งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการ : นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา กรรมการผู้แทน กค. : นายอัษฎางค์ ศรีสุภรพันธ์ Website : โทร   คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวม การเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการ โดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการ ของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรค 7) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด ผู้อำนวยการ (CEO) : - (นายนพดล ตันวิเชียร รองผู้อำนวยการรักษาการแทนผู้อำนวยการ อ.ส.ค.) สัญญาจ้างลงวันที่ : - ระยะเวลาจ้าง : -  วาระที่  วาระที่ 2 ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก · รอง CEO  พนักงาน  สัญญาจ้าง CFO  พนักงาน  สัญญาจ้าง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2514 วัตถุประสงค์ (ม. 7) (ตาม พรฎ.จัดตั้ง อ.ส.ค. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2537) (1) วัตถุประสงค์ด้านส่งเสริมกิจการโคนม (ก) ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมและสัตว์อื่นที่ให้น้ำนมและเนื้อ (ข) ฝึกอบรมให้บุคคลมีความรู้ความชำนาญในการเลี้ยงโคนมและสัตว์อื่นที่ให้น้ำนมและเนื้อ การผลิตน้ำนมและเนื้อ และการประกอบผลิตภัณฑ์จากน้ำนมและเนื้อ (ค) ช่วยเหลือ แนะนำ และให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร ตลอดจนประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในด้านการกำจัดโรค การเลี้ยงดูสัตว์ การผสมเทียม อาหาร และอื่นๆ สำหรับโคนมและสัตว์อื่น ที่ให้น้ำนมและเนื้อ (ง) พัฒนาและผลิตพันธุ์โคนมและสัตว์อื่นที่ให้น้ำนมและเนื้อ (จ) ส่งเสริมและสนับสนุนการบริโภคนมและผลิตภัณฑ์นมในประเทศ (ฉ) ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับการส่งเสริมกิจการโคนม (2) วัตถุประสงค์ด้านธุรกิจอุตสาหกรรมโคนม (ก) ผลิต ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนและให้ ซึ่งน้ำนมและเนื้อ ผลิตภัณฑ์จากน้ำนมและเนื้อ โคนมและสัตว์อื่น ที่ให้น้ำนมและเนื้อ ตลอดจนอาหารสัตว์ น้ำเชื้อเอ็มบริโอ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตและการตลาด (ข) ดำเนินธุรกิจบริการเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม และสัตว์อื่นที่ให้น้ำนมและเนื้อ และการผลิตผลิตภัณฑ์ จากน้ำนมและเนื้อ (ค) ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับธุรกิจอุตสาหกรรมโคนม เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 51 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 84,230 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 8,130 บาท จำนวนพนักงาน : 997 คน (31 พ.ค. 54) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วย อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดี กรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมการค้าภายใน ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงบประมาณ และ ผู้ทรงคุณวุฒืซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 4 คน เป็นกรรมการ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งกรรมการโดยตำแหน่งหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานกรรรมการ ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ (ม.12) วาระการดำรงตำแหน่ง : กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (ม.14) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งหรือผู้บริหารสูงสุด : คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งผู้อำนวยการ ด้วยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรี (ม.17(5)) และให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการ โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ม.19) การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชน เข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานฯ · กรรมการและผู้อำนวยการ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม (1) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ อ.ส.ค. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ อ.ส.ค. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ประกอบกิจการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น (ม.13 (1)) (2) เป็นผู้ประกอบการค้าใดอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของ อ.ส.ค. ไม่ว่ากระทำเพื่อประโยชน์ของตนหรือของผู้อื่น หรือเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วน ที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของ อ.ส.ค. (ม.13(2)) หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร   มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง สิทธิในการจัดซื้ออาหารเสริม (นม) โรงเรียน : ให้ทุกหน่วยงานของรัฐที่มีงบประมาณซื้ออาหารเสริม (นม) โรงเรียน จัดซื้ออาหารเสริม (นม) โรงเรียน จาก อ.ส.ค. โดยวิธีกรณีพิเศษ ทั้งนี้ ให้ อ.ส.ค. ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2556 (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 53 ตามนัยหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506 / ว 46 ลว 19 ก.พ. 53) แต่ให้ยกเว้นการปฏิบัติตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 53 ให้แก่ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และให้คณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้มีอำนาจพิจารณายกเว้นผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ โดยให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นและไม่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ของแนวทางการบริหารจัดการนมทั้งระบบ (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 53 ตามนัยหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506 /ว 175 ลว 30 ก.ย. 53) สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 3 ผู้อำนวยการส่วน : นายณัฐวุฒ ไพศาวัฒนา ผู้จัดทำ : นางสาวนัทธ์หทัย ขำดี โทร ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 744/2553 เรื่อง การแต่งตั้งรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. ประธานกรรมการ อ.ส.ค. ไม่มีอำนาจแต่งตั้งรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. ซึ่งดำรงตำแหน่ง ตามสัญญาจ้าง ให้เป็นพนักงานของ อ.ส.ค. ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. ตาม พรฎ. จัดตั้ง อ.ส.ค. (ฉบับที่ 7) พ.ศ เนื่องจาก การแต่งตั้งดังกล่าว เป็นอำนาจของผู้อำนวยการ อ.ส.ค. ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการ อ.ส.ค. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับ อ.ส.ค. ว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ และ ระเบียบ อ.ส.ค. ว่าด้วยการจ้างและการบรรจุ พ.ศ. 2539


ดาวน์โหลด ppt องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google