งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การคัดกรอง บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การคัดกรอง บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การคัดกรอง บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น

2 การคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
บุคคลที่มีบกพร่องทางการเห็น หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทดังนี้ 1. คนตาบอด 2. คนเห็นเลือนราง

3 คนตาบอด หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นมาก จนต้องใช้สื่อสัมผัสและสื่อเสียงหากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ 6 ส่วน 60 (6/60) หรือ 20 ส่วน 200(20/200) จนถึงไม่สามารถรับรู้เรื่องแสง ลานสายตาแคบกว่า 20

4 (๑.๒) คนเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษร ตัวพิมพ์ขยายใหญ่ด้วยอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หากวัดความชัดเจนของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๑๘ (๖/๑๘) หรือ ๒๐ ส่วน ๗๐ (๒๐/๗๐)

5 การดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูและผู้บริหารสถานศึกษา
เมื่อครู หรือผู้บริหารพบว่ามีเด็กนักเรียนที่เข้ามาเรียนในชั้นเรียนหรือสถานศึกษา มีความสามารถในการเรียนรู้แตกต่างในลักษณะล่าช้าเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไปในระดับเดียวกัน - ควรหาสาเหตุ และ หาวิธีการช่วยเหลือ - หากดำเนินการช่วยเหลือหลายวิธีแล้วยังไม่ได้ผล

6 ควรพิจารณาว่ามีสาเหตุเนื่องมาจากความพิการหรือไม่ โดยใช้แบบคัดกรองตามประกาศคณะกรรมการพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิช่วยเหลือทางการศึกษา เรื่องกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการ การรับรองบุคคลของสถานศึกษาว่าเป็นคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้พิจารณาเลือกแบบคัดกรองที่เหมาะสม และดำเนินการตามเอกสาร ในกรณีสงสัยว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทางด้านการมองเห็น ควรเลือกใช้แบบคัดกรองสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น หรือเลือกใช้ร่วมกับแบบคัดกรองความบกพร่องประเภทอื่น ๆ

7

8

9

10

11

12 ลำดับ การพิจารณาใช้แบบคัดกรอง
ครูสังเกตเห็นปัญหาของนักเรียนที่ควรได้รับการช่วยเหลือให้เข้าถึงการศึกษาเป็นพิเศษ นำเสนอผู้บริหาร เพื่อพิจารณาดำเนินการใช้แบบคัดกรอง ผู้บริหารหรือผู้ได้รับมอบหมายพิจารณา ว่าควรได้รับการคัดกรอง ขอความร่วมมือกับครูผู้ผ่านการอบรมการคัดกรองเพื่อดำเนินการคัดกรอง ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อช่วยเหลือนักเรียน ขออนุญาตทำการคัดกรองจากผู้ปกครอง โดยผู้ปกครองลงนามยินยอมให้คัดกรอง ในแบบคัดกรอง รวมทั้งยินดีให้ สถานศึกษาจัดบริการช่วยเหลือทางการศึกษาพิเศษเมื่อพบว่ามีแนวโน้มเป็นผู้ที่มีความบกพร่องตามแบบคัดกรอง มีต่อ

13 ขั้นตอน การพิจารณาใช้แบบคัดกรอง (ต่อ)
เตรียมการคัดกรอง ดำเนินการคัดกรอง ควรมีผู้ดำเนินการคัดกรอง ๒ คน สรุปผลการคัดกรองตามเกณฑ์ รายงานผลผู้บริหารและผู้ปกครองทราบผลการคัดกรอง

14 ๑๑. - กรณีไม่พบความบกพร่อง ให้จัดการเรียนการสอนโดยหาสาเหตุอื่นๆ เพิ่มเติม
- กรณีพบความบกพร่อง มีแนวโน้มเป็นคนพิการและผู้ปกครองยินยอมให้บริการจัดการศึกษาพิเศษ ควรส่งแพทย์ตรวจวินิจฉัยออกใบรับรองความพิการหรือใบรับรองแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นคนพิการ - กรณีพบความบกพร่อง และผู้ปกครองไม่ยินยอมให้จัดบริการทางการศึกษาพิเศษ สถานศึกษาควรพิจารณาร่วมกับผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางการจัดการศึกษาต่อไป

