งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การใช้แบบคัดกรองการใช้สารเสพติดในเด็กและเยาวชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การใช้แบบคัดกรองการใช้สารเสพติดในเด็กและเยาวชน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การใช้แบบคัดกรองการใช้สารเสพติดในเด็กและเยาวชน
(ASSIST) นริศรา พลอยเพ็ชร์ สถานพินิจฯ นครสวรรค์

2 ASSIST คืออะไร??

3

4 Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test
ASSIST คืออะไร?? Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test (เนื้อหาจาก หลักสูตรการดูแลผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน สำหรับบุคลากรสุขภาพปฐมภูมิ โดย ผรส.)

5 ที่มาของ ASSIST เป็นเครื่องมือขององค์การอนามัยโลกที่พัฒนาโดยทีมนักวิชาการจากนานาประเทศ เป็นแบบสอบถามที่ใช้คัดกรองการใช้สารเสพติดแบบเสี่ยงอันตราย ได้แก่ ยาสูบ สุรา กัญชา โคเคน ยาบ้า ยากล่อมประสาท/ยานอนหลับ ยาหลอนประสาท สารระเหย สารกลุ่มฝิ่น และสารอื่นๆ ข้อคำถาม 8 ข้อ ถามโดยบุคลากรสุขภาพ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2540 เพื่อใช้ในสถานบริการระดับปฐมภูมิ สามารถใช้ได้หลากหลายวัฒนธรรม เราจะมาทำความรู้จักกับ ASSIST ASSISTเป็นคำย่อของ Alcohol,Smoking,Substance Involvement Screening Test เป็นการเอาอักษรตัวแรกของแต่ละคำมารวมกัน ซึ่งหมายถึง การคัดกรอง การใช้แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการใช้สารอื่นๆอีกหลายชนิด ซึ่งหากเราแปลตามคำศัพท์ของ ASSIST ก็จะแปลว่า ช่วยเหลือ ดังนั้น ASSIST จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อคัดกรองการใช้สารที่มีโอกาสทำให้เกิดการเสพติดหรือเป็นผลเสียต่อสุขภาพ เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของการใช้สารนั้นๆ และนำผลจากการคัดกรองและประเมินที่ได้ ไปสู่การให้การช่วยเหลือผู้รับบริการต่อไป โครงสร้างของแบบสอบถาม ใน ASSIST ประกอบด้วย 8 ข้อคำถามใช้เวลาในการถาม/สัมภาษณ์ ประมาณ 10 นาที แบบคัดกรอง ASSIST ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ โดยผู้ทำงานด้านสุขภาพในสถานบริการระดับปฐมภูมิ และหน่วยงานด้านสวัสดิการสังคม เช่น หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ หน่วยงานด้านสวัสดิการแรงงาน หรือหน่วยงานดูแลผู้พิการต่างๆ และมีโอกาสในการพัฒนาและนำไปใช้ในสถานบริการแบบอื่นๆ ได้ เช่น สถานพินิจคุ้มครองเด็ก เรือนจำ โรงงาน สถานประกอบการ ที่ทำงาน ฯลฯ การนำ ASSIST มาใช้ ไม่มีปัญหาเชิงวัฒนธรรม เนื่องจากการทดสอบการใช้ ASSIST ในช่วงระยะการพัฒนาและทดลองใช้ มีการนำไปทดสอบกับประเทศที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมทั่วโลก

