งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th ข้อมูลทั่วไป การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th ข้อมูลทั่วไป การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th ข้อมูลทั่วไป การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวอภิรดี จิตต์ปรารพ โทร. 0 2298 5880-9 ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) วัตถุประสงค์ (ม. 8) (1) สร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีใดๆ ตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษ (2) (2) ดำเนินงานหรือธุรกิจเกี่ยวกับการทางพิเศษ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับทางพิเศษหรือที่เป็น ประโยชน์แก่ กทพ. (ดู ม.10 ประกอบ) พระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ.2550 สังกัด : กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ กรรมการผู้แทน กค. : นายประสงค์ พูนธเนศ Website : www.exat.co.th โทร. 0-2579-5380-9, 0-2562-0044, 0-2940-1199 ผู้ว่าการ (CEO) : อยู่ในระหว่างการสรรหาผู้ว่าการแทน พันโททวีสิน รักกตัญญู ( นายมณเฑียร กุลธำรง (รองผู้ว่าการ ฝ่ายปฏิบัติการ รักษาการผู้ว่าการ)) รอง CEO  พนักงาน  สัญญาจ้าง CFO  พนักงาน  สัญญาจ้าง มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ :ไม่เกิน 11 คน (ม.14) ประกอบด้วย ประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 4 คน เป็นกรรมการ และผู้ว่าการเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วาระการดำรงตำแหน่ง : ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระ ติดต่อกัน (ม.17) ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้ว่าการ ด้วยความเห็นชอบของ ครม. (ม.21) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน  คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง  มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 9,670 บาท จำนวนพนักงาน : 4,136 คน (31 พ.ค. 54)  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติ คณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ม.16) ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งจะต้อง (1) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง (2) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (3) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับ กทพ. หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ กทพ. หรือในกิจการที่มีสภาพ อย่างเดียวกันและมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการของ กทพ. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่กระทำการอันมี ส่วนได้เสียเช่นว่านั้นก่อนวันที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการหรือเป็นผู้ซึ่งคณะกรรมการ มอบหมายให้เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ กทพ. เป็น ผู้ถือหุ้น หรือในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีสัญญาร่วมงานหรือสัญญาสัมปทานกับกทพ. ผู้ว่าการ (ม.22) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 16 (3) เช่นเดียวกับประธานกรรมการและ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ว่าการ (ม.20) ผู้ว่าการ ต้อง (1) ไม่มีส่วนได้เสีในธุรกิจที่กระทำกับ กปภ. หรือในกิจการที่เป็นการ แข่งขันกับกิจการของ กปภ. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ย การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้ เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 165/2553 เรื่อง หารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรา 36 แห่ง พรบ. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550 ม. 36 แห่ง พรบ. กทพ. เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์ให้อำนาจแก่ กทพ. ในการอำนวยความสะดวกในการจราจรและกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยหรือป้องกันความ เสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ทางพิเศษ ตลอดจนผู้ใช้ถนนที่ กทพ. จัดทำขึ้นเพื่อเชื่อมระหว่างทางพิเศษกับทางสาธารณะนั้น จึงกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะสร้างทางเพื่อเชื่อมต่อ ลอด หรือข้ามทางที่ กทพ. จัดทำขึ้นเพื่อเชื่อมระหว่างทางพิเศษกับทางสาธารณะอื่น ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก กทพ. แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้อำนาจ กทพ. ที่จะเรียกเก็บค่าตอบแทนจากผู้ได้รับอนุญาตให้สร้างทางดังกล่าว ซึ่งแตกต่างจากกรณีตาม ม.37 ที่ให้ กทพ. มีอำนาจเรียกเก็บค่าเช่าจากหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ ดำเนินกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นต้องปักเสาพาดสาย หรือวางท่อในเขตทางพิเศษหรือเพื่อข้ามหรือลอดทางพิเศษ หากหน่วยงานของรัฐนั้นทำความตกลง กับ กทพ. แล้ว ปัจจุบันมีโครงการให้เอกชนร่วมลงทุน จำนวน 2 โครงการ คือ · โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 และสัญญาเพื่อการ ต่อขยายโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 อยู่ในขั้นตอน การดำเนินงานตาม ม.22 · โครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ทางพิเศษ อุดรรัถยา) อยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน ตาม ม.22 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจ จะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมาย จัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร  www.krisdika.go.th  มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน (ม. 6) การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็น กรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของ บริษัท จำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง กทพ.มีอำนาจที่จะใช้สอยหรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของบุคคลใด ซึ่งมิใช่ โรงเรือนที่คนอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบธุรกิจเป็นการชั่วคราว เพื่อประโยชน์ในการสร้าง ขยาย บำรุงรักษา ทางพิเศษ โดยกำหนดค่าตอบแทนให้ตามสมควร (ม.32) ให้พนักงาน กทพ. หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงาน มีอำนาจเข้าไปในที่ดิน หรือสถานที่ของบุตคลใด ในเวลาใดก็ได้ ในกรณีจำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันอันตรายหรือแก้ไขความเสียหายแก่ทางพิเศษ (ม.33) กทพ. มีอำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีที่จำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือ ขยายทางพิเศษ (ม.34) พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกฉพาะการปฏิบีติหน้าที่ในทางพิเศษ ยกเว้นอำนาจเปรียบเทียบ (ม.43) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ตามมติคณะรัฐมนตรี


ดาวน์โหลด ppt สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง www.sepo.go.th ข้อมูลทั่วไป การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google