งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

03763491 ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรม และท่องเที่ยว Research Methods in Hotel and Tourism Business 3-4 : 12 ก.พ. 59 เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "03763491 ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรม และท่องเที่ยว Research Methods in Hotel and Tourism Business 3-4 : 12 ก.พ. 59 เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 03763491 ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรม และท่องเที่ยว Research Methods in Hotel and Tourism Business 3-4 : 12 ก.พ. 59 เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์

3  ความหมายการวิจัยทั่วไป  ความหมายการวิจัยทางธุรกิจ  แนวคิดพื้นฐานการวิจัย  การจำแนกประเภท  มิติต่างๆ ประเภทของการวิจัย  การออกแบบการวิจัยในระดับทฤษฎีและระดับปฏิบัติ  ขั้นตอนสำคัญการทำวิจัย  ลักษณะของงานวิจัยที่ดี  ข้อพึงระวังเกี่ยวกับงานวิจัย  จรรยาบรรณการวิจัย ความหมายการวิจัยทั่วไป

4 การพิจารณาคำว่า “วิจัย” รากศัพท์ลาติน Re+ Search Research AgainCercier อีกครั้ง/ซ้ำๆ การค้นหา/การแสวงหา การวิจัย “Research” ความหมายการวิจัยทั่วไป

5 การค้นคว้าหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหลายๆ ครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกระทั่ง มั่นใจว่า ค้นพบข้อเท็จจริงที่สามารถจะคาดการณ์ ทำนาย และอธิบาย ในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างถ้วนถี่และเชื่อถือได้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2542) กำหนดให้ความ หมายการวิจัยว่า “การวิจัยเป็นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตาม หลักวิชา” “การวิจัยเป็นการสะสมและรวบรวม” ซึ่งสอดคล้องกับ OXFORD Advanced Learner’s Dictionary (1994 :1073) ที่ระบุความหมายว่า “Careful Study and Investigate” การ วิจัยเป็นการศึกษาและการสืบค้นความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความระมัดระวัง อย่างละเอียดถี่ถ้วน ความหมายการวิจัยทั่วไป

6 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2547 : 45) ให้คำจำกัด ความว่า เป็นการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบ โดยใช้ อุปกรณ์หรือวิธีการเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง หรือค้นหาหลักการสำหรับนำ ไปใช้ตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางปฏิบัติ พจนานุกรม Webster’s New Twentieth Century Dictionary (1966) ให้คำจำกัดความ “Research” - การสอบสวน/ตรวจสอบในความรู้สายใดสายหนึ่งอย่างระมัด ระวัง อดทนอย่างเป็นระบบ ระเบียบและขันแข็งเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จ จริงและกฎเกณฑ์ต่างๆ - การแสวงหาความจริงอย่างคร่ำเคร่งและต่อเนื่อง ความหมายการวิจัยทั่วไป

7 Kerlinger (1986) ให้ความหมายของ “การวิจัย” ว่า การวิจัยเป็นการไต่สวนสืบค้นปรากฏการณ์ตามต่างๆ ธรรมชาติ อย่างมีระบบ มีการควบคุม มีการสังเกตการณ์จริงและการวิพากษ์วิจารณ์ โดยใช้ทฤษฎีและสมมติฐานเป็นแนวทางค้นหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปรากฏการณ์นั้น Schumacher and Mcmillan (1993) อธิบายถึง “ การวิจัย ” ว่า การวิจัยเป็นกระบวนการเชิงระบบในการรวบรวมข้อมูล และการ วิเคราะห์ข้อมูลอย่างสมเหตุสมผลเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ความหมาย Research Williams and Stevenson (1963) ให้ความหมาย Researchว่าเป็นการค้นหาโดยวิธีครุ่นคิด/การแสวงหาอย่างคร่ำเคร่งเพื่อให้เกิดความแน่นอน ความหมายการวิจัยทั่วไป

8 Plutchick (1968) ให้ความหมายในทำนองว่า การวิจัยเป็น การสำรวจเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติได้ดีขึ้น ซึ่งจะมีส่วนประกอบ 2 อย่าง : - การพยายามอย่างเข้มแข็งที่จะค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ - การพยายามจัดระเบียบข้อเท็จจริงที่ค้นพบให้เป็นแบบแผนที่มี ความหมาย Best and Khan (1998: 18) ให้ความหมายการวิจัย คือ การวิเคราะห์และบันทึกการสังเกตภายใต้การควบคุมอย่างเป็น ระบบระเบียบ และเป็นปรนัย ที่จะนาไปสู่การสร้างทฤษฏี หลักการ หรือ การวางนัยทั่วไปโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ความหมายการวิจัยทั่วไป

