ภาษาไทย คุณค่าด้านวรรณศิลป์
บรรยายโวหาร บรรยายโวหาร หมายถึง โวหารที่ใช้ในการอธิบาย เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้อ่าน ได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียด แจ่มแจ้ง การเรียบเรียง และการ ใช้ถ้อยคำ จึงมักเลือกใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมาย ตรงไปตรงมา กะทัดรัด ชัดเจน บรรยายโวหาร เล่าเหตุการณ์เรื่องราว เล่าเรื่องก่อนเก่า เล่าความ เป็นไป ประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องชาติไทย นิทาน นิยาย พงศาวดาร เล่าเรื่อง ความคิด เล่าเรื่องปริศนา เล่าความเป็นมา เล่าความเป็นไป บรรยายโวหารเหตุการณ์เรื่องเล่า เรื่องใหม่เรื่องเก่านำมาขยาย ประวัติศาสตร์ นิทาน นิยาย จะสูญหายบรรยายเรื่องราว ขั้นตอนวิธีแนวคิดศึกษา เรียงร้อยภาษาเพื่อจะสืบสาว ความหมายของฉันเรื่องสั้นเรื่องยาว เขียนหรือบอกกล่าวให้เข้าใจกัน
พรรณนาโวหาร พรรณนาโวหาร คือ โวหารที่กล่าวถึงความงามของธรรมชาติ สถานที่ หรือ ความรู้สึก นึกคิดอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้ง และเกิดอารมณ์ความรู้สึก คล้อยตาม โดยใช้ถ้อยคำที่มีความไพเราะ และความหมายที่ลึกซึ้ง น่าสนใจ ให้ผู้อ่าน ประทับใจ พรรณนาโวหาร นั้นก็เรื่องเล่า ความรู้สึกก่อนเก่า สอดแทรกความนัย อารมณ์ ซาบซึ้งถึงความในใจ ถ่ายทอดออกไป เพื่อระบายอารมณ์ พรรณนาให้เห็น ภาพเป็น อย่างไร น้ำตารินไหล อกใจขื่นขม พรรณนาโวหารเหตุการณ์เรื่องเล่า สอดแทรกเรื่องเก่าสนุกสุขสันต์ สุดแสนซาบซึ้งสุดแสนตื้นตัน เรื่องที่มันมันเล่าสู่กันฟัง เรื่องที่เศร้าโศกสลดหดหู่ เรื่องที่แอบรู้มาแต่หนหลัง เรื่องที่แสนเศร้าปวดเร้าใจจัง ไร้ซึ่งความหวังมานั่งขอพร
สาธกโวหาร สาธกโวหาร คือ โวหารที่ยกตัวอย่างมาประกอบข้อความ เรื่องราวให้เข้าใจ แจ่มแจ้ง ยิ่งขึ้น อาจเป็นการกล่าวอ้างถึงเรื่องจริง นิทานที่เป็นที่รู้จักกันดีมาประกอบก็ได้ เช่น เมื่อจะกล่าวถึงการตามใจลูก จนเสียคน ก็จะนำนิทานเรื่องสอนลูกให้เป็นโจรมาประกอบ สาธกโวหาร นั้นก็เรื่องเล่า อ้างอิงเรื่องเก่า เป็นอุทาหรณ์ เหตุที่ขาหัก เพราะ ลักรถไปซึ่ง เขาติดคุกจริงๆ เพราะไม่เชื่อฟังคำใคร สาธกโวหารเหตุการณ์เรื่องเล่า อ้างอิงเรื่องเก่าเป็นอุทาหรณ์ สอนแล้วไม่จำมาทำอาวรณ์ เหตุเกิดครั้งก่อนน่าจะฝังใจ “สมแล้วขาหักลักรถไปชิ่ง” “มันเป็นเรื่องจริงไม่ต้องสงสัย” “เป็นเด็กเลี้ยงแกะเลยไปกันใหญ่” “ปากกล้ามือไว โธ่! ไม่น่าเลย”
อุปมาโวหาร อุปมาโวหาร คือ การใช้โวหารเปรียบเทียบ ประกอบข้อความ เพื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจ ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้เข้าใจเรื่องราวได้แจ่มแจ้ง การใช้อุปมาโวหารนี้มีลักษณะการใช้ หลายลักษณะ อุปมาโวหาร นั้นก็เรื่องเล่า สุภาษิต สำนวนเก่าเอามาเปรียบเปรย ว่าดุจ ว่า คล้าย ว่าได้ ว่าเหมือน เปรียบเทียบเพื่อเตือนมิใช่เฉลย วัวสันหลังหวะ เดี๋ยวจะท้อง ป่อง สำนวนสอดคล้องสิ่งที่เราคุ้นเคย อุปมาโวหารเป็นการเล่า แล้วหยิบเอาสำนวนมาเฉลย สุภาษิตคำคมมาเปรียบเปรย แล้วหยิบเอาสำนวนมาเฉลย ว่า “รักยาวให้บั่น สั้นให้ต่อ” “เด็กเหลือขอใครหรืออยากปราศรัย” “น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าพงไพร” “เหมือนลูกไม้ยามหล่นไม่พ้นกอ”
เทศนาโวหาร เทศนาโวหาร เป็นโวหารที่แสดงการสั่งสอน หรือชักจูงให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตาม ชี้แนะคุณและโทษสิ่งที่ควรปฏิบัติ หรือแสดงทัศนะในข้อสังเกต ในการเขียนผู้เขียน ต้องใช้ เหตุผลมาประกอบให้ผู้อ่านเกิดความเชื่อมั่น เกิดความรู้สึกด้วยตนเอง เทศนาโวหาร นั้นคือคำสอน ดีด้อย จุดอ่อนเอามาเปิดเผย คำดุ คำ ด่า คำว่าเปรียบเปรย ยกมาเอื้อนเอ่ยมิให้เสียคน แม่ดุ ครูว่า แต่เพื่อนด่า ไม่ใช่ ขาดความจริงใจเพราะสอดใส่อารมณ์ เทศนาโวหารการสั่งสอน ชี้แนะก่อนมิใช่ให้เหลือขอ ยกเหตุผลมาพร่ำย้ำให้พอ อย่านะพ่อลูกอย่าด้วยปราณี ชี้ถูกผิดให้คิดให้วิเคราะห์ เพื่อบ่มเพาะให้หยิ่งเรื่องศักดิ์ศรี คอยเข้มงวดกวดขันถึงเฆี่ยนตี ให้รู้ดีรู้ชั่วรู้ตัวตน
จัดทำโดย ด.ญ. ชลิตา ประพัสรางค์ ชั้น ม.3/7 MEP เลขที่ 17