งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานไม่สำเร็จ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานไม่สำเร็จ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานไม่สำเร็จ
ในพื้นที่บริการสุขภาพที่ 9 ปี กัลยาณี จันธิมา , สส.ม., พญ.ผลิน กมลวัทน์, พ.บ., ปิยะพร มนต์ชาตรี พยบ. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา คำสำคัญ : วัณโรคดื้อยาหลายขนาน ,ความสำเร็จการรักษา ปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการผ่าเหล่าของเชื้อวัณโรค การเคยได้รับการรักษาด้วยยาสูตรมาตรฐานที่ไม่ครบ ไม่ต่อเนื่องกินๆ หยุดๆ หรือการติดเชื้อดื้อยาตั้งแต่แรกตลอดจนพบในผู้อพยพเข้ามาจากประเทศที่มีความชุกของโรคสูง การติดต่อจากผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ทำให้มีการแพร่ระบาดในชุมชนหรือโรงพยาบาล จากการศึกษาของอติภา กมลวัทน(1) ซึ่งศึกษาในสถานบริการในจังหวัด นครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิและบุรีรัมย์ พบว่า อัตราการดื้อยาหลายขนานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีระหว่างปี พ.ศ เป็น 0.7, 0.5, 1.4, 1.2 และ 6.0 ตามลำดับ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบ ข้อมูลที่นำมาศึกษาเป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่ได้รับการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการและสามารถติดตามประวัตินำมาวิเคราะห์ได้จำนวน 157 คน ในโรงพยาบาลศูนย์ 4 แห่ง ในจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิและบุรีรัมย์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกการรักษาและรายงานที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลทั่วไปและผลการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาวัณโรคดื้อยาไม่สำเร็จใช้ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ไม่สำเร็จในพื้นที่บริการสุขภาพที่ 9 ระหว่างปีพ.ศ – 2557 ผลการวิจัย ตารางที่ 2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่ไม่สำเร็จ จำแนกตามปัจจัยแสดงความสัมพันธ์ ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ปัจจัย จำนวน (n=157) ร้อยละ เพศ ชาย หญิง 109 48 69.4 30.6 อายุ ปี เฉลี่ย 50 ปี S.D. =16 ประเภทการขึ้นทะเบียนรักษา ผู้ป่วยใหม่ 32 20.3 กลับเป็นซ้ำ 42 26.8 รักษาซ้ำภายหลังล้มเหลว 69 44.0 ขาดยา 14 8.9 ผลการรักษา หาย 31 19.25 ครบ ล้มเหลว 6 5.7 ตาย 12 7.6 11 7.0 ไม่นำมาประเมิน 63 40.1 การสูบบุหรี่ ไม่เคยสูบแต่เลิก 83 52.8 เคยสูบแต่เลิก 68 43.4 ปัจจุบันยังสูบ 3.8 ประวัติการต้องโทษ ไม่เคย เคย 149 8 94.9 5.1 โรคประจำตัว ไม่มี 111 70.7 เบาหวาน 17 10.8 ความดันโลหิตสูง อื่นๆ 18 11.5 การติดเชื้อเอชไอวี ติดเชื้อเอชไอวี 13 8.3 ไม่ติดเชื้อเอชไอวี 144 91.7 คุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 157 ราย พบว่า เป็นเพศชายร้อยละ 69.4 มีอายุเฉลี่ย 50 ปี S.D.=16.0 ส่วนใหญ่มีประวัติเคยรักษาวัณโรคมาก่อน ร้อยละ 79.7 เป็นกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก มากที่สุดร้อยละ มีเบาหวานเป็นโรคร่วมร้อยละ 29.3 และพบการติดเชื้อ HIV ร้อยละ 8.3 มีผลการรักษาสำเร็จร้อยละ 39.5 กำลังรักษาร้อยละ 40.1 รักษาไม่สำเร็จร้อยละ 20.3 ซึ่งเป็นผลมาจาก การขาดยา รักษาล้มเหลวและการเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 7.0, 5.7 และ 7.6 ตามลำดับ การมีอายุน้อยกว่า 50 ปี (RR=0.28, 95%CI: ) เป็นปัจจัยป้องกันการเกิดผลการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานไม่สำเร็จ สรุปผล ดังนั้นการให้คำปรึกษาและความรู้ในการดูแลตนเองในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีและผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นเบาหวานร่วมอย่างเคร่งครัด จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานไม่สำเร็จได้ การนำไปใช้ประโยชน์ ผลการศึกษานี้ใช้ในการวางแผนการจัดรูปแบบ การให้บริการและติดตามผู้ป่วย MDR-TB ทั้งในคลินิกวัณโรคในโรงพยาบาลและในชุมชน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไปซึ่งจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งตัวผู้ป่วย แพทย์ ชุมชนและครอบครัวผู้ป่วย การพัฒนาทางห้องปฎิบัติการ รวมทั้งนโยบายระดับประเทศทั้งงบประมาณและกำลังคนการตระหนักถึงปัญหานี้ดีกว่าคอยให้เกิดปัญหาMDR-TBที่ลุกลามและยากต่อการควบคุมในอนาคต เอกสารอ้างอิง 1.อติภา กมลวัทน์, นาตยา พันธุ์รอด, และเศวต ช านาญกรม. (2551). สถานการณ์วัณโรคดื้อยาใน สถานบริการเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 13 ตั้งแต่ปี พ.ศ วารสารวัณ โรค โรคทรวงอกและเวชบ าบัดวิกฤต, 29(3), .


ดาวน์โหลด ppt ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานไม่สำเร็จ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google