15 ๑๒. เมื่อแพทย์วินิจฉัยและออกใบรับรอง สถานศึกษาต้องนำใบรับรองและข้อมูลจากการคัดกรองมาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และติดตามผลการจัดการเรียนการสอนตามแผน ๑๓. กรณีใช้แบบคัดกรองมากกว่า ๑ ประเภทและพบว่ามีแนวโน้มมีความบกพร่อง ๒ ประเภทขึ้นไป ให้สรุปเป็นบันทึกข้อความว่า มีความบกพร่องในลักษณะพิการซ้อน

16 การเตรียมการคัดกรอง ๑. แบบคัดกรอง เลือกใช้แบบคัดกรองให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ศึกษาทบทวนเนื้อหา ๒. เตรียมสื่อ อุปกรณ์ ได้แก่ หนังสือเรียน รูปภาพ แผ่นภาพสี ฯลฯ ๓. การสอบถามหรือการสัมภาษณ์ ข้อมูล จากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ - ผู้ปกครอง - ครูประจำวิชา ครูประจำชั้น พยาบาลประจำโรงเรียน ข้อมูลสุขภาพ - เพื่อนนักเรียน ๔. การเตรียมสถานการณ์ เช่นข้อคำถามให้แสดงพฤติกรรม คำสั่งให้ ปฎิบัติ ๕. การเตรียมสถานที่ เป็นการกำหนดสถานที่เพื่อสังเกตพฤติกรรม

17 การกรอกข้อมูลในแบบคัดกรอง

18 มีต่อ

19 ดำเนินการคัดกรอง ตามแบบคัดกรอง
ผู้ทำการคัดกรองสามารถ วิเคราะห์ลักษณะและพฤติกรรมได้โดย การสังเกต พฤติกรรม การสอบถามหรือสัมภาษณ์ จากครูที่ทำการสอน ผู้ปกครอง เพื่อนนักเรียน การเตรียมหนังสือ หรือรูปภาพ ให้นักเรียนดู ผู้คัดกรองวิเคราะห์ร่วมกันว่าใช่หรือไม่ใช่

20 สรุปผลการคัดกรอง พิจารณาจากเกณฑ์ ว่า พบความบกพร่อง หรือไม่พบความบกพร่อง
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ว่า นักเรียนควรได้รับการดำเนินการอย่างไรต่อไป เช่น ควรได้รับการสอน ตามปกติ ควรได้รับการส่งต่อเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย ควรได้รับความเอาใจใส่เรื่อง...จากผู้ปกครอง ... ควรได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษ ลงชื่อ ผู้คัดกรอง และเลขที่วุฒิบัตรผู้คัดกรอง

21

22 กิจกรรม กิจกรรมที่ปฏิบัติ : ให้ท่านศึกษาพฤติกรรมของเด็กต่อไปนี้ จากใบงานกรณีศึกษา ๑. คัดกรองเด็ก โดยเลือกใช้แบบคัดกรองที่ตรงกับ พฤติกรรม

23 ใบงาน: กรณีศึกษา เด็กหญิงรำพึง รำพัน เกิดวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นเด็กที่ไม่ชอบสบตา ไม่ค่อยพูด และมักก้มศีรษะ มองสิ่งของ หนังสือ รูปภาพ ชอบนำเข้ามาดูใกล้ๆ ตา บอกรายละเอียดของภาพหรือสิ่งของไม่ได้ ขณะอ่านหนังสือ มักจะอ่านซ้ำบรรทัด หรืออ่านข้ามบรรทัด มักใช้มือเพื่อสำรวจ / หาสิ่งของ ควบคู่กับ การใช้สายตา หรี่ตา กระพริบตา ขยี้ตา กดตา เมื่อใช้สายตามากๆ มักมีอาการ ปวดตา คันตา บ่อยๆ มองเห็นสิ่งของเคลื่อนไหวไปมา นอกจากนี้ในระหว่างเรียน ยังพบพฤติกรรม ที่แสดงออก ดังนี้ บอกสีเขียวกับสีฟ้าว่าเป็นสีเดียวกัน หรือสีแดงกับสีส้ม เป็นสีเดียวกัน เมื่อดูป้ายข้อความ รูปภาพ วัตถุสิ่งของต่างๆ ตามป้ายประกาศของโรงเรียน ต้องเข้าไปดูใกล้ๆ ติดตา …………………………………………………