9 Abdellah (1980) ได้ให้ความหมายของวิจัยไว้ว่า เป็นกิจกรรม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งขึ้นอย่าง ถูกต้อง เชื่อถือได้ และคำตอบนี้ต้องเป็นความรู้ใหม่ Burns and Grove (1997 : 3) ให้ความหมาย “การวิจัย” หมายถึง การใช้ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่สาหรับการศึกษา ค้นคว้าความรู้ ใหม่ด้วยวิธีการที่เป็นระบบ มีการทดสอบสมมุติฐานที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ ได้ความรู้ที่สอดคล้องกับขอเท็จจริงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความหมายการวิจัยทั่วไป

10 - การศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง = ผู้วิจัยจะต้องค้นคว้าให้ได้มาทั้ง ข้อเท็จและข้อจริง ศึกษาค้นคว้าครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมทั้งข้อสนับสนุน และข้อคัดค้าน - การศึกษาค้นคว้าจะต้องทำเป็นระบบระเบียบเป็นขั้นตอนมีเหตุมีผล = วิธีทางวิทยาศาสตร์ - การศึกษาค้นคว้าจะต้องเป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายอย่างใด อย่างหนึ่ง/หลายอย่างผสมกัน บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2540) ให้ความหมาย “ การวิจัย ” ไว้ว่า กระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ อย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ ความหมายการวิจัยทั่วไป

11 สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์ (2540) ให้ความหมาย การวิจัย ว่า กระบวนการแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการ ศึกษา โดยที่มี … - การเก็บรวบรวมข้อมูล - การจัดระเบียบข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - การตีความหมายผลการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้อง กระบวนการ = กิจกรรมต่างๆ ที่ได้กระทำขึ้นโดยมีความเกี่ยวโยง ต่อเนื่องกันอย่างมีระบบเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย ความหมายการวิจัยทั่วไป

12 ในที่ประชุม Pan Pacific Science Congress ปี 1961 ณ ประเทศสหรัฐ ได้มีการอธิบายถึงความหมายคำว่า “ R E S E A R C H ” R = Recruitment and Relationship E = Education and Efficiency S = Science and Stimulation E = Evaluation and Environment A = Aim and Attitude R = Result C = Curiosity H = Horizon

13 R = Recruitment and Relationship การฝึกฝนให้คนมีความรู้ การรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงาน ร่วมกัน รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน E = Education and Efficiency ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้และมีสมรรถภาพสูงในการ วิจัย S = Science and Stimulation การวิจัยเป็นศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์ค้นคว้าเพื่อหาความจริง โดยใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผู้วิจัยต้องมีความคิดริเริ่ม การกระตือ รือร้นที่จะศึกษาวิจัย

14 E = Evaluation and Environment ผู้วิจัยต้องรู้จักการประเมินคุณค่าของผลงานวิจัยประโยชน์ มาก/น้อย และต้องรู้จักใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และรวมถึงกำลังคนในการ วิจัยอย่างเหมาะสม A = Aim and Attitude การวิจัยจะต้องมีจุดมุ่งหมาย/เป้าหมายที่แน่นอนและผู้วิจัยต้อง มีทัศนคติที่ดีต่อการวิจัยตั้งแต่เริ่มปฏิบัติ และติดตามผลการวิจัย R = Result ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นจะต้องยอมรับกันอย่างดุษฎี เพราะเป็นผลที่ ได้จากการค้นคว้า ศึกษาอย่างมีระบบระเบียบที่ดีและถูกต้อง

15 C = Curiosity ผู้วิจัยต้องมีความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ ความสงสัยและ ขวนขวายในการศึกษาวิจัยตลอดเวลา H = Horizon ผลงานการวิจัยย่อมทำให้ทราบและเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ซึ่ง เสมือนกับเกิดแสงสว่าง หากการวิจัยยังไม่บรรลุผลจะต้องหาทางศึกษา ค้นคว้าต่อไปจนสำเร็จ

16 ความหมายการวิจัยทางธุรกิจ การวิจัยทางธุรกิจ ---> Business Research จะเป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่มีระบบระเบียบอย่างถูกต้อง ตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดย ปราศจากอคติและมีประสิทธิภาพ ผลวิจัยสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในกระบวนการตัดสินใจ/การ แก้ไขปัญหาการบริหารทุกลักษณะของธุรกิจ

