ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMarsha O’Brien’ ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
คู่มือ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต สำหรับ Child & Family Team (CFT)
เขตสุขภาพที่ 9
2
แนวทางการดำเนินงาน เน้นการดูแลสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดถึง ๒ ปี โดยการใช้ครอบครัวเป็นฐาน กระตุ้นครอบครัวให้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ในการดูแลเอาใจใส่ และให้ความสาคัญกับสตรีตั้งครรภ์และเด็ก ในกรณีที่ครอบครัวไม่พร้อมภาคีเครือข่ายในชุมชน กลุ่มจิตอาสาต่างๆ จะมาทำหน้าที่สนับสนุนให้ความช่วยเหลือนั่นคือ การใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน (Family and Community – based)
3
กลไกการดำเนินงาน ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (Child and Family Team : CFT) มีบทบาทและหน้าที่ คือ ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ เยี่ยมหลังคลอด เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เฝ้าระวังภาวะโภชนาการและสุขภาพช่องปาก การเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี รวมทั้งรับฟังปัญหาของครอบครัว ตลอดจนหาวิธี การแก้ไขและแนวทางช่วยเหลือ ดังนั้น จึงต้องจัดทีมพัฒนาเด็กและครอบครัวในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการวางแผน การดำเนินงานและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างมีคุณภาพและครบวงจร การใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐานถือเป็นหัวใจหลักในการปฏิบัติงาน การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว จะต้องอาศัยคนและทรัพยากรในชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วม การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน การให้ชุมชนเรียนรู้ปัญหาของชุมชน ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดาเนินงาน และร่วมแก้ไข จึงจะทาให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวต่อไป
4
การดำเนินงาน ประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญ 2 กิจกรรม
กิจกรรมทางสุขภาพ เป็นหน้าที่หลักของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งแต่ระดับตำบลจนถึงระดับจังหวัด เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลสุขภาพของสตรี ตั้งแต่ระยะก่อนการตั้งครรภ์จนถึงคลอด หลังคลอดและเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ ๒ ปีบริบูรณ์ กิจกรรมทางสังคม มีทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ เป็นกิจกรรมที่เติมเต็มส่วนขาดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเด็กและครอบครัว รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันที่ดีระหว่างเด็ก ครอบครัวและชุมชน กิจกรรมทางสุขภาพ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลสุขภาพของสตรี ตั้งแต่ระยะก่อนการตั้งครรภ์จนถึงคลอด หลังคลอดและเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ ๒ ปีบริบูรณ์ กิจกรรมทางสุขภาพ เป็นหน้าที่หลักของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งแต่ระดับตำบลจนถึงระดับจังหวัด กิจกรรมทางสังคม หมายถึง กิจกรรมทางสังคม ที่เติมเต็มส่วนขาดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเด็กและครอบครัว รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันที่ดีระหว่างเด็ก ครอบครัวและชุมชน ได้แก่ กิจกรรมด้านขนบธรรมเนียมประเพณี กิจกรรมที่สร้างความรัก ความอบอุ่นให้เด็ก กิจกรรมที่ใช้แก้ปัญหาของครอบครัว และอื่นๆ กิจกรรมทางสังคม มีทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
5
คู่มือ CFT ประกอบด้วย 12 module
6
Module 1 ประกอบด้วย 3 หัวข้อ
ความสำคัญของ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต การดำเนินการโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน เขตสุขภาพที่ 9 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญ และสามารถดำเนินงานโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตตามบทบาทหน้าที่ของตนเองได้ วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ นพ.ยุทธนา/ นพ.เอนก/ นพ.จเด็ด หรือ มิส 1,000 วันระดับจังหวัด และระดับอำเภอ
7
Module 1 ประกอบด้วย 3 หัวข้อ
3. การฝากครรภ์คุณภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) มีความรู้และความเข้าใจในความสาคัญของการฝากครรภ์คุณภาพ สามารถดูแลและให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัวได้ วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ สูติแพทย์ หรือผู้ปฏิบัติงาน ANC จาก รพช./ รพท./ รพศ./ สสจ. และศูนย์อนามัยที่ 9
8
Module 2 เน้นเรื่องโภชนาการ ประกอบด้วย 2 หัวข้อ
โภชนาการของหญิงในวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร และบอกความสาคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ โภชนากร ระดับจังหวัด หรือระดับอำเภอ หรือศูนย์อนามัยที่ 9 มิสนมแม่ ระดับเขต (ศูนย์อนามัยที่ 9) จังหวัด หรือระดับอำเภอ
9
Module 3 การใช้ยาเบื้องต้นในสตรีมีครรภ์ หญิงหลังคลอด และเด็ก
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว ( CFT ) สามารถให้การดูแล และให้คำปรึกษาในการใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอดและเด็กได้ วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ เภสัชกร จาก รพช./ รพท./ รพศ. และ ศูนย์อนามัยที่ 9
10
Module 4 โรคที่พบบ่อยในขณะตั้งครรภ์ วัตถุประสงค์
เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว ( CFT ) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดขณะตั้งครรภ์ และสามารถให้คำแนะนำในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ สูติแพทย์ หรือผู้ปฏิบัติงาน ANC จาก รพช./ รพท./ รพศ. และ ศูนย์อนามัยที่ 9
11
Module 5 การประเมิน ดูแลสุขภาพจิตหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอด เด็ก
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) สามารถประเมินความเสี่ยงด้านสังคมและจิตใจของหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอดและเด็กได้ 2.เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัวสามารถประเมินความสามารถและให้คำแนะนาในการเลี้ยงดูบุตรได้ 3.เพื่อให้สามีและสมาชิกในครอบครัวหญิงตั้งครรภ์มีส่วนร่วมในการดูแลมารดาและทารก วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว จาก รพช./ รพท./ รพศ. (รพ.สุรินทร์)
12
Module 6 การเจริญเติบโตของเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี วัตถุประสงค์
เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) มีความรู้และความเข้าใจในการเจริญเติบโตทางร่างกายของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปีบริบูรณ์ และสามารถเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก โดยการใช้กราฟแสดงการเจริญเติบโตของเด็กไทย สำนักโภชนาการ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๘ วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ โภชนากร ระดับจังหวัด หรือระดับอำเภอ หรือศูนย์อนามัยที่ 9
13
Module 7 กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน
แนวทางการตรวจคัดกรองภาวะซีดในเด็ก (CBC/ HCT) ในเด็ก วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) เข้าใจ และสามารถอธิบายถึงประโยชน์ของการกิน การกอด การเล่น การเล่า การนอน และการดูแลสุขภาพฟันของเด็กในแต่ละวัย เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) เข้าใจแนวทาง สามารถคัดกรองและดูแลเด็กที่มีภาวะซีดได้ กิน (เน้นการดูแลสุขภาพ) กอด (ความผูกพัน) เล่น (เล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ) เล่า (เล่านิทาน) วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ รพ.จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ หรือศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 (กิน กอด เล่น เล่า นอน) กุมารแพทย์ รพช./ รพท./ รพศ. และศูนย์อนามัยที่ 9 (แนวทางการคัดกรองภาวะซีด) ทันตแพทย์ หรือทันตภิบาล รพช./ รพท./ รพศ. และศูนย์อนามัยที่ 9 (สุขภาพฟัน)
14
Module 8 พัฒนาการเด็ก วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) มีความรู้ ความเข้าใจและเห็นความสาคัญของพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย และสามารถเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก พร้อมทั้งให้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัยได้ กุมารแพทย์ มหาราช พญ.ปิยะวรรณ / บุรีรัมย์ พญ.กาญจนา วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ (รพ.มหาราช/ รพ.บุรีรัมย์/ รพ.สุรินทร์) หรือผู้ปฏิบัติงานคลินิกพัฒนาการเด็ก/ WCC รพช./ รพท./ รพศ. และศูนย์อนามัยที่ 9 Child Project Manager (CPM) ระดับเขต จังหวัด และระดับอำเภอ
15
Module 9 โรคที่พบบ่อยในเด็ก วัตถุประสงค์
เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดบ่อยในเด็ก สามารถให้คาแนะนำในการดูแลเด็ก เมื่อมีอาการเจ็บป่วยแก่ผู้ปกครองได้ วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา (สคร.9)
16
Module 10 และ 11 “มหัศจรรย์ 1000 วัน ผูกพันลูกรัก”
“แนวคิด Positive Parenting” วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) มีความรู้เรื่องแนวความคิดการเลี้ยงลูกโดยวิธีทางบวก มีความรู้และทักษะในการสร้างความผูกพัน และสร้างระเบียบวินัยให้กับลูกใน 1000 วันแรก เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องการสร้างความผูกพันและระเบียบวินัยให้กับทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ รพ.จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ หรือศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 นครราชสีมา
17
Module 12 ประกอบด้วย 3 หัวข้อ
การเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และเด็ก การให้คำปรึกษา วัตถุประสงค์ ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) สามารถบอกความสาคัญ และกระบวนการของการเยี่ยมบ้านได้ เพื่อให้ทีม CFT มีความรู้ความเข้าใจการส่งเสริมสุขภาพหญิงขณะตั้งครรภ์ จนกระทั่ง ขณะคลอดและเด็ก ทีม CFT มีความรู้ ความเข้าใจถึงหลักการ และความสำคัญของการให้คำปรึกษา รวมถึงสามารถให้คำปรึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และเด็ก วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเยี่ยมบ้าน (ฝ่ายส่งเสริม หรือ PCU) รพช./ รพท./ รพศ. (รพ.คอนสวรรค์) ผู้ปฏิบติงานเกี่ยวกับ ANC/ PP/ WCC (การให้คำปรึกษา) รพช./ รพท./ รพศ. หรือศูนย์อนามัยที่ 9
18
Module 12 ประกอบด้วย 3 หัวข้อ
ชุดสิทธิประโยชน์ของหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 – 5 ปี วัตถุประสงค์ ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT) เข้าใจ และอธิบายถึงสิทธิประโยชน์ตามสิทธิการรักษาของแม่และเด็กได้ เพื่อให้แม่และเด็กได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามสิทธิประโยชน์ของตนเอง วิทยากรในหัวข้อนี้ คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา ผู้รับผิดชอบงานแม่และเด็ก ระดับเขต และจังหวัด (ศูนย์อนามัยที่ 9)
19
ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.