ความจำเป็นของเครือข่ายภาคประชาชนระดับภูมิภาค มีมากน้อยเพียงใด จำเป็นเพราะต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและ กันเพื่อได้ประโยชน์ด้วยกัน มีการสร้างเครือข่ายในแต่ละภูมิภาค เป็นการขยายการทำงาน ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น จำเป็นเพราะจะได้เรียนรู้ปัญหาของเครือข่าย เข้าใกล้กับ เหตุการณ์มากขึ้น เสริมสร้างความสามัคคี ทำให้มีพลังในการต่อรอง
องค์ประกอบ/โครงสร้าง และการได้มาของสมาชิกเครือข่าย ภาคประชาชนระดับภูมิภาค ควรเป็นรูปแบบใด ในจังหวัดมีตัวแทนในเครือข่ายเข้าไปเป็นกรรมการในระดับภูมิภาคด้วย ตัวแทนภาคประชาชน 3 คน ตัวแทนเอกชน 3 คน ตัวแทนนักการเมืองท้องถิ่น 3 คน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ 3 คน ตัวแทนนักวิชาการ 3 คน ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน 3 คน นอกจากจะเป็นตัวแทนองค์กรต่าง ๆ แล้วควรมีสมาชิกในชุมชนหรือ อาสาสมัครมาร่วมทำงานด้วย จำนวนของสมาชิกเครือข่ายที่มาเป็นสมาชิกของเครือข่ายภูมิภาคมาจังหวัด ละ 18 คน ที่มาของ 18 คน มาอย่างไร ? ในแต่ละเครือข่ายคัดเลือกส่งตัวแทนมากลุ่มละ 3 คน เป็นบุคคลที่มีความเป็นผู้นำ ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมและมีจริยธรรม
โครงสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการบริหาร จัดการภาครัฐระดับภาค แบบที่ 1 ประธานเครือข่าย การมีส่วนร่วมภาคประชาชน ตัวแทนภาค ประชาชน ตัวแทนภาค เอกชน ตัวแทน นักการเมือง ท้องถิ่น ตัวแทน กลุ่มอาชีพ ตัวแทน นักวิชาการ ตัวแทน องค์กรพัฒนา เอกชน 18 คน ต่อ 1 จังหวัด ทั้งภูมิภาคจำนวน 342 คน
เหตุผลที่เลือกโครงสร้างเครือข่ายนี้ ข้อดี ภูมิหลังเหมือนกัน การผลักดันในงานต่าง ๆ ทำได้ง่าย เรียนรู้ ร่วมกันได้ง่าย ส่งต่อข้อมูลลงมาระดับล่างได้ง่ายและครอบคลุม ข้อด้อย ขาดความหลากหลายในกลุ่ม ขาดโอกาสการเรียนรู้ร่วมกัน ความแตกต่างด้านพื้นที่ ทำให้มีปัญหาความแตกต่าง แต่ต้อง เลือกสมาชิกที่มีความขันติสูงมาปฏิบัติงาน
เครือข่ายภาคประชาชนในระดับภูมิภาคควรมีบทบาท หน้าที่ และวิธีการดำเนินงานควรเป็นอย่างไร มีสิทธิตรวจสอบทั้งข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ ทำตัว เหมือนตาวิเศษ เฝ้าระวังเรื่องการตรวจสอบ การเสนอแนะการปฏิบัติงาน ให้ข้อมูล เพื่อนำไปสู่การวางแผน งบประมาณ บริหารงบประมาณ ติดตามและประเมินผลงบประมาณ เฝ้าระวังเรื่องจริยธรรม คุณธรรมของข้าราชการการเมืองและ ข้าราชการประจำ มีธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงาน เครือข่ายมีศักยภาพดึงทรัพยากรจากภายนอกเข้ามาเพื่อพัฒนา ตนเอง มีการประชาสัมพันธ์ ให้บุคคลภายนอกได้เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น เป็นช่องทางการประสานงานจากเครือข่ายระดับล่าง เป็นช่องทางข้อมูลพื้นฐานของภาคประชาชนไปถึงภาคราชการ
ตรวจสอบการปฏิบัติงานของตนเองภายในเครือข่าย รวมไปถึงการ พัฒนาตนเอง เฝ้าระวังในหลาย ๆ เรื่อง เช่น เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ การเมือง ทุกระดับ เข้าไปตรวจสอบของผลการทำงานของจังหวัด เข้าถึงข้อมูลงบประมาณของจังหวัดได้ สามารถเสนอกฎกติกาเกี่ยวกับปัญหาสังคมเพื่อให้เกิดการแก้ไขใน ระดับพื้นที่ได้ เฝ้าระวังในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด (สุรา บุหรี่ ฯลฯ)
การสนับสนุน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ภาคประชาชนในระดับภูมิภาคควรได้มาอย่างใด ต้องมีกฎหมายรองรับในการทำงานของเครือข่าย ต้องมีงบประมาณสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ ควรสนับสนุนอำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ปฏิบัติงาน มีการสนับสนุนทางวิชาการ เช่นให้ความรู้ อบรม ศึกษาดูงานนอก พื้นที่ มีที่ปรึกษาทางกฎหมายภายในกลุ่ม ควรจะมีหน่วยงานอิสระรับผิดชอบเป็นพี่เลี้ยงของเครือข่ายอย่าง ชัดเจน ส่งเสริมด้านความรู้ภาคประชาชนที่ยังขาดความรู้