เทคนิคการตรวจสอบภายใน
เทคนิคการตรวจสอบ (Audit Technique) หมายถึง เครื่องมือที่ผู้ตรวจสอบภายในใช้ในการรวบรวมหลักฐาน เพื่อสนับสนุนข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในรายงานการตรวจสอบ
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี 1. การสังเกตการณ์ (Observation) หมายถึง การเข้าไปดูให้เห็นด้วยสายตาของผู้ตรวจสอบเอง เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ หรือสภาพที่เป็นจริง
เทคนิคการสังเกตการณ์ แบ่งเป็น 2 แบบ ก. การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non participant observation) หมายถึง การสังเกตการณ์โดยผู้ตรวจสอบภายในไม่ได้เปิดเผยตัวเอง ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากปรากฏการณ์จริงโดยตรง
เทคนิคการสังเกตการณ์ แบ่งเป็น 2 แบบ (ต่อ) ข. การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant observation) หมายถึง การสังเกตการณ์โดยผู้ตรวจสอบภายในเปิดเผยตัว ขณะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในงานที่ตรวจสอบอยู่ ในระดับต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นระดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการ หรือลักษณะงานที่กำลังตรวจสอบ
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 2. การตรวจนับ (Physical Examination) หมายถึง เทคนิคที่ใช้เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่ตรวจสอบมีอยู่จริง ปริมาณที่นับมีอยู่เท่าใด ครบถ้วนตามปริมาณที่แสดงไว้หรือไม่ สภาพเป็นอย่างไร การเก็บรักษาอย่างไร
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 2. การตรวจสอบเอกสาร (Documentation) หมายถึง การตรวจบันทึกทางการบัญชีและเอกสารรายการที่บันทึกไว้ในสมุดบัญชี
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 2. การตรวจสอบเอกสาร (ต่อ) ข้อควรระวัง เป็นเอกสารแท้ ไม่มีการปลอมแปลงหรือแก้ไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ มีการอนุมัติเอกสารใบสำคัญตามระเบียบวิธีปฏิบัติโดยผู้มีอำนาจ มีการปฏิบัติจริงตามที่แจ้งไว้ในเอกสาร
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 4. การยืนยัน (Confirmation) หมายถึง การที่ผู้ตรวจสอบภายในขอให้บุคคลภายนอกที่ทราบเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังตรวจสอบโดยตรง
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 5. การสอบทาน (Enquiry) การหาข้อมูลจากบุคคลที่มีความรู้ทั้งภายนอกและภายในกิจการ ซึ่งอาจเป็นการสอบถามด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 6. การคำนวณ (Computation) หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขในเชิงคำนวณในเอกสารเบื้องต้น และบันทึกทางการบัญชี หรือการทดสอบการคำนวณโดยอิสระของผู้ตรวจสอบภายใน
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 7. การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Analytical Procedures) หมายถึง การศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์และความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามที่คาดหมายหรือเป็นตามที่ควรจะเป็นหรือไม่
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) การวิเคราะห์เปรียบเทียบ มีวิธีการดังนี้ เปรียบเทียบข้อมูลของงวดปัจจุบันกับงวดก่อน เปรียบเทียบข้อมูลของงวดปัจจุบันกับประมาณการ ศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลกับเป้าหมายที่คาดการณ์ได้ตามประสบการณ์
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) การวิเคราะห์เปรียบเทียบ มีวิธีการดังนี้ (ต่อ) เปรียบเทียบข้อมูลกับข้อมูลของกิจการอื่นที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน ศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ตรวจสอบกับข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 8. การตรวจสอบการผ่านรายการ (Posting or Tracing) หมายถึง การพิสูจน์ความถูกต้องทางบัญชี โดยตรวจสอบการผ่านรายการจากสมุดขั้นต้นไปยังบัญชีแยกประเภท และการจัดทำงบทดลอง
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 9. การหารายการผิดปกติ (scanning) หมายถึง การตรวจรายการในสมุดขั้นต้น บัญชีแยกประเภทหรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เพื่อดูว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ โดยใช้เวลาไม่มากนัก
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 10. การตรวจทาน (Review) หมายถึง การยืนยันความจริง ความถูกต้องหรือความสมเหตุสมผลของบางสิ่งบางอย่าง การตรวจทานเป็นเทคนิคที่ผู้ตรวจสอบภายในนำมาใช้ในการยืนยันความถูกต้อง หรือข้อเท็จจริงโดยการทดสอบ
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 11. การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง การตรวจสอบรายละเอียดโดยการแยกสิ่งที่สลับซับซ้อนออกมา เพื่อพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของสิ่งนั้น ๆ และความสัมพันธ์ในแต่ละส่วน
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 12. การสืบสวน (Investigation) หมายถึง การค้นหาและยืนยันข้อเท็จจริง เทคนิคที่ใช้ในการติดตามบางสิ่งบางอย่างที่ผู้ตรวจสอบต้องการจะรู้อย่างลึกซึ้ง
เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) เทคนิคการตรวจสอบ มี 13 วิธี (ต่อ) 13. การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การใช้ดุลยพินิจและวิจารณญาณ เพื่อที่จะตัดสินว่าข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วเป็นอย่างไร ความเห็นที่ให้ในรายงานการประเมินผล คือ ข้อสรุปของผู้ตรวจสอบจากข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้จากการปฏิบัติงาน การประเมินผลเป็นเรื่องของการใช้วิจารณญาณซึ่งแทรกอยู่ทุก ๆ ขั้นตอนของงานตรวจสอบ
ถาม - ตอบ สวัสดี