17 Zikmund (2000) ให้ความหมาย “การวิจัยทางธุรกิจ” ว่า การรวบรวมข้อมูล / สารสนเทศที่มีกระบวนการ อย่างเป็นระบบระเบียบและมีวัตถุประสงค์ : - การรวบรวม (Gathering) - การบันทึก (Recording) - การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data)ทั้งนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ Cooper and Schindler (2003) อธิบายความหมายว่า เป็นระบบที่มีจุดประสงค์เกี่ยวกับการจัดเตรียมหาคำแนะนำ เพื่อที่จะใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการ

18 นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี (2542) ได้ให้ความหมาย “การวิจัยธุรกิจ” หมายถึง การศึกษาค้นคว้าถึงความจริงเกี่ยวกับธุรกิจด้วยวิธีการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Method) ถูกต้องตามระบบที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมี ประสิทธิภาพ สถานการณ์ที่ใช้วิจัยทางธุรกิจ ตั้งแต่ … การวิจัยด้านการจัดการ การตลาด การเงิน การบัญชี การผลิต เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง

19 1. กฎเหตุและผลของธรรมชาติ (Deterministic Law of Nature) เป็น แนวคิดที่ว่า ปรากฏการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นจะสามารถแสวงหาสาเหตุที่ก่อ ให้เกิดปรากฏการณ์นั้นได้เสมอๆ หรือเมื่อกำหนดสถานการณ์ใดๆ ที่ เป็นสาเหตุย่อมจะหาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน 2.กฎความเป็นระบบของธรรมชาติ (Systematic Law of Nature) เป็น แนวคิดที่ว่า ปรากฏการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎของเหตุและผลตาม ธรรมชาติจะมีรูปแบบของความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ค่อนข้างจะชัดเจน เช่น Y = f(x) หรือ y = ax+b เป็นต้น ผู้วิจัยจะได้นำรูปแบบดังกล่าว ไปใช้อธิบายในปรากฏการณ์ที่เกดขึ้นโดยทั่วๆ ไปได้ 3. 3. กฎความสัมพันธ์ของธรรมชาติ (Associative Law of Nature) เป็น แนวคิดที่ว่า การเกิดปรากฏการณ์ใดๆ ที่แตกต่างกัน จะมีความมาก น้อยของตัวแปรที่เป็นสาเหตุและตัวแปรผลที่แตกต่างกัน แนวคิดพื้นฐานการวิจัย

20 4.กฎองค์ประกอบหลักของธรรมชาติ (Principle Component of Nature) เป็นแนวคิดที่ว่า ตัวแปรสาเหตุและตัวแปรผลที่เกิดขึ้นนั้นๆ ไม่ได้เป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว แต่จะมีตัวแปรอื่น ๆ (ตัวแปรแทรก ซ้อน/สอดแทรก) ที่มักจะมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ๆ 5.กฎความน่าจะเป็นของธรรมชาติ (Probabilistic Law of Nature) เป็นแนวคิดที่ว่า ปรากฏการณ์ใดๆ หรือความรู้ความจริงที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติจะเป็นผลลัพธ์ของปรากฏการณ์ที่มีความน่าจะเป็นในการ เกิดขึ้นที่ค่อนข้างสูง แนวคิดพื้นฐานการวิจัย

21 หลักการจำแนกประเภท 1. ต้องมีกลุ่มให้ครบถ้วน (mutually exhaustive) 2.แต่ละกลุ่มที่กำหนดเมื่อกำหนดประเภทจะต้องแยกออกจากกันและกัน โดยเด็ดขาด (mutually exclusive) 3. กลุ่มแต่ละกลุ่มควรจะมีความหมายที่ชัดเจน และมี จำนวนมากเพียงพอ จำนวนมากเพียงพอ การจำแนกประเภท

22 มิติต่างๆ ประเภทของการวิจัย เหตุผลของการทำวิจัยเหตุผลของการทำวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยเก็บข้อมูลวิธีการวิจัยเก็บข้อมูล สภาวะการวิจัยสภาวะการวิจัย วัตถุหรือสิ่งที่ต้องการวิจัยวัตถุหรือสิ่งที่ต้องการวิจัย ผู้กระทำการวิจัยผู้กระทำการวิจัย ฯลฯ ฯลฯ

