Population and sampling ประชากรและตัวอย่าง Population and sampling อาจารย์แสงสิทธิ์ กฤษฎี
ประชากร (Population) หมายถึงสมาชิกทั้งหมดที่เราสามารถนำผลการศึกษาวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้ ประชากรทางสถิติอาจเป็นคน กลุ่มบุคคล องค์กร สัตว์สิ่งของ หรือเหตุการณ์ก็ได้ ประชากรที่ต้องการศึกษา ต้องบ่งให้ชัดเจน โดยบอกลักษณะต่างๆ ที่กำหนดไว้ให้ชัดเจนละเอียดพอ รวมทั้งบ่งเวลา
ประชากรเป้าหมาย (target population) หมายถึง ประชากรที่เรากำหนดกรอบหรือกฎเกณฑ์ให้เฉาะเจาะจงขึ้น เพื่อความถูกต้องหรือตรงกับความประสงค์ของการศึกษาวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา หมายถึง ประชากรที่ผ่านเกณฑ์ในการคัดเลือกที่จะนำมาศึกษาโดยพยายามให้เป็นตัวแทนที่ดี สามารถครอบคลุมประชากรเป้าหมายได้เกือบทั้งหมด ในสัดส่วนที่ถูกต้องและคำนึงถึงความปลอดภัยของประชากรที่จะเข้าร่วมงานวิจัยด้วย
เกณฑ์ในการเลือกประชากรที่ใช้ในการศึกษา เลือกสถานที่ ที่จะทำการศึกษาให้สอดคล้องกับคำถามวิจัยและรูปแบบการวิจัย กำหนดคุณลักษณะของประชากร โดยคำนึงถึง 2.1 ประโยชน์ที่ตัวอย่างหรือผู้ป่วยที่จะได้จากการศึกษาวิจัยนี้ 2.2 ความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมการศึกษา 2.3 พิจารณาระยะของโรค 2.4 เลือกประชากรที่สามารถติดตามผลได้สะดวกและวัดผลได้รวมเร็ว 2.5 โรคอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วยจะต้องแยกออกจากการศึกษาหรือเฉพาะโรคให้ได้
เกณฑ์ในการเลือกประชากร ที่ใช้ในการศึกษา 2.6 เพศ ในการศึกษาวิจัยบางครั้งเราสนใจที่จะศึกษาในเพศใดเพศหนึ่ง 2.7 อายุ อายุมักมีเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อผลการรักษาเสมอ จึงพิจารณาว่า จำเป็นต้องกำหนดอายุของประชากรที่นำมาศึกษาหรือไม่ 2.8 เศรษฐฐานะ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการศึกษาเรื่อง เศรษฐฐานะด้วยหรือไม่ 2.9 ในกรณีที่ศึกษาในผู้ป่วย ผู้ทำการวิจัยต้องขอความยินยอมจากผู้ป่วย ก่อนทำการศึกษาวิจัยและมีใบแสดงความยินยอมเข้าสู่การศึกษาวิจัย นั้นๆ ด้วย
การสุ่มตัวอย่าง (sampling) ข้อดีในการเลือกตัวอย่าง ลดค่าใช้จ่าย ลดกำลังคน ได้ข้อมูลเร็ว ได้ข้อมูลจากสิ่งที่ไม่สามารถทำได้หมด เพิ่มความถูกต้อง (Accuracy) ได้ดีกว่าทำการศึกษาในจำนวนที่มากเกินไป จากการใช้เทคนิคการเลือกตัวอย่าง
การสุ่มตัวอย่างแบบต่างๆ
การกำหนดขนาดตัวอย่าง การทดสอบขนาดตัวอย่าง (Determination of Sample Size) ในงานวิจัยหรือการทดลองศึกษาเรื่องใดๆ มักจะมีปัญหาว่าขนาดตัวอย่างเท่าใด จึงพอเหมาะเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรได้ การกำหนดขนาดตัวอย่างมีหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีที่สุ่มตัวอย่าง และขึ้นกับลักษณะของข้อมูลหรือตัวแปรที่สำคัญ
การกำหนดขนาดตัวอย่าง การกำหนดตัวอย่างสำหรับการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา - ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจเพื่อกระประมาณค่าเฉลี่ยในประชากร กรณีที่ไม่ทราบจำนวนประชากร สูตร
การกำหนดขนาดตัวอย่าง ตัวอย่าง นักโภชนวิทยาต้องการสำรวจหญิงวัยรุ่นว่า มีค่าสารอาหารโปรตีนโดยเฉลี่ยที่ได้รับประจำวันเท่าไร จึงขอปรึกษาจากนักชีวสถิติให้ช่วยหาขนาดตัวอย่างเพื่อทำการวิจัย นักโภชนวิทยายอมให้ค่าประมาณผิดจากของจริงได้ 5 หน่วย สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น 95 % ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 20 กรัม จากสูตร
การกำหนดขนาดตัวอย่าง นั่นคือ จะต้องใช้ขนาดตัวอย่างจากหญิงวัยรุ่น 62 คน เพื่อประมาณค่าเฉลี่ยค่าสารอาหารโปรตีนที่ได้รับต่อวัน โดยยอมให้มีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าเฉลี่ยของค่าสารอาหารโปรตีนไม่เกิน 5 กรัม
การกำหนดขนาดตัวอย่าง - กรณีที่ทราบจำนวนประชาการ
การกำหนดขนาดตัวอย่าง ตัวอย่าง ในการศึกษาค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อครั้งในการรักษาของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในอำเภอหนึ่ง ในรอบเวลา 1 เดือน มีผู้ป่วยทั้งหมด 500 คน จะต้องสุ่มตัวอย่างจำนวยผู้ป่วยภายนอกเท่าไร โดยให้มีความคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่เกิน 20 บาท ในระดับความเชื่อมั่น 95 % และจากการศึกษาค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยภาพนอกในอดีตพบว่า ค้าใช้จ่ายในการรักษามีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 120 บาท
การกำหนดขนาดตัวอย่าง นั้นคือ จะต้องใช้ขนาดตัวอย่างจากผู้ป่วยภายนอก 109 คน เพื่อประมาณค่าเฉลี่ยนของการรักษาต่อ ครั้งในผู้ป่วยนอกทั้งหมด 500 คน โดยยอมให้มีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าเฉลี่ยของการรักษาไม่เกิน 20 บาท