6 วิธีการใช้แบบคัดกรอง ASSIST
เดิมใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสอบถามประวัติสุขภาพทั่วไป เป็นการประเมิน ความเสี่ยง หรือเป็นส่วนหนึ่งในประวัติความเจ็บป่วย เชื่อมโยงการคัดกรองเข้ากับอาการนำของผู้รับบริการที่มีความเกี่ยวข้องกัน จะช่วยให้ผู้รับบริการเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการใช้สารเสพติดของตน และสุขภาพของตน ปัจจุบัน นำมาคัดกรองการใช้สารเสพติด โดยจัดระดับความรุนแรงของการ ใช้สารเสพติด ผู้รับบริการมักยินยอมให้ตรวจคัดกรองและให้คำตอบที่ถูกต้องตามคำถามต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้สารเสพติด เมื่อบุคลากรสุขภาพ : แสดงให้เห็นว่าตนกำลังรับฟังผู้รับบริการอยู่ มีท่าทีเป็นมิตรและไม่ตัดสินถูกผิด แสดงความไวและเข้าใจเห็นใจผู้รับบริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองอธิบายถึงเหตุผลในการถามการใช้สารเสพติด ให้การรับรองว่าคำตอบของผู้รับบริการจะเก็บเป็นความลับ อาจเกิดประโยชน์อย่างมากที่จะอธิบายว่าให้กระบวนการตรวจคัดกรองการใช้สารเสพติดและปัญหาที่เกี่ยวข้องคล้ายคลึงกับการตรวจคัดกรองอื่นๆ เช่น การวัดความดันโลหิต หรือการถามเรื่องอาหารการกินและการออกกำลังกาย การเชื่อมโยงการคัดกรองเข้ากับอาการนำของผู้รับบริการที่มีความเกี่ยวข้องกันจะช่วยให้ผู้รับบริการเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการใช้สารเสพติดและสุขภาพของตน และยอมรับการตรวจคัดกรองด้วยแบบคัดกรอง ASSIST มากยิ่งขึ้น การป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการ และรับรองว่าคำตอบที่ให้จะเป็นความลับ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคำถามที่เกี่ยวกับการใช้สารเสพติด เนื่องจากสารเสพติดบางชนิดถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย อาชญากรรมหรือผิดกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่ ในทำนองเดียวกันผู้ใช้สารเสพติดมีโอกาสถูกมองในแง่ลบและถูกเลือกปฏิบัติ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้จากผู้รับบริการจะต้องไม่เปิดเผยผู้ใดหรือกลุ่ม คนใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้รับบริการ การทำให้ผู้รับบริการมั่นใจในการรักษาความลับโดยสัมภาษณ์ในสถานที่เป็นส่วนตัว เก็บเอกสารคำตอบ ASSIST ไว้ในที่มิดชิดปลอดภัย หากผู้รับบริการมั่นใจว่าข้อมูลถูกเก็บเป็น ความลับจะช่วยให้ผู้รับบริการบอกข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดของตน อย่างไรก็ตามในหลายประเทศมีข้อจำกัดเกี่ยวกับชนิดของข้อมูลที่สามารถเก็บรักษาเป็นความลับ ตัวอย่างเช่น หลายประเทศต้องเปิดเผยข้อมูลถ้าผู้รับบริการเปิดเผยว่าตัวเองกำลังมีแผนการ หรือกำลังคิดทำร้ายตนเองหรือคนอื่น บุคลากรสุขภาพจำเป็นต้องเลือกสภาพการณ์ที่เหมาะสมที่สุดในการทำแบบคัดกรอง ASSIST และควรยืดหยุ่นและไวต่อการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ถ้าผู้รับบริการตกอยู่ในภาวะมึนเมาสารเสพติด หรือจำเป็นต้องได้รับการรักษาในภาวะฉุกเฉิน หรืออยู่ในภาวะที่ไม่สบาย หรือมีความเจ็บปวด ควรจะรอจนสภาวะร่างกายคงที่และรู้สึกสบายตัวก่อนที่จะสอบถามด้วยแบบคัดกรอง ASSIST ดังนั้นควรใช้การตัดสินใจทางคลินิกของท่านว่าเวลาใดเหมาะสมที่จะพูดคุยถึงแบบคัดกรอง ASSIST ในผู้รับบริการแต่ละคน

7 สถานการณ์ปัญหายาเสพติด
พื้นฐานการเลี้ยงดูของครอบครัว ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความยากจน ปัจจัยทางด้านการศึกษา และอาชีพ ปัจจัยทางสังคม ค่านิยม และสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยที่เกิดขึ้นตามวัย พบว่า ร้อยละ 90 สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก่อนในชีวิต อัตราโทษยาเสพติดของเด็กและเยาวชนไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่ ผู้เสพ ผู้ค้า ในคดีอื่นๆ เช่น เกี่ยวกับทรัพย์ เกี่ยวกับอาวุธ จะเชื่อมโยงกับพฤติกรรมการใช้ยาและสารเสพติดของเด็กและเยาวชน

8 การบำบัดแก้ไข ฟื้นฟู ด้านยาเสพติด
การค้นหาสาเหตุของปัญหาพฤติกรรม การคัดกรอง จำแนก พฤติกรรมการใช้สารเสพติด ทั้งอดีต และปัจจุบัน การวางแผนให้การดูแล ช่วยเหลืออย่างเฉพาะราย การบำบัดเด็กหรือเยาวชนได้ตรงตามสภาพปัญหา “พัฒนา WHO-ASSIST”

