งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักนิเทศศาสตร์ (Principles of Communication Art) FCA1101

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักนิเทศศาสตร์ (Principles of Communication Art) FCA1101"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักนิเทศศาสตร์ (Principles of Communication Art) FCA1101
Week 2 หลักนิเทศศาสตร์ (Principles of Communication Art) FCA1101 อ. อิสรี ไพเราะ(อ.ต๊ะ) MB

2 ความเป็นมาของนิเทศศาสตร์
หลักนิเทศศาสตร์ บทที่ 1 ความเป็นมาของนิเทศศาสตร์ 2

3 บทที่ 1 ความเป็นมาของนิเทศศาสตร์: สาระสำคัญ
ความหมายของนิเทศศาสตร์ ความสำคัญของการสื่อสาร ความเป็นมาของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ การศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย สรุป

4 ความเป็นมาของนิเทศศาตร์
การสื่อสารเป็นกิจกรรมที่สำคัญของมนุษย์ จากการศึกษาพบว่ามนุษย์ใช้เวลา ประมาณร้อยละ 75 ของเวลาในแต่ละวันเพื่อการสื่อสาร ซึ่งสอดคล้องกับ แนวความคิดของวูดที่ว่ามนุษย์ใช้เวลาการสื่อสารมากกว่ากิจกรรมอื่นๆ ในแต่ละวัน มนุษย์พูดและฟังคนนรอบข้าง สนทนากับตนเอง และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ สื่อสารหลากหลายรูปแบบ เช่นการประชุม การให้สัมภาษณ์ การติดตามข่าวสาร และความบันเทิงจากสื่อต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตายมนุษย์ได้รับอิทธิพลจากการสื่อสาร ในการเสริมสร้างบุคลิกลักษณะของตน การเรียนรู้โลกภายนอก การสร้าง ความก้าวหน้าในอาชีพ การมีชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม และการถ่ายทอดมรดก ทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง

5 ดังนั้นการสื่อสารจึงเปรียบเสมือนทักษะที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ จาก เหตุผลดังกล่าวความพยายามในการเรียนรู้และเสริมสร้างศักยภาพด้านการสื่อสาร ของมนุษย์จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้ศาสตร์ที่เรียกว่า “นิเทศศาสตร์”

6 ที่มาของคำว่า “นิเทศศาสตร์”
ปี พ.ศ มีบัณฑิตรุ่นแรกของแผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษา พลตรี ศาสตราจารย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงประทานชื่อปริญญาสำหรับบัณฑิตดังกล่าวว่า “นิเทศศาสตรบัณฑิต”

7 ที่มาของคำว่า “นิเทศศาสตร์”
ในปี พ.ศ แผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยกฐานะ ขึ้นเป็นคณะ ก็นำคำว่า “นิเทศศาสตร์” มาตั้งเป็นชื่อคณะ ในนาม “คณะนิเทศศาสตร์”

8 ความหมายของ “นิเทศศาสตร์”
พลตรี ศาสตราจารย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงนิยามความหมายของคำว่า “นิเทศศาสตร์” ไว้ว่า “เป็นวิชาสื่อสารไปยังมวลชนโดยทางใดก็ตาม ไม่จำเพาะทางหนังสือพิมพ์ เช่น การสื่อสารของละคร ก็เข้าไปอยู่ในนิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชนทางอื่น นอกจากทางหนังสือพิมพ์ เช่น ทางวิทยุและโทรทัศน์ ก็เป็นนิเทศศาสตร์ เทียบกับคำภาษาอังกฤษว่า Communication Arts” (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519)

9 ความหมายของ “นิเทศศาสตร์”
บำรุงสุข สีหอำไพ แสดงทรรศนะไว้ว่า “ศาสตร์สาขานี้ได้ชื่อว่า “นิเทศศาสตร์” เพราะศาสตร์สาขานี้ประกอบไปด้วยการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication)การติดต่อสื่อสาร โดยไม่ใช้คำพูด (nonverbal communication) เช่น การใช้ท่าทาง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของมวลมนุษย์” (บำรุงสุข สีหอำไพ อ้างถึงใน วิรัช ลภิรัตนกุล, 2544, หน้า 21)

