งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง “รู้ทันนวัตกรรมคอร์รัปชัน”””

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง “รู้ทันนวัตกรรมคอร์รัปชัน”””"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง “รู้ทันนวัตกรรมคอร์รัปชัน”””
โดย รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ประธานและผู้อำนวยการโครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2555

2 ความหมายของคอร์รัปชัน (Corruption) แตกต่างจากการทุจริตอย่างไร ?
2 2

3 องค์ประกอบความหมายของคำว่าคอร์รัปชันของบุคคลสาธารณะ
1. ปัญหาการขาดคุณธรรมและจริยธรรม 2. การสร้างความเสียหายให้แก่ผลประโยชน์ของประชาชน ราชการ ชาติหรือสาธารณะ (Public interest) 3. การกระทำความผิดตามตัวบทกฎหมาย 3

4 คอร์รัปชันเป็นพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากหน้าที่ตามปกติของงานราชการสมัยใหม่ อันเนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว (ในเรื่องส่วนตัว สมาชิกของครอบครัวและสมัครพรรคพวกที่ใกล้ชิด) เพื่อเงินทองหรือสถานภาพหรือการละเมิดกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยการใช้อิทธิพลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว คอร์รัปชันยังครอบคลุมถึงการติดสินบน (การให้สิ่งตอบแทนเพื่อเบี่ยงเบนการตัดสินใจของบุคคลที่อยู่ในสถานะผู้ปกครอง) การเล่นพรรคเล่นพวก (การใช้การอุปถัมภ์ค้ำจุนด้วยเหตุผลของความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากกว่าการคำนึงความถูกผิด) และการจัดสรรทรัพยากรของทางราชการโดยมิชอบ (การจัดสรรทรัพยากรของทางราชการอย่างผิดกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว) Nye,1967 4

5 คอร์รัปชัน เป็นพฤติกรรมที่บุคคลสาธารณะมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตัวเอง หรือครอบครัว วงศาคณาญาติ พวกพ้องและคนใกล้ชิด โดยอาศัยตำแหน่ง หน้าที่ กฎหมาย อำนาจหรืออิทธิพลทางการเมือง ความสัมพันธ์ส่วนตัว หรือการใช้ข่าวสารข้อมูลภายในเป็นเครื่องมือ ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะผิดกฎหมายหรืออาจไม่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางด้านเงินทองหรือมิได้รับสิ่งตอบแทนใดๆ เลยก็ตาม แต่ถ้าหากการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้บทบาทของความเป็นบุคคลสาธารณะหรือทรัพยากรสาธารณะเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว หรือมีการใช้ดุลยพินิจในการวินิจฉัยกฎหมายโดยมีเจตนาที่จะเลือกปฏิบัติ (Favourtism) หรือเป็นแบบสองมาตรฐาน (Double standard) หรือเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักคุณธรรมและจริยธรรมของการเป็นบุคคลสาธารณะ ขัดกับมาตรฐานความคาดหวังของสาธารณชนที่มีต่อบุคคลสาธารณะ ขัดกับผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก และขัดกับหลักการแห่งการมีผลประโยชน์ทับซ้อนก็ถือเป็นการคอร์รัปชันทั้งสิ้น สังศิต พิริยะรังสรรค์ คอร์รัปชันเชิงระบบ : นวัตกรรมที่ต้องควบคุม, 2554 5

6 ประเภทของคอร์รัปชัน คอร์รัปชันทางการเมือง (Political corruption)
คอร์รัปชันในภาคธุรกิจเอกชน (Corporate corruption) คอร์รัปชันในการบริหารราชการแผ่นดิน (Administrative corruption) คอร์รัปชันทางเศรษฐกิจ (Economic corruption) สังศิต พิริยะรังสรรค์ คอร์รัปชันเชิงระบบ : นวัตกรรมที่ต้องควบคุม, 2554 6

7 ประโยชน์ของแนวการวิเคราะห์และทฤษฎีคอร์รัปชันต่อแนวการวิเคราะห์ทางด้านกฎหมาย
แนวการวิเคราะห์ด้านคุณธรรม (คุณธรรมของผู้ปกครองที่ต้องทำเพื่อส่วนรวม) แนวการวิเคราะห์แบบหน้าที่นิยม (การใช้อำนาจและอิทธิพลทางการเมือง) แนวการวิเคราะห์เชิงระบบ (แก้ไขระเบียบ สัญญา กฎหมายเพื่อตัวเอง) แนวการวิเคราะห์คอร์รัปชันตามระบบ (ใช้ช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว) แนวการวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์ (ทฤษฎีค่าเช่าและการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ) แนวการวิเคราะห์ ทางด้านกฎหมาย ทฤษฎีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (ความไม่สอดคล้องระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับส่วนรวม) แนวการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์ สถาบันแบบใหม่ (ต้นทุนทางธุรกรรม) ทฤษฎีตัวการ - ตัวแทน (ตัวแทนไม่ซื่อสัตย์ต่อตัวการ) แนวการวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การเมือง (ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับวัฒนธรรม) แนวการวิเคราะห์แบบโครงสร้างนิยม (โครงสร้างสังคมมีอิทธิพลต่อการเกิดคอร์รัปชัน)

8 ขอบคุณครับ ศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล
โครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม


ดาวน์โหลด ppt การเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง “รู้ทันนวัตกรรมคอร์รัปชัน”””

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google