9 วัตถุประสงค์การพัฒนา WHO-ASSIST ใช้ในระบบงานประจำ
เพื่อพัฒนาการคัดกรองความเสี่ยงการใช้ ยาและสารเสพติดของเด็กและเยาวชน เพื่อให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมสำหรับ เด็กและ เยาวชน ซึ่งมีพฤติการณ์เกี่ยวข้อง กับสารเสพติดเฉพาะราย เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้รับการบำบัด ตรงตามสภาพปัญหา

10 การพัฒนาของ WHO-ASSIST
ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มช. (แผ่นพับ) รพ.ธัญญารักษ์เชียงใหม่ + ขอนแก่น (แบบแผ่นเดียว) ป.ป.ส.ภาค ๖ + ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือตอนล่าง มน. + สถานพินิจฯ นครสวรรค์ ป.ป.ส.ภาค ๖ + ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือตอนล่าง มน. + สถานพินิจฯ นครสวรรค์ + สถานพินิจฯ ๘ จังหวัด (แบบแผ่นเดียว) กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

11 แบบประเมินความเสี่ยงและความจำเป็น กรมพินิจฯ
แบบ R&N มี 8 ด้าน ด้านที่ 1 ครอบครัว ด้านที่ 2 ด้านชุมชนและสภาพแวดล้อม ด้านที่ 3 ด้านภูมิหลังทางการศึกษา อาชีพและสังคม ด้านที่ 4 ด้านเพื่อนและบุคคลใกล้ชิด ด้านที่ 5 ด้านประวัติการเกี่ยวข้องกับยา/สารเสพติด ด้านที่ 6 ด้านประวัติการกระทำผิด ด้านที่ 7 ด้านสภาวะทางกายและจิต ด้านที่ 8 ด้านพฤติกรรมเกเร

12 การเปรียบเทียบข้อคำถามในแบบสอบถาม
แบบ R&N ด้านที่ 5 ด้านประวัติการเกี่ยวข้องกับยา/สารเสพติด แบบคัดกรอง ASSIST - ประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - การใช้ยา/สารเสพติด (ผลจาก บสต.2) - ประวัติการสูบบุหรี่ - การจำหน่ายยา/สารเสพติด - การรับจ้างซื้อหรือจำหน่ายยา/สารเสพติด - บุหรี่ สุรา กัญชา ยาบ้า/ไอซ์/ยาอี สารระเหย ใบกระท่อม ฯลฯ - พฤติกรรมการใช้ใน 3 เดือน - ความต้องการใช้ในสารฯ 3 เดือน (ประเมินการเสพ/ติดได้) - ปัญหาสุขภาพ ครอบครัว สังคม กม. การเงิน จากการใช้สารฯ - ความสามารถในการทำกิจกรรม เมื่อใช้สารฯ - ความเป็นห่วงของญาติเมื่อใช้สารฯ - ความพยายามลด/เลิกสารฯ - การฉีดสารฯ

13 ผลการดำเนินงาน ปี พบว่าข้อคำถามของแบบคัดกรอง ASSIST แต่ละข้อนั้น สามารถนำมาวิเคราะห์ถึงข้อมูลภูมิหลังการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนได้ สามารถนำผลของแบบคัดกรองมาเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนารายบุคคล โดยทีมสหวิชาชีพ ได้ตรงตามสภาพปัญหา นำข้อมูลมาใช้ในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด รวมทั้งการวางแผนการให้ความรู้ การจัดกิจกรรมเชิงป้องกันกับเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ในพื้นที่ได้

