ครูในยุคปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) นิตย์ พรหมประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
ศตวรรษที่ 21 ต่างจาก ศตวรรษที่ 20 หรือ 19 สังคมเปลี่ยนแปลงเร็ว มนุษย์เปลี่ยน ความรู้เปลี่ยน ความรู้แบบ explicit (ความรู้ชัดแจ้ง/ทฤษฎี เอกสาร) หาง่าย ความรู้แบบ tacit (ความรู้แบบฝังลึก/ประสบการณ์/ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ) หายาก
ความจริงของศตวรรษที่ 21 * การเรียนรู้ต้องเปลี่ยน การศึกษาจะต้องเน้นที่ learning skill การเรียนรู้ควรเน้นการทำ การเรียนเกิดจากการฟัง 20% และการทำ 70-80% ครูต้องไม่เน้นสอน เน้นออกแบบการเรียนรู้ เน้นสร้างแรงบันดาลใจ เน้นเป็นโค้ช เป็นครูฝึกไม่ใช่ครูสอน ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือสอนคนอื่น รองลงมาคือการทำ ครูฝึกอะไร ฝึกอะไร ฝึกการเรียนรู้ของลูกศิษย์ * จุดสำคัญที่สุดของการเป็นครู คือ การสร้างแรงบันดาลใจ
Education Pitfalls (หลุมพลางของการจัดการศึกษา) จัดตามความเคยชินในอดีต - คิดว่าสอนคือเรียน - คิดว่าสอนครบคือเป้าหมาย - คิดว่าสอนวิชา/ทฤษฎี เป็นรากฐานสำหรับอนาคต - คิดว่าวางฐานทฤษฎีก่อน ตามด้วยฝึกปฏิบัติ วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องฝึกปฏิบัติให้เร็วที่สุด เพราะจะเป็นการกระตุ้นความอยากเรียน
คุณลักษณะของครูยุคปฏิรูปการศึกษา 1. มีความรู้ ความเข้าใจหลักสูตร 2. มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดผลถาวรแก่ศิษย์ 3. พัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด 4. มีความสามารถในการเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนรู้ และเอื้ออำนวยความสะดวก พัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพอย่างมีความสุข 5. มีความสามารถในการวัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง ใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย 6. มีความสามารถในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สามารถทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
บทบาทหน้าทีของครูปฏิรูปการศึกษา พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ระบุว่า “ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ” สามารถสรุปเป็นสาระสำคัญได้ 3 ประการ คือ 1) ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ 2) ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด 3) กระบวนการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ
การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสาระสำคัญ 3 ประการ ประการแรก การจัดการศึกษาจะต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 4 ในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ครูจึงต้องมีวิถีทางที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น พึ่งตนเองได้ ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและสามารถทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและประเทศชาติได้ ประการที่สอง การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ถือว่าผู้เรียนเป็นสำคัญ ประการที่สาม การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพครูต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเสนอ กิจกรรมและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทุกขั้นตอน
บันได 5 ขั้นของการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน Learning to serve Learning to communicate Learning to construct Learning to search Learning to question
คำคมการศึกษา : การศึกษากับการเปลี่ยนแปลง ประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ชาตินั้น เป็นกระบวนการวิ่งไล่กวดระหว่าง ความหายนะกับการศึกษา หากการศึกษาก้าวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก ความหายนะก็คงมาถึงมวลมนุษย์ในที่สุด เอช จี เวลส์และอาร์โนลด์ ทอยน์บี : นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ
เส้นทางสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพ
รวมทั้งวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ วิชาชีพครู รวมทั้งวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์
การพัฒนาผลงานวิชาการ งานในหน้าที่ของท่านมีอะไรบ้าง งานดังกล่าวมีปัญหาอะไร ปัญหาใดที่มีผลกระทบมากและสถานศึกษาของท่านมีศักยภาพที่จะดำเนินการได้ จะใช้นวัตกรรมใดแก้ปัญหา
จบการนำเสนอ Thank You !