24 ที่ ลักษณะ / พฤติกรรม ผลการวิเคราะห์ ใช่ ไม่ใช่ มักก้มศีรษะมองสิ่งของ หนังสือ รูปภาพหรือ นำเข้ามาดูใกล้ๆ ตา เมื่อดูป้ายข้อความ รูปภาพ วัตถุสิ่งของ ต่างๆ ตามสาธารณะ ต้องเข้าไปดู ใกล้ๆ ขณะอ่านหนังสือ มักจะอ่านซ้ำบรรทัด เดิม หรืออ่านข้ามบรรทัด มักใช้ประสาทสัมผัสส่วนอื่น เพื่อสำรวจ / หาสิ่งของ ควบคู่กับ การใช้สายตา บอกรายละเอียดของภาพหรือสิ่งของ ไม่ได้

25 เดินด้วยความระมัดระวังกว่าปกติ เดิน ไม่คล่องตัว มักชนและสะดุดวัตถุ หรี่ตา กระพริบตา ขยี้ตา กดตา เมื่อใช้สายตามากๆ เคลื่อนศีรษะไปมา เพื่อหาจุดที่มอง เห็นชัดที่สุด มักมีอาการปวดศีรษะ ปวดตา ตาลาย คันตา มองเห็นสิ่งของเคลื่อนไหวไปมา ๑๐ บอกความแตกต่างของสีที่ใกล้เคียงกัน หรือสีที่ไม่ตัดกันไม่ได้ เช่น สีเขียวกับ สีฟ้า สีแดงกับสีส้ม

26 เฉลย ที่ ลักษณะ / พฤติกรรม ผลการวิเคราะห์ ใช่ ไม่ใช่ ๑
มักก้มศีรษะมองสิ่งของ หนังสือ รูปภาพหรือ นำเข้ามาดูใกล้ๆ ตา  / เมื่อดูป้ายข้อความ รูปภาพ วัตถุสิ่งของ ต่างๆ ตามสาธารณะ ต้องเข้าไปดู ใกล้ๆ / ขณะอ่านหนังสือ มักจะอ่านซ้ำบรรทัด เดิม หรืออ่านข้ามบรรทัด มักใช้ประสาทสัมผัสส่วนอื่น เพื่อสำรวจ / หาสิ่งของ ควบคู่กับ การใช้สายตา   / บอกรายละเอียดของภาพหรือสิ่งของ ไม่ได้

27 เดินด้วยความระมัดระวังกว่าปกติ เดิน ไม่คล่องตัว มักชนและสะดุดวัตถุ  / หรี่ตา กระพริบตา ขยี้ตา กดตา เมื่อใช้สายตามากๆ เคลื่อนศีรษะไปมา เพื่อหาจุดที่มอง เห็นชัดที่สุด มักมีอาการปวดศีรษะ ปวดตา ตาลาย คันตา มองเห็นสิ่งของเคลื่อนไหวไปมา ๑๐ บอกความแตกต่างของสีที่ใกล้เคียงกัน หรือสีที่ไม่ตัดกันไม่ได้ เช่น สีเขียวกับ สีฟ้า สีแดงกับสีส้ม

28 เกณฑ์การพิจารณา ตอบใช่ ๘ ข้อ เกณฑ์ กำหนดไว้ ๕ ข้อ ขึ้นไปแสดงว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ควรให้การช่วยเหลือตามความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาของผู้เรียน และส่งต่อให้จักษุแพทย์ตรวจวินิจฉัยต่อไป ผลการคัดกรอง  พบความบกพร่อง  ไม่พบความบกพร่อง ความคิดเห็นเพิ่มเติม มีแนวโน้มที่จะเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ควรให้การช่วยเหลือตามความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาและจัดทำ IEP ควรส่งจักษุแพทย์ตรวจวินิจฉัย ลงชื่อ ใบวุฒิบัตร เลขที่ (ผู้คัดกรอง) ( )


ดาวน์โหลด ppt การคัดกรอง บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google