14 ตัวอย่างการนำไปใช้ (กรณีศึกษา)
นายพินิจ (นามสมมติ) อายุ 17 ปี คดีขับรถ-เสพยาฯ เป็นคดีที่ 1 จบการศึกษาระดับ ปวช.3 ช่างยนต์ อาชีพรับจ้างในอู่รถยนต์ กลุ่มเพื่อนใช้ยาเสพติด ยาบ้า – กัญชา ผลจำแนก บสต.2 (เดิม) เป็นผู้เสพยาบ้า เนื่องจากใช้เพียงสองครั้ง (เพิ่งเริ่มใช้) จำแนกตามแบบ ASSIST เรื่องบุหรี่ และสุรา มีระดับคะแนน 28 คะแนน ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ผลกระทบต่อสุขภาพคือ ไม่สามารถไปทำงานอาชีพได้เป็นประจำ เพราะเมาสุรา ทำให้ถูกออกจากงานที่รับจ้างมา 2 ครั้ง เพราะขาดงาน ผู้ปกครองดุด่าเรื่องดื่มสุราเป็นประจำ สั่งห้ามคบเพื่อนที่ดื่มสุรา เยาวชนพยายามหยุดเหล้าช่วงเข้าพรรษา ทำได้ 3-4 วัน เพื่อนมาชวนไปดื่ม เคยเลิกบุหรี่ (อดเอง) ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ เห็นเพื่อนสูบ ทนไม่ไหวอยากสูบด้วย เยาวชนสำนึกในการกระทำครั้งนี้ เนื่องจากทำให้พ่อแม่เสียใจ มีคดีติดตัว ไม่เสพยาบ้าอีก ให้คำมั่นว่าจะหยุดเสพ จะกลับไปทำงาน และไม่คบเพื่อนที่เสพยาบ้า

15 ผลการประชุมสหวิชาชีพ แนวทางแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู
ผลการประชุมสหวิชาชีพ แนวทางแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ให้ผู้ปกครองสอดส่องดูแลเยาวชนใกล้ชิดยิ่งขึ้น ในเรื่องการคบเพื่อน การใช้เวลาว่าง การทำงานอาชีพ เพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง ส่งเสริมให้เยาวชนประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งต่อเนื่อง ประเมินความถนัดทางอาชีพ /ส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อโอกาสในการประกอบอาชีพของเยาวชน เยาวชนควรพัฒนาทักษะความรับผิดชอบ การปฏิเสธ และการคบเพื่อนด้านยาเสพติด (ยาบ้า) ให้คำแนะนำให้เห็นโทษและผิดภัยของยาเสพติด ให้ความรู้ด้านกฎหมาย เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ (เสริมทักษะชีวิต – เยาวชนก่อนประกันตัว) ให้ความรู้เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพของเยาวชน (ตามแนวทาง ASSIST) แก่ตัวเยาวชนและครอบครัว เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องโทษของบุหรี่ สุรา ให้คำแนะนำ / ส่งตัวเด็ก/เยาวชน เข้ารับคำปรึกษาในคลินิกอดบุหรี่ และสุรา ที่โรงพยาบาล.... (เยาวชนก่อนประกันตัว) ให้คำปรึกษาครอบครัวในการสอดส่องดูแลพฤติกรรมการใช้บุหรี่ และเน้นสุรา ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตด้านการประกอบอาชีพของเยาวชน เพราะอาจนำมาซึ่งการขาดสติ เสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำสูง และจะทำให้พลาดโอกาสในการทำงานที่เป็นหลักแหล่ง มั่นคง