10 ความหมายของ “นิเทศศาสตร์”
วิรัช ลภิรัตนกุล นิยามความหมายของคำว่า “นิเทศศาสตร์” ไว้ว่า นิเทศศาสตร์เป็นศาสตร์ หรือ วิชาที่ว่าด้วยการติดต่อสื่อสารซึ่งหมายรวม ถึงการติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสารมวลชน หรือการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการพูดและการแสดง ทั้งนี้เพราะคำว่า “นิเทศ” หมายถึงการชี้แจงหรือการแสดงอยู่แล้วนั่นเอง (2544, หน้า 21)

11 สรุปความหมายของ “นิเทศศาสตร์”
“นิเทศศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการสื่อสาร ของมนุษย์” ดังนั้นเมื่อศึกษาด้านนิเทศศาสตร์จึงต้องศึกษาเกี่ยวกับหลักการและแนวคิดที่เกี่ยวเนื่องกับการสื่อสารนั่นเอง

12 ความสำคัญของการสื่อสาร
ความสำคัญของการสื่อสารต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ ความสำคัญของการสื่อสารต่อความเป็นสังคม ความสำคัญของการสื่อสารต่อการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ความสำคัญของการสื่อสารต่อระบบเศรษฐกิจ

13 ความสำคัญของการสื่อสาร
ความสำคัญของการสื่อสารต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสนองตอบความต้องการและความพึงพอใจของมนุษย์ การสื่อสารช่วยให้มนุษย์เข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างและธำรงรักษาความสัมพันธ์ ที่ดีระหว่างกัน การสื่อสารช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและสุขภาพกายของมนุษย์ให้ดีขึ้น การสื่อสารคือทักษะสำคัญซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของมนุษย์

14 ความสำคัญของการสื่อสาร
ความสำคัญของการสื่อสารต่อความเป็นสังคม การสื่อสารเป็นพื้นฐานของสังคม การสื่อสารเป็นทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการสังคมประกิตหรือกระบวนการขัดเกลาทางสังคม การสื่อสารคือเครื่องมือในการรายงานความเคลื่อนไหวของสังคมและควบคุมสังคม การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมของสังคม การสื่อสารเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสังคม

15 ความสำคัญของการสื่อสาร
ความสำคัญของการสื่อสารต่อการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสนับสนุนการเมือง การปกครอง การสื่อสารเป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารราชการ การสื่อสารเป็นเครื่องมือของรัฐในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างรัฐกับประชาชน การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการปฏิรูประบบราชการและการเมือง การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีกับประเทศอื่น ๆ ในสังคมโลก

16 ความสำคัญของการสื่อสาร
ความสำคัญของการสื่อสารต่อระบบเศรษฐกิจ การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารองค์การ การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการให้ข่าวสารข้อมูลทางเศรษฐกิจ การสื่อสารช่วยให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจ การสื่อสารคือเครื่องมือในการส่งเสริมการดำเนินงานด้านแรงงานสัมพันธ์ การสื่อสารช่วยส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจ

17 สรุปความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสารคือปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของมนุษย์ การสื่อสารเปรียบเสมือนสายใยเชื่อมโยงหน่วยต่าง ๆ ของสังคมเข้าไว้ด้วยกัน การสื่อสารช่วยเติมเต็มศักยภาพของมนุษย์ให้พร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ และดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ การสื่อสารเป็นตัวกำหนดความสำเร็จหรือ ความล้มเหลวในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างกัน

18 งานมอบหมายประจำบท หาตัวอย่างที่อธิบายถึงความสำคัญของการสื่อสาร ซึ่งผู้สอนอธิบายไว้ในหัวข้อความสำคัญของการสื่อสาร และส่งในการเรียนครั้งต่อไป อ่านหนังสือหลักนิเทศศาสตร์ บทที่ 1 หัวข้อ..ความเป็นมาของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ หัวข้อ.. การศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย

19 ด้วยความรัก อ. อิสรี ไพเราะ(อ.ต๊ะ)
ถ้าหวังที่จะได้ความรู้ต้อง “เรียนรู้” ถ้าหวังที่จะได้ทรัพย์สินต้อง “ขยัน” ถ้าหวังที่จะมีอนาคตต้องใฝ่ “เรียนรู้” และ “ขยัน” ถ้าหวังที่เห็นความสำเร็จ ความสำเร็จจะมาหา ถ้าลงมือทำ ความำเร็จจะมาหา ด้วยความรัก อ. อิสรี ไพเราะ(อ.ต๊ะ)


ดาวน์โหลด ppt หลักนิเทศศาสตร์ (Principles of Communication Art) FCA1101

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google