ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยCharong Samenem ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
อุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบไร้สาย Wireless Electrocardiogram
COE อุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบไร้สาย Wireless Electrocardiogram หลักการและเหตุผล การออกแบบระบบ เครื่องมือการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่มีการศึกษาผ่านมานั้นสามารถสร้างขึ้นด้วยงบประมาณไม่มากนัก สามารถใช้วัดสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้จริง แต่เป็นระบบการวัดที่มีสายเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การวัดและจอภาพแสดงผลสัญญาณที่วัดได้ ทำให้การใช้งานอาจยังไม่สะดวกในกรณีที่ผู้วัดมีการเคลื่อนไหวร่างกายขณะทำกิจกรรมต่างๆ และการวัดต้องการดูผลของสัญญาณในทันที ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องวัดและอุปกรณ์แสดงผลให้เป็นแบบไร้สาย เพื่อการวัดที่สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้สามารถพกพาอุปกรณ์การวัดติดไว้กับร่างกาย และสามารถส่งสัญญาณมาแสดงผลและบันทึกที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ในทันที สามารถนำไปประยุกต์ใช้วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่ผู้วัดกำลังทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีแรงดันที่ต่ำมาก จึงต้องอาศัยวงจรขยายสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจขึ้นมาเพื่อให้สามารถนำสัญญาณนั้นมาแสดงผลและใช้งานได้ อีกทั้งในการวัด มีแนวคิดที่จะให้ผู้วัดพกอุปกรณ์การวัดติดไว้กับร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยที่จะส่งสัญญาณมาแสดงผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยใช้ zigbee เป็นอุปกรณ์ในการรับส่ง 1 ฮาร์ดแวร์ ชิบ ADS1298 รับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากอิเล็กโทรดและแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล LPC2148 ใช้ควบคุมและรับข้อมูลจาก ADS1298 ส่งข้อมูลไร้สายด้วย Xbee 2 ซอฟต์แวร์ รับข้อมูลจาก Xbee แสดงสัญญาณได้ 3 ช่องสัญญาณ ตามเวลาจริง แสดงอัตราการเต้นของหัวใจ การใช้งาน วัตถุประสงค์ พัฒนาระบบฮาร์ดแวร์สำหรับการวัดสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยส่งสัญญาณข้อมูลแบบไร้สายระยะใกล้เข้ามาแสดงในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตามเวลาจริง (Realtime) เพื่อใช้วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่ผู้วัดกำลังเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่างๆ ได้ วงจรฝั่งส่งสัญญาณจะใช้แรงดัน 4.5 โวลต์จากถ่านสามก้อน โดยสามารถรับสัญญาณจากอิเล็กโทรดได้ 3 ช่องสัญญาณ ซึ่งจะส่งสัญญาณที่วัดได้มายังฝั่งรับและแสดงผลเป็นกราฟสัญญาณบนซอฟต์แวร์ พร้อมกันทั้ง 3 ช่องสัญญาณตามเวลาจริง ประโยชน์ที่ได้รับ 1 ระบบต้นแบบอุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบไร้สาย สามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ 2 ความรู้ในการพัฒนาระบบการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการขยายสัญญาณที่มีแรงดันต่ำ 3 ความรู้การโปรแกรมควบคุมฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์แสดงผล และการส่งข้อมูลไร้สาย ข้อเสนอแนะ พัฒนาให้มีขนาดเล็กและกะทัดรัดกว่าเดิมและสามารถที่จะวัดและแสดงสัญญาณได้ 12 ช่องสัญญาณมาตรฐาน อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ : อ.ดร. กิตติ์ เธียรธโนปจัย อาจารย์ผู้ร่วมประเมินโครงการ : 1 อ.ดร. ชัชชัย คุณบัว 2 อ.ดร. นวภัค เอื้ออนันต์ ผู้จัดทำโครงการ 1 นายเจษฎา ช้างสีสังข์ รหัส 2 นายกรกฏ สุภา รหัส ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.