16 สามารถประเมินสถานการณ์เชิงปริมาณได้

17 ภูมิลำเนาของเด็ก/เยาวชน จำนวน 104 คน จำแนกตามรายอำเภอ

18

19 เนื้อหาโดยย่อของ ASSIST
ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดทุกชนิด ประวัติการเคยใช้สารแต่ละชนิดในชีวิต (Q1) บุหรี่ (รวมถึงผลิตภัณฑ์จากยาสูบ ยาเส้น ซิการ์) สุรา (และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) กัญชา (และผลิตภัณฑ์) ยาบ้า ไอซ์ ยาอี สารระเหย ใบกระท่อม สารผสมน้ำต้มใบกระท่อม ฝิ่น/เฮโรอีน ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับ ยาหลอนประสาท โคเคน และสารอื่นๆ โครงสร้างของ ASSIST ASSIST ประกอบด้วยข้อคำถามที่ครอบคลุมการใช้สารเสพติดทุกชนิด (Q1) การเริ่มต้นในคำถามแรก จะถามถึงการเคยใช้สารแต่ละชนิดในตลอดชีวิตที่ผ่านมาของคนนั้น การถามในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา (Q2-Q5) โดยจะแบ่งความถี่เป็น 4 ระดับคือ ไม่เคยใช้ ครั้ง ทุกเดือน ทุกสัปดาห์ ทุกวัน โดยคะแนนแต่ละข้อ (Q2-Q5) คะแนนอาจจะไม่เท่ากัน (Q2) ความถี่ของการใช้ ใช่บ่อยแค่ไหน (Q3) ความต้องการ/ เป็นการอยากหรือมีความต้องการที่จะใช้สารแต่ละชนิด (Q4) ปัญหา อุปสรรค สุขภาพ สังคม กฎหมาย และการเงิน เช่น ใช้แล้วทำให้สุขภาพแย่ลง เริ่มป่วย ไปหาหมอ ซื้อยา ปวดศีรษะมากขึ้น น้ำหนักลด ฯลฯ เพื่อนรังเกียจ ไม่อยากคุย ไม่อยากพบใคร ถูกจับ ขับรถผิด ทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม ทำผิดกฎ ระเบียบ เป็นหนี้ ใช้เงินมาก เงินที่สะสมต้องเอามาใช้มากขึ้น (Q5) การไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ขาด ลางานบ่อย ดูแลสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ ไม่สามารถทำภารกิจ หน้าที่ กิจวัตรที่เคยทำ เช่น เป็นนักร้องไม่สามารถร้องเพลงได้ คำถามที่ 6-7 เป็นการถามสารทุกตัวที่เคยใช้ในช่วงชีวิต (จากคำถาม Q1 คือข้อแรกเลยที่เราถามชนิดของสารที่เคยใช้ แต่เป็นการถามที่ต้องการคำตอบเกี่ยวกับ Q6: ความเป็นห่วงของคนอื่นต่อการใช้สารเสพติด (ในเคยเป็นห่วงในการใช้ เป็นห่วงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และเคยเป็นห่วงแต่ไม่ใช่ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (คะแนนจะเป็น 0,6,3) Q7: ความล้มเหลวในการควบคุมการใช้สาร (ในเคยเป็นห่วงในการใช้ เป็นห่วงในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา และเคยเป็นห่วงแต่ไม่ใช่ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (คะแนนจะเป็น 0,6,3) คำถามที่ 8 : Q8: การใช้สารเสพติดโดยวิธีฉีด

20 เนื้อหาโดยย่อของ ASSIST
การใช้สารเสพติดนั้นใน 3 เดือนที่ผ่านมา Q2: ความถี่ของการใช้ Q3: ความต้องการที่จะใช้สาร (แรงผลักดัน) Q4: ปัญหาสุขภาพ สังคม กฎหมาย และการเงิน Q5: การไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ การใช้สารเสพติดนั้นในชีวิต Q6: ความเป็นห่วงของคนอื่นต่อการใช้สารเสพติด Q7: ความล้มเหลวในการควบคุมการใช้สาร Q8: การฉีดสารเสพติด

21 แบบ ASSIST เดิมที่พัฒนาจาก WHO

22 ส่วนของผู้ถาม

23 ส่วนของผู้ตอบ

24 แบบคัดกรองการใช้สารเสพติดในเด็กและเยาวชน

25 แนวปฏิบัติในการอธิบายแก่เด็กและเยาวชน
ก่อนถาม อธิบายและทำความเข้าใจ ทุกคำตอบจากทุกคำถาม ต้องวงกลมไว้ แม้ว่าจะเป็นคำตอบที่ได้ค่า คะแนนเป็นศูนย์ ท่านอาจจำเป็นต้องปรับคำพูดในบางคำถามกับเด็ก/เยาวชนบางคน หรือ ท่านอาจจำเป็นต้องยกตัวอย่างในบางคำถาม คำตอบที่ดูไม่สอดคล้อง ควรถามเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าท่านได้อธิบายข้อ คำถามเพียงพอและเด็ก/เยาวชน เข้าใจคำถามอย่างชัดเจน เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่บุคลากรจะต้องเข้าใจวิธีการให้คะแนนของ ASSIST ก่อนที่จะนำไปใช้

26 แผนผังการถาม คำถามที่ 1 ยุติการถาม รวมคะแนน คำถามที่ 6,7,8 คำถามที่ 2
ไม่เคย เคยใช้สารใดๆ คำถามที่ 6,7,8 คำถามที่ 2 ไม่เคย เคยใช้สารใดๆ คำถามที่ 3,4,5

