯ

32 การเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
1. ขั้นเตรียมการสัมภาษณ์ 1.1 การเตรียมตัวของผู้สัมภาษณ์ ทำความเข้าใจแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล สถานที่เก็บข้อมูล 1.2 ทำหนังสือขอความร่วมมือและกำหนดวัoเวลาและสถานที่สัมภาษณ์ 1.3 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการสัมภาษณ์

33 3.2 ชี้แจงวัตถุประสงค์การวิจัย 3.3 อธิบายประโยชน์การวิจัย
2. ขั้นส่งข้อมูลหรือแบบสัมภาษณ์ ให้ผู้ให้ข้อมูลได้ศึกษาและเตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์ 3. ขั้นการสัมภาษณ์ 3.1 แนะนำตัวผู้สัมภาษณ์ 3.2 ชี้แจงวัตถุประสงค์การวิจัย 3.3 อธิบายประโยชน์การวิจัย 3.4 ดำเนินการสัมภาษณ์

34 4. ขั้นบันทึกผลข้อมูล ถ้าคำถามปลายปิดบันทึกผลทันทีหลังการสัมภาษณ์
ถ้าคำถามปลายเปิดอาจจดประเด็นแล้วบันทึกภายหลัง ควรบันทึกตามความเป็นจริงอย่ามีอคติ อย่าเว้นคำถามให้ว่างโดยไม่มีการบันทึก

35 5. ขั้นสิ้นสุดการสัมภาษณ์
ทบทวนความถูกต้องและเชื่อได้ของ ข้อมูล กล่าวขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์

36 หลักการสัมภาษณ์ ให้ผู้ให้สัมภาษณ์พูดมากกว่าฟัง
ใช้ภาษาสุภาพน่าฟังเหมาะกับผู้สัมภาษณ์ ตั้งคำถามที่เข้าใจง่ายตอบได้ ไม่ถามคำถามนำ ตะล่อมให้ตอบให้ตรงประเด็น ไม่ถามคำถามที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์

37 หลักการสัมภาษณ์ ถ้าสัมภาษณ์นานควรหยุดพัก
ควรเข้าไปสัมภาษณ์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ผู้สัมภาษณ์ต้องอดทนไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย ผู้สัมภาษณ์แต่งกายให้สุภาพเหมาะสมกับการทำงานในสนาม ไม่ตั้งหน้าตั้งตาจดอย่างเดียว สร้างบรรยากาศในการสัมภาษณ์ เป็นกันเอง


ดาวน์โหลด ppt 12. การสร้างเครื่องมือการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google