23 การจำแนกตามเหตุผลของการวิจัย การวิจัยพื้นฐาน (Basic research)การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) : การวิจัยแสวงหาความรู้และความเข้าใจประเด็นเรื่องต่างๆ ให้มากขึ้น มุ่งแสวงหาความจริง ใช้ทดสอบ/สร้างทฤษฎี และไม่มีวัตถุประสงค์ใช้ ประโยชน์ทันที แต่เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและวิจัยต่อไป การวิจัยประยุกต์ (Applied research)การวิจัยประยุกต์ (Applied research) : การวิจัยที่นำผลการวิจัย/ข้อค้นพบไปใช้ในทางปฏิบัติจริง โดยมุ่ง หาข้อเท็จจริง/ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล/ตัวแปรในการแก้ไขปัญหา จริง

24 การจำแนกตามวัตถุประสงค์ การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) : การวิจัยมุ่งพรรณนาสภาพที่เป็นอยู่/เกิดขึ้นและลักษณะสำคัญของ ปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมเกิดขึ้น การวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory research)การวิจัยเชิงอธิบาย (Explanatory research) : การวิจัยมุ่งอธิบายสาเหตุการเกิดขึ้นสภาพที่เป็นอยู่ของปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรม โดยหาความเป็นเหตุและผล

25 การจำแนกตามวิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยแบบอาศัยการทดลอง (Experimental research)การวิจัยแบบอาศัยการทดลอง (Experimental research) : กระบวนการวิจัยที่มีการวางแผน โดยที่มีการกระตุ้นเพื่อก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงภายใต้การควบคุม ควบคุม ดูแลและเฝ้าสังเกตอย่างเป็น ระบบ การวิจัยแบบไม่อาศัยการทดลอง (Non-experimental research)การวิจัยแบบไม่อาศัยการทดลอง (Non-experimental research) : กระบวนการวิจัยที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ตามสภาพความ เป็นจริง โดยไม่มีการจัดกิจกรรม/การจัดกระตุ้น/จัดกระทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงใดๆ

26 การจำแนกตามสภาวะการวิจัย การวิจัยสภาวะที่ควบคุมเต็มที่ (Highly controlled settings)การวิจัยสภาวะที่ควบคุมเต็มที่ (Highly controlled settings) : การวิจัยที่ควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างครบถ้วน/เต็มที่ การวิจัยสภาวะที่ควบคุมได้บ้าง (Partially controlled settings)การวิจัยสภาวะที่ควบคุมได้บ้าง (Partially controlled settings) : การวิจัยที่ควบคุมปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ บางประการเท่านั้น เพื่อสังเกตการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงโดยวิธีการหนึ่งวิธีการใด การวิจัยสภาวะที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled settings)การวิจัยสภาวะที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled settings) : การวิจัยที่ไม่มีการควบคุมปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยทำการศึกษาเก็บข้อมูลตามสภาพ ลักษณะหรือพฤติกรรมที่เกิดตาม ธรรมชาติที่เกิดขึ้น

27 การจำแนกตามสิ่งที่ต้องการวิจัย มนุษย์ : บุคคล กลุ่มบุคคล สัตว์ พืช และอื่นๆ : สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่ต้องการศึกษา สิ่งไม่มีชีวิต : สิ่งของ/วัตถุต่างๆ การจำแนกตามผู้กระทำการวิจัย การวิจัยโดยบุคคลเดียว : การวิจัยที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้เพียงคนเดียว การวิจัยคณะบุคคล : การวิจัยที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความหลากหลายสาขา

28 การจำแนกตามระดับหน่วยวิเคราะห์ การวิจัยระดับจุลภาค (Micro level)การวิจัยระดับจุลภาค (Micro level) : การวิจัยปรากฏการณ์เกี่ยวกับลักษณะต่างๆ บุคคล อาจจะเป็นแบบ พฤติกรรม ทัศนคติและความคิดเห็น การวิจัยระดับมหภาค (Macro level)การวิจัยระดับมหภาค (Macro level) : การวิจัยปรากฏการณ์เกี่ยวกับลักษณะรวมๆ ระดับชุมชน สังคม หรือ ประเทศในหลายจุดเวลา

