งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการ : นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน กรรมการผู้แทน กค. : นาย ช. นันท์ เพ็ชญไพศิษฎ์ Website : โทร คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการ โดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม.7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรคหนึ่ง) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหาร (CEO) : นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล สัญญาจ้างลงวันที่ : 2 ก.ค 50 ระยะเวลาจ้าง : 2 ก.ค. 50 – 1 ก.ค 54  วาระที่ 1  วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO:  Board รอง CEO  บุคคลภายนอก พระราชบัญญัติองค์กรเภสัชกรรม พ.ศ. 2509 เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน บอร์ดกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น Min-max ของเงินเดือน = 5,510 – 113,520 บาท ป.ตรี (4 ปี) = 9,670 บาท จำนวนพนักงาน = 2,127 คน ลูกจ้าง 686 คน (31 พ.ค. 54) วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตยาและเวชภัณฑ์ ส่งเสริมให้มีการศึกษาและวิจัยการผลิตยาและเวชภัณฑ์ ส่งเสริมการวิเคราะห์ยาและเวชภัณฑ์รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาและเวชภัณฑ์ ซื้อ ขาย แลก เปลี่ยนและให้ซึ่งยาและเวชภัณฑ์ ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตยาและเวชภัณฑ์ (มาตรา 6) จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีก ไม่น้อยกว่า 8 คนแต่ไม่เกิน 14 คนทั้งนี้รวมถึงผู้อำนวยการซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง : ประธานกรรมการและกรรมการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีก (มาตรา 22) (คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีความเห็นเรื่องเสร็จที่ 481/2535 ว่า ถ้ากฎหมายเฉพาะที่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้นๆ กำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามไว้ย่อหย่อนกว่าต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานฯ กรณีนี้ วาระการดำรงตำแหน่งจึงต้องถือตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานฯ ซึ่งเข้มงวดกว่า เท่ากับ 3 ปี) การแต่งตั้งกรรมการ : ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนประธานกรรมการและกรรมการ (มาตรา 18 ) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดเงินเดือนของผู้อำนวยการ โดยความเห็นชอบของ ครม. (มาตรา 25) การพ้นจากตำแหน่ง : ผู้อำนวยการพ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการให้ออกจากตำแหน่งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (มาตรา 25) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ กรรมการและผู้อำนวยการต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความจัดเจนเพียงพอเกี่ยวกับการแพทย์ เภสัชกรรม วิทยาศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือการบริหารธุรกิจ (มาตรา 19 ) ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นประธานกรรมการ กรรมการหรือผู้อำนวยการ คือ เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับองค์การเภสัชกรรมหรือในกิจการที่กระทำกับองค์การ ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นผู้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์ ในการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น หรือเป็นพนักงาน (มาตรา 20) ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง - ไม่ปรากฏว่ามีอำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร   มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สิทธิพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ การซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาซึ่ง อภ. ผลิตออกจำหน่ายให้จัดซื้อจาก อภ. นอกจากส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้จัดซื้อจากโรงงานเภสัชกรรมทหาร ส่วนกรมตำรวจจะซื้อจาก อภ. หรือโรงงานเภสัชกรรมทหารก็ได้ โดยให้ดำเนินการด้วยวิธีกรณีพิเศษ (ข้อ 61) การซื้อยาตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาซึ่ง อภ. มิได้เป็นผู้ผลิตแต่มีจำหน่าย ส่วนราชการจะจัดซื้อจาก อภ. หรือผู้ขาย หรือผู้ผลิตรายใดก็ได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนด (ข้อ 62) ในกรณีที่กฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ความสนับสนุนให้ซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาจากหน่วยงานใด ให้ส่วนราชการจัดซื้อยาหรือเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาจาก อภ. ได้โดยวิธีกรณีพิเศษด้วย (ข้อ 63) สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวพิมพ์วิไล เก่งงาน โทร ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค 54 (Update) ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง -


ดาวน์โหลด ppt สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google