27 คำตอบ คำตอบสำหรับคำถามข้อที่ 2-5 : ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ไม่เคย : ไม่ได้ใช้เลยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ครั้งสองครั้ง : ใช้ 1-2 ครั้งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทุกเดือน : ใช้ 1-3 ครั้งต่อเดือนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทุกสัปดาห์ : ใช้ 1-4 ครั้งต่อสัปดาห์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทุกวันหรือเกือบทุกวัน : ใช้ 5-7 วันต่อสัปดาห์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา คำตอบข้อที่ 6-8 : ในช่วงชีวิต ไม่เคยเกิดขึ้นเลยในชีวิต เคยและเกิดขึ้นภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา เคย แต่เกิดขึ้นก่อนหน้า 3 เดือนนี้

28 คุณเคยใช้ยาและสารเสพติดเหล่านี้หรือไม่ ถ้าตอบ “ไม่เคย” ให้หยุดทำ
ข้อคำถาม คำถามที่ 1 ในชีวิตของคุณ คุณเคยใช้ยาและสารเสพติดเหล่านี้หรือไม่ ถ้าตอบ “ไม่เคย” ให้หยุดทำ ถ้าตอบ “เคย”ให้ทำต่อ

29

30

31

32

33

34

35

36 การให้คะแนน ผลการคัดกรอง ยาเสพติด เสี่ยง บุหรี่ สุรา ผู้ใช้ 2 - 3 0-3
บุหรี่ สุรา ผู้ใช้ 2 - 3 0-3 0-10 เสพ 4 - 26 4-26 11-26 ติด 27+

37 ตามแนวทาง ASSIST ของ WHO

38 ตามแนวทาง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
คะแนน กลุ่ม การดูแลช่วยเหลือ 0-3 คะแนน กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มผู้ใช้ - การให้คำแนะนำและความรู้ (BA) 5 – 10 นาที จำนวน 1-2 ครั้ง - กิจกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด

39 ตามแนวทาง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
คะแนน กลุ่ม การดูแลช่วยเหลือ 4-26 คะแนน กลุ่มเสพ ขั้นที่ 1 - บำบัดแบบสั้น (BI) 15 – 30 นาที จำนวน 4 ครั้ง ใน 1 เดือน ถ้าประเมินไม่ผ่าน ส่งต่อขั้นที่ 2 ขั้นที่ 2 - ให้คำปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจ MI เวลา 15 นาที – 1 ชม. จำนวน 2-4 ครั้ง ภายใน 1-2 เดือน - กิจกรรมการแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กและเยาวชน(กลุ่มเสพ) - การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) เวลา 15 นาที – 1 ชม. จำนวน 2-4 ครั้ง ภายใน 1-2 เดือน - กิจกรรมระยะติดตามผลการบำบัด และกิจกรรมเสริมสร้าง ภูมิต้านทานสำหรับเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด - ติดตาม 4-7 ครั้ง ใน 1 ปี

40 ตามแนวทาง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
คะแนน กลุ่ม การดูแลช่วยเหลือ 27+ คะแนน กลุ่มติด - ให้คำปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจ MI เวลา 15 นาที – 1 ชม. จำนวน 2-4 ครั้ง ภายใน 1-2 เดือน - กิจกรรมการแก้ไขและฟื้นฟูฯ(กลุ่มติด) ร่วมกับ CBT - กิจกรรมระยะติดตามผลการบำบัด และกิจกรรมเสริมสร้าง ภูมิต้านทานสำหรับเด็กและเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด - ติดตาม 4-7 ครั้ง ใน 1 ปี 27+ คะแนน และติดนานกว่า 3 ปี มี Co-morbid กลุ่มติดรุนแรง - ส่งต่อเพื่อให้ได้รับการรักษาตามสภาพปัญหา/ติดตามผลการรักษา

41 การให้ความรู้เพิ่มเติมกรณี
พบการฉีดสารเสพติด หากพบว่า ฉีดสารฯ มากกว่า 4 ครั้ง/เดือน ฉีดเฮโรอีน มากกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ ฉีดแอมเฟตามีน/โคเคนมากกว่า 3 วันติดกัน จำเป็นต้อง รักษาแบบเข้มข้น

42 ลองดูตัวอย่าง

43 ประเมินแล้วทำอย่างไรต่อ?