29 การจำแนกตามความลึกของข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research)การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) : การวิจัยที่อาศัยข้อมูลตัวเลขเพื่อยืนยันพิสูจน์ความถูกต้องของข้อมูล ข้อค้นพบและข้อสรุปต่างๆ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) : การวิจัยที่ไม่เน้นข้อมูลตัวเลขเป็นข้อยืนยันความถูกต้องของข้อมูล ข้อค้นพบและข้อสรุปต่างๆ

30 การจำแนกตามระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์(Historical Research) : การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีหลักฐาน ปรากฏอยู่ การวิจัยการวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive Research) : การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บรรยายคุณลักษณะหรือปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ธรรมชาติของปรากฏการณ์นั้น ๆ ในปัจจุบัน - การวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) - การวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies) - การวิจัยศึกษาพัฒนาการ (Developmental Studies)

31 การจำแนกตามสาขาวิชา/ศาสตร์ การวิจัยการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Research) : การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นตาม ธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หรือในสถานการณ์จำลอง ในการทดลองที่ควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้นได้ โดยใช้เครื่องมือที่ เป็นมาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์มาตรฐานในการพิจารณาตัดสินผลที่ชัดเจน ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ การวิจัยการวิจัยทางสังคมศาสตร์(Social Research) : การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ของมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง และการศึกษา เป็นต้น

32 การจำแนกตามเวลา การวิจัย การวิจัยแบบตัดขวาง/ระยะสั้น(Cross-section Research) : การวิจัยที่ใช้เวลาในการวิจัยช่วงใดช่วงหนึ่งที่ผู้วิจัยสนใจแล้วนำมา สรุปผลในภาพรวมของปรากฏการณ์นั้น ๆ ในอนาคตมากกว่าสภาพใน ปัจจุบันหรืออดีต การวิจัยการวิจัยแบบต่อเนื่อง (Longitudinal Research) : การวิจัยที่ใช้เวลาอย่างต่อเนื่องในการเก็บรวบรวมขอมูล ทำให้ได้ผล สรุปของข้อมูลที่ชัดเจน ละเอียด และได้เห็นกระบวนการ การเปลี่ยนแปลง ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

33 ขั้นตอนสำคัญการวิจัย

34 ขั้นตอนในกระบวนการทำวิจัย (Steps of Research Process) เลือกหัวข้อ (Choose Topic) ตั้งคำถามในการวิจัย (Focus Research Question) ออกแบบการวิจัย (Research Design) เก็บรวบรวมข้อมูล (Collect Data) วิเคราะห์ข้อมูล (Analyze Data) ตีความข้อมูล (Interpret Data) บอกกล่าวผู้อื่น (Inform Others)

35 วงล้อการวิจัย (The Research Wheel) แบบที่ 1 ความคิด (idea) ทฤษฎี (theory) สมมติฐาน (Hypothesis) แบบแผนการวิจัย (Research design) การจัดการข้อมูล (Data organization) ผลและข้อค้นพบ (Results and findings) การเผยแพร่ (Dissemination) เอกสาร (Literature) การเก็บข้อมูล (Data collection) นิยามและการวัด (Operational definition and measurement) การอนุมาน (Deduction) การวิเคราะห์ ) (Analysis) การกลั่นกรองและคำถามใหม่ (Refinement and new question)

36 กรอบแนวคิด ( ทฤษฎี, เอกสารที่ เกี่ยวข้อง ) การสังเกต ข้อเท็จจริง สิ่งที่เป็น ข้อเสนอ คำถามในการ วิจัย สมมุติฐาน การเก็บรวบรวม ข้อมูล การวิเคราะห์ ข้อมูล Induction(อุปมาน) Deduction(อนุมาน) วงล้อการวิจัย (The Research Wheel) แบบที่ 2

37 ลำดับขั้นตอนการวิจัย ลำดับขั้นตอนการวิจัย (The Research (The Research Sequence) Sequence) ระบุสาขาหัวข้อกว้างๆ (Identify Boardarea) เลือกหัวเรื่องที่จะทำ (Select Topic) ตัดสินใจเลือกวิธีการที่จะใช้ (Decide Approach) กำหนดแผนการวิจัย (Formulate Plan) เก็บรวบรวมข้อมูล (Collect Information) วิเคราะห์ข้อมูล (Analyze Data) เสนอผลการวิจัยที่ค้นพบ (Present Findings)

38 ขั้นตอนสำคัญของการวิจัย 1. การตั้งคำถามหรือปัญหาของการวิจัย 2. การทบทวนวรรณกรรม 3. การกำหนดแบบของการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การจัดกระทำกับข้อมูล 6. การวิเคราะห์ข้อมูล และ 7. รายงานผลการวิเคราะห์

