นิติกรรมและสัญญา ศ.ดร. กำชัย จงจักรพันธ์
ประเภทของนิติกรรม นิติกรรมฝ่ายเดียวกับนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย นิติกรรมที่มีผลระหว่างผู้แสดงเจตนามีชีวิตอยู่กับนิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้แสดงเจตนาเสียชีวิตแล้ว นิติกรรมที่มีค่าตอบแทนกับนิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน นิติกรรมที่มีเงื่อนไข เงื่อนเวลากับนิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา นิติกรรมที่สมบูรณ์โดยการแสดงเจตนาตามปกติกับนิติกรรมที่สมบูรณ์โดยการแสดงเจตนาตามแบบที่กฎหมายกำหนด
1. นิติกรรมฝ่ายเดียวกับนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย - นิติกรรมฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องมีผู้รับซึ่งการแสดงเจตนา - นิติกรรมฝ่ายเดียวโดยต้องมีผู้รับซึ่งการแสดงเจตนา
2. นิติกรรมที่มีผลระหว่างผู้แสดงเจตนามีชีวิตอยู่กับนิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้แสดงเจตนาเสียชีวิตแล้ว พิจารณาว่านิติกรรมนั้นมีผลเมื่อใด
3. นิติกรรมที่มีค่าตอบแทนกับนิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน ตัวอย่างนิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน -สัญญายืมใช้คงรูป (ม. 640) -สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง (ม.650) -สัญญาฝากทรัพย์ (ไม่มีบำเหน็จ) (ม. 657) -สัญญาให้ (โดยเสน่หา) (ม. 521)
ตัวอย่างนิติกรรมมีค่าตอบแทน สัญญาซื้อขาย (ม. 453) สัญญาเช่าทรัพย์ (ม. 537) สัญญาเช่าซื้อ (ม. 572) สัญญาหุ้นส่วน (ม. 1012)
4.นิติกรรมที่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลากับนิติกรรมที่ไม่มีเงื่อนไขเงื่อนเวลา เงื่อนไข คือเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้น เงื่อนเวลา คือกำหนดเวลาในอนาคตที่ต้องมาถึงแน่นอน
5.นิติกรรมที่สมบูรณ์โดยการแสดงเจตนาตามปกติกับนิติกรรมที่สมบูรณ์โดยการแสดงเจตนาตามแบบที่กฎหมายกำหนด การแสดงเจตนาด้วยวาจา การแสดงเจตนาด้วยอากัปกิริยา ท่าทาง การแสดงเจตนาโดยลายลักษณ์อักษร การแสดงเจตนาโดยอาณัติสัญญาณต่าง ๆ ฯลฯ
การแสดงเจตนาตามแบบที่กฎหมายกำหนด ย่อมเป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ อาทิ - ทำเป็นหนังสือ - ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ - ฯลฯ
ความแตกต่างระหว่างการแสดงเจตนาตามแบบที่กฎหมายกำหนด เช่น การทำเป็นหนังสือ กับการแสดงเจตนาตามปกติ เช่น การทำเป็นหนังสือ