44 ASSIST-linked Brief intervention
ใช้เวลาน้อยมาก เพียง 3 นาทีเท่านั้น ใช้ชักจูงและกระตุ้นให้ผู้เสพ/ติด/ติดรุนแรงเข้าสู่การบำบัดที่เหมาะสมต่อไป

45

46 ขั้นตอนการบำบัดแบบสั้นตามผล ASSIST
1. ASKING -ถาม 2. FEEDBACK – ให้ข้อมูลจากค่าคะแนน 3. ADVICE - ให้คำแนะนำ 4. RESPONSIBILITY – ย้ำความรับผิดชอบของ ด/ย 5. CONCERN ABOUT ASSIST SCORE - ถามความเป็นห่วงคะแนน 6. GOOD THINGS ABOUT USING - ข้อดีของการใช้สาร 7. LESS GOOD THINGS ABOUT USING - ข้อไม่ดีของการใช้สาร 8. SUMMARISE - สรุปความ 9. CONCERN ABOUT LESS GOOD THINGS – ความเป็นห่วง ต่อข้อไม่ค่อยดีของการใช้สาร 10. TAKE HOME INFORMATION&BOOKLET - ให้ข้อมูลและคู่มือ 9-Steps of the ASSIST BI (HO5) ก่อนอื่นควรถามผู้รับบริการด้วยประโยคต่อไปนี้ “คุณต้องการทราบเกี่ยวกับคะแนนจากแบบคัดกรองที่คุณทำหรือไม่” ต่อด้วยการอธิบาย 9 ขั้นตอนในการบำบัดอย่างย่อและการคัดกรองด้วย ASSIST 1. Feedback – use card ให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยใช้บัตรคำ 2. Advice การให้คำแนะนำ 3. Responsibility การสร้างความรับผิดชอบ 4. Concern about ASSIST score ความเป็นห่วงเรื่องคะแนนจากแบบคัดกรอง 5. Good things about using สิ่งดีๆที่ได้จากการใช้สารเสพติด 6. Less good things about using สิ่งที่ไม่ค่อยดีจากการใช้สารเสพติด 7. Summarise การสรุปข้อมูล 8. Concern about less good things ความเป็นห่วงเรื่องสิ่งที่ไม่ค่อยดีของการใช้สาร 9. Take home information & booklet ให้ข้อมูลและคู่มือกลับบ้าน

47 10 ขั้นตอนของการใช้แบบคัดกรองร่วมกับให้การบำบัดแบบย่อ (Brief Intervention ASSIST-linked brief intervention 10 steps) 1.การถาม (Asking) หลังจากการคัดกรอง ควรถาม “คุณอยากรู้คะแนนใน แบบสอบถามหรือเปล่า?”

48 2.ให้ข้อมูลแก่ผู้ตอบแบบคัดกรอง (Feedback) เช่น
10 ขั้นตอนของการใช้แบบคัดกรองร่วมกับให้การบำบัดแบบย่อ (Brief Intervention ASSIST-linked brief intervention 10 steps) 2.ให้ข้อมูลแก่ผู้ตอบแบบคัดกรอง (Feedback) เช่น “นี่คือคะแนนของการใช้สารแต่ละตัวของคุณ การดื่มสุรา เป็น 3 คะแนน จัดเป็นผู้เสี่ยง ส่วนยาบ้า เป็น 24 คะแนน เป็นผู้เสพ และการใช้กัญชา มีคะแนน 12 เป็นผู้เสพเช่นกัน” “ซึ่งผู้เสพ หมายถึง จากรูปแบบการใช้แบบนี้ คุณมีความเสี่ยงที่ จะเกิดปัญหาสุขภาพและปัญหาอื่นๆ ทั้งตอนนี้และในอนาคต หากยังใช้ต่อไป”

49 จากนั้นให้ข้อมูลที่เฉพาะกับอาการที่พบจากการใช้ และขยายไปยังอาการอื่นๆ เช่น
อย่างที่คุณใช้ยาบ้าแล้วเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ น้ำหนักลดแบบไม่ตั้งใจ อารมณ์ที่ซึมเศร้า อาการที่ รุนแรงมากขึ้นที่พบได้ทั่วไปคือ หวาดระแวงจน มากกว่าความเป็นจริง

50 3.ให้คำแนะนำ(Advice) เช่น
10 ขั้นตอนของการใช้แบบคัดกรองร่วมกับให้การบำบัดแบบย่อ (Brief Intervention ASSIST-linked brief intervention 10 steps) 3.ให้คำแนะนำ(Advice) เช่น “วิธีที่ดีที่สุดที่จะลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดอาการเหล่านี้คือ การลดหรือ เลิกใช้ยา”