39 ลักษณะของงานวิจัยที่ดี : มาตรฐานที่ดีถูกต้องตามวิธีการ - มีจุดประสงค์จำกัดความอย่างชัดเจน - มีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย - มีการออกแบบวางแผนการวิจัยอย่างถี่ถ้วน - ข้อจำกัดถูกแสดงอย่างเปิดเผย - มีมาตรฐานเกี่ยวกับหลักจริยธรรมสูง

40 ลักษณะของงานวิจัยที่ดี : มาตรฐานที่ดีถูกต้องตามวิธีการ - มีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมสำหรับความต้องการของ ผู้ทำ ผู้ทำ -การค้นคว้าถูกแสดงอย่างไม่คลุมเครือ -บทสรุปที่พิสูจน์ว่าถูกต้อง - สะท้อนประสบการณ์ของการวิจัย

41 ข้อพึงระวังเกี่ยวกับงานวิจัย 1. เมื่อคำแนะนำไม่สามารถประยุกต์ให้ตัดสินใจเกี่ยวกับ การจัดการขั้นวิกฤตได้ 2. เมื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการที่มีการเสี่ยง เล็กน้อย 3. เมื่อการจัดการมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะทำการ ศึกษาวิจัย 4. เมื่อราคาของการศึกษาวิจัยมีค่าเกินระดับของการเสี่ยง ในตัดสินใจ

42 ความแตกต่างและเหมือนกัน จริยธรรม จริยศาสตร์ และจรรยาบรรณ - จริยธรรม(morals) หมายถึง หลักความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์แห่ง ตนและสังคม - จริยศาสตร์ (ethics) หมายถึง ความรู้ที่กล่าวถึงแนวทางการประพฤติ ที่ถูกต้อง จรรยาบรรณการวิจัย - จรรยาบรรณ (code of conduct) หมายถึง ประมวลความประพฤติที่ผู้ ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525)

43 จรรยาบรรณของนักวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2541 ให้มี "จรรยาบรรณนักวิจัย” อันเป็นหลักเกณฑ์ควร ประพฤติของนักวิจัยทั่วไป ไม่ว่าสาขาวิชาการใด ๆ มีลักษณะเป็น แนวทางกว้างๆ เพื่อครอบคลุมทุกสาขาวิชาการ จำนวน 9 ประการ 1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น - นักวิจัยต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย - นักวิจัยต้องมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย 2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้ กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย - นักวิจัยต้องอุทิศเวลาทำงานวิจัย - นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบในการทำวิจัย สรุปใส่จาก Word ที่ส่งมาพร้อมกันนี้ จรรยาบรรณการวิจัย

44 3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ความชำนาญ - นักวิจัยต้องรักษามาตรฐานและคุณภาพของงานวิจัยในสาขาวิชาการ นั้นๆ 4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย แนวทางปฏิบัติ - การใช้คนหรือสัตว์เป็นตัวอย่างทดลอง - นักวิจัยต้องดำเนินการวิจัยโดยมีจิตสำนึก - นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดแก่ตนเอง 5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการ วิจัย แนวทางปฏิบัติ - เคารพในสิทธิของมนุษย์ที่ใช้ในการทดลอง - ไม่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ทางวิชาการจนเกิดความเสียหายที่อาจ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง - นักวิจัยต้องดูแลปกป้องสิทธิประโยชน์และรักษาความลับของกลุ่ม ตัวอย่าง จรรยาบรรณการวิจัย

45 6. นักวินักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยต้องเสนอผลงานวิจัยตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบน ผลการวิจัย 7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัยโดยคำนึงถึงประโยชน์ทางวิชาการ และ สังคม - นักวิจัยพึงเสนอผลงานวิจัยตามความเป็นจริง 8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยพึงมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี - นักวิจัยพึงยอมรับฟัง แก้ไขการทำวิจัยและการเสนอผลงานวิจัยตาม ข้อแนะนำที่ดี 9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ แนวทางปฏิบัติ - นักวิจัยพึงรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการเพื่อความเจริญของ สังคม - นักวิจัยพึงพัฒนาบทบาทของตนให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น จรรยาบรรณการวิจัย


ดาวน์โหลด ppt 03763491 ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจโรงแรม และท่องเที่ยว Research Methods in Hotel and Tourism Business 3-4 : 12 ก.พ. 59 เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google