51 10 ขั้นตอนของการใช้แบบคัดกรองร่วมกับให้การบำบัดแบบย่อ (Brief Intervention ASSIST-linked brief intervention 10 steps) 4. ให้ผู้ใช้สารเสพติดเป็นผู้รับผิดชอบการตัดสินใจ เลือกว่าจะทำอะไรหรือไม่ โดยตัวเขาเองอย่างเต็มที่ (Responsibility) เช่น “แต่ตามหลักแล้วคุณจะทำหรือไม่ทำก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง ทางเรา เพียงแจ้งให้คุณทราบถึงการใช้ ปัญหาและอันตรายที่อาจเกิดขึ้น”

52 10 ขั้นตอนของการใช้แบบคัดกรองร่วมกับให้การบำบัดแบบย่อ (Brief Intervention ASSIST-linked brief intervention 10 steps) 5.ถามผู้ใช้สารเสพติดว่าเขากังวลเกี่ยวกับคะแนนของ เขามากน้อยเพียงไร (Concerned-Score) เช่น “คุณกังวลเรื่องคะแนน/ผลการจำแนก?” 6. ให้ผู้ใช้สารเสพติดชั่งน้ำหนักข้อดีของการใช้สาร เสพติดว่ามีมากน้อยเพียงไร (Good Things) เช่น “คุณชอบใช้ยาบ้า เพราะอะไรบ้าง?”

53 10 ขั้นตอนของการใช้แบบคัดกรองร่วมกับให้การบำบัดแบบย่อ (Brief Intervention ASSIST-linked brief intervention 10 steps) 7.ให้ผู้ใช้สารเสพติดคิดถึงข้อไม่ค่อยดีของการใช้สาร เสพติด (Less good things) เช่น “แล้วสิ่งไม่ดีจากการใช้ยาละ โดยส่วนตัวคุณเองแล้วคิดว่ามี อะไรบ้าง?” 8.ให้สรุปข้อดีและข้อเสียที่ผู้ใช้สารเสพติดเล่ามา โดย เน้นที่ข้อไม่ค่อยดี (Summarize and Reflect) เช่น “งั้นจากที่เล่ามาคุณชอบใช้มันเพราะ......ส่วนข้อเสียที่เกิดขึ้นก็มีคือ .....”

54 9.ถามผู้ใช้สารเสพติดว่าเขากังวลกับข้อไม่ค่อยดี เหล่านี้
10 ขั้นตอนของการใช้แบบคัดกรองร่วมกับให้การบำบัดแบบย่อ (Brief Intervention ASSIST-linked brief intervention 10 steps) 9.ถามผู้ใช้สารเสพติดว่าเขากังวลกับข้อไม่ค่อยดี เหล่านี้ มากน้อยเพียงไร (Concerned-less good thing) เช่น “คุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับสิ่งไม่ดีในการใช้ยาบ้าบ้างไหม?” “ดูคุณก็มีความกังวลถึงผลเสียที่เกิดขึ้นตอนนี้ รวมถึงอีกหลายอย่าง ที่อาจเกิดขึ้น คุณเคยคิดที่จะทำอย่างไรกับมันต่อไป บ้างไหม?” (อยากเลิกไหม?)

55 10 ขั้นตอนของการใช้แบบคัดกรองร่วมกับให้การบำบัดแบบย่อ (Brief Intervention ASSIST-linked brief intervention 10 steps) 10.ให้ข้อมูล และเอกสารคู่มือ หรือเอกสารที่ เกี่ยวข้องเพื่อเสริมการบำบัดแบบย่อ(TAKE HOME INFORMATION&BOOKLET) เช่น “คุณเอาแผ่นพับเกี่ยวกับยาบ้าหรือแอมเฟตามีน สำหรับช่วยในการ ตัดสินใจว่าจะลดสารเสพติดที่กำลังใช้ลงหรือไม่ ซึ่งจะแนะนำวิธีการไว้” หรือ เป็นการแนะนำโปรแกรมบำบัดในสถานควบคุมก็ได้

56 คำถาม??

57 จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt การใช้แบบคัดกรองการใช้สารเสพติดในเด็กและเยาวชน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google